1 / 95

กฎหมายแรงงาน ชัยสิทธิ์ หล้าธรรม

กฎหมายแรงงาน ชัยสิทธิ์ หล้าธรรม. กฎหมาย แรงงาน. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยการจ้างแรงงาน ม. 575 - 586. ความหมายของการจ้างแรงงาน. เป็นสัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่านายจ้าง ลูกจ้างมีการตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง นายจ้างจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน. การโอนสิทธิ.

Download Presentation

กฎหมายแรงงาน ชัยสิทธิ์ หล้าธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายแรงงานชัยสิทธิ์ หล้าธรรม กฎหมาย แรงงาน

  2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจ้างแรงงานม.575 - 586

  3. ความหมายของการจ้างแรงงานความหมายของการจ้างแรงงาน • เป็นสัญญา • ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่านายจ้าง • ลูกจ้างมีการตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง • นายจ้างจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน

  4. การโอนสิทธิ • นายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย • ลูกจ้างจะให้บุคคลภายนอกทำงานแทนตนก็ได้เมื่อนายจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย

  5. สัญญาและการบอกเลิกสัญญาสัญญาและการบอกเลิกสัญญา • ถ้าสัญญาสิ้นสุดลงแล้วลูกจ้างยังคงทำงานต่อ และนายจ้างมิได้ทักท้วง ให้สันนิษฐานว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกับสัญญาเดิม • คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องการโอนสิทธิ อีกฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ • ลูกจ้างรับรองว่ามีฝีมือแต่จริงๆแล้วปรากฏว่าไม่มีฝีมือ นายจ้างบอกเลิกสัญญาได้ • ถ้าไม่กำหนดอายุสัญญาไว้หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาให้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง หรือจะจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแทนก็ได้

  6. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  7. กำไร เงินเลี้ยงชีพ นายจ้าง ความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกัน ลูกจ้าง เพื่อให้เกิดผลผลิต/บริการ ให้ทำงานมาก ความเป็นปฏิปักษ์ในทาง ทำงานน้อย จ่ายค่าแรงน้อย เศรษฐกิจ ได้ค่าจ้างมาก มีเงิน ความรู้ฯลฯ ความได้เปรียบเสียเปรียบ มีเงิน ความรู้ฯลฯ มากกว่า ทางสังคม น้อยกว่า มีโอกาสเลือก มีโอกาสเลือก มากกว่า น้อยกว่า

  8. กฎหมายคุ้มครองแรงงาน วัตถุประสงค์ 1. ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม (จัดระเบียบ ในการใช้แรงงานโดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ) 2. ให้ลูกจ้างมีสุขภาพอนามัยอันดีในระยะยาว 3. เพื่อให้การใช้แรงงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และประเทศ

  9. ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงานลักษณะของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 1. กฎหมายมหาชน 2. กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน 3. กฎหมายที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาวะทาง เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

  10. วิวัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองแรงงานวิวัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 1. พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 1 มกราคม 2500 - 30 ตุลาคม 2501 2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 31 ตุลาคม 2501 - 15 เมษายน 2515 3. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 16 เมษายน 2515 - 18 สิงหาคม 2541 4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 19 สิงหาคม 2541 ถึงปัจจุบัน 5. แกไขเพิ่มเติมพรบ.คุ้มครองแรงงาน 2551

  11. กิจการที่ไม่อยู่ในข่ายบังคับ 1. ส่วนราชการ 2. รัฐวิสาหกิจ 3. กิจการตามกฎกระทรวง

  12. สภาพบังคับ * ทางอาญา- เปรียบเทียบปรับ - ทางพนักงานสอบสวน * ทางแพ่ง - ค้างจ่ายเงินต่างๆ

  13. นายจ้าง 1. ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ 2. ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งเป็นนายจ้าง 3. ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนบุคคลตาม 1. หรือ 2. 4. การจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดย ก. ผู้ประกอบกิจการมอบบุคคลรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง หรือให้จัดหาลูกจ้างมาทำงาน ซึ่งไม่ใช่การจัดหางาน

  14. ข. การทำงานนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจของผู้ประกอบกิจการ ผู้ประกอบกิจการและผู้รับเหมาค่าแรงต่างมีฐานะเป็นนายจ้าง 5. ความรับผิด - อาญา 1. - 4. - แพ่ง นิติบุคคล 2., 3. ไม่ต้องรับผิดเป็น ส่วนตัว

  15. ลูกจ้าง ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง (รวมถึงลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน)

  16. การควบคุม • นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป • ต้องจัดทำเอกสารต่อไปนี้เป็นภาษาไทย • ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • ทะเบียนลูกจ้าง • เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนใน • การทำงาน

  17. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน • อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ • วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก • วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด • หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด • วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่า ล่วงเวลาในวันหยุด • วันลาและหลักเกณฑ์การลา • วินัยและโทษทางวินัย • การร้องทุกข์ • การเลิกจ้างค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ

  18. การร้องทุกข์ 1. ขอบเขตและความหมายของข้อร้องทุกข์ 2. วิธีการและขั้นตอนการร้องทุกข์ 3. การสอบสวนและพิจารณาข้อร้องทุกข์ 4. กระบวนการยุติข้อร้องทุกข์ 5. ความคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เกี่ยวข้อง

  19. ทะเบียนลูกจ้าง • อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ • 1. ชื่อตัวและชื่อสกุล • 2. เพศ • 3. สัญชาติ • 4. วันเดือนปีเกิด หรืออายุ • 5. ที่อยู่ปัจจุบัน • 6. วันที่เริ่มจ้าง • 7. ตำแหน่งหรืองานในหน้าที่ • 8. อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทน อย่างอื่นที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ • ลูกจ้าง

  20. เอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน ในการทำงาน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. วันและเวลาทำงาน 2. ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย 3. อัตราและจำนวน ค่าจ้างค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ลูกจ้างในธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เป็นเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานด้วย

  21. เวลาทำงานปกติ(ม.23) “วันทำงาน” : วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ * กำหนดโดยกฎกระทรวง ไม่เกิน 8 ชม./วัน และ 48 ชม./สัปดาห์ * งานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ไม่เกิน 7 ชม./วัน และ 42 ชม./สัปดาห์ หน้าที่ นายจ้างต้องประกาศเวลาทำงานปกติโดยมีเวลาเริ่มต้น - เวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันให้ลูกจ้างทราบ

  22. การทำงานล่วงเวลา “การทำงานล่วงเวลา” : การทำงานนอกหรือเกินเวลาทำงานปกติ หรือเกิน ชม.ทำงานในแต่ละวันที่ นจ. ลจ.ตกลงกัน * ทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป * ทำได้เท่าที่จำเป็นตามที่นายจ้างสั่ง - งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องทำติดต่อ กันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน - งานฉุกเฉิน - งานอื่นตามกฎกระทรวง * งานอันตราย ห้ามทำ OT

  23. การทำงานในวันหยุด * ทำได้เท่าที่จำเป็น ตามที่ นจ.สั่ง - งานที่มีลักษณะหรือสภาพต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน - งานฉุกเฉิน - กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่งร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล หรือกิจการอื่นตามกฎกระทรวง * งานเพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่ายและการบริการ โดย ลจ.ยินยอมก่อนเป็นคราวๆ ไป * งานอันตราย ห้ามให้ ลจ.ทำงานในวันหยุด

  24. เวลาพัก ระหว่างการทำงานปกติ - จัดในระหว่างการทำงานในวันที่มีการทำงาน - ไม่น้อยกว่า 1 ชม./วัน - ภายใน 5 ชม.แรกของการทำงาน - แบ่งเวลาพักได้ตามที่ตกลงกัน - ตกลงกำหนดเวลาพักเป็นอย่างอื่นได้ ถ้าเป็น ประโยชน์แก่ ลจ. - ไม่นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่พักเกิน 2 ชม. นับเป็นเวลาพักได้ 2 ชม. ส่วนเกินนับเป็นเวลา ทำงานปกติ พักก่อนทำ O.T. พักไม่น้อยกว่า 20 นาทีก่อนทำ O.T. ถ้า O.T. ทำต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า 2 ชม.

  25. ข้อยกเว้น ไม่ต้องจัดเวลาพักระหว่างการทำงาน หรือ ก่อนทำ O.T. ถ้า * ลจ.ทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงาน ต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอม จาก ลจ. * งานฉุกเฉิน * ทำ O.T. น้อยกว่า 2 ชม.

  26. วันหยุด วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี วันหยุดประจำสัปดาห์ * จัดให้มี 1 วัน/สัปดาห์ เป็นวันใดก็ได้ * แต่ละวันหยุดต้องห่างกันไม่เกิน 6 วัน * งานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานอื่นตามกฎกระทรวง ตกลงสะสมและเลื่อนวันหยุดไปไม่เกิน 4 สัปดาห์ได้ * ได้รับค่าจ้างในวันหยุด เว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง, ตามผลงาน

  27. วันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้อง * ประกาศกำหนดล่วงหน้า 13 วัน/ปี * รวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย * วันอื่นให้กำหนดจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น * หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป ถ้าตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ * ได้รับค่าจ้างในวันหยุด ข้อยกเว้นถ้าไม่อาจจัดให้หยุดได้เนื่องจาก ลจ.ทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยตกลงกันหยุดชดเชยในวันอื่น หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้

  28. วันหยุดพักผ่อนประจำปี ลจ.ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี * หยุดได้ 6 วันทำงาน/ปี * นจ.กำหนดล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน * ปีต่อมาจะหยุดมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ * สะสมและเลื่อนไปรวมหยุดในปีต่อๆ ไปได้ * ถ้าลูกจ้างทำงานยังไม่ครบ 1 ปีจะให้หยุด ตามส่วนก็ได้ * ได้รับค่าจ้างในวันหยุด * ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนกรณีเลิกจ้าง ลจ.

  29. วันลา วันลาป่วย * ลาได้เท่าที่ป่วยจริง * ลาตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นจ.ให้ ลจ.แสดงใบรับรองแพทย์หรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ ถ้า ลจ.ไม่อาจแสดงได้ ให้ชี้แจงให้ นจ.ทราบ * วันที่ลูกจ้างไม่ทำงานเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน, วันลาเพื่อคลอดบุตรไม่ถือเป็นวันลาป่วย * ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงาน/ปี

  30. วันลาเพื่อทำหมัน * ลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนดและออกใบรับรอง * ได้รับค่าจ้างในวันลา วันลากิจ * ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน * ไม่ได้รับค่าจ้างในวันลา

  31. วันลาเพื่อรับราชการทหารวันลาเพื่อรับราชการทหาร * ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อ ตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม * ลาได้เท่าจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก * ได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วัน/ปี วันลาเพื่อฝึกอบรม * มีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง * ไม่ได้รับค่าจ้างในวันลา

  32. วันลาเพื่อคลอดบุตร ลจ. ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิ * ลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน * วันลานับรวมวันหยุด * ได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 45 วัน

  33. การยกของหนัก ให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ย ต่อลูกจ้าง 1 คน ดังต่อไปนี้ 1.50 กก.สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย 2.25 กก.สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง และลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปี 3.20 กก.สำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปี ในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง

  34. การใช้แรงงานหญิง * ห้ามใช้ ลจ.หญิงทำงานอันตราย * ถ้าให้ ลจ.หญิงทำงานระหว่าง 24.00 - 06.00 น. ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของหญิงนั้น พนักงานตรวจแรงงานรายงานอธิบดีเพื่อให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือลดชั่วโมงทำงานได้ตามที่เห็นสมควร

  35. การคุ้มครอง ลจ.หญิงมีครรภ์ * ห้ามให้ ลจ.หญิงมีครรภ์ทำงาน ดังนี้ - ระหว่าง 22.00 - 06.00 น. - ทำงาน O.T., ในวันหยุด - งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน - งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ - งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลากหรือเข็นของหนักเกิน 15 กก. - งานที่ทำในเรือ - งานที่กำหนดในกฎกระทรวง * ถ้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าไม่อาจทำงานหน้าที่เดิม มีสิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และ นจ.ต้องเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้ * ห้ามเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์

  36. การใช้แรงงานเด็ก * ห้ามจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี * การจ้าง ลจ.เด็ก(15 ปีแต่ไม่ถึง 18 ปี) นจ. ต้อง ปฏิบัติดังนี้ ก. - แจ้งการจ้างเด็กต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน - จัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเก็บไว้ให้ตรวจ - แจ้งการสิ้นสุดการจ้างเด็กภายใน 7 วันนับแต่วันที่ออกจากงาน(ม.45) ข. จัดเวลาพัก 1 ชม./วัน ภายใน 4 ชม.แรกของการทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่ นจ.กำหนด

  37. ค. ห้าม! - ใช้ทำงานระหว่าง 22.00 - 06.00 น. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี(ม.47) - ใช้ทำงาน O.T., ในวันหยุด(ม.48) - ใช้ทำงานอันตราย(ม.49), ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม * การคุ้มครองค่าจ้าง - ห้ามจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างเด็กให้บุคคลอื่น - ถ้ามีการจ่ายหรือรับเงิน, ผลประโยชน์ตอบแทนใดล่วงหน้าก่อนมีการจ้างหรือก่อนงวดการจ่ายค่าจ้าง มิให้ถือเป็นการจ่ายค่าจ้างสำหรับลูกจ้างเด็ก และห้ามนำมาหักจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเด็กตามกำหนดเวลา

  38. สิทธิลาอบรมของลูกจ้างเด็ก - มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก เพื่อการพัฒนา และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างเด็ก - จัดโดยสถานศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่อธิบดีเห็นชอบ - ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี

  39. ค่าตอบแทนในการทำงาน “ค่าจ้าง” 1. เงินที่ นจ.+ ลจ.ตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ ลจ.ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน 2. เงินที่ นจ.จ่ายให้แก่ ลจ.ในวันหยุด-วันลาที่ ลจ.มิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตาม พ.ร.บ.นี้

  40. “ค่าจ้างในวันทำงาน” : ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลา การทำงานปกติ “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ” * อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด ตาม พ.ร.บ.นี้ * ใช้เฉพาะกิจการหรือทุกประเภท, เฉพาะท้องที่ * ไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน * ถ้าไม่กำหนด ใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น

  41. “อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน” * อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำ

  42. “ค่าล่วงเวลา” : เงินที่ นจ.จ่ายให้แก่ ลจ.เป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน “ค่าทำงานในวันหยุด” : เงินที่ นจ. จ่ายให้แก่ ลจ.เป็นการตอบแทน การทำงานในวันหยุด “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” : เงินที่ นจ.จ่ายให้แก่ ลจ.เป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

  43. การคุ้มครอง 1. อัตรา ค่าจ้าง ไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าล่วงเวลา * วันทำงาน : 1.5 เท่า * วันหยุด : 3 เท่า ค่าทำงานในวันหยุด * 1 เท่า : ลจ.ที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด * 2 เท่า : ลจ.ที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ข้อยกเว้น - ลจ.ที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา - ลจ.ที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด

  44. 2. ทำงานอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน 3. จ่ายเป็นเงินตราไทย จ่ายเป็นตั๋วเงิน, เงินตราต่างประเทศได้ เมื่อ ลจ.ยินยอม 4. สถานที่จ่าย : สถานที่ทำงานของ ลจ. : ณ สถานที่อื่น, ด้วยวิธีอื่น เมื่อ ลจ.ยินยอม 5. กำหนดเวลาจ่าย อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน * ถ้าเลิกจ้าง จ่ายภายใน 3 วันนับแต่เลิกจ้าง

  45. การหยุดกิจการชั่วคราวการหยุดกิจการชั่วคราว - มิใช่เหตุสุดวิสัย หน้าที่นายจ้าง - แจ้ง ลจ., พนักงานตรวจแรงงานล่วงหน้าก่อนหยุด - จ่ายเงิน 50% ของค่าจ้างให้ ลจ. ตลอดเวลาที่หยุด

  46. การหักหนี้ (ม.76) * ห้ามหักข้อยกเว้น 1. ชำระภาษีเงินได้, เงินอื่นตาม กม.บัญญัติไว้ 2. ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3. ชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะ เดียวกัน เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน หนี้สวัสดิการที่เป็น ประโยชน์แก่ ลจ.ฝ่ายเดียว ถ้า ลจ.ยินยอม 4. เงินประกัน, ชดใช้ค่าเสียหายถ้าจงใจ,ประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงถ้า ลจ.ยินยอม 5. เงินสมทบกองทุนเงินสะสมตามข้อตกลง * จำนวนเงิน ตามที่จ่ายจริง, แต่ละข้อไม่เกิน 10% , รวมกันไม่เกิน 1/5 , หักมากกว่านี้เมื่อ ลจ.ยินยอม

  47. แบบความยินยอมหรือข้อตกลงแบบความยินยอมหรือข้อตกลง มี 3 กรณี 1. ความยินยอมจ่ายค่าตอบแทนเป็นตั๋วเงิน, เงินตราต่างประเทศแทนเงินตราไทย 2. ความยินยอมให้จ่ายค่าตอบแทน ณ สถานที่อื่น, วิธีอื่น 3. ความยินยอมหรือข้อตกลงให้หักหนี้ แบบ 1. ทำเป็นหนังสือ + ลูกจ้างลงลายมือชื่อหรือ 2. มีข้อตกลง ชัดเจน เป็นการเฉพาะ

  48. สวัสดิการ 1. คณะกรรมการ 2 ระดับ - คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน (5 : 5 : 5) ไตรภาคี อำนาจหน้าที่ - กำหนดนโยบาย - เสนอความเห็นต่อ รมต.ในการออกกฎกระทรวง - วินิจฉัยเรื่องการย้ายโรงงาน - คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ที่มี ลจ. 50 คนขึ้นไป * มาจากการเลือกตั้ง * จำนวนอย่างน้อย 5 คน * หน้าที่ร่วมหารือกับ นจ.เรื่องสวัสดิการ * ถ้ามี คกก.ลจ.ให้ทำหน้าที่ คกก.ชุดนี้ด้วย

  49. 2. การจัดสวัสดิการเรื่องใด มาตรฐานอย่างใด ออกกฎกระทรวง 3. สวัสดิการตามกฎหมาย, ข้อตกลง นจ.ต้องปิด ประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของ ลจ.

  50. “ค่าชดเชย” : เงินที่ นจ.จ่ายแก่ ลจ.เมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่ง นจ. ตกลงจ่ายแก่ ลจ. “การเลิกจ้าง” 1. การที่ นจ.ไม่ให้ ลจ.ทำงานต่อไป + ไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด 2. ลจ.ไม่ได้ทำงาน + ไม่ได้รับค่าจ้างเพราะ นจ.ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ อัตรา คำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย อายุงาน 120 วัน - ไม่ครบ 1 ปี = 30 วัน “ 1 ปี - “ 3 ปี = 90 วัน “ 3 ปี - “ 6 ปี = 180 วัน “ 6 ปี - “ 10 ปี = 240 วัน “ 10 ปีขึ้นไป = 300 วัน

More Related