830 likes | 2.94k Views
อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา. Demand Supply and Price Determination. อุปสงค์ ( Demand ). ความหมาย จำนวนต่างๆของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาหนึ่งๆ ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น ในระยะเวลาที่กำหนด
E N D
อุปสงค์ อุปทาน และ การกำหนดราคา Demand Supply and Price Determination
อุปสงค์ ( Demand ) • ความหมาย จำนวนต่างๆของสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อในระยะเวลาหนึ่งๆ ณ ระดับราคาต่างๆของสินค้าชนิดนั้น ในระยะเวลาที่กำหนด • อุปสงค์จะสัมฤทธิ์ผล ( Effective Demand ) ก็ต่อเมื่อประกอบด้วยทั้งสามองค์ประกอบ • ความต้องการซื้อ ( Want ) • อำนาจซื้อ ( Purchasing Power ) • ความเต็มใจที่จะซื้อ ( Ability and Willingness )
อุปสงค์แบบต่างๆ • อุปสงค์รายบุคคล ( Individual Demand ) • อุปสงค์ของหน่วยผลิต ( Firm Demand ) • อุปสงค์ตลาด ( Industry or Market Demand ) • อุปสงค์มวลรวม ( Aggregate Demand ) • อุปสงค์จากภายนอกประเทศ ( External or Foreign Demand )
ฟังก์ชันอุปสงค์ ( Demand Function ) • แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภค เต็มใจที่จะซื้อและมีความสามารถที่จะจ่ายกับระดับราคาต่างๆ ของสินค้า • ตัวอย่าง เช่น QDx = f ( Px ) • ปริมาณความต้องการซื้อ ( ตัวแปรตาม ) เป็นฟังก์ชันของราคา ( ตัวแปรต้น )
กฎแห่งอุปสงค์ ( Law of Demand ) • ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อย่อมแปรผกผัน ( inverse relation ) กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น • จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาลดลง ปริมาณความต้องการซื้อก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาเพิ่มขึ้นปริมาณความต้องการซื้อก็จะลดลง
สาเหตุที่กฎของอุปสงค์เป็นเช่นนั้นสาเหตุที่กฎของอุปสงค์เป็นเช่นนั้น • ผลทางรายได้ ( Income Effect ) • ผลทางการทดแทน ( Substitution Effect ) • กฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถ ประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( Law of Diminishing Marginal Utility )
ผลทางรายได้ ( Income Effect ) • การเปลี่ยนแปลงรายได้ที่แท้จริง ( Real Income ) • รายได้ที่แท้จริง คือ จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคได้รับ ซึ่งหาได้จาก รายได้ที่เป็นตัวเงิน ( Money Income ) หารด้วยราคาสินค้า • รายได้ที่แท้จริง =
ตัวอย่าง นายพานทอง มีรายได้ 5000 ล้าน ต้องการซื้อดาวเทียมดวงละ 1000 ล้าน จะได้ 5 ดวง แต่หากราคาดาวเทียมสูงขึ้นเป็นดวงละ 2500 ล้าน เขาก็จะซื้อได้เพียง 2 ดวง แสดงว่า รายได้ที่แท้จริงลดลงแต่รายได้ที่เป็นตัวเงินคงที่ • McDonald and BigMac
ผลทางการทดแทน ( Substitution Effect ) • เมื่อราคาของสินค้าชนิดหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ในขณะที่ราคาสินค้าอีกชนิดซึ่งทดแทนกันได้อยู่คงที่ ผู้บริโภคจะมีความรู้สึกว่าสินค้าชนิดแรกแพงขึ้น จึงซื้อชนิดแรกน้อยลงและหันมาใช้สินค้าชนิดที่สอง • ตัวอย่างของสินค้าที่ทดแทนกันได้ • Pepsi - Coca Cola • อายิโนะโมะโต๊ะ - อายิโนะทาการะ • DTAC - AIS
ผลทางการทดแทนเกิดจากราคาเปรียบเทียบ ( Relative Price ) ราคาเปรียบเทียบของ AIS แพงขึ้นเมื่อเทียบกับ DTAC
กฎว่าด้วยการลดน้อยถอยลงของอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( Law of Diminishing Marginal Utility ) • ในขณะใดขณะหนึ่ง การบริโภคสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นแต่ละหน่วย จะได้ความพอใจลดลงเรื่อยๆ ความพอใจ จำนวนสินค้า
สมการอุปสงค์ ( Demand Equation ) • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณซื้อในรูปแบบที่ชัดเจนกว่ารูปฟังก์ชัน • ตัวอย่างเช่น QDx = 10 - 2 P
ราคา ปริมาณ เส้นอุปสงค์ ( Demand Curve ) เมื่อนำราคาและปริมาณจากตารางมาแสดงเป็นจุดบนกราฟ และลากเส้นต่อเนื่องจะได้ว่า ข้อสังเกต: Slope มีค่าเป็นลบ
ตัวกำหนดอุปสงค์ ( Demand Determinants ) • ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง • รสนิยมของผู้ซื้อ • รายได้ของผู้ซื้อ • ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง • ฤดูกาล • การศึกษาและการโฆษณา
ตัวกำหนดโดยตรง ( Direct Determinants ) • ในที่นี้ได้แก่ราคา • ตัวกำหนดโดยอ้อม ( Indirect Determinants ) กำหนดเป็นรูปฟังก์ชันได้ QDX = f ( PX, A1, A2, …….., AN ) เมื่อPX เป็นราคาของสินค้า A1 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 1 A2 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 2 AN เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ N
การเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อ( Changes in Quantity Demanded ) • การที่กำหนดโดยตรง ( ราคา ) ได้เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณซื้อเปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปสงค์ โดยสมมติให้ตัวกำหนดโดยอ้อมอยู่คงที่ ซึ่งเป็นการย้ายจากจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์เดิม
ราคา ราคาเดิมอยู่ที่ระดับ P1ปริมาณซื้อเท่ากับ Q1 ต่อมาราคาเปลี่ยนเป็น P2 ปริมาณซื้อเท่ากับ Q2 ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายจากจุด D1 เป็น D2 บนเส้นอุปสงค์เดิม D1 P1 D2 P2 ปริมาณ Q1 Q2
การย้ายเส้นอุปสงค์( Shifts in Demand Curve ) • การที่ตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อมตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณซื้อเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม • การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจเพิ่มขี้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี ซึ่งขี้นกับตัวกำหนดอุปสงค์โดยอ้อม • ถ้าเพิ่มขึ้น อุปสงค์ Shift ไปทางขวา • ถ้าลดลง อุปสงค์ Shift ไปทางซ้าย
ราคา D’ D1’ D1 P1 D2’ D2 P2 D ปริมาณ Q1 Q2 Q’2 Q’1 การย้ายเส้นอุปสงค์ - เพิ่มขึ้น ( Shift ขวา ) ปริมาณซื้อเพิ่มขึ้น ณ ทุกระดับราคา
ราคา D1 D’1 P1 D2 D’2 P2 D ปริมาณ D’ Q1 Q2 Q’1 Q’2 การย้ายเส้นอุปสงค์ - ลดลง ( Shift ซ้าย ) ปริมาณซื้อลดลง ณ ทุกระดับราคา
คุณลักษณะของสินค้าและบริการคุณลักษณะของสินค้าและบริการ • สินค้าปกติ ( Normal Goods ) • สินค้าด้อยคุณภาพ ( Inferior Goods ) • สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ( Substitution Goods ) • สินค้าที่ใช้ประกอบกันหรือร่วมกัน ( Complementary Goods )
สินค้าปกติ ( Normal Goods ) • ปริมาณซื้อจะผันแปรโดยตรงกับรายได้ของผู้บริโภค • ถ้ารายได้ของเพิ่ม ปริมาณความต้องการก็จะเพิ่มขึ้น • ตัวอย่าง ………………………………….. สินค้าด้อยคุณภาพ ( Inferior Goods ) สินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อในปริมาณที่น้อยลงเมื่อรายได้ของเขาเพิ่มขึ้น ตัวอย่าง มันฝรั่ง เกลือ
สินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ ( Substitution Goods ) • การเปลี่ยนแปลงในสินค้าหนึ่งมีผลกระทบต่อสินค้าในอีกตัวหนึ่ง ในทางกลับกัน • ตัวอย่าง เนื้อหมู-วัว ชา-กาแฟ ปากกา-ดินสอ รถไฟ-เครื่องบิน-บขส. สินค้าที่ใช้ประกอบกันหรือร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงในสินค้าหนึ่งมีผลกระทบต่อสินค้าในอีกตัวหนึ่ง ในทางเดียวกัน ตัวอย่าง สมุด-ดินสอ กาแฟ-น้ำตาล รถยนต์-น้ำมัน
อุปสงค์รายบุคคล ( Individual Demand )และอุปสงค์ตลาด ( Market Demand ) • เมื่อนำปริมาณของอุปสงค์ของผู้บริโภคทุกคนในตลาดมารวมกัน ณ ระดับราคาต่างๆ ก็จะได้ อุปสงค์ของตลาด • ตัวอย่าง
ก ข ค ตลาด 5 3 2
อุปทาน ( Supply ) • อุปทาน หมายถึง จำนวนต่างๆของสินค้าหรือบริการนั้นที่ผู้ผลิตมีความเต็มใจที่จะผลิตและนำออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆภายในระยะเวลาที่กำหนด
ฟังก์ชันอุปทาน ( Supply Function ) • แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิต เต็มใจที่จะผลิตออกขาย ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้า • ตัวอย่าง เช่น QSx = f ( Px ) • ปริมาณความต้องการขาย ( ตัวแปรตาม ) เป็นฟังก์ชันของราคา ( ตัวแปรต้น ) นั่นคือ หากราคาเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณความต้องการขายก็จะเปลี่ยนไป
กฎแห่งอุปทาน ( Law of Supply ) • ปริมาณของสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องการขายย่อมแปรผันโดยตรง กับระดับราคาของสินค้าและบริการชนิดนั้น • จากกฎนี้แสดงว่า ถ้าราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการขายก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากราคาลดลง ปริมาณความต้องการขายก็จะลดลง
สาเหตุที่กฎของอุปทานเป็นเช่นนั้นสาเหตุที่กฎของอุปทานเป็นเช่นนั้น • เป้าหมายของผู้ผลิตที่ต้องการกำไร มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ • เรื่องของส่วนต่างระหว่างต้นทุนและราคาขาย ต้นทุนประกอบด้วย ค่าเช่า ค่าแรง ดอกเบี้ย และผลกำไรของผู้ประกอบการ
สมการอุปทาน ( Supply Equation ) • แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณขายในรูปแบบที่ชัดเจนกว่ารูปฟังก์ชัน • ตัวอย่างเช่น QSx = 10 + 2 P, QSx = 10 + 2 P2 • ราคาและปริมาณมีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อกัน นั่นคือ Slope มีค่าเป็นบวก
ข้อสังเกต: Slope มีค่าเป็นบวก ราคา ปริมาณ เส้นอุปทาน (Supply Curve ) เมื่อนำราคาและปริมาณมาแสดงเป็นจุดบนกราฟ และลากเส้นต่อเนื่องจะได้ว่า
ตัวกำหนดอุปทาน ( Supply Determinants ) • ราคาของสินค้า ตัวกำหนดโดยตรง • นโยบายของหน่วยผลิต • เทคนิคในการผลิต • ราคาของสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง • ราคาของปัจจัยการผลิต • จำนวนผู้ผลิตในตลาด • อื่นๆ เช่น นโยบายรัฐ วิกฤติการณ์ ภาษี เงินช่วยเหลือ
ตัวกำหนดโดยตรง ( Direct Determinants ) • ในที่นี้ได้แก่ราคา • ตัวกำหนดโดยอ้อม ( Indirect Determinants ) กำหนดเป็นรูปฟังก์ชันได้ QSX = f ( PX, B1, B2, …….., BN ) เมื่อPX เป็นราคาของสินค้า B1 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 1 B2 เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ 2 BN เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมที่ N
การเปลี่ยนแปลงปริมาณขาย( Changes in Quantity Supplied ) • การที่กำหนดโดยตรง ( ราคา ) ได้เปลี่ยนไป ทำให้ปริมาณการผลิตหรือปริมาณขาย เปลี่ยนแปลงไปด้วยตามกฎของอุปทาน โดยสมมติให้ตัวกำหนดโดยอ้อมอยู่คงที่ ซึ่งเป็นการย้ายจากจุดหนึ่งบนเส้นอุปทานเดิม ( Move along the curve )
P2 S2 P1 S1 Q1 Q2 ราคาเดิมอยู่ที่ระดับ P1ปริมาณขายเท่ากับ Q1 ต่อมาราคาเปลี่ยนเป็น P2 ปริมาณขายเท่ากับ Q2 ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายจากจุด S1 เป็น S2 บนเส้นอุปทานเดิม ราคา ปริมาณ
การย้ายเส้นอุปทาน( Shifts in Supply Curve ) • การที่ตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อมตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไปและมีผลทำให้ปริมาณขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ ระดับราคาเดิม • การเปลี่ยนแปลงนั้น อาจเพิ่มขี้น หรือลดลงแล้วแต่กรณี ซึ่งขี้นกับตัวกำหนดอุปทานโดยอ้อม • ถ้าเพิ่มขึ้น อุปทาน Shift ไปทางขวา • ถ้าลดลง อุปทาน Shift ไปทางซ้าย
ราคา ปริมาณ ราคา P1ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนขายมีการเปลี่ยนแปลงจาก Q1 เป็น Q2 ซึ่งเป็นลักษณะของอุปทานเพิ่มขึ้น ( increase in supply ) S1 S2 P1 Q1 Q2
ราคา P1ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง แต่จำนวนขายมีการเปลี่ยนแปลงจาก Q1 เป็น Q2 ซึ่งเป็นลักษณะของอุปทานลดลง ( decrease in supply ) ราคา S2 S1 P1 ปริมาณ Q2 Q1
การกำหนดราคา และดุลยภาพตลาด( Price Determination and Market Equilibrium ) • ราคาดุลยภาพ คือ ราคาที่ทำให้ จำนวนสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อมีค่าเท่ากับจำนวนสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์ที่จะผลิตออกขายในขณะเดียวกันพอดี • สภาวะดังกล่าวเรียกว่า ดุลยภาพของตลาด • QDx = QSx ราคาดุลยภาพ
ราคา ปริมาณ ราคาดุลยภาพ และปริมาณดุลยภาพ S E Pequilibrium D Qequilibrium
ตัวอย่าง • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = 800 - 2 PXและ QSx= 200 + 4 PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพ • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = a - b PXและ QSx= c + d PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพในรูปของตัวแปร และข้อกำหนดของต่าคงที่ a, b, c, d Note: บางครั้งสมการอาจไม่เป็นสมการเชิงเส้นตรง
อุปทานส่วนเกิน และ อุปสงค์ส่วนเกิน( Excess Supply and Excess Demand ) • ในบางครั้ง ราคาที่เป็นอยู่ในตลาดไม่ใช่ราคาดุลยภาพ ดังนั้นตลาดจำเป็นต้องมีการปรับตัว จนกว่าจะเกิดดุลยภาพขึ้นอีกครั้ง • อุปทานส่วนเกิน เกิดจาก ราคานั้นสูงกว่าราคาดุลยภาพ ซึ่งสูงเกินอำนาจซื้อของผู้บริโภคส่วนหนึ่งที่จะจ่ายได้ ทำให้สินค้าที่มีอยู่ขายไม่หมด • อุปสงค์ส่วนเกิน เกิดจากการที่ราคาขายต่ำกว่าราคาดุลยภาพ ทำให้ผู้บริโภคต้องการสินค้ามากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตนำออกขาย จึงทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้า
ราคา ปริมาณ อุปทานส่วนเกิน Excess Supply S P E Pequilibrium D Qequilibrium QS QD
ราคา ปริมาณ อุปสงค์ส่วนเกิน S E Pequilibrium P D Excess Demand QS Qequilibrium QD
ตัวอย่าง • สมมติ สมการอุปสงค์และอุปทาน คือ QDx = 400 - 2 PXและ QSx= 100 + 4 PX จงหาราคาและปริมาณดุลยภาพ และหากราคาสินค้าในตลาดอยู่ที่ 40 บาทจะเกิดเหตุการณ์ใด ปริมาณเท่าไร และจะมีกระบวนการปรับตัวอย่างไร พร้อมวาดภาพประกอบ • และหากว่าราคาตลาดอยู่ที่ 55 บาท จะเกิดผลอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ( Change in Equilibrium ) • “ภาวะดุลยภาพ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะคงที่อยู่อย่างนั้นตลอดไป และถ้ามีเหตุใดๆก็ตามมาทำให้สภาพการณ์ที่เป็นจริงห่างไกลจากภาวะดุลยภาพเมื่อใด จะต้องมีแรงผลักดันให้กลับไปอยู่ ณ ดุลยภาพเสมอตราบเท่าที่เส้นอุปสงค์และอุปทานยังคงเดิม” • อย่างไรก็ตามตำแหน่งภาวะดุลยภาพอาจเปลี่ยนแปลงไปได้หากอุปสงค์ อุปทาน หรือทั้งสองอย่างได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
ตัวอย่างที่ 1 สมมติว่า D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของผ้าดิบ ซึ่งมีภาวะดุลยภาพที่จุด E ต่อมรามีการส่งเสริมให้คนใช้สินค้าที่ไม่สร้างมลภาวะ ความนิยมผ้าดิบจึงมากขึ้นและรัฐยังให้ดาราเป็น Presenter รสนิยมของผู้บริโภคจึงมีการเปลี่ยนแปลง มีความต้องการผ้าดิบมากขึ้น ทำให้เส้นอุปสงค์ย้ายไปทางขวาของเส้นเดิม ( อุปสงค์ เพิ่มขึ้น ) เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะดุลยภาพ
ราคา ปริมาณ ตัวอย่างที่ 1 S E’ P’ E P D’ D Q Q’
ตัวอย่างที่ 2 สมมติ D และ S เป็นเส้นอุปสงค์และอุปทานของอาหารญี่ปุ่น มาวันหนึ่งเกิดตรวจพบว่าปลาดิบมีพยาธิอันตรายถึงสมองและทำให้เป็นโรคปัญญาอ่อนได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงกลัวและไม่กล้ากินปลาดิบ จึงทำให้อุปสงค์ของอาหารญี่ปุ่นปรับตัวลดลง ( เส้นอุปสงค์จะย้ายไปทางซ้าย )
ราคา ปริมาณ ตัวอย่างที่ 2 S E P E’ P’ D D’ Q’ Q