340 likes | 574 Views
การเรียนรู้ด้วยโครงงาน Project-based Learning สะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาและเทคโนโลยี. ห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร. ห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงาน คือ SMART Students (นักเรียน) – ประสบความสำเร็จ Motivation (แรงจูงใจ) – อย่างแท้จริงและมีพลัง
E N D
การเรียนรู้ด้วยโครงงานProject-based Learningสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาและเทคโนโลยี
ห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไรห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร ห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงาน คือSMART Students (นักเรียน) – ประสบความสำเร็จ Motivation (แรงจูงใจ) – อย่างแท้จริงและมีพลัง Autonomy (อิสระ) – การเรียนรู้อย่างเป็นอิสระ Reflective ( สะท้อนการคิดอย่างไตร่ตรอง) – ห้องเรียนที่ใช้การคิดเป็นศูนย์กลาง Teacher (ครู) - การสอนด้วยเทคโนโลยี
ห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไรห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานคืออะไร • การเรียนรู้ย้ายจากบทเรียนที่มีครูเป็นผู้สอน สู่การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมซึ่ง • มีระยะเวลาดำเนินการ เช่น อย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ • สหวิทยาการ • นักเรียน – เป็นศูนย์กลาง และ • เชื่อมโยงกับประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง
ทำไมต้องเรียนรู้ด้วยโครงงานทำไมต้องเรียนรู้ด้วยโครงงาน • เพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน • เพื่อแปลงสิ่งที่ได้จากการสอน • เพื่อเตรียมโอกาสให้นักเรียนไปต่อยอดในสิ่งที่สนใจ • เพื่อให้นักเรียนได้ตัดสินใจ • เพื่อช่วยนักเรียนในการบูรณาการเนื้อหาไปสู่ * การใช้สมอง ประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ ๒๑
รายละเอียดของห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานรายละเอียดของห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงาน • มีปัญหาซึ่งยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน • มีสภาพแวดล้อมซึ่งมีข้อบกพร่องหรือการเปลี่ยนแปลง • นักเรียนตัดสินใจโดยมีการกำหนดกรอบช่วยคิด • นักเรียนออกแบบกระบวนการเพื่อให้ได้วิธีแก้ปัญหา • นักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงออกในการทำกิจกรรม • การประเมินผลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ชิ้นงานสุดท้ายสะท้อนผลลัพธ์ และเป็นการประเมินเชิงคุณภาพ
ครูในห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงานครูในห้องแห่งการเรียนรู้ด้วยโครงงาน • เป็นเพียงผู้ชี้แนะ • เป็นผู้เรียนร่วมกับนักเรียน • ยอมให้ข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ • ช่วยพัฒนาทีมงาน • กระตุ้นครูท่านอื่น ๆ
คุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงานคุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงาน • กระตุ้น • ทักษะกระบวนการกลุ่ม • ทักษะชีวิต • ทักษะทางเทคโนโลยี • ทักษะกระบวนการ • ทักษะการบริหารจัดการด้วยตนเอง • ทัศนคติเชิงบวก
นักเรียนจะเปลี่ยน... • จากทำตามคำสั่ง เป็นทำกิจกรรมด้วยตนเอง • จากการท่องจำและทำซ้ำ ๆ เป็นการค้นพบ, รวบรวมและนำเสนอ • จากการฟังและโต้ตอบ เป็น การสื่อสารและรับผิดชอบ • จากความรู้ระดับข้อเท็จจริง, เนื้อหา, นิยาม เป็น เข้าใจในกระบวนการ • จากทฤษฎี เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎี • จากการพึ่งครูผู้สอน เป็นการสร้างความรู้เอง
ยกระดับโครงงานโดย.... ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง • โครงงานเกิดขึ้นจากประเด็นหรือปัญหาที่มีความหมายกับผู้เรียนใช่หรือไม่ • ผู้เรียนสร้างชิ้นงานซึ่งมีประโยชน์ต่อตัวเองและหรือต่อสังคมนอกจากสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนใช่หรือไม่
ยกระดับโครงงานโดย.... เพิ่มความเข้มแข็งทางวิชาการ • โครงงานช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้นั้นใช่หรือไม่ • โครงงานนั้นท้าทายนักเรียนให้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใช่หรือไม่ • นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงใช่หรือไม่
ยกระดับโครงงานโดย.... เน้นการเรียนรู้เชิงประยุกต์ • การเรียนรู้เกิดขึ้นในบริบทของปัญหาในชีวิตจริงนอกเหนือจากห้องเรียนใช่หรือไม่ • โครงงานกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความรู้และใช้ความสามารถที่คาดหวังในหลักสูตรใช่หรือไม่ • งานที่ให้นักเรียนทำช่วยพัฒนาทักษะการบริหารตนเองและการจัดองค์กรใช่หรือไม่
ยกระดับโครงงานโดย.... กระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้น • นักเรียนจะใช้เวลาในการทำงานภาคสนามใช่หรือไม่ • โครงงานกระตุ้นให้นักเรียนสืบค้นโดยใช้วิธีการ, สื่อต่าง ๆ และแหล่งความรู้ที่หลากหลายใช่หรือไม่ • คาดหวังว่านักเรียนจะทำการติดต่อสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้โดยผ่านทางการนำเสนอและหรือการปฏิบัติงานจริงใช่หรือไม่
ยกระดับโครงงานโดย.... สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ • ผู้เรียนมีโอกาสที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยกับผู้ใหญ่ ๑ ท่านใช่หรือไม่ • ผู้ใหญ่มีส่วนร่วมในการสร้างแบบประเมินชิ้นงานของนักเรียนใช่หรือไม่ • นักเรียนได้สังเกตผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้องใช่หรือไม่
ยกระดับโครงงานโดย.... สร้างการประเมินตามสภาพจริง • นักเรียนสะท้อนการเรียนรู้โดยใช้เกณฑ์ที่ร่วมกำหนดอย่างชัดเจนของโครงงานโดยสม่ำเสมอใช่หรือไม่ • จะมีโอกาสในการประเมินชิ้นงานของนักเรียนโดยใช้วิธีต่าง ๆ รวมทั้งการจัดนิทรรศการและแฟ้มสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ - ประถมปลาย • เป้าหมาย: เข้าใจประเภทต่าง ๆ ของมลภาวะทางสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น • คำถามสร้างพลังคิด: โลกของเราอุดมสมบูรณ์หรือไม่ • โครงงาน: นักเรียนจะสวมบทบาทสมมติเป็นนักสิ่งแวดล้อมและทำวิจัยปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยจะนำเสนอในรูปวีดีทัศน์, มัลติมีเดีย, แผ่นพับ และอื่น ๆ เพื่อชี้ให้เห็นปัญหา และเสนอแผนเพื่อแก้ปัญหานั้น
สาระการเรียนรู้ชีววิทยา - มัธยมศึกษา • เป้าหมาย: ศึกษาระบบของสิ่งมีชีวิต เพื่อพัฒนาอาหารชนิดใหม่ • คำถามสร้างพลังคิด: ฉันสามารถสร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ • โครงงาน: นักเรียนจะสร้างวัฒนธรรมที่หลากหลาย, ประเมินผลิตภัณฑ์อาหารที่มีอยู่ และพัฒนาแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ที่จะทำ
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ – เกรด ๔ (ช่วงชั้นที่ ๒) • เป้าหมาย: เข้าใจว่าหินเกิดขึ้นได้อย่างไร, เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งที่มาของหิน, คุณสมบัติและส่วนประกอบทางแร่ธาตุของหินที่ใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้าง • คำถามสร้างพลังคิด: ก้อนหินที่อยู่ในมือของฉันจะใช้ประโยชน์อย่างไรในชีวิต • โครงงาน: นักเรียนจะสวมบทบาทสมมติเป็นนักธรณีวิทยาในการวางผังเมือง เพื่อศึกษาว่า วัตถุดิบในท้องถิ่นชนิดใดที่นักวางแผนอาจจะใช้ในการทำถนน, อาคาร, ทางเดินและโครงสร้างอื่น ๆ
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - มัธยมศึกษา • เป้าหมาย: เข้าใจว่าจะนำคณิตศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร • คำถามสร้างพลังคิด: ทำอย่างไรให้ได้สิ่งที่ต้องการ • โครงงาน: นักเรียนจะทำวิจัยอาชีพต่าง ๆ พร้อมระบุเงินเดือนที่ได้รับ, เลือกบ้านที่ต้องการ, ประมาณตัวเลขการซื้อขาย, กำหนดงบประมาณค่าใช้จ่าย, กำหนดขนาดบ้าน, ดูแลสมุดบัญชี และค่าตกแต่งบ้าน, ระบุเวลา, กำหนดขนาดของบ้านแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชน
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ - มัธยมศึกษา • เป้าหมาย: ใช้ทักษะการโต้เถียง และการคิดอย่างสร้างสรรค์ • คำถามสร้างพลังคิด: เราพูดในสิ่งที่เราอยากพูด และหมายความอย่างนั้นทุกครั้งใช่หรือไม่ • โครงงาน: นักเรียนจะสวมหลากหลายบทบาทของกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนหรือเป็นสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในหัวข้อที่ถกเถียงกันในชุมชน
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - ประถมปลาย/มัธยมต้น • เป้าหมาย: เข้าใจการทำงานของตลาดหุ้นและผลกระทบต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • คำถามสร้างพลังคิด: ควรลงทุนเงินอย่างไร • โครงงาน: นักเรียนจะตั้งบริษัท และสวมบทบาทสมมติเป็นผู้ลงทุนและหรือผู้เล่นหุ้น และวางแผนการลงทุนและติดตามการลงทุนนั้นเป็นเวลา ๑ ปี
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ - ประถมปลาย • เป้าหมาย: เข้าใจปรากฎการณ์ทางอากาศที่แตกต่างกันตามที่ต่าง ๆ กันในโลก • คำถามสร้างพลังคิด: เรากลัวอะไร • โครงงาน: นักเรียนจะสวมบทบาทสมมติเป็นนักพยากรณ์อากาศ อธิบายปรากฎการณ์ทางอากาศที่แตกต่างกันในที่ต่าง ๆ ของโลก และวางแผนเพื่อความปลอดภัยจากปรากฎการณ์ดังกล่าว
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ - ประถม • เป้าหมาย: เข้าใจหลักการทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่าย ๆ • คำถามสร้างพลังคิด: ใครเป็นเจ้าของ และทำไม • โครงงาน: นักเรียนจะตั้งร้านค้าปลีกอย่างง่าย ๆ ขึ้นภายในโรงเรียน ร่วมกันวางแผนว่าจะขายอะไร, ในราคาเท่าไร, ผลิตสินค้านั้น, วางแผนเพื่อจำหน่ายและควบคุมรายรับรายจ่าย
การอ่าน - ระดับประถม • เป้าหมาย: เข้าใจองค์ประกอบ, หน้าที่, บทบาท และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงละคร • คำถามสร้างพลังคิด: ทำไมเราต้องแสดง • โครงงาน: นักเรียนจะแปลและดัดแปลงเรื่อง/นิทานที่อ่านเป็นบทละคร และแสดงละครให้นักเรียนคนอื่น ๆ ในโรงเรียนชม
การท่องเที่ยว: ระดับประถมถึงมัธยมศึกษา
แหล่งข้อมูล • Friedman, P.D. & William, J.D. (1988). Hyperlearning. New York: Stenhouse Publishers. • Trowbridge, L.W. & Bybee, R.W. (1906). Teaching Secondary School Science. New Jersey: Prentice Hall • Vermillion, R.E. (1991). Projects andInvestigations. New York: Macmillan Publishing Co.
Online Resources • http://www.ericfacility.net/ericdigests/ed368509.html • http://www.uoregon.edu/moursund/Math/pbl.htm • http://www.jordan.paloalto.ca.us/students/connections/pbl/pblplan.html • http://eduscapes.com/tap/topic43.htm • http://pblmm.k12.ca.us/PBLGuide/PBL&PL.htm • http://www.iste.org/research/roadahead/pbl.htm • http://www.glef.org/PBL/whypbl.htm • http://college.hmco/education/pbl/background.html • http://www.bie.org • http://www.mcdenver.com/useguide/pbl.htm • http://www.cord.org.lev2.cfm/56