822 likes | 2.86k Views
บทที่ 4. การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง ( Accounting for Labors ). ค่าแรง. 1 . ค่าแรงงานในส่วนของสำนักงาน : เงินเดือนค่าแรง-สำนักงาน 2. ค่าแรงงานในส่วนของโรงงาน : เงินเดือนค่าแรง-โรงงาน 2.1 ค่าแรงทางตรง ( Direct Labor Costs ) 2.2 ค่าแรงทางอ้อม ( Indirect Labor Costs ).
E N D
บทที่ 4 การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง (Accounting for Labors)
ค่าแรง 1. ค่าแรงงานในส่วนของสำนักงาน :เงินเดือนค่าแรง-สำนักงาน 2. ค่าแรงงานในส่วนของโรงงาน :เงินเดือนค่าแรง-โรงงาน 2.1 ค่าแรงทางตรง (Direct Labor Costs) 2.2 ค่าแรงทางอ้อม (Indirect Labor Costs)
การบัญชีที่เกี่ยวกับค่าแรงการบัญชีที่เกี่ยวกับค่าแรง 1) การรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงาน 2) การคำนวณ และจ่ายค่าแรงงานให้ถูกต้อง และทันเวลา 3) การจำแนกค่าแรงงานเป็นค่าแรงทางตรง และค่าแรงทางอ้อม 4) การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงงาน
การรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงานการรวบรวมข้อมูลเพื่อคำนวณค่าแรงงาน หลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าแรงงาน มีข้อกำหนดแตกต่างกัน บัตรลงเวลา (Clock Card) จะแสดงถึงเวลาเริ่มงานและสิ้นสุดงานของพนักงานแต่ละคนในแต่ละวัน แต่บัตรลงเวลาไม่สามารถจำแนกDLหรือIDL บัตรบันทึกเวลาทำงาน (Time Ticket) เป็นเอกสารที่ระบุว่าพนักงานทำงาน Jobใด หรือแผนกใดใช้เวลาเท่าใดในการทำงาน
ตัวอย่าง บัตรลงเวลา บริษัท อนุวัฒน์อุตสาหกรรม จำกัด บัตรเลขที่.......... บัตรลงเวลา ชื่อ-สกุล..................................................รหัสประจำตัว.......................แผนก.......... ประจำสัปดาห์เริ่มวันที่............................ถึงวันที่.................................... จำนวนชั่วโมงการทำงานปกติ....................ชั่วโมง จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา..............ชั่วโมง รวม.........................................ชั่วโมง
ตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงานตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงาน ชื่อ-สกุล นายตะวัน ทิพย์ทิวา รหัสประจำตัว 9999 แผนก ตกแต่ง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 .................................. ............................. ผู้จดเวลา ผู้ตรวจสอบ
ตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงานตัวอย่างบัตรบันทึกเวลาทำงาน ประจำงานเลขที่...............777..................วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 .................................. ............................. ผู้จดเวลา ผู้ตรวจสอบ
การคำนวณและจ่ายค่าแรงงานการคำนวณและจ่ายค่าแรงงาน ค่าแรงงานที่เกิดขึ้นเป็นค่าแรงงานก่อนหักรายการต่างๆ ได้แก่ เงินยืมพนักงาน เงินสมทบประกันสังคม เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีๆ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือเรียกว่า ค่าแรงขั้นต้น ค่าแรงงานขั้นต้นที่คำนวณได้นั้นจะประกอบด้วย ค่าแรงปกติและค่าล่วงเวลา โดยการคำนวณค่าแรงงานนั้น ต้องเป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
1. การคำนวณค่าแรงปกติ 1.1 การจ่ายค่าแรงงานตามชั่วโมงการทำงาน (Hourly Rate Plan) ข้อดี ง่ายต่อการคำนวณและเข้าใจของนายจ้าง และลูกจ้าง ข้อเสีย ไม่สามารถจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าแรงปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน × อัตราค่าแรงงานต่อชั่วโมง
ค่าแรงปกติ = จำนวนหน่วยหรือชิ้นงานที่ผลิตได้ × อัตราค่าแรงงานต่อหน่วยหรือชิ้นงาน 1.2 การจ่ายค่าแรงงานตามจำนวนชิ้น (Piece Rate Plan) ข้อดีพนักงานจะมีแรงจูงใจในการผลิตสินค้า ข้อเสียพนักงานอาจจะเร่งการผลิตสินค้า ทำให้สินค้าที่ผลิตได้ไม่มีคุณภาพ
ค่าแรงปกติ = อัตราเงินเดือนที่กำหนด 1.3 การจ่ายค่าแรงงานเป็นเงินเดือน ข้อดีง่ายต่อการคำนวณ ข้อเสียไม่สามารถจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของลูกจ้าง • รายเดือน ได้รับค่าจ้างในวันหยุด • รายวัน ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด
ข้อบังคับในการทำงาน • ใน 1 วันต้องจัดชั่วโมงพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง • ใน 1 วันมีชั่วโมงปกติในการทำงานไม่เกิน 8 ชม. • ใน 1 สัปดาห์มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วัน • ใน 1 ปีมีวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 6 วัน(หากมีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป) • ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วย ลาคลอด ลาบวช ลาเกณฑ์ทหารโดยได้รับค่าจ้าง ตามจำนวนวันที่กฎหมายระบุ • การทำงานเกินกว่าจำนวนที่ระบุ ต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนเพิ่ม
2. การคำนวณค่าล่วงเวลาและค่าทำงานให้วันหยุด 2.1 การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในอัตราหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างปกติ 2.2 การทำงานในวันหยุด 1) การทำงานในวันหยุดแต่ช่วงระยะเวลาทำงานยังอยู่ในช่วงเวลาการทำงานในวันทำงานปกติ : รายเดือนได้ค่าตอบแทนอัตรา 1 เท่า รายวันได้อัตรา 2 เท่า 2) ถ้าให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ลูกจ้างจะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด รายวันได้ค่าตอบแทนอัตรา 3 เท่า
การคำนวณเงินเดือนค่าแรงจ่าสุทธินั้นมักจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่การคำนวณเงินเดือนค่าแรงจ่าสุทธินั้นมักจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ดังตัวอย่าง รายละเอียดการจ่ายค่าแรงงาน ประจำเดือน........................................
การจำแนกค่าแรง และเงินเดือนเป็นDLและIDL การรวบรวมบัตรบันทึกเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน มาทำการวิเคราะห์และสรุปประเภทค่าแรงที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง ค่าตอบแทนที่ให้ฝ่ายบริการการผลิต ให้ถือเป็นค่าแรงทางอ้อมเสมอ ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ฝ่ายผลิต ต้องพิจารณาว่าจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะเป็น DLและIDL
การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรงการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับค้าแรงประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1.การบันทึกค่าแรงขั้นต้น รายการหักต่างๆ และเงินได้สุทธิ จะมีการบันทึกบัญชีดังนี้ Dr. ค่าแรงเงินเดือน-โรงงาน xx Cr. ค่าแรงเงินเดือนค้างจ่าย xx ลูกหนี้เงินยืมพนักงาน xx ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายค้างจ่าย xx เงินสมทบประกันสังคมค้างจ่าย xx
Dr. งานระหว่างทำ xx ค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. ค่าแรงเงินเดือน-โรงงาน xx 2. การบันทึกการจำแนกประเภทค่าแรง 3. การบันทึกการจ่ายค่าแรงค้างจ่ายแก่พนักงาน Dr. ค่าแรงเงินเดือนค้างจ่าย xx Cr. เงินสด/เงินฝากธนาคารxx
การจ่ายสวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆการจ่ายสวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆ ค่าตอบแทนที่ให้กับฝ่ายบริการให้ถือเป็นค่าแรงทางอ้อมทั้งจำนวน โดยบันทึกรายการจำแนกต้นทุนดังนี้ Dr. คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน xx Cr. ค่าแรง xx
ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ฝ่ายผลิต ต้องพิจารณาว่าจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะเป็นค่าแรงทางตรง คือบันทึกไว้ในบัญชีงานระหว่างทำ และจำนวนค่าแรงเท่าใดที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน ทั้งนี้ เนื่องจากผลตอบแทนที่จ่ายให้กับฝ่ายผลิตโดยตรงทั้งจำนวนนั้น ในบางกรณีการนำเอาค่าแรงที่เปิดขึ้นทั้งหมดเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าต่อหน่วยจะไม่เหมาะสม
1. เงินเพิ่มพิเศษในการทำงาน (Premium Pay) เงินเพิ่มพิเศษควรถือเป็นส่วนหนึ่งจองค่าแรงทางตรงหรือไม่นั้น มีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ 1.1 เงินเพิ่มในการทำงานล่วงเวลาเนื่องมาจากกรณีที่กิจการทำการผลิตสินค้าอย่างเร่งด่วนและได้มีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการให้พนักงานทั้งในเวลาการทำงานปกติและนอกเวลาทำงานปกติ เพื่อให้สินค้าผลิตเสร็จตามกำหนดเวลา หรือเป็นการผลิตสินค้าตามความประสงค์ของลูกค้า ซึ่งลูกค้ายินยอมให้กำหนดราคาขายของสินค้าจากต้นทุนของสินค้า โดยรวมค่าล่วงเวลาเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินค้าด้วย ดังนั้นการจ่ายเงินค่าแรงที่เป็นเงินเพิ่มพิเศษอันเกิดจากการทำงานนอกเวลาปกตินี้ให้ถือเป็นค่าแรงทางตรงเช่นเดียวกับค่าแรงปกติ
ตัวอย่าง ในการผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า มีการจ่ายค่าแรงทั้งหมดในอัตราปกติ 48,000 บาท เงินเพิ่มล่วงเวลาเพื่อผลิตสินค้าด่วนพิเศษให้แก่ลูกค้าอีก 8,000 บาท การบันทึกบัญชีทำได้ ดังนี้ 1) การบันทึกรายการค่าแรง และเงินเพิ่มล่วงเวลาที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง56,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 56,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ 56,000.- Cr. ค่าแรง 56,000.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง และค่าล่วงเวลา Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 56,000.- Cr. เงินสด 56,000.-
1.2 เงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลา เนื่องจากการทำการผลิตโดยไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้แต่แรก เช่น มีคนงานบางส่วนลาทำให้คนงานที่เหลือทำงานไม่ทัน เครื่องจักรเสีย วัตถุดิบขาดแคลน หรือเกิดจากการวางแผนการผลิตผิดพลาด เป็นต้น ในกรณีนี้ไม่ควรถือเงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลาเป็นค่าแรงงานปกติ แต่ควรถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน
ตัวอย่าง กิจการมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษในการทำงานล่วงเวลาให้คนงาน 15,000 บาท เนื่องจากวัตถุดิบเกิดการขาดแคลนทำให้การผลิตไม่เสร็จทันกำหนด โดยค่าแรงในอัตราปกติประจำเดือนธันวาคมเท่ากับ 75,000 บาท การบันทึกบัญชีทำได้ดังนี้ 1) กาบันทึกรายการค่าแรง และเงินเพิ่มล่วงเวลาที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 90,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 90,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ 75,000.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 15,000.- Cr. ค่าแรง 90,000.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง และค่าล่วงเวลา Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 90,000 Cr. เงินสด 90,000
2. เงินรางวัลการทำงาน (Bonus) หรือเงินโบนัสที่จ่ายให้แรงงานอาจจะจ่ายเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์จากกำไรสุทธิประจำปี หรือเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือนที่ได้รับ โดยอาจจะมีการจ่ายประจำทุก 6 เดือน หรือทุกปี ในทางทฤษฎี หากทราบว่าจำนวนเงินรางวัลการทำงานหรือเงินโบนัสและทราบว่ามีการจ่ายแน่นอน การบันทึกเงินรางวัลการทำงานจะถัวเฉลี่ยรายการนี้เป็นต้นทุนค่าแรงที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน เพื่อให้ต้นทุนการผลิตสม่ำเสมอตลอดปี
ตัวอย่าง สมมติว่าเงินเดือนแรงงานทางตรงประจำเดือนเท่ากับ 20,000 บาท บริษัทฯ มีนโยบายให้เงินโบนัสในแต่ละปีเป็น 1.5 เท่าของเงินเดือน การบันทึกบัญชีทำได้ดังนี้ 1) การบันทึกรายการค่าแรงที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 20,000.- Cr.ค่าแรงค้างจ่าย 20,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ[20,000+((20,000×1.5)/12)]22,500.- Cr. ค่าแรง 20,000.- เงินกันใช้สำหรับโบนัส 2,500.- 3) การบันทึกจ่ายค่าแรง Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 20,000.- Cr. เงินสด 20,000.-
เมื่อมีการสะสมโบนัสไว้ครบ 1 ปี ยอดโบนัสจะสะสมรวมกันจนครบ 30,000.- บาท ทางด้านเครดิต เมื่อกิจการมีการจ่ายเงินโบนัสให้กับพนักงานก็จะทำการโอนปิดบัญชีเงินกันไว้สำหรับโบนัส ดังนี้ Dr. เงินกันไว้สำหรับโบนัส 30,000.- Cr. เงินสด 30,000.-
ในทางปฏิบัติจะทำได้ยาก จึงถือเป็นคุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน ทั้งนี้ ในการจัดทำประมาณจำนวนค่าใช้จ่ายโรงงาน กิจการควรจะมีการประมาณเงินโบนัสที่จะต้องจ่ายทั้งปีเป็นค่าใช้จ่ายโรงงานส่วนหนึ่งด้วย เพื่อคำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายโรงงานจัดสรรเป็นการล่วงหน้า
3. ค่าแรงในระยะหยุดพักผ่อนประจำปี (Vacation Pay) ค่าแรงที่จ่ายไปในช่วงการหยุดพักผ่อนประจำปีนี้ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้น ดังนั้นค่าแรงในช่วงระยะเวลาหยุดพักผ่อนประจำปีคำนวณเป็นค่าแรงของเดือนที่มีการทำงาน - เฉลี่ยเป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าตอบแทนแต่ละเดือน - ไม่ต้องเฉลี่ย แต่กำหนดให้ค่าแรงที่ต้องจ่ายในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน
ตัวอย่าง นายรัช แสนงาม ได้รับเงินเดือน เดือนละ 23,000 บาท คนงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ครึ่งเดือน ระยะเวลาทำงานจะเท่ากับ 11.5 เดือน ค่าแรงระยะหยุดพักเท่ากับ11,500 บาท ไม่มีเงินพิเศษอื่นในช่วงหยุดพักร้อน 1) การบันทึกรายการค่าแรงที่เกิดขึ้น Dr. ค่าแรง 23,000.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 23,000.- 2) การบันทึกการจำแนกค่าแรงเป็นต้นทุนของการผลิต Dr. งานระหว่างทำ [23,000+((23,000/2)11.5)] 24,000.- Cr. ค่าแรง 23,000.- เงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อน 1,000.-
3) การบันทึกจ่ายค่าแรง Dr. ค่าแรงค้างจ่าย 23,000.- Cr. เงินสด 23,000.- เมื่อมีการสะสมเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนครบ 1 ปี ยอดบัญชีเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนจะสะสมรวมกันจนครบ 11,500 บาท ทางด้านเครดิต เมื่อกิจการถึงคราวต้องจ่ายเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนให้กับพนักงานก็จะทำการโอนปิดบัญชีเงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อนดังนี้ Dr. เงินกันไว้สำหรับค่าแรงระยะหยุดพักผ่อน 11,500.- Cr. เงินสด 11,500.- ข้อสังเกต การจ่ายค่าแรงในช่วงระยะเวลาหยุดพักผ่อนมีลักษณะการบันทึกจำแนกต้นทุนเช่นเดียวกับเงินรางวัล
4. ค่าแรงว่างเปล่า (Idle Time Wages) ในช่วงที่หยุดการผลิตไม่ว่าจะเป็นการหยุดอันเนื่องจากเครื่องจีกรขัดข้อง วัตถุดิบขาดแคลน หรือคนงานลา หากกิจการยังต้องจ่ายค่าแรงให้กับพนักงานให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน 5. การให้สวัสดิการอื่นๆ กับพนักงาน หากกิจการมีการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเครื่องแบบ การจัดรถรับ-ส่ง เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการบันทึกบัญชีให้ถือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายโรงงาน
ตัวอย่าง บริษัท น้ำเพียงดินอุตสาหกรรม จำกัด มีชั่วโมงการผลิตสัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 8 ชั่วโมง โดยให้หยุดทำงานวันอาทิตย์ คนงานมีจำนวน 20 คน อัตราจ้างคนละ 20 บาท/ชั่วโมง ค่าแรงขั้นต้นที่ได้รับจะมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 3% คนงาน 20 คน จะทำการผลิตสินค้าได้วันละ 1,000 หน่วยทั้งนี้สินค้าที่ผลิตนั้นไม่พอจำหน่ายเพื่อให้สินค้าเพียงพอกับการจำหน่าย บริษัทจึงมีนโยบายให้ผลิตสินค้าวันละ 1,250 หน่วย โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคมให้มีการทำงานล่วงเวลาตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์โดยทำเพิ่มวันละ 2 ชั่วโมง (ค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 30 บาท)
คำนวณค่าแรงในช่วง 2 สัปดาห์แรก ชั่วโมงปกติ 8 ชั่วโมงได้ผลผลิต 1,000 หน่วย 1 ชั่วโมง ได้ 125 หน่วย ต้องการสินค้า 1,250 หน่วย ต้องทำการผลิตวันละ 10 ชั่วโมง ในช่วง 2 สัปดาห์ ต้องจ่ายค่าจ้างให้คนงานดังนี้ 1 คน20 คน อัตราปกติ 12 วัน วันละ 10 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 2,400.- 48,000.- อัตราเพิ่มพิเศษ 12 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 10 บาท 240.-4,800.- รวมค่าจ้าง 2,640.-52,800.-
บันทึกรายการจ่ายค่าแรงบันทึกรายการจ่ายค่าแรง Dr.ค่าแรง 52,800.- Cr.ค่าแรงค้างจ่าย 51,216.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (52,800×3%) 1,584.- บันทึกต้นทุนค่าแรง Dr. งานระหว่างทำ 48,000.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 4,800.- Cr.ค่าแรง 52,800.-
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มกราคม ผู้จัดการฝ่ายขายได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายหนึ่ง ซึ่งต้องการให้ทำการผลิตโดยด่วนจำนวน 500 หน่วย และค่าล่วงเวลาให้รวมอยู่ในต้นทุนได้ สินค้ารายการนี้ต้องจัดส่งไปให้วันพุธหน้า จึงมีคำสั่งให้ทำการผลิตสินค้าชิ้นนี้ในวันอาทิตย์ โดยทางบริษัทจะจ่ายค่าแรงให้คนงานเพิ่มเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ
ค่าแรงสำหรับงานรีบด่วนของลูกค้าค่าแรงสำหรับงานรีบด่วนของลูกค้า งาน 500 หน่วย ใช้เวลา (500/125) 4 ชั่วโมง ค่าทำงานในวันหยุดค่าแรงเป็น 2 เท่า 1 คน20 คน อัตราปกติ 20 บาท/ชั่วโมง จำนวน 4 ชั่วโมง 80.- 1,600.- อัตราเพิ่มพิเศษ 20 บาท/ชั่วโมง จำนวน 4 ชั่วโมง 80.-1,600.- รวมค่าจ้าง 160.-3,200.- บันทึกการจ่ายค่าแรงงานรีบด่วน Dr. ค่าแรง 3,200.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 3,104.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (3,200×3%) 96.-
บันทึกต้นทุนค่าแรงงานรีบด่วนบันทึกต้นทุนค่าแรงงานรีบด่วน Dr. งานระหว่างทำ 3,200.- Cr. ค่าแรง 3,200.- • ในวันจันทร์ที่ 6 มกราคม เครื่องจักรเกิดขัดข้อง เนื่องจากความผิดพลาดในด้านเทคนิคบางประการ เป็นผลให้ต้องหยุดการผลิตเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ต้องมีการ ทำงานล่วงเวลาในเวลาเย็นอีก 2 ชั่วโมง
ค่าแรงว่างเปล่า 2 ชั่วโมง :- 1 คน20 คน ค่าแรงว่างเปล่า 2 ชั่วโมง @ 20 บาท 40.- 800.- ค่าแรงปกติ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 120.-2,400.- รวมค่าจ้าง 160.-3200.- ค่าทำงานล่วงเวลาเพราะเหตุขัดข้อง 2 ชั่วโมง อัตราปกติ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 20 บาท 40.- 800.- อัตราเพิ่ม 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 10 บาท 20.-400.- รวมค่าจ้าง 60.-1,200.-
บันทึกรายการจ่ายค่าแรงงานเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้องบันทึกรายการจ่ายค่าแรงงานเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง Dr. ค่าแรง 4,400.- Cr. ค่าแรงค้างจ่าย 4,268.- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 132.- บันทึกต้นทุนค่าแรงเนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง Dr. งานระหว่างทำ 2400+800 ล่าง 3,200.- คุมยอดค่าใช้จ่ายโรงงาน 800บน+400 1,200.- Cr. ค่าแรง 4,400.-