1 / 67

พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์( E-Commerce )

พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์( E-Commerce ). Structure Base. E-Commerce Application. กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. E-Commerce. Management Factors. Product Type. Electronic Commerce: E-Commerce. จะเริ่มต้นทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตอย่างไร. Electronic Commerce: E-Commerce. การพัฒนาเว็บไซต์.

Download Presentation

พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์( E-Commerce )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce)พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce)

  2. Structure Base E-Commerce Application กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Management Factors Product Type Electronic Commerce: E-Commerce

  3. จะเริ่มต้นทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตอย่างไร Electronic Commerce: E-Commerce

  4. การพัฒนาเว็บไซต์ • กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์ว่าจะมีอะไรบ้าง เช่น Homepage, Company Profile,Product and Service, FAQ, Contact เป็นต้น • กำหนดรูปแบบของเว็บไซต์และเว็บเพจว่าภาพโดยรวมเป็นอย่างไร • กำหนดวิธีการอธิบายลักษณะสินค้า และบริการให้สมบูรณ์ • กำหนดราคาสินค้า (บาทและดอลลาร์สหรัฐฯ) ราคารวมค่าขนส่ง/ประกันภัย/ภาษี • ลงรายละเอียดของร้านค้าที่ลูกค้าจะติดต่อได้ • กำหนดและระบุนโยบายการคืนสินค้า

  5. การพัฒนาเว็บไซต์ • การรับและบริหารการสั่งซื้อ • ระบบการสั่งซื้อ (Odering System) • ระบบการชำระเงิน (Payment System) วิธีที่สะดวกที่สุดคือการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต • ยืนยันคำสั่งซื้อ • บรรจุสินค้าเพื่อทำการจัดส่ง • วิธีการส่งต้องรวดเร็วและสะดวก โดยเสนอทางเลือกให้ลูกค้าด้วย

  6. การเข้าสู่ระบบนี้ได้เร็วเท่าไหร่ย่อมหมายถึงว่าเวลาและโอกาสที่จะใช้ในการเรียนรู้และปรับตัวก็มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ทั่วโลกพร้อม คุณก็จะพร้อมแล้วเช่นกัน • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วทำให้การกระจายข่าวบนชุมชนอินเทอร์เน็ตทำได้รวดเร็ว ซึ่งย่อมเป็นผลดีแก่ผู้บุกเบิกหรือริเริ่มอะไรใหม่ๆ เพราะจะได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมาก ทำให้ได้เปรียบในเรื่องของชื่อเสียงและภาพพจน์ของบริษัท ช่วงเวลาใดที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  7. ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เช่น ขนาดและความซับซ้อนของเว็บไซต์ แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ • งบประมาณหลักๆที่จำเป็นต้องมีไว้ในกรณีที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ค่าจ้างในการทำเว็บไซต์ ค่าดูแลรักษาเว็บไซต์ และ ค่าโฆษณา • โดยรวมแล้วอยู่ประมาณหลักแสนถึงล้านบาท อย่างไรก็ดีสำหรับผู้มีเงินทุนน้อยไม่เพียงพอสำหรับวิธีนี้ • ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ เงินลงทุนที่ใช้นั้นน้อยกว่าที่ใช้สำหรับการมีร้านหรือธุรกิจแบบกายภาพเป็นอย่างมาก การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องใช้เงินลงทุนเบื้องต้นมากน้อยเพียงใด

  8. ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เช่น ขนาดและความซับซ้อนของเว็บไซต์ แผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ • งบประมาณหลักๆที่จำเป็นต้องมีไว้ในกรณีที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ค่าจ้างในการทำเว็บไซต์ ค่าดูแลรักษาเว็บไซต์ และ ค่าโฆษณา • โดยรวมแล้วอยู่ประมาณหลักแสนถึงล้านบาท อย่างไรก็ดีสำหรับผู้มีเงินทุนน้อยไม่เพียงพอสำหรับวิธีนี้ • ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ เงินลงทุนที่ใช้นั้นน้อยกว่าที่ใช้สำหรับการมีร้านหรือธุรกิจแบบกายภาพเป็นอย่างมาก เลือกเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับธุรกิจได้อย่างไร

  9. การมอบหมายให้บริษัทที่เชี่ยวชาญในด้านนี้รับผิดชอบ (Outsource) ข้อดีของวิธีนี้อยู่ตรงที่ช่วยลดปัญหาเรื่องการบริหารบุคลากรและอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในกรณีที่ไม่มีการไม่แก้ไขหรือปรับปรุงระบบบ่อยเกินไปนัก ส่วนข้อเสีย ก็คือ การสื่อสารกับบริษัทภายนอกมักทำได้ไม่เต็มที่เท่ากับการสื่อสารกับบุคลากรภายใน ซึ่งอาจทำให้ระบบที่ได้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ • เรื่องของความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ ถ้าหากคุณไม่ได้คิดจะสร้างทุกอย่างขึ้นมาจากสองมือของคุณเองแล้ว ความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าคอร์สเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซับซ้อนเพิ่มเติม ณ เวลานี้แต่ละบริษัทต่างให้ความสำคัญกับความง่ายและสะดวกสบายในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอันดับต้นๆ

  10. สำรวจตัวเอง เพื่อค้นหาจุดอ่อน/จุดแข็งของสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ • เป้าหมาย • สินค้าและบริการ • ต้นทุน • บุคลากร • เทคโนโลยี • สำรวจตลาด เพื่อทราบความต้องการของตลาด • กลุ่มเป้าหมาย • ความต้องการของตลาดด้านสินค้า/บริการ • ราคา • พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ก่อนจะเริ่มธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องทำอย่างไร

  11. สำรวจคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่าง • สินค้า/บริการ • ราคา • กลุ่มเป้าหมาย • สำรวจศักยภาพทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ • ระบบสั่งซื้อ • ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ • ระบบส่งเสริมการขาย • ระบบชำระเงิน • ระบบหลังร้าน • ระบบรักษาความปลอดภัย ก่อนจะเริ่มธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องทำอย่างไร

  12. ระบบจัดส่งสินค้าที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในจะต้องมีความแน่นอน เชื่อถือได้ และตรงกับเวลาที่ลูกค้าคาดหวังในการรอรับสินค้า • การมีระบบการจัดส่งสินค้าที่ดีช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา เพิ่มความพอใจให้กับลูกค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านั้นๆ บริการต่างๆ เหล่านั้นได้แก่ • รับส่งเอกสารด่วน • รับส่งพัสดุภัณฑ์ด่วน • บริการหีบห่อหลายขนาดตามความเหมาะสมของสิ่งของนั้นๆ • บริการรับของซึ่งรวมถึงการตรวจรับของที่รับมา • การจัดการคลังสินค้าร่วมกับการเข้าใช้ระบบการจัดการคลังสินค้าทั่วโลก • การจัดการที่จัดเก็บของและโกดัง • การรวมของและการแยกของ การจัดส่งสินค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดอย่างไร

  13. บางแห่งอาจจะมีบริการพิเศษ เช่น สามารถติดตามพัสดุที่จัดส่งได้ เช่น DHL, FedEx, EMS หรือมีบริการรับประกันสินค้าส่งด่วนสูญหาย เช่น DHLเป็นต้น • ผู้ประกอบการควรเลือกบริษัทที่มีบริการที่ตรงกับความต้องการของตน และทำความตกลงในการส่งสินค้าให้กับลูกค้ากับบริษัทผู้จัดส่ง ในปัจจุบันมีทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนหลายแห่งที่ให้บริการด้านนี้ เช่น UPS, DHL, FedEx และ EMS การจัดส่งสินค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีรายละเอียดอย่างไร

  14. อยากจะประสบความสำเร็จในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องทำอย่างไร

  15. การโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการ ให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าผ่านสื่อต่างๆ • การสั่งซื้อ เมื่อลูกค้าพอใจในสินค้า/บริการ จะทำการสั่งซื้อสินค้า/บริการดังกล่าว • การชำระเงินค่าสินค้า/บริการนั้นๆ ซึ่งจะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัย • การจัดส่งสินค้า/บริการ โดยผู้ประกอบการต้องจัดส่งสินค้า/บริการให้ถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว และตรงเวลา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยขั้นตอนทางธุรกิจอะไรบ้าง

  16. Free Homepage คือ เนื้อที่บางส่วนบนเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ให้ผู้เข้าชมเพื่อนำไปสร้างเว็บไซต์ของตนเอง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น • นอกจากเนื้อที่บนเซิร์ฟเวอร์แล้ว ซอฟต์แวร์บางอย่างที่จำเป็นสำหรับการสร้างเว็บไซต์เบื้องต้นก็มีพร้อมไว้ให้บริการฟรีเช่นกัน เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างกราฟิก ซอฟต์แวร์สำหรับอัพโหลดเว็บเพจ เป็นต้น Free Homepage คืออะไรใช้ทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่

  17. ข้อดีของการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง คือ ความสามารถในการตอบสนองความต้องการในทุกๆเรื่อง • ตั้งแต่การเลือกโดเมนเนมจนไปถึงโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีต่างๆ • อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง การพัฒนาระบบให้เข้ากับธุรกิจทำได้ดีกว่า การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในอนาคตทำได้สะดวก มีอิสระไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับหรือข้อตกลงกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีเว็บไซต์ของตัวเอง หรือ อาศัยไซเบอร์มอลล์ (Cybermall) ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร

  18. จุดอ่อน • ความยุ่งยากในการสร้างและดูแลรักษาเว็บไซต์ ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ต้นทุนทางด้านเทคโนโลยี และ บุคลากรก็สูงทำให้มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง • การตลาดหรือประชาสัมพันธ์ต่างๆก็ต้องทำแต่โดยลำพัง ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ลำบาก การขาดซึ่งข้อมูลข่าวสาร อาจนำไปสู่การขาดความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในตัวเว็บไซต์ได้ในที่สุด มีเว็บไซต์ของตัวเอง หรือ อาศัยไซเบอร์มอลล์ (Cybermall) ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร

  19. ไซเบอร์มอลล์นั้นข้อได้เปรียบคือ มีค่าใช้จ่ายต่ำ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ที่ต้องการทดลองธุรกิจประเภทนี้หรือธุรกิจยังมีขนาดเล็กอยู่ ไม่ต้องยุ่งยากมาก ระบบต่างๆถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน จึงเรียนรู้ได้เร็ว สามารถมีธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตแบบสมบูรณ์เป็นของตนเองได้ในไม่กี่ชั่วโมง การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็เป็นหน้าที่หลักของมอลล์ ด้วยตัวชื่อเสียงของมอลล์และความหลากหลายของสินค้าเองแล้ว ทำให้ดึงการดูดลูกค้าเข้ามานั้นทำได้ไม่ยาก ความปลอดภัยต่างๆก็เชื่อถือได้ เพราะเป็นบริษัทใหญ่มีความมั่นคง มีผู้รับผิดชอบแน่นอนหากมีปัญหาใดๆเกิดขึ้น

  20. ข้อเสียเปรียบของการมีเว็บไซต์ประเภทนี้คือ ทุกอย่างจะต้องอยู่ในกฎระเบียบของศูนย์ ขาดความยืดหยุ่น ในอนาคตหากยอดขายเพิ่มขึ้น ในที่สุดอาจต้องออกมาทำเว็บไซต์เป็นของตนเอง

  21. ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้างประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง

  22. การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเองการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง

  23. การลงทะเบียน • วัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวม ชื่อ นามสกุล e-Mail และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆของผู้เข้าชมเว็บไซต์ไว้ • โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น กรอกแบบสอบถามสั้นๆ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสาร และ ตอบปัญหาชิงรางวัล เป็นต้น • การลงทะเบียนนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่สำคัญที่สุดสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบนี้ เพราะข้อมูลที่คุณได้มานั้น โดยเฉพาะ e-Mail ทำให้คุณสามารถสานต่อความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ เช่น การ e-Mail กลับไปหาเพื่อแจ้งรายการสินค้าใหม่ หรือ เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ที่น่าสนใจมานำเสนอ • การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง

  24. การแจกฟรีสินค้า หรือ คูปองส่วนลด • การแจกฟรีสินค้าบางอย่างหรือคูปองส่วนลดก็เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่ผู้เข้าชมต้องเสียเวลาลงทะเบียน ตอบแบบสอบถาม หรือแม้กระทั่งเพียงแค่เสียเวลาเข้ามาชมเว็บไซต์ • การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง

  25. “Call-to-Action” Words • เป็นข้อความที่จูงใจให้ผู้เข้าชมเกิดการปฏิบัติต่อเว็บไซต์ เช่น “เพียงแค่คลิ้กเดียว หน้านี้ก็กลายเป็นโฮมเพจของคุณแล้ว”, “โทรหาเรา เดี๋ยวนี้” หรือ “ลงทะเบียนกับเรา ของที่ระลึกรอคุณอยู่” เป็นประเภทของข้อความที่เป็นที่นิยมอย่างมากบนเว็บไซต์ต่างๆ • การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง

  26. กิจกรรมพิเศษ • การทำให้ผู้เข้าชมกลับมาที่เว็บไซต์อีกครั้งโดยใช้กิจกรรมพิเศษเป็นตัวดึงดูด เช่น การพูดคุยแบบออนไลน์กับดารา นักร้อง การถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตผ่านเว็บไซต์ หรือ การลดราคาสินค้าประจำปี เป็นต้น • การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง

  27. Web Board • เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในขณะนี้ เว็บบอร์ดมีขึ้นเพื่อเป็นที่แสดงความคิดเห็นในหัวข้อเรื่องต่างๆที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเว็บไซต์จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมตั้งกระทู้ใหม่หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทุกข้อความจะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ทันทีหลังจากที่ถูกพิมพ์เสร็จ • วิธีนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เข้าชมกลับมายังเว็บไซต์อีกในภายหลัง เพื่อดูว่ามีความคิดเห็นใดเกิดขึ้นบ้างกับกระทู้ของตน หรือมีกระทู้ใหม่ใดบ้างที่น่าสนใจ • การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของตัวเอง

  28. การประชาสัมพันธ์บน World Wide Web ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง การแลกปลี่ยนลิงค์คือการตกลงกับเว็บไซต์หนึ่งว่าต่างฝ่ายต่างจะนำลิงค์ของอีกฝ่ายหนึ่งไปไว้บนเว็บไซต์ของตน

  29. การประชาสัมพันธ์ในที่อื่นๆบนอินเทอร์เน็ตการประชาสัมพันธ์ในที่อื่นๆบนอินเทอร์เน็ต เป็นการรวบรวมชื่อและ e-Mail ของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกัน ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง แหล่งชุมนุมของผู้ที่สนใจในเรื่องราวเดียวกันบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยการฝากข้อความ หรือสอบถามข้อมูลกันได้

  30. วิธีนี้ก็คือการประชาสัมพันธ์บนสื่อทั่วๆไปนั่นเอง เช่น การโฆษณาบนโทรทัศน์ วิทยุ หรือ ป้ายโฆษณากลางแจ้ง ซึ่งวิธีดังกล่าวต้องใช้เงินสูง ดังนั้นการแจกสินค้าพรีเมี่ยมพวกเครื่องเขียน เช่น ปากกาที่มีชื่อเว็บไซต์ของคุณอยู่ หรือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นรองเม้าส์ ที่มีรูปโลโก้เว็บไซต์ของคุณอยู่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ได้ด้วยวิธีใดบ้าง การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้อยู่บนอินเทอร์เน็ต

  31. วิธีการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งได้แก่ • การโฆษณาผ่านแบนเนอร์ (แถบโฆษณาบนเว็บไซต์) บน เว็บพอร์ทัลหลักๆ เช่น Yahoo!, Excite, และ Mwebเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่าเป็นเพราะเว็บไซต์ประเภทนี้มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ดังนั้นโอกาสของแบนเนอร์ที่จะเข้าถึงลูกค้าก็มีสูง การโฆษณาบนเว็บไซต์มีกลยุทธ์ใดบ้าง

  32. การโฆษณาบนเว็บ Portal ใหญ่ๆสามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ก็จริงแต่คนเหล่านั้นอาจไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการก็ได้ ในทางตรงกันข้ามการโฆษณาบนเว็บไซต์ที่มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนตรงกับเป้าหมายของสินค้าน่าจะได้ผลดีกว่า เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับใหม่อาจจะลงโฆษณาบน Qthai.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารด้านธุรกิจและการเงินของไทยมากกว่าจะไปลงโฆษณาบน Mweb.co.th หรือว่า ซอฟต์แวร์สร้างกราฟิกเวอร์ชันใหม่ล่าสุด อาจจะลงโฆษณาบน Webmaster.or.th แทนที่จะไปลงโฆษณาใน Thairath.com การลงโฆษณาแบบนี้แน่นอนว่าเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และยังเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ตรงกว่าด้วย การโฆษณาบนเว็บไซต์มีกลยุทธ์ใดบ้าง • การลงโฆษณาแบบใหม่ที่ขึ้นอยู่กับคำที่ผู้ชมต้องการค้นหา (Keyword) เช่น ถ้าผู้ชมคนหนึ่งใน Sanook.com ค้นหาคำว่า “อาหารไทย” ในหน้าที่แสดงผลลัพธ์ จะมีภาพโฆษณาของร้านอาหารต่างๆ ปรากฏขึ้นมาด้วย วิธีนี้จะช่วยทำให้โฆษณาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น

  33. ค่าโฆษณา (Advertising Fee) คิดจากแบนเนอร์ (Banner) ที่ลงอยู่ในเว็บไซต์ แตกต่างไปตามตำแหน่งและประเภทของแบนเนอร์ เช่น 50,000 บาทต่อเดือน สำหรับแบนเนอร์ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาในหน้าโฮมเพจของ Siam2you.com หรือเพียง 20,000-35,000 บาทต่อเดือน สำหรับแบนเนอร์ตำแหน่งเดียวกันที่อยู่ในหน้าอื่นๆ ส่วนแบนเนอร์ที่อยู่ด้านบนสุดของเว็บเพจ จะคิดในอัตรา 450 บาท ต่อ หนึ่งพันครั้งที่มีคนเห็น (CPM) สามารถสร้างรายได้บนเว็บไซต์ด้วยวิธีใดบ้าง ค่าร่วมประชาสัมพันธ์ (Partnership Fee) คู่ค้าที่นำเนื้อหามาร่วมให้บริการแก่บางเว็บไซต์ต้องเสียค่าประชาสัมพันธ์ โดยใช้วิธีนำเสนอเรื่องทั่วๆไปที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสินค้าของตน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมสนเกิดความสนใจในสินค้า ตัวอย่างเช่น ในหัวข้อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีของ Mweb.co.th อาจจะมีบริษัทเจ้าของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือบางแห่งนำเนื้อหาเกี่ยวกับ GPRS ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้มานำเสนอ ซึ่งในหน้านี้ก็จะมีแบนเนอร์ที่เป็นของบริษัทเชื่อมโยงผู้ชมไปสู่เว็บไซต์โทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุดของบริษัทด้วย

  34. ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Transaction Fee) ebay จะคิดค่าธรรมเนียมซื้อขาย ประมาณ 1.25-5 เปอร์เซนต์ ของมูลค่าการซื้อขายที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของตน สามารถสร้างรายได้บนเว็บไซต์ด้วยวิธีใดบ้าง ค่าเช่าที่บนเว็บไซต์ (Rental Fee) Comsaving.com เป็น e-Marketplace ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการซื้อขายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผู้ขายรายใดที่สนใจต้องการมีหน้าร้านอยู่บนเว็บไซต์นี้ ก็เพียงแต่เสียเงิน 2,900 บาทต่อเดือนเท่านั้น ค่าบริการเสริมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพหรือบริษัท (Service Fee) Homeandi.com เป็นเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน ผู้ขายต้องจดทะเบียนกับบริษัทเพื่อที่จะได้มีโอกาสโฆษณาประกาศขายบ้านของตนบนเว็บไซต์ เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น ทาง Homeandi.com จะคิดค่านายหน้า 0.75 เปอร์เซ็นต์ของราคาขาย

  35. กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ แบ่งกลุ่มของประเภทสินค้าและบริการที่จำหน่ายบนอินเทอร์เน็ต เป็นดังต่อไปนี้ • กลุ่มสินค้าที่จับต้องได้ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหาร ของใช้ สิ่งทอ เสื้อผ้า สำเร็จรูป เครื่องหนัง ของตกแต่ง ของชำร่วยต่างๆ เป็นต้น • กลุ่มสินค้าที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ เพลง ภาพยนตร์ วิดีโอ ซอฟต์แวร์ เป็นต้น • กลุ่มสินค้าบริการ ได้แก่ การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร บริการรถเช่า บริการทัวร์และจองตั๋วเครื่องบิน บริการฝากขายอสังหาริมทรัพย์ และบริการข้อมูลต่างๆ เป็นต้น สินค้าแบบใดที่ควรนำมาซื้อขายบนอินเทอร์เน็ต

  36. 1.ไอเดียธุรกิจ (Business Idea) เป็นองค์ประกอบสำคัญอันดับแรกที่ต้องมี โดยควรเริ่มจากหลักคิดในการทำธุรกิจที่เป็นสิ่งใหม่ (New Idea) และไม่มีผู้ใดทำมาก่อน การคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ และการบุกเบิกตลาดใหม่ หรือส่วนตลาด (New Market Segment) ที่ยังไม่มีคู่แข่งรายใดค้นพบ โดยที่สภาพตลาดในปัจจุบันยังถือว่าอยู่ในภาวะเริ่มต้น และมีโอกาสเติบโตได้อีกองค์ประกอบข้อนี้จะส่งผลให้ท่านมีความได้เปรียบในฐานะที่เป็นผู้เล่นรายแรกในตลาด หากท่านไม่สามารถที่จะสร้างไอเดียธุรกิจใหม่ได้จริงๆ หนทางต่อมาคงจะต้องพยายามพัฒนาหรือดัดแปลงไปเดียธุรกิจที่มีอยู่ให้แตกต่างจากผู้อื่นได้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจของเราเอง และสามารถตอบคำถามที่ว่า ธุรกิจของเราแตกต่างจากผู้อื่นอย่างไรและดีกว่าอย่างไร องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  37. 2.เทคโนโลยี (Technology) เป็นองค์ประกอบสำคัญอันดับต่อมา ที่ต้องมีเหนือกว่าบริษัทอื่นๆ ในสถานการณ์ของธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน ลำพังแค่การใส่เนื้อหา หรือให้บริการกลุ่มเป้าหมายโดยปราศจากการคิดค้น และพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายอื่นได้ และไม่อาจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากธุรกิจมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (Entry Barrier) ต่ำ การคิดค้นเทคโนโลยีของตัวเอง (Proprietary Technology) เป็นวิถีทางหนึ่งในการสร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดต่อคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในทุกๆ บริการของธุรกิจ ทั้งในระยะเริ่มต้น และระยะยาว ควรจะมีส่วนประสมของเทคโนโลยีที่คิดค้นเองอยู่ในบริการให้ได้ องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  38. 3. บุคลากร (People) บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดและถือเป็นจุดแข็งของบริการ ที่สามารถผลักดันให้กิจการบนเว็บไซต์ของท่านขึ้นมาอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการได้อย่างยั่งยืน ธุรกิจจะต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เป็นที่ยอมรับกันในวงการ มีการสนับสนุนจากทีมงานที่มีคุณภาพ และประสบการณ์ในธุรกิจ หรือเนื้องานที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ พนักงานมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างกิจการให้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของกิจการอย่างจริงจัง จริงใจ องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  39. 4. เงินทุน (Capital) เงินทุนเป็นองค์ประกอบที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ที่ธุรกิจจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากฐานเงินทุน อย่าง Venture Capital หรือพันธมิตรผู้ร่วมทุนอื่นๆ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องยืนยันระดับหนึ่งว่า ธุรกิจมีความเป็นไปได้ และถูกกลั่นกรองจากบรรดาพันธมิตรเหล่านั้นแล้ว ความเชื่อมั่นในสายตาจากบุคคลภายนอกที่อาจเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นด้วย และแม้ว่าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มการใช้เงินทุนต่ำกว่าการสร้างธุรกิจที่มีตัวตน หรือโรงงานในแบบปกติทั่วไป แต่ก็ต้องให้ความสำคัญในเรื่องความพอเพียงของเงินทุน โดยเฉพาะกระแสเงินสด (Cash Flow) ของกิจการ เพราะธุรกิจบนเว็บไซต์ที่มีอนาคตหลายราย ต้องตกม้าตายเพราะไม่ได้วางแผนการใช้จ่ายอย่างรัดกุมเพียงพอ จนทำให้เงินสดในกิจการไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการธุรกิจ องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  40. 5. การตลาด (Marketing) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญไม่แพ้เทคโนโลยีที่ธุรกิจจะต้องนำมาผสมผสานให้สอดคล้องลงตัว แม้ว่าธุรกิจบนเว็บไซต์จะมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจมากกว่าธุรกิจอื่น แต่การตลาดยังเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กิจการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การตลาดที่จะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องอาศัยความแตกต่างเป็นรากฐานสำคัญ ซึ่งจะช่วยได้มากหากธุรกิจของเรามีองค์ประกอบในข้อแรก คือไอเดียธุรกิจที่ใหม่ ยังไม่มีผู้ใดทำมาก่อน หรือเป็นไอเดียธุรกิจที่แตกต่างอย่างชัดเจน อีกทั้งเงื่อนไขและปัจจัยทางธุรกิจของแต่ละธุรกิจ เช่น เวลาในการเข้าตลาด ทีมงาน เงินทุน วัฒนธรรมในองค์กร ฯลฯ ก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กลยุทธ์ที่กิจการอื่นใช้แล้วประสบความสำเร็จ ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเมื่อธุรกิจของท่านนำมาใช้แล้วจะประสบความสำเร็จเช่นกัน องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  41. สิ่งถัดมาที่ผู้ประกอบการจะต้องพิสูจน์ให้ทั้งพันธมิตรผู้ร่วมทุน หรือลูกค้าในธุรกิจของท่านได้เห็นต่อไป เพื่อให้เกิดความมั่นใจในกิจการ หลังจากที่ได้ตัดสินใจเดินหน้าในธุรกิจบนเว็บไซต์แล้ว คือการใช้หลักปฏิบัติ 3C ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พึงมีของผู้ประกอบการ ได้แก่ • Commitคือการให้คำมั่น การพิสูจน์ด้วยการกระทำ เพื่อยืนยันว่า การดำเนินธุรกิจนั้นเป็นไปตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ ไม่ใช่บอกว่าจะทำอย่างนั้น อย่างนี้ ในเวลานั้น เวลานี้ แต่เมื่อเอาเข้าจริงกลับไม่ทำตามที่ตกลงกันเอาไว้ หรือไม่สามารถทำได้จริง จนไปมีผลเชิงลบต่อธุรกิจโดยรวม องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  42. Concentrateคือความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามแผนธุรกิจ การทุ่มการทำงานอย่างเต็มเวลาของผู้ประกอบการและทีมงานที่ไม่ใช่เพียงแค่คิดไอเดียธุรกิจแล้วให้ผู้อื่นทำ รวมทั้งไม่พยายามจับงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเสียเวลาโดยใช่เหตุ จนกว่าธุรกิจนั้นจะเห็นผล เพราะไม่มีใครที่สามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ดีในเวลาเดียวกัน แต่หากจำเป็นต้องดูแลธุรกิจหลายๆ กิจการพร้อมๆ กัน ก็ควรจัดลำดับความสำคัญ หรือหาตัวแทนมาช่วยดูแล องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  43. Consistent ความเสมอต้นเสมอปลายในการดำเนินธุรกิจ ความต่อเนื่องของการบริหารจัดการธุรกิจ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายของธุรกิจ ตลอดจนความต่อเนื่องของการให้บริการคงไม่มีใครที่อยากใช้บริการกับธุรกิจที่เมื่อวานเป็นอย่างนี้ วันนี้เป็นอีกอย่าง องค์ประกอบพื้นฐานของการเปิดร้านบนอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง

  44. เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเปรียบเสมือนการตั้งชื่อบริษัทของคุณ โดเมนเนมที่ดีควรเป็นชื่อที่จำง่าย พิมพ์ง่าย และ มีความหมายในตัวเอง (เพื่อง่ายต่อการค้นหาใน Search Engine) ชื่อยี่ห้อสินค้าหรือชื่อบริษัทควรจะได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรก เช่น Majorcineplex.com หรือ Matichon.co.th เพราะมักจะเป็นชื่อแรกที่คนส่วนมากนึกถึงและลองพิมพ์ดูเมื่อต้องการค้นหาเว็บไซต์ ในกรณีที่คำที่ต้องการถูกใช้ไปแล้ว การเพิ่ม “Inc” หรือ “Company” หรือ คำอื่นๆที่ใช้อธิบายสินค้าของคุณได้ดี ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ เช่น Sandprestaurant.com หรือ Chapsclothing.com หรือในกรณีที่ชื่อยี่ห้อหรือชื่อบริษัทของคุณเป็นคำเฉพาะที่ไม่มีความหมาย หรือยาวเกินไป การใช้ประเภทของสินค้าแทนก็เป็นทางออกที่ดี เช่น Pizza.co.th หรือ Pappayon.com สำหรับเว็บไซต์ที่เป็นเว็บพอร์ทัล หรือมีสินค้าหลายประเภทจำหน่าย มักนิยมใช้ชื่อที่สั้น จำง่ายและไม่ได้บ่งบอกถึงประเภทของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งเท่านั้น เช่น Mthai.com หรือ Tohome.com ตั้งโดเมนเนมให้เหมาะสมได้อย่างไร

  45. อีกส่วนหนึ่งของโดเมนเนมก็คือชื่อลงท้ายหรือที่บางคนเรียกว่า ”นามสกุล”นั้น ก็เป็นอีกชื่อที่ต้องมีการจดทะเบียน ชื่อลงท้ายจะเป็น ตัวบอกประเภทธุรกิจของเว็บไซต์ ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไป เช่น • .com (Company) – บริษัทหรือบุคคลทั่วไป • .edu (Education) – สถานบันการศึกษา • .org (Organization) – องค์กรต่างๆ • .gov (Government) – หน่วยงานรัฐบาล • .mil (Military) – หน่วยงานทหาร • .net (Network) – ผู้ให้บริการทั่วไป ตั้งโดเมนเนมให้เหมาะสมได้อย่างไร

  46. เลือกซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย

  47. กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) http://www.nectec.or.th ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ECRC) http://www.ecommerce.or.th กระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการส่งออก (http://www.depthai.go.th) และเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง http://www.wethai.com, http://www.thaiexponet.com, http://www.thailandexport.com, http://www.thaixport.com กระทรวงพาณิชย์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ http://www.thaiecommerce.net กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย http://www.bot.or.th องค์กรของรัฐที่ให้ความรู้ ความช่วยเหลือ หรือเกี่ยวข้องกับการทำพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์มี่ที่ใดบ้าง

  48. บริษัท สยามเว็บ จำกัด – http://www.siamweb.com • บริษัท ดิจิทัล อินเทอร์เน็ต แฟกทอรี่ จำกัด – http://www.digitalinternetfactory.com • บริษัท เว็บสตูดิโอวัน โซลูชั่นจำกัด – http://www.webstudio-1.com • บริษัท สยามอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยี จำกัด – http://www.siam-e-Commerce.com • บริษัท เน็ต เรดดี้ จำกัด – http://www.netready.co.th • อาร์เคเดียน อินเทอร์เน็ต กรุ๊ป – http://www.arcadian.net ฯลฯ ตัวอย่างบริษัทเอกชนที่รับทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ที่ใดบ้าง

More Related