680 likes | 1.86k Views
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นิรมล ตู้จินดา. องค์ประกอบหลักสูตรของสถานศึกษา. ส่วนนำ. วิสัยทัศน์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ฯลฯ. โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นิรมล ตู้จินดา
องค์ประกอบหลักสูตรของสถานศึกษาองค์ประกอบหลักสูตรของสถานศึกษา • ส่วนนำ • วิสัยทัศน์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ • สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ฯลฯ • โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา • คำอธิบายรายวิชา • เกณฑ์การวัดประเมินผล และจบหลักสูตร 2
วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ 3
คุณลักษณะอันพึงประสงค์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ • รักชาติศาสน์ กษัตริย์ • ซื่อสัตย์สุจริต • มีวินัย • ใฝ่เรียนรู้ • อยู่อย่างพอเพียง • มุ่งมั่นในการทำงาน • รักความเป็นไทย • มีจิตสาธารณะ 4
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน • ความสามารถในการสื่อสาร • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการแก้ปัญหา • ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต • ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 5
โครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษาโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา • รายวิชาพื้นฐาน / รายวิชาเพิ่มเติม • รหัสวิชา / ชื่อรายวิชา • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • เวลาเรียน / หน่วยกิต • โครงสร้างเวลาเรียนหลักสูตรแกนกลางฯ • สาระ / มาตรฐาน ตัวชี้วัดชั้นปี / ช่วงชั้น • ชื่อรายวิชา / การกำหนดรายวิชา • การจัดทำรายวิชา / รหัสวิชา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้ 7
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนปรับปรุง
การจัดเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียน ดังนี้ 10
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนปรับปรุง
การจัดเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้ ระดับประถมศึกษา สามารถปรับเวลาเรียนพื้นฐาน ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องมีเวลาเรียนตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน และผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ที่กำหนด ระดับมัธยมศึกษา ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร
สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติมทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อาจจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตรเฉพาะ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ตัวชี้วัดชั้นปี / ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้นตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1) กิจกรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น (120 ชม. / ปี) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 2.1 ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ 2.2 ชุมนุม ชมรม ผู้เรียนต้องเข้าร่วมและได้รับการประเมินกิจกรรมทั้ง 2.1 และ 2.2
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1) กิจกรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน 3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (360 ชม. / 3 ปี) ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ 2.1 ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ 2.2 ชุมนุม ชมรม ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรม 2.1 หรือ 2.2อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ตามความเหมาะสม
- กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 40 ชั่วโมง / ปี หรือ 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ - กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ (0.5 หน่วยกิต / ภาคเรียน หรือ 1 หน่วยกิต / ปี) การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา (ป.1 -6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 – 3)
- กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 2 หน่วยกิต ภายใน 3 ปี (ม.4 – ม.6) การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – 6)
- กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ - กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ จำนวน 2 หน่วยกิต ภายใน 3 ปี การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ระดับประถมศึกษา ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น (ป.1 – ม.3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6)
- กำหนดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์เป็นรายวิชาพื้นฐาน 1 ชั่วโมง / สัปดาห์ ทุกภาคเรียน (4 ภาคเรียน 2 หน่วยกิต) - กรณีที่สถานศึกษาจัดให้เรียนสาระประวัติศาสตร์ครบทุก มาตรฐานช่วงชั้นให้ ม.4 – 5 แล้ว อาจไม่ต้องจัดให้เรียน รายวิชาประวัติศาสตร์ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อีกก็ได้ การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5 – ม.6) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
ชื่อรายวิชา ประถมศึกษา - รายวิชาพื้นฐานให้ใช้ชื่อตามกลุ่มสาระ การเรียนรู้ - รายวิชาเพิ่มเติมให้ใช้ชื่อที่สอดคล้อง กับเนื้อหาสาระของรายวิชา
ชื่อรายวิชา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย - รายวิชาพื้นฐานให้ใช้ชื่อตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือใช้ชื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชา - รายวิชาเพิ่มเติมให้ใช้ชื่อที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของรายวิชา
การกำหนดรายวิชา ระดับประถมศึกษา 1. รายวิชาพื้นฐานกำหนดรายวิชาพื้นฐานในแต่ละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ 1 รายวิชา / ปี 2. รายวิชาเพิ่มเติมกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม / กิจกรรมได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เมื่อรวมเวลาเรียนแล้ว ต้องไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อปี
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย การกำหนดรายวิชา 1. รายวิชาพื้นฐานกำหนดรายวิชาพื้นฐานในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม อาจจัดได้มากกว่า 1 รายวิชา ใน 1 ปี / ภาคเรียน ทั้งนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อาจจัดรายวิชาพื้นฐานไม่ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ ใน 1 ภาคเรียน แต่ต้องเรียนรายวิชาครบ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ใน 1 ปีการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สามารถจัดรายวิชาพื้นฐานได้ตามความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้ใน 1 ภาคเรียน / 1 ปีการศึกษา แต่เมื่อจบช่วงชั้นแล้ว ผู้เรียนต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานครบทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย การกำหนด รายวิชา 2. รายวิชาเพิ่มเติมสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม / กิจกรรมได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เมื่อรวมเวลาเรียนของรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมทั้งหมดแล้ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่เกิน 5 หน่วยกิต (200 ชั่วโมง) ต่อปี และระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย อย่างน้อย 40 หน่วยกิต (1,600 ชั่วโมง) ต่อ 3 ปี โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร
การจัดทำรายวิชา • รายวิชาพื้นฐาน • รายวิชาเพิ่มเติม
การจัดทำรายวิชาพื้นฐานการจัดทำรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้............... มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง+ท้องถิ่น รายวิชา / คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 30 แผนการจัดการเรียนรู้
การจัดทำรายวิชาเพิ่มเติมการจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม สาระการเรียนรู้ เพิ่มเติม / ท้องถิ่น ผลการเรียนรู้ รายวิชา / คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
ตัวอย่าง รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ประถมศึกษาปีที่ 1 มาตรฐาน / ตัวชี้วัด (16) สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ / คำอธิบายรายวิชา (1 รายวิชา)
ตัวอย่าง รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มัธยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้แกนกลาง มาตรฐาน / ตัวชี้วัด (67) รายวิชาชีววิทยา 1.5 นก. 60 ชม. รายวิชาเคมี 1.5 นก. 60 ชม. รายวิชาฟิสิกส์ 2 นก. 80 ชม. รายวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ 1 นก. 40 ชม. หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้
รหัสวิชา หลักที่ 1 หลักที่ 2 หลักที่ 3 หลักที่ 4 หลักที่ 5 หลักที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับการศึกษา ปีในระดับการศึกษา ประเภทของรายวิชา ลำดับของรายวิชา ประถม พื้นฐาน ท 1 0 1 01 - 99 ค 2 1 2 ว 3 2 ส 3 พ 4 ศ 5 ง 6 ใช้รหัสตัวอักษรตามรายการรหัสตัวอักษรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นับต่อเนื่องในภาคเรียน / ปีเดียวกัน มัธยมตอนต้น เพิ่มเติม มัธยมตอนปลาย
คำอธิบายรายวิชา • ความรู้ • ทักษะ / สมรรถนะ • คุณลักษณะฯ
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบ ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต ที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้และนำความรุ้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
รายวิชาวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 1 เวลา 80 ช.ม. ว 11101 วิทยาศาสตร์ คำอธิบายรายวิชา ศึกษา วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผลของพืช อวัยวะภายนอกของสัตว์ ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอกของมนุษย์และการทำงาน ที่สัมพันธ์กัน การดูแลรักษาสุขภาพ ความสำคัญของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการจัดกลุ่มวัสดุ แรงดึงและแรงผลัก ทำให้วัสดุเคลื่อนที่และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขอวัตถุเมื่อถูกแรงกระทำองค์ปรกอบและสมบัติของดิน การใช้ประโยชน์จากดินในท้องถิ่น สิ่งที่ปรากฏในท้องฟ้าเวลากลางวันและกลางคืน ดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของโลก
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบการสืบค้นข้อมูลและ การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม ว ๑.๑ ป. ๑/๑, ป.๑/๒, ป. ๑/๓, ว ๑.๒ ป.๑/๑, ว ๓.๑ ป.๑/๑, ป.๑/๒ ว ๔.๒ ป๑/๑, ว ๖.๑ ป.๑/๑, ว ๗.๑ ป.๑/๑, ว ๘.๑ ป. ๑/๑ – ป.๑/๗
รายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 รายวิชา พื้นฐาน เพิ่มเติม รหัสวิชาว 31101 ชื่อรายวิชา ฟิสิกส์พื้นฐาน เวลาเรียน 4 ชั่วโมง / สัปดาห์ 80 ชั่วโมง / ภาค / เรียน 2.0 หน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา ศึกษาวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในสนามโน้มถ่วง กับการเคลื่อนที่ของอนุภาคในสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก แรงนิวเคลียร์และแรงไฟฟ้าระหว่างอนุภาคในนิวเคลียส ความสัมพันธ์ระหว่าง การกระจัด เวลา ความเร็ว ความเร่ง ของการเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรง การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ แบบวงกลม และแบบฮาร์มอนิคอย่างง่าย สมบัติของคลื่น ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็ว ความถี่ และความยาวคลื่น การเกิดคลื่นเสียง ปิตส์ของเสียง ความเข้มของเสียง ระดับความเข้มเสียง การได้ยินเสียง คุณภาพเสียง มลพิษทางเสียงที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ และวิธีป้องกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชัน ฟิวชันและความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิเวคลียร์และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ชนิดและสมบัติของรังสีจากธาติกัมมันตรังสี การเกิดกับมันตรังสี การตรวจสอบรังสีในสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การอภิปราย การเปรียบเทียบ การสังเกต การอธิบายและการทดลองเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสาม รหัสตัวชีวัด (ว. 4.1) ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม. 4-6/4 (ว. 4.2) ม. 4-6/1, ม. 4/6-2, ม. 4/6-3 (ว. 5.1) ม. 4-6/1, ม. 4-6/2, ม. 4-6/3, ม. 4-6/4, ม. 4-6/5, ม. 4-6/6, ม. 4-6/7, ม. 4-6/8, ม. 4-6/9
รายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 รายวิชา พื้นฐาน เพิ่มเติม รหัสวิชาว 21101 ชื่อรายวิชา วิทยาศาสตร์ 3 เวลาเรียน 3 ชั่วโมง / สัปดาห์ 60 ชั่วโมง / ภาค / เรียน 1.5 หน่วยกิต คำอธิบายรายวิชา ศึกษาโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์ ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกและภายใน หลักการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ปรับปรุงพันธุ์และเพิ่มผลผลิตของสัตว์ สารอาหารที่มีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย ผลของสารเสพติดต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และแนวทางในการป้องกันตนเองจากสารเสพติด องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ สมบัติของธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ ธาตุกึ่งโลหะและธาตุกัมมตรังสี
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ หลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก การสกัด การกลั่นและโครมาโทกราฟฟีและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจ เปรียบเทียบ ทดลอง จำแนก ตรวจสอบ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล การอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ สามารถตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม รหัสตัวชีวัด (ว. 1.1) ม. 2/1, ม. 2/2, ม. 2/3, ม. 2/4, ม. 2/5, ม. 2/6 (ว 3.1) ม. 2/1, ม. 2/2, ม. 2/3
ตัวอย่าง โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรฯ ระดับชั้นประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
โครงสร้างหลักสูตร ระดับชั้นมัธยมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
ขอบคุณ...สวัสดี... นิรมล ตู้จินดา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการนิเทศ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 48