170 likes | 405 Views
LI 395. Lesson 4 ไวยากรณ์และการอ่าน. หัวข้อที่จะเรียนในสัปดาห์นี้. ๑. ความหมายของไวยากรณ์ ๒. ความรู้เรื่องวจีวิภาคที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน ๓. ความรู้เรื่องวากยสัมพันธ์ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน. ๑. ความหมายของไวยากรณ์.
E N D
LI 395 Lesson 4 ไวยากรณ์และการอ่าน
หัวข้อที่จะเรียนในสัปดาห์นี้หัวข้อที่จะเรียนในสัปดาห์นี้ • ๑. ความหมายของไวยากรณ์ • ๒. ความรู้เรื่องวจีวิภาคที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน • ๓. ความรู้เรื่องวากยสัมพันธ์ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน
๑. ความหมายของไวยากรณ์ ไวยากรณ์ (Grammar)โดยทั่วไปหมายถึงการศึกษาด้านโครงสร้างของคำ และความสัมพันธ์ของคำในประโยคของภาษาใดภาษาหนึ่ง อาจให้ความหมายได้ ๔ อย่าง (ตามพจนานุกรมการอ่านของสมาคมการอ่านนานาชาติ) ๑. คำอธิบายเกี่ยวกับภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูลว่าภาษาทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะรวมด้านเสียง ด้านคำ ด้านวจีวิภาคและด้านความหมายของโครงสร้างภาษาทั้งในปัจจุบันและในอดีตที่ผ่านมา
๒. วจีวิภาค (Morphology) และ วากยสัมพันธ์ ของภาษาใดภาษาหนึ่ง • ๓. การศึกษาเชิงพรรณาของภาษาหนึ่งหรือหลายภาษา • ๔. สิ่งที่ผู้พูดรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและการใช้ภาษาของตัวเองเพื่อการสื่อสารและความคิดริเริ่ม
ประเภทของไวยากรณ์ • Frank Smith .ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์ว่า • ๑. ไวยากรณ์ที่เราเรียนกันอยู่นี้ส่วนมากเป็นแบบเก่า (Traditional grammar) เป็นการพรรณาเกี่ยวกับหน้าที่ของคำ ซึ่งมีกฏต่างๆที่จะต้องปฎิบัติตาม • ๒. ไวยากรณ์แบบใหม่ที่เน้นด้านความหมาย (Semantic grammar) ซึ่งอธิบายความหมายของโครงสร้างลึก (Deep structure) และโครงสร้างผิว (Surface structure) ซึ่งมีความแตกต่างในด้านแนวคิด (Concept) หลายประการ
ความรู้เรื่องวจีวิภาค(Morphology)ความรู้เรื่องวจีวิภาค(Morphology) • ๑. คำและหน่วยคำ (Words and morphemes) • คำประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย เช่นคำว่า talk, talks, talked, talker มีส่วนที่แตกต่างกันคือรูปและเสียงลงท้าย /-s/, /-ed/, และ /-er/ ส่วนที่แตกต่างนี้นับเป็นหน่วยของคำด้วย ซึ่งบางหน่วยให้ความหมาย เช่น /-s/, • /-ed/ แสดงเวลาในปัจุบันและอดีต /-er/ แสดงเป็นผู้กระทำ เป็นต้น หน่วยของคำเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปไปตามเงื่อนไขต่างๆ ซึงเรียกว่า Allomorph เช่นหน่วยคำเดียวกันแต่เขียน และออกเสียงต่างกันตามสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
เช่น hats, dogs, roses หน่วยคำ [ s ], จะออกเสียง เป็น /z/ เมื่อตามหลังพยัญชนะ [ g] หรือ [se] ซึ่งมีเสียงสั่นสะเทือนในสายเสียง เป็นต้น • นอกจากนี้ก็มีคำที่เปลี่ยนรูปสระ เช่น man-men, ox-oxen, drink-drank-drunk รูปสระที่เปลี่ยนไปพร้อมกับเสียง ก็เป็นหน่วยคำที่เกิดจากเงื่อนไขทางรูปคำและเสียง • เพื่อบอกจำนวน (พจน์) และกาล (time aspect) เป็นต้น
ประเภทของหน่วยคำ • ๑. หน่วยคำอิสระและหน่วยคำผูกพัน (Free and bound morpheme) • write = หน่วยคำอิสระ writer, writing, written, [ -er], [-ing], [-en] เป็นหน่วยคำผูกพัน คืออาศัยคำอิสระ เพื่อแสดงความหมายที่เปลี่ยนไป ในตัวเองเมื่ออยู่เดี่ยวๆก็ไม่มีความหมายอะไร
๒. หน่วยคำทางความหมายและหน่วยคำทางไวยากรณ์ (Lexical and grammatical morphemes) เช่น boy, girl, man, เป็นหน่วยคำอิสระทางความหมาย แต่เวลาพูดเป็นกลุ่มคำหรือประโยค จะมีคำมาช่วยขยายความหรือแสดงอาการกระทำ เช่น A boy is standing. He is talking with a girl. • A, is,-ing, He, with เป็นคำไวยากรณ์ ทำหน้าที่ให้ความหมายแก่คำอิสระในด้านต่างๆ เช่นบอกหน้าที่ แสดงอาการ กระทำ อ้างอิงคำอื่น เป็นต้น
๓. หน่วยคำแกนและหน่วยคำเติม (Roots and Affixes) เช่นคำว่า national, democracy • Nat-, demo- เป็นหน่วยคำแกน คือเป็นรากศัพท์ของคำที่สร้างขึ้นใหม่ –ion+al, cracy, เป็นหน่วยคำเติม คือเป็นsuffix หรือปัจจัยที่เติมมาข้างหลังเพื่อทำให้เกิดคำใหม่ คำอื่นๆ เช่น preface, retain, illness หน่วยคำที่เติมมาข้างหน้า prefix, pre-, re-, ill- บวกกับรากศัพท์ ก็สร้างคำใหม่ขึ้นมา
๔. หน่วยคำผันและหน่วยคำคง (Derivational affixes and inflectional affixes) • Happy--happiness, quickquickly, bookbooks, learnlearned • ส่วนของคำ –ness, -ly เป็นหน่วยคำผัน คือทำให้คำอิสระเปลี่ยนรูปคำ (form)และหน้าที่(function)ไป ส่วน –s, -ed เป็นหน่วยคำคง คือทำหน้าที่เปลี่ยนรูปและความหมาย ไปตามกาล แต่ไม่ได้เปลี่ยนหน้าที่ (function)
ส่วนประกอบของคำ • การสร้างคำจากหน่วยคำประเภทต่างๆจึงสามารถสร้างคำใหม่ขี้นมาได้หลายแบบ เช่น • ๑. หน่วยอิสระ เป็นคำโดดเช่น pen, book, road, etc. • ๒. หน่วยคำอิสระ + หน่วยคำอิสระ เช่น homework. • Policeman, blackboard
๓. หน่วยคำอิสระ + หน่วยคำผูกพัน หน่วยคำผูกพัน + หน่วยคำอิสระ เช่น manner, unhappy • ๔. หน่วยคำผูกพัน + หน่วยคำผูกพัน เช่น • interesting, disappointment เป็นต้น
๓. ความรู้เรื่องวากยสัมพันธ์ (Syntax) • วากยสัมพันธ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียงคำ วลี ประกอบขึ้นเป็นประโยค มีกฏเกณฑ์ที่ต้องปฎิบัติ เพื่อการยอมรับและเข้าใจตามที่เจ้าของภาษานิยมกัน กฏเกณฑ์การสร้างประโยค (syntactic rules) เป็นตัวเชื่อมระหว่างภาษาระดับลึก (Deap structure) กับภาษาระดับผิว (Surface structure)
การสร้างประโยค • ทำได้หลายวิธี เช่น • ๑. การเรียงลำดับคำ (word order) เพื่อสื่อความหมาย เช่น Dogs chase cats. กับ Cats chase dog. มีความหมายต่างกัน เพราะมีการสับเปลี่ยนคำใหม่ • ๒. ความสัมพันธ์ของคำ (Constituents of words) แสดงถึงความใกล้ชิดของคำที่อยู่ในประโยค เช่น • the boy jumped (the boy + jumped, • The+boy, jumped) เมื่อประโยคยาวขึ้น ส่วนประชิด (constituency) ก็จะต่างออกไป
โครงสร้างประโยคแบบใหม่โครงสร้างประโยคแบบใหม่ • Deep structure ได้แก่โครงสร้างภาษาที่มีความหมายรองรับโครงสร้างอื่นๆที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น • 3. Are you hungry? จะมาจากโครงสร้างเดิมคือ 2 • 2. You are hungry. :ซึ่งเปลี่ยนมาจาก 1. 1.Hungry(you) (are) • ประโยค 1, 2 เป็นprimary & deep structure • ประโยค 3 เป็น Surface structure ซึ่งเปลี่ยนมา จากโครงสร้างที่รองรับด้านความหมายต้นๆ
ไวยากรณ์แบบปริวรรตและไวยากรณ์แบบสัมพันธ์ความหมายเป็นรายกรณีไวยากรณ์แบบปริวรรตและไวยากรณ์แบบสัมพันธ์ความหมายเป็นรายกรณี • ๑.ไวยากรณ์ปริวรรต (Transformation Grammar) ผู้บุกเบิก Noam Chomsky • ๒.ไวยากรณ์แบบสัมพันธ์ความหมายเป็นรายกรณี (Generative semantics or Case Grammar) • แนวคิด แบบ ๑ โครงสร้างนำไปสู่ความหมาย • แบบ ๒ ความหมายนำไปสู่โครงสร้าง