610 likes | 856 Views
(ร่าง) ข้อเสนอ หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556. เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง. File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว. มิถุนายน 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (ร่าง) กรอบวงเงินงบอัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2556.
E N D
(ร่าง) ข้อเสนอหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว มิถุนายน 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(ร่าง) กรอบวงเงินงบอัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2556
1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป
(ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (1) การบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 รายการย่อย ได้แก่ 1.1 จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ 1.2 จ่ายตามผลงานบริการ 1.3 จ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ 1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับประสิทธิภาพ
(ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (2) 1.1 จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ จำนวน912.62 บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 จ่ายตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียน โดยหลักการคำนวณเหมือนปี 2555 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ • จำนวนเท่ากับปี 2555 (757.39 บาทต่อประชากร) ให้มีการ diff. capitation ด้วยจำนวนประชากรตามโครงสร้างอายุประชากรและให้ปรับค่าความต่างของอัตราต่อหัวแต่ละจังหวัด(สป.สธ.) / CUP (สังกัดอื่นๆ) ให้ต่างจากค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ± 10% โดย • หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ให้ปรับที่ระดับจังหวัด • หน่วยบริการสังกัดอื่นๆ ที่เหลือ ให้ปรับที่ระดับ CUP • จำนวนที่เหลือ (155.23 บาทต่อประชากร)ให้จ่ายในอัตราเท่ากัน
(ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (3) 1.2 จ่ายตามผลงานบริการ จำนวนเงิน 18.09 บาทต่อประชากร กรอบแนวทางการบริหารเหมือนปี 2555 แต่เพิ่มด้านคุณภาพของการให้บริการโดย • จ่ายตามจำนวนผลงานและตามคุณภาพของการให้บริการจากข้อมูล OP/PP individual records • จ่ายตามจำนวนผลงานและคุณภาพของข้อมูลทางการเงินหน่วยบริการ • การพัฒนาระบบข้อมูลผู้รับบริการ
(ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (4) 1.3 จ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่จะต้องดำเนินการ • มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • 22 ม.ค.2551 ให้ใช้กลไกการเงินสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ โดยให้มีแผนลงทุนขยายและพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิและกำลังคนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง • 14 มิ.ย.2552 ให้มีงบเหมาจ่ายเพิ่มเติมสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ศักยภาพ • นโยบายรัฐบาลเร่งด่วนปีแรกข้อ 1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ซึ่งมีทิศทางตามข้อเสนอ SMART Health ระบุประเด็นหลักหนึ่งว่า “มีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ” • ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2555 – 2559 ยุทธศาสตร์ ที่ 3 “สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมในทุกมิติและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (primary care strengthening)”
กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายด้านบริการปฐมภูมิกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายด้านบริการปฐมภูมิ • ผลักดันเชิงนโยบายร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ • ใช้กลไกการเงินกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจำ/โรงพยาบาลแม่ข่ายพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง • ทิศทางการใช้กลไกการเงินปรับจากโครงสร้างไปสู่ผลผลิตและผลลัพธ์มากขึ้น • ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข องค์กรวิชาชีพ และภาคีต่างๆในการสนับสนุนการผลิต กระจาย และพัฒนากำลังคนในบริการปฐมภูมิ • กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่พื้นที่ (ระดับเขตและจังหวัด) • สนับสนุนภาคส่วนอื่น (อปท. เอกชน social enterprise) เข้ามาร่วมจัดการบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่ยังมีช่องว่าง • เสริมบทบาทกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน
(ร่าง) กรอบการบริหารงบจ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ ปี 2556 งบจ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ 37 บ./ปชก. ตามเกณฑ์ศักยภาพบริการปฐมภูมิ 30 บ./ปชก. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการปฐมภูมิ 7 บ./ปชก. • เป็นเกณฑ์เชิงโครงสร้าง + Output/Outcome โดย • บริหารจัดการเป็น global budget ระดับเขต ตามจำนวนปชก. : ผลงานปี2555 ที่สัดส่วน 50 : 50 • น้ำหนักเกณฑ์ เน้น output และ outcome(PC) เพิ่มขึ้น • กำหนด minimum requirements • เกณฑ์กลางระดับประเทศ + เกณฑ์ระดับพื้นที่ • มีเงื่อนไขให้ CUP ต้องสนับสนุน PCU • วัดผลงานระดับ CUP / PCU • การจ่ายตามค่าคะแนนของผลการประเมิน ภายใต้ global budget ระดับเขต พัฒนาศักยภาพการจัดบริการปฐมภูมิ 80% สนับสนุนการผลิตพัฒนาและกระจายบุคลากร 20% • เป็น global budget ระดับเขตที่คำนวณตามจน.ปชกทั้งหมด : จน. PCU ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ศักยภาพ ด้วยสัดส่วน 30:70 • สนับสนุนพัฒนา/จัดหากำลังคนที่จำเป็นและขาด ตามบริบทพื้นที่ ตามทิศทางที่ สปสช. กำหนด • ส่งเสริมนวตกรรมระบบบริการปฐมภูมิ • พัฒนาระบบบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District health system :DHS) • การดำเนินงานผ่านการพิจารณาของ อปสข.
ผลลัพธ์งบ On top Payment • ปี 2554 มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานใน รพ.สต 7,689 แห่ง(77.87%) รวมจำนวน 10,274 คน ซึ่งในจำนวนนี้ผ่านการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป(NP)จำนวน 7,415 คน (72.17%) เปรียบเทียบกับในปี 2551 ก่อนมีงบon topมีพยาบาลจำนวน 6,158 คนที่ปฏิบัติงานใน PCU • ปี 2554 มี PCU ที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน 94.43% เปรียบเทียบกับ ปี 2551 ก่อนมีงบ ontop มี PCU ที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน 60%
(ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (5) 1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับประสิทธิภาพ • จำนวน 6.65 บาทต่อประชากร (งบมาจากรายการที่มีเป้าหมายในการปรับประสิทธิภาพการบริหารงบกองทุน เมื่อเทียบกับปี 2555) • สำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับประสิทธิภาพการจัดบริการและการบริหารกองทุน เช่น การพัฒนาต้นทุนบริการ/รายโรค การเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่มีการปรับประสิทธิภาพ เป็นต้น • แนวทางการจ่ายให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง กำหนด
2.งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป2.งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป
(ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (1) จำนวนเงิน 972.17 บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 และกรอบแนวทางบริหารเหมือนปี 2555 โดย • ครอบคลุมบริการผู้ป่วยในทุกรายการ ยกเว้นที่กำหนดให้จ่ายจากประเภทบริการอื่น • บริหารเป็น global budget (GB) ที่ระดับเขต โดย 2.2 การคำนวณ GB เป็นไปตามมติ 12 ก.ค.2553 (45% ตามโครงสร้างอายุ 55% ตาม workload) 2.2 การคำนวณ GB ให้ประมาณการเป็นทั้งปี โดยใช้ข้อมูลผลการให้บริการที่เกิดขึ้นที่เป็นปัจจุบัน
(ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (2) • การจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการ 3.1) ให้กันเงินเพื่อจ่ายตามจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการได้ไม่เกิน 15 บาทต่อหัวประชากรโดยความเห็นชอบของ อปสข.และที่เหลือให้จ่ายด้วยระบบ DRG with global budget ด้วย DRG version 5 3.2) การจ่ายตามระบบ DRG ให้จ่ายตามการใช้บริการที่เกิดขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายจำนวน adjRWที่จะเกิดขึ้น และอัตราจ่ายต่อ adjRWโดยให้ อปสข.พิจารณาเป้าหมายจำนวนน้ำหนักสัมพัทธ์ที่จะเกิดขึ้นและอัตราจ่ายต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ให้แต่ละจังหวัดภายใต้เพดานกองทุนย่อยผู้ป่วยในระดับเขตของแต่ละเขต
(ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (2) • อัตราจ่ายต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ (บาทต่อadjRW) ดังนี้ 4.1) จ่ายกรณีไปรักษานอกเขต ในอัตรา 9,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ทุกระดับและไม่ปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐและสำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ใกล้กับจังหวัดของพื้นที่ สปสช.เขตอื่น ให้สามารถกำหนดอัตราตามข้อตกลงระหว่างหน่วยบริการได้ แต่อัตราจ่ายต้องไม่เกิน 9,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ 4.2) อัตราจ่ายกรณีผู้ป่วยระบบสำรองเตียง ให้เป็นไปตามความจำเป็นและข้อตกลง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ 4.3) การใช้บริการกรณีมาตรา 7 (ทั้งหน่วยบริการในระบบและนอกระบบ) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขบริการและอัตราที่ สปสช.กำหนด 4.4) อัตราที่รักษาคนในเขต ให้เป็นอัตราเดียวในแต่ละเขต และ และสามารถกำหนดอัตราจ่ายเป็นอย่างอื่นเพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการภายในเขตได้ แต่เมื่อเทียบกับการจ่ายต่อ adjRWต้องไม่เกิน 9,000 บาทต่อ adjRWโดยผ่านความเห็นชอบของ อปสข.
(ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (5) • การบริหารการจ่ายค่าบริการให้หน่วยบริการแต่ละเขตให้สามารถกำหนดอัตราจ่ายเบื้องต้นที่อัตราหนึ่ง และต้องให้จ่ายให้หมดวงเงิน GB ระดับเขตตามเงื่อนไขมาตรการวินัยทางการเงิน (กำหนดเวลาการส่งข้อมูล การปรับลดการจ่ายหากส่งข้อมูลล่าช้า) โดยให้ อปสข. พิจารณางบประมาณส่วนที่อาจจะเหลือ (จากการกำหนดเป้าหมายและอัตราจ่ายต่อ adjRW เบื้องต้น) ให้หน่วยบริการเป็นค่าบริการสาธารณสุขต่างๆ เพิ่มเติมได้ • ให้มีการเสนอข้อมูลการใช้บริการให้ทราบทั่วกัน เพื่อการตรวจสอบและการพัฒนาระบบบริการ โดยเฉพาะ • กรณีส่งผู้ป่วยที่มีน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW)<=2 ไปรักษานอกเขตพื้นที่ • กรณีการรักษาที่ RW<=0.5 จำแนกทั้งรักษาในเขตและนอกเขตพื้นที่
3.เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง3.เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง
(ร่าง) 3.กรอบแนวทางบริหาร เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง จำนวน 60.99บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 แนวทางการจ่ายส่วนเหมือนปี 2555 จ่ายโดยคำนึงถึงต้นทุนคงที่ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนและเครือข่าย, โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กและเครือข่าย เพื่อให้จัดบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการจ่ายให้ประยุกต์วิธีการทางสถิติ โดยใช้ cost function และข้อมูลงบการเงินหน่วย ดังนี้ • ประยุกต์ผลจาก cost function คำนวณเป็นค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็น โดยใช้ cost function ชุดเดียวกับที่ใช้ในการคำนวณปี 2555 • จ่ายเป็นผลต่างระหว่างค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็นราย CUP กับการจ่ายค่าบริการ OP-ทั่วไป • สำหรับจังหวัดที่มีประชากร UC ต่ำกว่า 300,000 คนปรับให้ภาพรวมของงบระดับจังหวัดหลังเงินเดือนได้ประมาณค่าเฉลี่ย -1SD บาทต่อประชากรสิทธิ • ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังเป็นผู้พิจารณากรณีหน่วยบริการที่มีภาระในการสงเคราะห์การให้บริการประชากรอื่นๆ เช่น พท.ติดชายแดนของจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน สระแก้วเป็นต้น • กรณีมีงบประมาณเหลือให้จัดสรรให้หน่วยบริการประจำตามจำนวนประชากรสิทธิ ในอัตราเดียวกัน
หลักการในการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูงหลักการในการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง Diff Cap+ 180.89(รายได้) จำนวนเงิน • Cost function • Fix • OP variable (per capita ระดับจังหวัด) Fix cost Fix cost cap จำนวนประชากร
4.งบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน, บริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึง
(ร่าง) 4. กรอบแนวทางการบริหารงบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึงปี 2556(1) • ครอบคลุมรายการบริการต่างๆ • ไม่มีการเพิ่มเติมรายการใหม่ • ย้ายมาจากรายการบริการอื่น 3 บริการ ได้แก่ • บริการทันตกรรมประดิษฐ์ (เป็นค่าฟันเทียม ให้รวมไว้กับ Instrument) • บริการทันตกรรมจัดฟันและฝึกพูด สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ • บริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อข้ามจังหวัด • แนวทางการจ่ายส่วนใหญ่เหมือนปี 2555 ยกเว้นรายการ OP-refer ข้ามจังหวัด
4.1 บริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง (HC)
4.2 บริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน (AE,PUC) ปี 2556 ปรับแนวทางการจ่าย OP-refer ข้ามจังหวัด
แนวทางบริหารงบ OP-refer ที่ใช้บริการข้ามจังหวัด ปี 2556 จำนวน15 บาทต่อประชากร สำหรับกรณีบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อเฉพาะข้ามจังหวัด (ย้ายรายการมาจาก OP-ทั่วไป) เท่ากับปี2555 โดยมีกรอบแนวทางบริหาร ดังนี้ • จ่ายแบบร่วมจ่ายกับหน่วยบริการประจำของผู้ป่วย โดยจัดตั้งเป็นกองทุนระดับเขต/ระดับจังหวัด • แนวทางการจ่าย โดยการคำนวณเพดานต่อครั้งบริการ หลังหักเงินที่จะจ่ายด้วยรายการอื่นๆ ออกไปก่อน • หน่วยบริการประจำ จ่ายแบบมีเพดานตามจ่ายไม่เกินอัตราที่ สปสช.กำหนด ต่อครั้ง • งบ OP Refer-ข้ามจังหวัด จ่ายบริการส่วนที่เกินอัตราที่ สปสช.กำหนด ต่อครั้ง • สปสช. ทำหน้าที่ในการหักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจำ
4.3 บริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึง สำหรับการปลูกถ่ายตับในเด็กกรณีท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ให้ใช้งบรายการบริการผู้ป่วยทดแทนไต เหมือนปี2555
สรุปงบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึงปี 2556 ทั้งนี้ให้เกลี่ยงบประมาณระหว่างข้อ 4.1 ถึง ข้อ 4.3 ได้
5.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค5.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
กรอบแนวคิดหลักของการบริหารจัดการงบ P&P • ครอบคลุมบริการ P&P รายบุคคลและครอบครัวสำหรับคนไทยทุกคน • กรอบการบริหารจัดการเพื่อ • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งที่เป็นปัญหาความสำคัญในระดับประเทศ/เขต/จังหวัด/หน่วยบริการ/ชุมชน และนโยบายที่เน้นหนักของรัฐบาล • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P • ผู้ดำเนินการจัดบริการจะเป็นหน่วยบริการ สถานพยาบาล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ และชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการจัดบริการ P&P
วัตถุประสงค์ 1. ลดอัตราป่วย อัตราตายและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ 2. เพิ่มการเข้าถึงบริการที่จำเป็นและมีคุณภาพตามมาตรฐานบริการอย่างเท่าเทียมในแต่ละกลุ่มวัย
(ร่าง) กรอบวงเงินการบริหารงบ P&P ปี 2556 P&P Capitation ( 232.36 บาท x ปชก. ทุกสิทธิ 65.404ล้านคน) คำนวณจาก 313.70 บาท/ปชก.UC 48.445 ล้านคน (1) NPP& Central procurement 25.72 บ.(11%) (4) สนับสนุนและส่งเสริม 7.68บ.(3%) (3) PPA 57.4บ. (25%) (2) PP E 124.96 บ. (54%) (5) ทันตกรรมส่งเสริม 16.60บ. (7%) ชุมชน (กองทุนอบต.) (40) หักเงินเดือน Capitation+ Workload 99.96 บ. จังหวัด/เขต (17.4) Quality Performance 25 บ. CUP/สถานพยาบาล/หน่วยบริการอื่นๆ กรณี สปสช.เขต 10 (กรุงเทพมหานคร) ให้สามารถบูรณการการบริหารงบ PPE และ PPA เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ตามที่กำหนด เนื่องจากไม่มีสาขาจังหวัดและบริบทพื้นที่แตกต่าง
(ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (1) 5.1 P&P National priority program & Central procurement • NPP • เป็นค่าบริการและส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการ P&P ที่เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ (Thalassemia , แรงงาน ,มะเร็ง ,HIV ,DM HT) และบริการที่เน้นหนักตามนโยบายรัฐบาล (การส่งเสริมสุขภาพเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา ) • บริหารจัดการโดยส่วนกลางร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง(กรมวิชาการ/สถาบันวิชาการ/สมาคมวิชาชีพ) • Central Procurement • วัคซีนได้แก่ ;วัคซีนพื้นฐานตามโปรแกรมมาตรฐานที่กำหนด , วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ • สมุดบันทึกสุขภาพมารดาทารก และสุขภาพนักเรียน
(ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (2) 5.2 P&P Expressed demand • สำหรับบริการ P&P ที่มีความต้องการเด่นชัดที่ประชาชนมารับบริการที่หน่วยบริการ หรือหน่วยบริการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน • การบริหารจัดการโดย สปสช.เขต สปสช.สาขาจังหวัด จัดสรรให้หน่วยบริการด้วย เงื่อนไข 3 ประการ คือ ตามจำนวนประชากร ตามปริมาณงาน และ ตามผลสัมฤทธิ์บริการ 5.3 P&P Area based • สำหรับบริการ P&P ที่เป็นความสำคัญระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับชุมชน • การบริหารจัดการ โดย • กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นการบริการ P&P ที่ดำเนินการในชุมชน ในรูปแบบความร่วมมือกับ อปท. • สปสช.เขต และ สปสช.สาขาจังหวัด สำหรับบริการ P&P ที่เป็นบริการเน้นหนักตามนโยบายสำคัญ ซึ่งต้องเร่งดำเนินการในทุกพื้นที่ รวมถึงบริการที่เป็นปัญหาสำคัญเฉพาะของแต่ละเขต/จังหวัด
(ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (3) 5.4 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P 1) เป็นค่าสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P โดยเน้นสำหรับกิจกรรมการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน P&P ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ รวมถึงพัฒนาระบบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการด้านศักยภาพบุคลากร ด้านการ บริการ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ 2) การบริหารจัดการโดยส่วนกลาง สปสช.เขต และ สปสช.สาขาจังหวัดภายใต้หลักของการบูรณาการงานและเงินสนับสนุนและส่งเสริมจากกองทุนฯอื่น 5.5 ทันตกรรมส่งเสริม • เป็นค่าบริการและสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการทันตกรรมส่งเสริมทุกกลุ่มวัย โดยเน้นในกลุ่มเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน • การบริหารจัดการ • หน่วยบริการ และ สปสช.สาขาจังหวัด ในการบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากทันตกรรมป้องกัน ที่เป็นปัญหาสำคัญ รวมทั้งผสมผสานงานอนามัยโรงเรียนอื่นๆ • สปสช.เขตและสปสช.สาขาจังหวัด ในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการทันตกรรม โดยเน้นกิจกรรมการกำกับติดตามประเมินผล
(ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (4) ตัวชี้วัด SMART health ด้านบริการ P&P ตามนโยบายรัฐบาลข้อ 1.14 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน P&P ปี 2556 อัตราการได้รับการป้องกันภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารก อัตราการได้รับวัคซีนในเด็กปฐมวัย อัตราการตรวจสายตาในเด็กปฐมวัย อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า12สัปดาห์ อัตราการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ 65ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียรายใหม่ อัตราทารกเกิดภาวะดาวน์รายใหม่ อัตราการป่วยเบาหวานรายใหม่ อัตราการป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่
6.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ6.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ร่าง) 6. กรอบแนวทางการบริหาร งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปี 2556 (1)
(ร่าง) กรอบวงเงินบริหารงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปี 2556 งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ (12.88 บาท/ประชากร) งบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ (ไม่เกิน10%) งบบริการฟื้นฟูและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ (ไม่น้อยกว่า 90%) • สำหรับหน่วยบริการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ(จัดหา ผลิต ซ่อม) • ค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วย sub acute(บริการผู้ป่วย OPD และในชุมชน) • ค่าฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ • สำหรับหน่วยบริการองค์กรคนพิการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ส่งเสริและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการตามความพร้อม • ส่งเสริมศักยภาพองค์กรคนพิการ/ผู้ดูแล • ส่งเสริมระบบบริการในชุมชนร่วมกับอปท. • ส่งเสริมกำลังคนด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ • ส่งเสริมการจัดบริการรูปแบบใหม่และพัฒนาองค์ความรู้
(ร่าง) 7. กรอบแนวทางการบริหารงบ บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556
(ร่าง) 7. กรอบแนวทางบริหารงบบริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556 บริการการแผนไทย 7.20 บ./ปชก.สิทธิ UC 2. งบสนับสนุนและ ส่งเสริมการจัดบริการ 0.35 บ./ปชก.(ไม่เกิน5%) 1. งบค่าบริการเพิ่มเติม 6.85 บ/ปชก. (ไม่น้อยกว่า 95%) • จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่จัดบริการเวชกรรมไทย/ นวด อบ ประคบ /การใช้ยาสมุนไพร ตามเกณฑ์ที่กำหนด • จัดให้มีคลินิกเวชกรรมไทยโดยนักการแพทย์แผนไทยคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน • มีผลงานการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย เพิ่มขึ้น • จัดสรรงบเป็น Global เขต : สัดส่วน ปชก. และผลงานเดิม(demand-supply) • ส่วนกลางกำหนดเกณฑ์กลาง เป้าหมาย กติกา/เขตกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมและแนวทางการจ่าย สนับสนุนและร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันทางวิชาการ องค์กรเอกชนพัฒนาบริการแพทย์แผนไทย สนับสนุนกลไกบริหารจัดการระดับจังหวัดในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยอย่างครบวงจร พัฒนาข้อมูล การกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เป้าหมายตัวชี้วัด (ร่าง) 7. กรอบแนวทางบริหารงบบริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556 หมายเหตุ : ตัวชี้วัดที่ 1 – 3 เป็นตัวชี้วัด SMART health ตามนโยบายรัฐบาลข้อ 1.14
งบค่าเสื่อม แนวคิด /หลักการและเหตุผล งบค่าเสื่อม เป็นงบประมาณที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพในการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นและมีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน ความหมายของงบค่าเสื่อม งบค่าเสื่อมใช้ในการจัดหา โดยการ จัดซื้อ จัดจ้าง หรือเช่า เพื่อการทดแทนส่วนขาด และซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ที่เสื่อมสภาพ หรือถดถอย หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม จากการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ
(ร่าง) 8.กรอบการบริหารงบค่าเสื่อม ปี2556 จ่ายให้หน่วยบริการในระบบ UC ทุกสังกัด ยกเว้นหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะโรค และหน่วยบริการที่เข้าใหม่ระหว่างปี โดยมีกรอบการบริหารดังนี้ • แยกงบระหว่างหน่วยบริการเป็น 3 กลุ่ม สำหรับ • หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. • หน่วยบริการภาครัฐอื่นๆ • หน่วยบริการภาคเอกชน • แบ่งสัดส่วนค่าเสื่อมระหว่างบริการ OP-IP-PP ด้วยสัดส่วนงบอัตราต่อหัวที่ได้รับจากรัฐบาลของค่าบริการ OP-IP-PP • เกณฑ์การจัดสรร “ตามจำนวนผู้ลงทะเบียนและผลงาน” โดย • OP & PP ตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียน • IP ตามจำนวนadjRW • กรณีที่มีหน่วยบริการลาออก และมีการโอนถ่ายประชากรกลางปีงบประมาณ ให้โอนงบค่าเสื่อมให้กับหน่วยบริการที่รับดูแลประชากรจริงตามสัดส่วนที่ให้บริการ
(ร่าง) กรอบแนวทางบริหารเงินค่าเสื่อม ปี2556 งบค่าเสื่อม (A) ภาครัฐ (B) ภาคเอกชน หน่วย บริการ (A2) ตติยภูมิเขต (500 ลบ.) (~10 บ./ปชก.) (A3) ภาครัฐนอก สังกัดสป.สธ. (A1) ภาครัฐสังกัดสป.สธ. (A1.1) ส่วนกลาง(กสธ.) 10% หน่วย บริการ (A1.2) เขต 20% • หมายเหตุ • สำหรับเขตที่อยู่ในพื้นที่นำร่องเขตบริการสาธารณสุข ในส่วนภูมิภาค สามารถกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณภายในเขตได้ (งบในส่วน A1.2 + A1.3 +A1.4) แต่อย่างน้อยต้องได้ข้อมูล และเงื่อนไขตามที่คณะอนุกรรมการงบลงทุนฯ กำหนด โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. • เงินตติยภูมิ (A2) เฉพาะเขต 9 และ13 ตัดจากงบของเอกชนมารวมด้วย (A1.3) จังหวัด/หน่วยบริการ 70% หน่วยบริการ
การเรียกคืนงบค่าเสื่อมการเรียกคืนงบค่าเสื่อม ปี 51-56 ปี 49-50 • เนื่องจากมีการจัดสรรงบลงทุนทดแทนทั่วไปจำนวน 70 % และงบปฐมภูมิ, งบตติยภูมิ อีก30% ให้กับหน่วยบริการ ดังนั้น การลาออกจากโครงการทุกครั้ง จะมีการคิดค่าเสื่อมในส่วน 30% ของ งบปฐมภูมิ, งบตติยภูมิ ด้วย จะไม่มีการเรียกคืนงบค่าเสื่อม(งบลงทุน)หากอยู่ครบปีงบประมาณ เนื่องจากมีการแยกชัดเจนกับงบที่มีการพัฒนา การเรียกคืนค่าเสื่อมจะเกิดขึ้นกรณีที่หน่วยบริการไม่สามารถให้บริการสาธารณสุขจนครบปีงบประมาณของสัญญาการให้บริการสาธารณสุข
9.งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ9.งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ
(ร่าง) กรอบแนวทางบริหารงบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ ปี2556 (1) วัตถุประสงค์ & แนวคิดหลัก • สร้างกลไกการจัดการทางการเงินตามผลงานคุณภาพ (Quality outcome performancepayment ) • สร้างแรงจูงใจให้ หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ จัดบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง • เป็น incentive แก่หน่วยบริการที่มีผลลัพธ์คุณภาพการบริการในแต่ละพื้นที่
(ร่าง) กรอบแนวทางบริหารงบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ ปี2556 (2) จำนวน 4.76 บาทต่อประชากร มีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้ • ให้ใช้งบส่งเสริมคุณภาพบริการ ร่วมกับ งบ IP ระดับเขต เพื่อจ่ายตามคุณภาพผลงานบริการของโรงพยาบาล • ปรับปรุงตัวชี้วัดและแนวทางการประเมิน และให้มีกลไกของเขตพื้นที่ ในการคัดเลือกตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับปัญหาพื้นที่ • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านบริการ ได้แก่ กลุ่มโรคอัตราตายสูง 2-3 โรค , กลุ่มโรคเรื้อรัง 1-2 โรค และ บริการส่งเสริมสุขภาพ • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านกระบวนการคุณภาพ ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (HA) คุณภาพระบบงาน (เช่น งานเภสัชกรรม งานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ งานเวชระเบียน งานฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นต้น )