830 likes | 2.17k Views
การจัดสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion). รองศาสตราจารย์ ดร. บุปผา ศิริรัศมี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. การจัดสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion).
E N D
การจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) รองศาสตราจารย์ ดร. บุปผา ศิริรัศมี สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
การจัดสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion) เป็นการสนทนาระหว่าง ผู้วิจัย และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลประมาณ 8-12 คน โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (ผู้วิจัย) เป็นผู้จุดประเด็นการสนทนา เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นของการสนทนาอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
การจัดสนทนากลุ่มเป็นวิธีการเก็บข้อมูล ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถรายงานผล ได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาน้อย
การพิจารณาเลือกใช้ FGD เหตุผลหลัก ๆ สำหรับเลือกการทำ FDG คือ 1. ต้องการสังเกตพฤติกรรมภายในกลุ่มของสมาชิก 2. สามารถเห็นปฏิกิริยาภายในกลุ่ม (Group interaction) 3. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย สามารถเก็บข้อมูลจาก คน 8-12 คน ภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง 4. ต้องการทราบความรู้สึกและท่าทีของกลุ่มที่มีต่อเรื่อง ราวหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำการศึกษา
องค์ประกอบในการจัดสนทนากลุ่มองค์ประกอบในการจัดสนทนากลุ่ม 1. ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง 1.1 ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) 1.2 ผู้จดบันทึก (Note - taker) 1.3 ผู้ช่วย (assistant)
2. แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย 2.1 การเปิดฉากสนทนา 2.2 คำถามอุ่นเครื่อง 2.3 ประเด็นคำถามที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3. อุปกรณ์สนาม 3.1 เครื่องบันทึกเสียง 3.2 สมุด & ดินสอ สำหรับจดบันทึก
4. แบบฟอร์มสำหรับคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม คนที่ ที่อยู่ อายุ การศึกษา อาชีพ M.S. จำนวนบุตร อายุบุตร 1 2 3 . . . 15 25 ปี 28 ปี . . . . . ป.4 ป.6 . . . . . คู่ คู่ . . . . . 2 1 . . . . . 3,1 2 . . . . . ทำนา ทำไร่อ้อย . . . . .
5. สิ่งเสริมสร้างบรรยากาศ 5.1 น้ำดื่ม 5.2 ของขบเคี้ยว 6. ของสมนาคุณ ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม 7. สถานที่ 7.1 เงียบสงบ ไม่มีคนพลุกพล่าน 7.2 อากาศถ่ายเทสะดวก 7.3 ไม่ร้อย หรือลมแรงเกินไป
SUBGROUPSRURAL WOMEN WHO ARE NOTHEALTH PROVIDERS OR EDUCATORSWITH CHILDREN AGES FIVE OR YOUNGER Who live in remote sits Who live in semi-rural sits Who have used ORS at least once Who never used ORS Who have used ORS Who have used ORS at least once Subgroup 1 Subgroup 2 Subgroup 3 Subgroup 4
ขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่มขั้นตอนในการจัดสนทนากลุ่ม 1) คัดเลือกคนที่จะเข้ากลุ่มโดยแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ 2) ทาบทาม เชิญชวน และนัดหมาย เวลา & สถานที่ 3) เชิญผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มเข้านั่งในกลุ่ม 4) M. แนะนำคณะและแจ้งวัตถุประสงค์ในการสนทนา 5) ขอให้ผู้เข้าร่วมสนทนาแนะนำตัว 6) M. สร้างบรรยกาศของความเป็นกันเอง 7) ขออนุญาตบันทึกเสียงการสนทนา และเปิดโอกาศ ให้ซักถามข้อสงสัย
ผังการนั่งในกลุ่ม M 9 N 8 1 7 เทป 2 เทป 3 6 4 N 5
8) เริ่มการสนทนา โดยยึดแนวคำถามเป็นหลักและ พิจารณาความเหมาะสมและยืดหยุ่นมีความ คลอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการ 9) จบการสนทนาด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วม สนทนาถามข้อข้องใจอีกครั้งหนึ่ง 10) แจกของสมนาคุณ และแสดงคำขอบคุณ
บรรยากาศในแต่ละช่วงของการสนทนากลุ่มบรรยากาศในแต่ละช่วงของการสนทนากลุ่ม
บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้ที่จะทำหน้าที่ Moderator นอกจากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัยเป็นอย่างดีแล้ว Moderator ควรมีลักษณะต่อไปนี้ 1. เข้ากับคนได้ง่าย, เป็นมิตร 2. ทำให้คนที่พูดคุยด้วยรู้สึกสบายใจ 3. น่ายอมรับ และน่านับถือ 4. อบอุ่น เข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น
5. มีทักษะในการพูดที่ดี, ท่วงทีวาจาดี 6. เป็นผู้ฟังที่ดี, ตั้งใจฟังและมีการตอบสนองที่ เหมาะสม 7. ร่าเริง, สนุกสนาน 8. สามารถใช้ภาษากายสื่อสารได้ดี 9. สามารถจับประเด็นได้เร็ว และเชื่อมโยงได้ดี
การเลือกสถานที่สำหรับการสนทนากลุ่มการเลือกสถานที่สำหรับการสนทนากลุ่ม 1. ควรเป็นสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ไม่มีบุคคลภายนอกมานั่งดู หรือฟังการสนทนา 2. ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ สามารถได้ยินสมาชิกพูดได้อย่างชัดเจน 3. ควรเป็นที่ที่เย็นสบาย อากาศถ่ายเทดี ไม่ร้อนอบอ้าว, ไม่มีลมแรงเกินไป, ถ้าเป็นห้องปรับ อากาศไม่ควรเย็นจัดเกินไป 4. ควรเลือกที่ที่สมาชิกเดินทางไปได้ง่าย
การจัดที่นั่งสำหรับสมาชิกภายในกลุ่มการจัดที่นั่งสำหรับสมาชิกภายในกลุ่ม • หลีกเลี่ยงการจัดที่นั่งให้สมาชิกภายในกลุ่ม ควรให้อิสระแก่สมาชิกเลือกที่นั่งเอง • รูปแบบการจัดที่นั่งควรเป็นลักษณะที่ Moderator สามารถสบตากับสมาชิกได้ทุกคน • ระยะห่างระหว่าง Moderator กับสมาชิกทุกคนควรเท่ากัน และสามารถมองเห็นกันได้ชัดเจน
การจัดการกับสมาชิกพิเศษการจัดการกับสมาชิกพิเศษ • สมาชิกที่พูดน้อย / เงียบ • สมาชิกที่ผูกขาดการพูด • สมาชิกที่อยากพูดแต่ไม่กล้าพูดในกลุ่ม • พูดนอกเรื่อง, พูดไม่ตรงกับเรื่องที่กลุ่มพูด
การซักโดย Moderator ควรกระทำเมื่อ • คำตอบไม่ชัดเจน, คลุมเครือ • คำตอบไม่สมบูรณ์ • คำตอบอาจไม่ถูกต้อง • คำตอบไม่ตรงคำถาม
ความสำเร็จของการจัดการสนทนากลุ่มความสำเร็จของการจัดการสนทนากลุ่ม 1) การเตรียมการล่วงหน้า 2) การคัดเลือกสมาชิกในกลุ่ม 3) เครื่องมือ (แนวคำถาม) 4) บทบาทของ Moderator 5) ปัจจัยแวดล้อมโดยทั่วไป
ประเด็นหลักของการเป็น Moderator 1. M. ไม่ใช่ “ครู” (สอน) 2. M. ไม่ใช้ “ผู้พิพากษา” (ตัดสินถูกผิด) 3. M. ไม่ดูถูกสมาชิกในกลุ่ม 4. M. ไม่จำเป็นต้อง “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” กับความเห็นของสมาชิกในกลุ่ม (เป็นกลาง) 5. M. ไม่ป้อนคำตอบให้สมาชิกในกลุ่ม
การสนทนากลุ่ม เป็นการศึกษาความคิดเห็นความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของสมาชิก จึงไม่มีคำตอบที่ “ถูก” หรือ “ผิด”
ข้อผิดพลาดที่พบในการแปรผล FGD 1. พยายามวิเคราะห์และแปรผลให้ออกมาในลักษณะเชิงปริมาณ เช่น 20% ของสมาชิกกลุ่มเห็นว่า ….. หรือ 7ใน 9 ของสมาชิกรู้สึกว่า…. 2. ฟังคำตอบของสมาชิกแล้วสรุปแบบผิวเผินโดยเฉพาะถ้าไม่มีการซักถามให้มากพออาจนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาดได้ 3. ไม่สามารถสังเคราะห์และสรุปความคิดรวบ ยอดจากการสนทนากลุ่ม
การประเมินตนเองของผู้นำการสนทนากลุ่มการประเมินตนเองของผู้นำการสนทนากลุ่ม วันที่ เรื่อง LOW HIGH 1. การสร้างสัมพันธภาพ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 2. การเปิดโอกาสให้สมาชิกทุนคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 (ไม่ใช่การเรียกถามที่ละคน) 3.ไม่ออกนอกแนวทางการวิจัย 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 4. การถามที่กระตุ้นให้คนอยากตอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 5. การเป็นผู้ฟังที่ดี (มีการเชื่อมโยง) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 6. การซักเพื่อความชัดเจน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 7. ไม่ใช้อัตตาในการดำเนินการสนทนา 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 8. ไม่ป้อนคำตอบให้สมาชิกในกลุ่ม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 9. มีความรู้และความเข้าใจแนวคำตอบเป็นอย่างดี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 10.ให้ความสนใจสมาชิกในกลุ่ม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10