650 likes | 1.59k Views
ภาษีเงินได้นิติบุคคล. ศ. พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด 3 กรกฎาคม 2555. หัวข้อการบรรยาย. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี/องค์กรธุรกิจ ทุนของบริษัท การก่อหนี้ ธุรกรรมต่าง ๆ ผลตอบแทนจากเงินลงทุน การคำนวณกำไรสุทธิ รายได้ และรายจ่ายต้องห้าม
E N D
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ศ. พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด 3 กรกฎาคม 2555
หัวข้อการบรรยาย • ผู้มีหน้าที่เสียภาษี/องค์กรธุรกิจ • ทุนของบริษัท • การก่อหนี้ • ธุรกรรมต่าง ๆ • ผลตอบแทนจากเงินลงทุน • การคำนวณกำไรสุทธิ รายได้ และรายจ่ายต้องห้าม • กรณีศึกษา ภาษีเงินได้นิติบุคคล2
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี/องค์กรธุรกิจผู้มีหน้าที่เสียภาษี/องค์กรธุรกิจ ภาษีเงินได้นิติบุคคล3
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทมหาชนจำกัด กิจการ/องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ ภาษี กิจการร่วมค้า (JV) นิติบุคคลต่างประเทศ มูลนิธิ/สมาคมที่มิใช่องค์กรสาธารณกุศล ตามประกาศ กท. คลัง ภาษีเงินได้นิติบุคคล4
ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ • กองทุนรวม • มูลนิธิ/สมาคมตามประกาศ กท. คลัง • รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ • ธนาคารที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล5
เงินปันผล /เงินส่วนแบ่งกำไร อัตราภาษีขององค์กรธุรกิจ ภาระภาษีขององค์กรธุรกิจและผู้ลงทุน กำไรจากการโอนหุ้น • หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% • บุคคลธรรมดาได้เครดิตภาษีเงินปันผล • นิติบุคคลได้รับยกเว้นตาม 65 ทวิ (10) • นิติบุคคลต่างประเทศ 10% ม.70 • บุคคลธรรมดา อัตราก้าวหน้า 10-37% ยกเว้นกรณีขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ • นิติบุคคล อัตรา 15-30% • นิติบุคคล ตปท15% ม.70 • นิติบุคคลใน DTAบางประเทศยกเว้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 30% (23/20) บริษัทจำกัด / บริษัทมหาชน 30% (23/20) 15, 20% (23) SME บริษัทจดทะเบียน 25, 30% บริษัท MAI 20, 30% ภาษีเงินได้นิติบุคคล6
อัตราภาษีขององค์กรธุรกิจอัตราภาษีขององค์กรธุรกิจ เงินปันผล /เงินส่วนแบ่งกำไร กำไรจากการโอนหุ้น องค์กรธุรกิจ ยกเว้น, 10%, 30% พรฎ 405 สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ROH -บุคคลธรรมดา 10-37% -นิติบุคคล 15-30% -นิติบุคคลต่างประเทศ 15% (นิติบุคคลใน DTA บางประเทศยกเว้น) ยกเว้น เฉพาะที่จ่ายจากกิจการ ROH ยกเว้นและ 30%(23/20) ยกเว้นเฉพาะที่จ่ายจากกิจการ BOI BOI 30%(23/20) กิจการร่วมค้า (JV) ยกเว้นเฉพาะเงินส่วนแบ่งกำไรหลังภาษี พรฎ 10 N/A แยกเสีย 15% - 30%(23/20) N/A กลุ่มบริษัท Consortium บุคคล – ยกเว้น กฎ. 126 บริษัทไทย – 15% - 30% บริษัทตปท - ไม่ถูกหักภาษี 30%(23/20) สาขาบริษัทต่างประเทศ ภาษีจำหน่ายเงินกำไร 10% ม.70ทวิ N/A บริษัทธุรกิจร่วมลงทุน Venture Capital Co., Ltd. ยกเว้น เฉพาะเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น ยกเว้น พรฏ 10 ยกเว้น พรฎ ฉ.10 กองทุนรวม บุคคล - 10% พรฏ 262, บริษัทไทย – ยกเว้น พรฎ 263, บริษัทตปท. ไม่ถูกหักภาษี ไม่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล7
องค์กรธุรกิจ ร่วมลงทุน บุคคลธรรมดา นิติบุคคลไทย นิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศอนุสัญญาภาษีฯ ผู้ถือหุ้น บริษัท J.V.Consortiumซื้อหุ้นซื้อทรัพย์สินควบกิจการ องค์กรธุรกิจ ภาษี บริษัทจำกัด = 30%SME = 15 -30%MAI/SET = 20, 25, 30% BOI = 0%สาขาบริษัท ตปท = 30% กำไร ขาดทุน รายจ่าย ม.65 ทวิ (4) (7) ม. 65 ตรี (13) (14) (15) ป.113/2545 บริษัทลูก บริษัทในเครือ บุคคลภายนอก บริษัทในกลุ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล8
2. ทุนของบริษัท ภาษีเงินได้นิติบุคคล9
ทุนของบริษัท หุ้นสามัญ ประกอบกิจการ ระดมทุน หุ้น/ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น หุ้นบุริมสิทธิ์ บริษัท ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ (WARRANT) หุ้นกู้แปลงสภาพ ภาษีเงินได้นิติบุคคล10
3. การก่อหนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล11
บริษัท การก่อหนี้ ดอกเบี้ย • หากเป็นสถาบันการเงินไม่มีภาระหัก ณ ที่จ่าย • หากเป็นนิติบุคคลไทย หัก 1% (ทป. 4 ข้อ 4 (3)) เงินกู้ในประเทศ ตราสารหนี้ ก่อหนี้ ม.40(4)(ก) 15% หักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา หุ้นกู้/ตั๋วเงิน เงินกู้ต่างประเทศ ปกติ: 15% ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ม.70) เงินกู้/ตราสารหนี้/ส่วนลด:10% (พรฎ ฉ.18 + ภาษีซ้อนฯ) นิติบุคคลต่างประเทศ 15% หักภาษี ณ ที่จ่าย (ม.50 (2)) บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล12
4. ธุรกรรมต่าง ๆ ภาษีเงินได้นิติบุคคล13
บริษัท ธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศ ค่าบริการจ้าง ม. 40 (2)(6)(7) (8) ค่าสิทธิ ม. 40 (3) ค่าซื้อสินค้า ม. 40 (8) ค่าเช่า ม. 40 (5) ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% (ทป. 4/2528) หักภาษี ณ ที่จ่าย 1, 2, 3, 5% (ทป. 4/2528) ภาษีเงินได้นิติบุคคล14
บริษัท ธุรกรรมต่าง ๆ ต่างประเทศ ค่าบริการจ้าง ม. 40 (2)(6)(7) (8) ค่าสิทธิ ม. 40 (3) ค่าซื้อสินค้า ม. 40 (8) ค่าเช่า ม. 40 (5) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ยกเว้น – เงินได้ 40(7),(8) ยกเว้น – อนุสัญญาฯ หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่หักตามอนุสัญญาฯ บางประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% อนุสัญญาฯ บางประเทศลดเหลือ 5%, 8% ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล15
5. ผลตอบแทนจากเงินลงทุน5. ผลตอบแทนจากเงินลงทุน ภาษีเงินได้นิติบุคคล16
บริษัท ผลตอบแทนจากเงินลงทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน ม.40(4) (ข) (ช) บุคคลธรรมดา นิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลไทย • หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%และเครดิตภาษีได้ 3/7 • ยกเว้นเงินได้ตามหลักเกณฑ์ ม. 65 ทวิ (10) หากไม่เข้าเงื่อนไขเสีย 50% • ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามเงื่อนไขข้อ 5 ของ ทป.4/2528 • หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ปันผล • หัก ณ ที่จ่าย 15% ยกเว้นกรณีภาษีซ้อนบางประเทศอาจยกเว้น • ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่รวมเสียภาษีเงินได้ • หัก ณ ที่จ่ายและ เสียภาษี 5-37% ยกเว้นกรณีบุคคลธรรมดาในตลาดฯ กำไรจากการขายหุ้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล17
แผนภูมิการวางแผนการเงินและภาษีแผนภูมิการวางแผนการเงินและภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล18
แผนภูมิการวางแผนการเงินและภาษีแผนภูมิการวางแผนการเงินและภาษี บริษัท ต่างประเทศ ในประเทศ ค่าบริการ ม.40(2)(6)(7)(8) ค่าบริการจ้าง ม. 40 (2)(6)(7)(8) ค่าเช่า ม.40(5) ค่าซื้อสินค้า ม.40(8) ค่าเช่า ม. 40 (5) ค่าสิทธิ (ม.40(3) ค่าสิทธิ ม. 40 (3) ค่าซื้อสินค้า ม. 40 (8) 15% ไม่ต้องหักกรณีภาษีซ้อนบางประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% หรือ 15% หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% 15% หรือไม่หัก ณ ที่จ่ายกรณี (1) อนุสัญญาภาษีซ้อน (2) เงินได้ตาม ม.40(7)(8) ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%, 2%, 3%, 5% (ทป..4/2528) ไม่หัก ภาษี ณ ที่จ่าย เงินกู้ในประเทศ ประกอบกิจการ ดอกเบี้ย • หากเป็นสถาบันการเงินไม่มีภาระหัก ณ ที่จ่าย • หากเป็นนิติบุคคลไทย หัก 1% ก่อหนี้ ม.40(4)(ก) หุ้นสามัญ ระดมทุน หุ้น/ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น ตราสารหนี้ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นกู้/ตั๋วเงิน 15% หักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา ใบสำคัญแสดงสิทธิ์(WARRANT) เงินกู้ต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศ ผลตอบแทนจากการลงทุน ม.40(4) (ข) (ช) หุ้นกู้แปลงสภาพ เงินกู้/ตราสารหนี้/ส่วนลด 10% (ภาษีซ้อน) –15% หัก ณ ที่จ่าย บุคคลธรรมดา 15% หักภาษี ณ ที่จ่าย นิติบุคคลต่างประเทศ บุคคลธรรมดา นิติบุคคลไทย ปันผล • ยกเว้นเงินได้กรณีเข้าหลักเกณฑ์ ม. 65 ทวิ (10) หากไม่เข้าเงื่อนไขเสีย 50% • ยกเว้นกรณีเข้าเงื่อนไขข้อ 5 ของ ทป.4/2528 • หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%และเครดิตภาษีได้ 3/7 • หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% กำไรจากการขายหุ้น • หัก ณ ที่จ่าย 15% ยกเว้นกรณีภาษีซ้อนบางประเทศอาจยกเว้น • ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่รวมเสียภาษีเงินได้ • หัก ณ ที่จ่ายและ เสียภาษี 5-37% ยกเว้นกรณีบุคคลธรรมดาในตลาดฯ ภาษีเงินได้นิติบุคคล19
6. การคำนวณกำไรสุทธิ รายได้ และรายจ่ายต้องห้าม ภาษีเงินได้นิติบุคคล20
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี กำไรสุทธิ = รายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการ (ม.65 ว. 1) หัก รายจ่ายตามเงื่อนไข ม.65ทวิ และม.65ตรี การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ม.65 ว.2 รายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นเกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญ๙นั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล21
กรณีศึกษา: เกณฑ์สิทธิ ไทย ฮ่องกง บริษัท จ. (โจทก์) สัญญาให้บริการปรึกษาแนะนำทางเทคนิค บริษัท A บริษัท จ. มีภาระผูกพันต้องจ่าย - ค่าปรึกษาแนะนำทางเทคนิค - ค่าภาษีออกให้ ฎีกา 7874/2544 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำรายจ่าย ค่าปรึกษาแนะนำในเชิงเทคนิคและภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่โจทก์ต้องรับภาระตามสัญญามาบันทึกรายการบัญชีเพื่อรับรู้รายจ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดได้ ... มิใช่ว่าโจทก์นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเมื่อใด และจึงนำมาเป็นรายจ่ายของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ซึ่งจะกลายเป็นการรับรู้รายจ่ายโดยใช้เกณฑ์เงินสดผสมกับเกณฑ์สิทธิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล22
รายได้ เกณฑ์การรับรู้รายได้ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) ม. 65 + ท.ป. 1/2528 บริษัทไทย บริษัท ตปท. รายได้ เงินได้จากกิจการที่กระทำในประเทศไทย ม.66 ว.2 + ม. 76 ทวิ เงินได้ทั่วโลก (worldwide Income) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล23
ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัยที่ 62 (2552) ข้อเท็จจริง • บริษัทช่างไทย จำกัด เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ในประเทศไทย • บริษัทช่างไทย จำกัด ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างและธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ • ในปี 2551 บริษัทช่างไทย จำกัด • ได้รับเงินค่าจ้างรับเหมาตามสัญญาก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในประเทศบราซิลซึ่งไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท และ • มีเงินได้จากการประกอบธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศดังกล่าวอีกเป็นเงิน 500 ล้านบาท คำถาม • บริษัทช่างไทย จำกัด จะต้องนำเงินที่ได้รับจากการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า และจากการประกอบธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศบราซิลมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้แก่ประเทศไทย หรือไม่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล24
ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัยที่ 62 (2552) ก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า บริษัทช่างไทย จำกัด 2,000 ล้านบาท 500 ล้านบาท ค้าอสังหาริมทรัพย์ ประเทศบราซิล ประเทศไทย • จดทะเบียนจัดตั้ง • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม • จดภาษีธุรกิจเฉพาะ บริษัทช่างไทย จำกัด ภาษีเงินได้นิติบุคคล25
ข้อสอบเนติบัณฑิตสมัยที่ 62 (2552) ธงคำตอบ • ภาษิเงินได้นิติบุคคลใช้หลัก Worldwide Income เงินได้ 2,500 ล้านบาท ต้องนำมารวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย • เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้างที่ทำในต่างประเทศ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย VAT ในไทย • เงินได้จากธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย SBT ในไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคล26
รายได้ที่ได้รับยกเว้นรายได้ที่ได้รับยกเว้น เงินปันผล จากบริษัทไทย ม.65 ทวิ (10) ประมวลรัษฎากร ม.3 • กิจการโรงเรียน พรฏ 284 • เงินปันผลจาก ตปท พรฏ 10 รายได้จากกิจการ BOI พรบ.ส่งเสริมฯ • ส่วนแบ่งกำไรจาก JV พรฏ 10 รายได้ยกเว้น ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล27
รายจ่ายต้องห้าม เงินสำรอง ม. 65ตรี (1)ฎ.2761/24, 2878/2532, 1462/2530 รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองม. 65ตรี (9) ฎ.5124/2531, 3406/2534 เงินกองทุน ม.65ตรี (2) ฎ.140/2534 3410/2534 รายจ่ายต้องห้าม รายจ่ายส่วนตัว โดยเสน่หา หรือการกุศล ม. 65ตรี (3) ฎ.2761/2524, 5124/2531, 3969/2532 เงินเดือนของผู้ถือหุ้น ม. 65ตรี (8) ฎ.3608/2534 การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทน ม. 65ตรี (7) ค่ารับรอง ม. 65ตรี (4) ฎ.2041/2536, 528/2537 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ม. 65ตรี (5) ฎ.528/2537, 551/2537 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียน ม. 65ตรี (6 ทวิ) เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา ม. 65ตรี (6) คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร 10/2528 ภาษีเงินได้นิติบุคคล28
รายจ่ายต้องห้าม (ต่อ) ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินของตนเอง ม. 65ตรี (10) ฎ.3726/2526, 811/2519 รายจ่ายตามที่กำหนดโดย พรฎ ม. 65ตรี (20) เช่น พรฎ ฉ. 315 ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุนของตนเอง ม.65ตรี (11) ฎ. 2646-2649/2516 รายจ่ายต้องห้าม ราจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร ม. 65ตรี (19) ฎ.949/2509, 840/2524 ผลเสียหาย ผลขาดทุนสุทธิม. 65ตรี (12) ฎ.47/2510, 3185/2522 รายจ่ายซึ่งพิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ม. 65ตรี (18) ฎ.1050/2524, 2735/2532 รายจ่ายที่มิใช่เพื่อหากำไรโดยเฉพาะ ม. 65ตรี (13) ฎ.2860-2861/2536, 6501/2534, 6704/2541 ค่าของทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง ม. 65ตรี (17) ฎ.5897/2550 ค่าซื้อทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติม. 65ตรี (15) ฎ.3137/2523 รายจ่ายที่มิใช่เพื่อกิจการในประเทศไทย ม. 65ตรี (14) ฎ.1229/2551 ค่าของทรัพยากร ธรรมชาติที่สูญสิ้น ม. 65ตรี (16) ภาษีเงินได้นิติบุคคล29
สัญญาเช่าที่ดิน บริษัทผู้ให้เช่าที่ดิน บริษัทผู้เช่าที่ติน ค่านายหน้า 4.5 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการเช่าที่ดิน 4 ล้านบาท นายหน้า กรมที่ดิน กรณีศึกษา - มาตรา 65 ตรี (5) ภาษีเงินได้นิติบุคคล30
มาตรา 65 ตรี (5) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน คำพิพากษาฎีกาที่ 434/2551 ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่ดินเป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้จากการให้เช่าที่ดิน ไม่ใช่รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วบังเกิดเป็นทุนรอนของบริษัทขึ้นมา ดังนั้น ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่าที่ดินจึงไม่ใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ค่านายหน้าเป็นรายจ่ายตอบแทนในการก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับผู้เช่า จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหารายได้จากการให้เช่าที่ดิน ไม่ใช่รายจ่ายค่านายหน้า จึงไม่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จะถือเอารายจ่ายค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการเช่ากับรายจ่ายค่านายหน้าเป็นนายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์เพียงใดนั้น เมื่อรายจ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวไม่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนดังได้วินิจฉัยมาแล้ว รายจ่ายทั้งสองรายการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีใด ย่อมเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นทั้งหมด มิใช่นำมาเฉลี่ยรายจ่ายตามสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ภาษีเงินได้นิติบุคคล31
กรณีศึกษา – ม. 65 ตรี (17) เดิม หลังลดทุน A A 16 ล้านหุ้น 10.6ล้านหุ้น ลดลง 5.4 ล้านหุ้น B B ทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท หุ้นทั้งหมด 30 ล้านหุ้น B ลดทุนเพื่อล้างผลขาดทุนสะสมเพื่อให้สามารถจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ B ลดทุนโดยลดจำนวนหุ้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล32
มาตรา 65 ตรี (17) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาลดลง...” คำพิพากษาฎีกาที่ 5897/2550 (ประชุมใหญ่) การลดทุนไม่ว่าโดยการลดมูลค่าหุ้นหรือลดจำนวนหุ้นเพื่อนำไปล้างผลขาดทุนสะสมไม่มีผลกระทบต่อสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้น แต่เป็นเพียงการลดทุนที่ B ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น แม้การลดจำนวนหุ้นจะทำให้หุ้นของ A จำนวนหนึ่งหายไป แต่ก็ไม่ได้ทำให้มูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนใน B สูญหายไปทั้งหมดหรือโดยสิ้นเชิงA อาจเสียหายมากขึ้นหรือไม่เสียหายเลยเนื่องจากการลดทุนของ B ก็ได้ เพราะ A ยังมีหุ้นที่เหลือจากการลงทุนให้ขายได้ในอนาคต ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลดทุนจึงยังไม่มีความแน่นอนเนื่องจากต้องพิจารณามูลค่าทั้งสิ้นของเงินลงทุนในหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินอันเดียวกันไม่ได้พิจารณาที่หุ้นแต่ละหุ้น ที่ A อ้างว่าได้รับความเสียหายแล้วจึงฟังไม่ขึ้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล33
กรณีศึกษา: ม. 65 ตรี (13) ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้น *(1) ขายหุ้นบริษัท ส. • ส. มีหนี้สิน / ผลประกอบการขาดทุนจำนวนมาก บริษัท จ.(โจทก์) บริษัท ส. (2) โจทก์ จัดตั้งบริษัท อ. *(3) ขายหุ้นบริษัท ส. ขาดทุน • หุ้นของ ส. ไม่มีมูลค่าแล้ว บริษัท อ. * (1) ผู้ถือหุ้น บริษัท ส. ไม่ได้รับเงินค่าหุ้นคืน * (3) บริษัท จ. นำผลขาดทุนจากการขายหุ้นมาถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคล34
มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ คำพิพากษาฎีกาที่ 6704/2541 โจทก์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะซื้อหุ้นของ บริษัท ส. เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัท ส. ให้ก้าวหน้าและมีผลกำไร เพราะในปีเดียวกับที่โจทก์ซื้อหุ้นมา โจทก์ได้ตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาประกอบกิจการและมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับบริษัท ส. ทั้งยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับบริษัท ส. หากโจทก์มีจุดมุ่งหมายที่จะฟื้นฟูกิจการของ บริษัท ส . ดังข้ออ้างของโจทก์แล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาแข่งขันกันเอง โจทก์คงมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. และในเวลาเดียวกันก็จะนำผลขาดทุนมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ การที่โจทก์ขายหุ้นที่ซื้อมาให้บริษัท อ. แล้วหากขาดทุนเป็นจำนวนเงิน 95,992,516 บาท จริง ผลขาดทุนดังกล่าวก็มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการโดยเฉพาะ โจทก์ใช้วิธีการและชั้นเชิงอันแยบยลในการช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. และในเวลาเดียวกัน ก็พยายามทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ลดลง... ก็ไม่สมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้ลดลงอีก ภาษีเงินได้นิติบุคคล35
ธนาคารต่างประเทศ กู้ยืม + เสียดอกเบี้ย นำเงินทุนทั้งหมดให้กู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย ลงทุน บริษัท ฮ.(โจทก์) บริษัท ก. บริษัท ค. กรณีศึกษา - มาตรา 65 ตรี (13) ภาษีเงินได้นิติบุคคล36
มาตรา 65 ตรี (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ คำพิพากษาฎีกาที่ 1056/2549 การที่โจทก์กู้เงินจากธนาคารในต่างประเทศไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ก. โดยโจทก์เสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ แล้วบริษัท ก. นำเงินลงทุนทั้งหมดไปให้บริษัท ค. กู้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โดยเจตนาทำให้ต้นทุนของบริษัท ค. ต่ำลงและมีผลกำไรเพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่า ผลกำไรเกิดขึ้นแก่บริษัท ค. ซึ่งเป็นอีกนิติบุคคลหนึ่งต่างหากจากโจทก์ รายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายเพื่อให้เกิดกำไรแก่นิติบุคคลอื่น เป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (13) ภาษีเงินได้นิติบุคคล37
กรณีศึกษา: ม. 65 ตรี (12) แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ได้นำขาดทุนปี 12 มาหักออก บริษัท ฮ.(โจทก์) ไม่ได้นำขาดทุนปี 12, 14 มาหักออก นำขาดทุนปี 12, 14 มาหักออก ภาษีเงินได้นิติบุคคล38
ม. 65 ตรี (12) คำพิพากษาฎีกาที่ 3185/2522 โดยหลักแล้วผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันซึ่งเป็นข้อยกเว้น เจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากรที่บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวขึ้นมาเห็นได้ว่า เพื่อจะช่วยเหลือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ดำเนินการขาดทุน ให้มีโอกาสประคับประคองตัวดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยเมื่อมีกำไรขึ้นมาเมื่อใดก็ยอมให้เอาผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันเป็นรายจ่ายมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิ คำว่ายกมาจึงหมายความว่ายกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ ถ้าหักแล้วยังขาดทุนสุทธิอยู่อีกก็ให้ยกไปหักในปีต่อไป ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะพ้นการขาดทุนสุทธิแต่ผลการขาดทุนสุทธิที่ยกมาดังกล่าวต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้าปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ภาษีเงินได้นิติบุคคล39
ม. 65 ตรี (12) คำพิพากษาฎีกาที่ 3185/2522 (ต่อ) เมื่อบริษัท ฮ. (โจทก์) ยื่นแบบฯ ปี 2513 บริษัท ฮ. ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบปี 2512 ให้ปรากฏในแบบฯ เพื่อไปหักกำไรสุทธิในปี 2513 แต่ถ้าบริษัท ฮ. ไม่มีกำไรสุทธิหรือถ้ากำไรสุทธิในปี 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในปี 2512 บริษัท ฮ. ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบฯ ในปี 2514 เพื่อไปหักกำไรสุทธิในปี 2514 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น บริษัท ฮ. จะเอาผลขาดทุนสุทธิในปี 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในปี 2516 ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นไปตามขั้นตอนในการยื่นแบบฯ ของแต่ละปี เป็นการยุ่งยากแก่เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร (จำเลย) ในการที่จะเรียกเก็บภาษีจากบริษัท ฮ. ได้ถูกต้อง อันไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของประมวลรัษฎากร และจะทำให้ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหลงผิดในฐานะของบริษัท ฮ. ซึ่งอาจจะมีผลการกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้ ดังนั้น คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกรมสรรพากรจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ภาษีเงินได้นิติบุคคล40
บริษัท CD บริษัท CRG บริษัท ส.(โจทก์) 1 ก.พ. 38 บริษัท ช. ปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายเงินปันผล บริษัท ช. หลังจ่ายปันผล กรณีศึกษา: ม. 65 ทวิ (10) 1 มิ.ย. 38 CD และ CRG ขายหุ้นที่ถือในบริษัท ส. ให้บริษัท ช. บริษัท CRG บริษัท CD บริษัท ส.(โจทก์) 1 ก.พ. 36บริษัท ส. ซื้อหุ้นบริษัท ช. บริษัท ช. ก่อนจ่ายปันผล ภาษีเงินได้นิติบุคคล41
ม. 65 ทวิ (10) บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ หากบริษัทที่มีเงินได้ที่เป็นเงินปันผลถือหุ้นที่ก่อให้เกิดเงินปันผลนั้นไว้ไม่น้อยกว่าสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว และมิได้โอนหุ้นนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ เว้นแต่ บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มารวมคำนวณเป็นรายได้ (ก) บริษัทจดทะเบียน (ข) บริษัทจำกัดนอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 25% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลและบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ภาษีเงินได้นิติบุคคล42
ม. 65 ทวิ (10) คำพิพากษาฎีกาที่ 5733/2544 ขณะที่ บริษัท ช. ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นประกาศจ่ายเงินปันผลให้บริษัท ส. (โจทก์) จำนวน175,219,000 บาท ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าบริษัท ส. มีรายได้ในเงินปันผลจำนวนดังกล่าวนั้น บริษัท ช. ยังมิได้เข้าถือหุ้นในบริษัท ส. หรือเคยถือหุ้นในบริษัท ส. ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมาก่อน เงินปันผลจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(10)(ข) การที่ต่อมาบริษัท ช. เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ส. ไม่ว่าจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัท ส. ได้รับเงินปันผลนั้นมาหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่ทำให้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ทั้งจำนวนนั้น ต้องกลับมาเป็นเงินปันผลที่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้กึ่งหนึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(10) วรรคหนึ่งไปได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล43
7. กรณีศึกษา ภาษีเงินได้นิติบุคคล44
ข้อสอบผู้ช่วยฯ 22 มิถุนายน 2546 บริษัท วัน ธนาคารต่างประเทศ 1 ม.ค. 2540 กู้ยืม 20 ล้าน USD เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโรงงาน ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน อันเนื่องมาจากการปรับปรุงระบบการเปลี่ยนเงินตราของ กท.คลัง เป็นรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนอันมีผลก่อให้เกิดรายได้เป็นการถาวรต่อธุรกิจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเกินกว่า 1 รอบบัญชี เมื่อบริษัท วัน ยังก่อสร้างโรงงานไม่เสร็จ รายจ่ายดังกล่าวจึงรายเป็นจ่ายที่เกิดขึ้นก่อนวันที่โรงงานนั้นพร้อมใช้งาน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ม.65ทวิ(5) บริษัท วัน จะนำผลขาดทุนฯ มาเฉลี่ยเป็นรายจ่ายในปี 40 ไม่ได้ (ฎีกา 3892/2545) 2 ก.ค. 40 31 ธ.ค. 40 1 ม.ค. 40 อัตราแลกเปลี่ยนต่อ 1 USD 47.55 บาท 25.60 บาท ลอยตัว 951 ล้านบาท 512 ล้านบาท ผลขาดทุนฯ = 439 ล้านบาท ??? ขณะที่ยังก่อสร้างโรงงานไม่เสร็จ ภาษีเงินได้นิติบุคคล45
ข้อสอบผู้ช่วยฯ 2 มิถุนายน 2545 28 เม.ย.36 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท น. อนุมัติตามที่คณะกรรมการเสนอ รอบบัญชี 2535 รอบบัญชี 2536 31 ธ.ค. 35 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท น. มีมติให้เสนอขออนุมัติที่ประชุมผู้ถือหุ้นจ่ายค่าตอบแทนกรรมการคนละ 1 แสนบาท บริษัท น. มีรายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการในรอบบัญชีใด จำนวนเท่าใด ??? การคำนวณรายได้และรายจ่ายต้องให้เกณฑ์สิทธิตาม ม.65 สิทธิของกรรมการที่จะเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินค่าตอบแทนและหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจะเกิดขึ้นต่อมเมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จ่ายได้ จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายจ่ายในรอบบัญชี 2535 หากแต่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชี 2536 เพราะหน้าที่ของบริษัทในการจ่ายเงินค่าตอบแทนแก่กรรมการเกิดขึ้นในการประชุมวันที่ 28 เม.ย. 36 (ฎีกา 3543/2542) ภาษีเงินได้นิติบุคคล46
ข้อสอบผู้ช่วยฯ 12 มีนาคม 2548 28 ม.ค.48 ผู้ซื้อพบว่าสินค้าบกพร่อง จึงส่งสินค้าคืนเป็นราคาสินค้า 1 แสนบาท พร้อมทั้งชำระเงินค่าสินค้าให้บริษัท อ. จำนวน 2.9 ล้านบาท พร้อม VAT 2.03 แสนบาท รอบบัญชี 2548 รอบบัญชี 2547 28 ธ.ค. 47 บริษัท อ. ส่งมอบสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยออกใบกำกับภาษี ค่าสินค้า 3 ล้านบาท VAT 2.1 แสนบาท 15 ม.ค. 48 - วันครบกำหนดชำระค่าสินค้า บริษัท อ. มีรายได้จากการขายสินค้า ในรอบบัญชีใด จำนวนเท่าใด ??? การคำนวณรายได้และรายจ่ายต้องให้เกณฑ์สิทธิตาม ม.65 เมื่อบริษัท อ. ขายสินค้าให้ผู้ซื้อในราคา 3 ล้านบาท และส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อในเดือน ธ.ค.47 แม้ผุ้ซื้อจะชำระราคาในเดือน ม.ค. 48 และชำระไม่เต็มจำนวนเพราะสินค้าชำรุด ก็ถือว่าบริษัท อ. มีรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 3 ล้านบาท แล้วในรอบบัญชี 47 ภาษีเงินได้นิติบุคคล47
บริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัด กรรมการ 1 ร่วมกันซื้อที่ดิน 2 ให้เช่า ที่ดิน บริษัท กู๊ดทอย จำกัด ข้อสอบผู้ช่วยฯ 16 สิงหาคม 2552 • นายกอบ และนายแก้ว กรรมการบริษัท กู๊ดทอย จำกัด ร่วมกับบริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัด ซื้อที่ดินเพื่อนำมาให้บริษัท กู๊ดทอย จำกัด เช่า • ต่อมา นายกอบ นายแก้ว และบริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัด ได้ร่วมกันขายที่ดินไป นายกอบ นายแก้ว และบริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัดมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ อย่างไร ภาษีเงินได้นิติบุคคล48
ธงคำตอบ การที่นายกอบ นายแก้ว และบริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัด ร่วมกันซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้บริษัท กู๊ดทอย จำกัด เช่าปลูกสร้างโรงงานผลิตสินค้าเป็นการร่วมกันประกอบกิจการร่วมค้า ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการร่วมกันในนามของกิจการร่วมค้า ดังนั้น นายกอบ นายแก้ว และบริษัท กู๊ดแลนด์ จำกัด ต้องร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในนามของกิจการร่วมค้าดังกล่าวภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้โดยนำภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้แล้ว ณ ที่จ่ายมาเครดิตจากภาษีที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล49
คำพิพากษาฎีกาที่ 2091/2553 ข้อเท็จจริง • สหกรณ์สุราษณ์ธานี จำกัด และบริษัท อ. จำกัด ตกลงทำนิติกรรมสัญญาจ้างและสัญญาจัดซื้อเป็น 2 สัญญาแยกจากกัน • โดยสัญญาจ้างกำหนดให้บริษัท อ.จำกัดเป็นผู้ทำงานก่อสร้างระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร ไฟฟ้าบริเวณ ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาล โดยบริษัท อ.จำกัดเป็นผู้จัดหาแรงงาน วัสดุเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ชนิดดีเพื่อใช้ในการจ้างงานตามสัญญา • ส่วนสัญญาจัดซื้อกำหนดให้บริษัท อ.จำกัด เป็นผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ตามจำนวน แบบรูป และรายการประกอบแนบท้ายสัญญาดังกล่าว ภาษีเงินได้นิติบุคคล50