320 likes | 1.1k Views
การบริหารงบประมาณ. ขั้นตอน. 1. จัดทำแผนปฏิบัติการ. 2. การใช้จ่ายงบประมาณ. 3.การ ตรวจสอบ. 4. รายงานผล. 1 . การทำแผนปฏิบัติการ คือการกำหนด กิจกรรม/โครงการ ให้เหมาะสมกับเงิน งบประมาณที่ได้รับ.
E N D
การบริหารงบประมาณ ขั้นตอน 1. จัดทำแผนปฏิบัติการ 2. การใช้จ่ายงบประมาณ 3.การตรวจสอบ 4.รายงานผล
1. การทำแผนปฏิบัติการคือการกำหนด กิจกรรม/โครงการ ให้เหมาะสมกับเงิน งบประมาณที่ได้รับ 2. ดำเนินการใช้งบประมาณ คือ การใช้จ่าย งบประมาณให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ โดยการขออนุมัติเงินตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือระเบียบของแต่ละหน่วยงาน
3) การตรวจสอบ เมื่อมีการเบิกจ่ายเงินแล้ว ต้องมีการตรวจสอบว่าได้ใช้จ่ายเงินไปตาม ความเป็นจริงหรือไม่ การตรวจสอบจึงเป็น วิธีการสำคัญที่จะควบคุมการบริหารด้าน การเงิน ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ไม่รั่วไหล และเพื่อให้การเบิกค่าใช้จ่าย ถูกต้องตามระเบียบทางการเงิน
4.การรายงานเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผล มีการรายงานผลงานที่ปฏิบัติไปแล้วเป็นระยะๆ เพื่อสามารถทบทวน ผลการปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ว่า มีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด และจะต้องใช้เป็นส่วนประกอบการตั้งงบประมาณปีต่อไปด้วย
ระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณ
1.ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายใน การฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุม ระหว่างประเทศ พ.ศ.2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2552(ข้อควรจำ ใช้สำหรับการฝึกอบรม/สัมมนา ที่มีวิทยากรบรรยาย/อภิปราย/วิทยากรกระบวนการ มีหลักสูตรแน่นอน และต้องมี “กำหนดการ”แนบ) 2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่าย ในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ.2553(ข้อควรจำ ใช้สำหรับการประชุมที่ไม่มีวิทยากร การขออนุมัติค่าใช้จ่าย ทุกครั้งต้องแนบ “ระเบียบวาระการประชุม”)
3.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการ พ.ศ.2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการ พ.ศ.2550 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554(ใช้สำหรับการเดินทางไปราชการตามปกติที่มิใช่การเดินทางไปราชการเพื่อการสัมมนา/การฝึกอบรม) 4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ใช้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ใช้ในโครงการต่าง ๆ)
5. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2550(ใช้สำหรับการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและต้องปฏิบัติงานเฉพาะในที่ตั้งสำนักงานเท่านั้น ยกเว้น พขร.สามารถปฏิบัติงานนอกที่ตั้งได้ และต้องรายงานผลการปฏิบัติราชการภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน) 6. พระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุม พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ใช้สำหรับการประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ หรือที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น ตามที่กฎหมายกำหนด)