200 likes | 471 Views
การเชื่อมต่อเครือข่าย ( Line Configuration) คืออะไร.
E N D
การเชื่อมต่อเครือข่าย (Line Configuration) คืออะไร การเชื่อมต่อเครือข่ายในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายในลักษณะรูปแบบของการแบ่งพื้นที่ได้ 3 แบบ ได้แก่ LAN(Local Area Network),WAN(Wide Area Network), Internet . และได้มีการพัฒนาสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ Client/Server โดยได้รับการออกแบบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ให้บริการ (Server) และส่วนที่ผู้ใช้บริการ (Client.) โดยผู้ใช้ข้อมูลจะมีซอฟต์แวร์ในการติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Server ก็จะตอบสนองโดยการดูความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการอะไรเมื่อดำเนินการประมวลผลดังรูป
ระบบ Client/Server ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองแนวคิดการ Downsizing เป็นการลดค่าใช้จ่ายระบบ Time Sharing ของเครื่อง Mainframe ซึ่งระบบ Client/Server เป็นระบบประมวลแบบกระจาย (Distributed Processing) โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่าง Client และ Server โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) จะประมวลผลบางส่วนที่ Client .และบางส่วนก็ประมวลที่server ที่มา: http://dit.dru.ac.th/home/023/network/connect.html
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Topologies) คืออะไร • เราสามารถแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 4 รูปแบบ หลักๆ ได้แก่ • แบบ BUS • แบบ Ring • แบบ Star • แบบ Hybrid โดยมีรายละเอียดการเชื่อมต่อในแบบต่างๆดังนี้
แบบ BUS • •จะมีสายสัญญาณหลัก 1 เส้น • •เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั้งที่เป็นแม่ข่ายและลูกข่ายจะต้องเชื่อมต่อกับสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องลูกข่ายเครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องลูกข่ายเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องลูกข่ายเครื่องที่สอง (Node C) ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูลไปใช้งานต่อตามต้องการ
แบบ Ring • การเชื่อมต่อแบบวงแหวน • เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งวนจนครบเป็นวงจร • ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง • ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ • ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก • เป็นเครื่องข่ายแบบ Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิ หรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ
แบบ Star • การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ • เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อผ่าน Hub • สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic • ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) • ปัจจุบันมักใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อแทน Hub เนื่องจากมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่า
แบบ Hybrid • เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน • เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ • ระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tree ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน ที่มา : http://www.thaiipcamera.com/network/50-info/552-lantopology.html
ส่วนประกอบของเครือข่ายท้องถิ่น (LAN Components) ประกอบด้วยอะไรบ้าง • 1. Server เป็น PC ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลทุก ๆ User โปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบ LAN ด้วย (Operating System นั้นมีหลายชนิด แต่ถ้านำเอา PC ทั่วไปมาใช้เป็น File Server จะเรียกว่า File Server User จะใช้ Server ในงานปกติ แบบ PC ทั่วไปไม่ได้ • 2. Workstation เป็น PC ที่มีไว้ให้ User ทำงานโดย Workstation จะเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจาก Server โดยผ่านทางสาย Cable ที่ใช้ต่อ ในระบบ LAN Workstation และ Diskless Workstation • 3. Network Communication System หรือ ระบบการรับส่งข้อมูลภายในระบบ Network นั้นเอง มีหลายแบบ เช่น แบบเส้นตรง (Bus) แบบดาวกระจาย (Star) แบบวงกลม (RING) ในปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ออกมาด้วย เช่น ATM และ FDDI เป็นต้น
4. Network Operating System หรือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบ LAN (Operating System) ที่นิยมใช้กันก็คือ Netware ซึ่งปัจจุบันมีทั้งรุ่น 3,12 และ 4,1 1แต่ละรุ่นมีให้เลือกหลายแบบตามจำนวน User ที่ใช้งานในระบบ จากส่วนประกอบข้างต้น สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ ที่สำคัญสำหรับระบบ เครือข่ายท้องถิ่น LAN เป็นส่วน ๆ ได้ดังนี้ • 1. ฮาร์ดแวร์ • 2. สายสื่อสาร • 3. LAN ซอฟแวร์ • 4. รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (Topology) • 5. เทคนิคการส่งสัญญาณ • 6.LAN Protocol ที่มา: http://images.kittal.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/RqazuQoKCnIAACFihGE1/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7% E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87% E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82% E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%89% E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99.doc?nmid=51066657
อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายประกอบด้วยอะไรบ้างอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายประกอบด้วยอะไรบ้าง • เครื่องทวนซ้ำสัญญาณ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
บริดจ์ (Bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อ วงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกัน จะไม่ถูกส่งผ่านบริดจ์ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ระดับ Data Link Layer ใน OSI Modelทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Ethernet กับ Token Rink เป็นต้น ซึ่งอาจเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่บริเวณเดียวกันหรือเชื่อม LAN ที่อยู่ ห่างกันผ่านทางสื่อสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ด้วย บริดจ์ระยะไกล (Remote Bridge)โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้
สวิตซ์ (Switch) หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลายช่องทาง (multiport bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernetเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น (ตามคุณสมบัติของบริดจ์) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางการะทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลาย ๆ ตัวเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ สวิตซ์ยังสามารถใช้เชื่อมเครื่องคอมพวิเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับสวิตซ์ ซึ่งจะทำให้เครื่อง ๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วเต็มความสามารถของช่องทางการสื่อสาร เช่น 10 Mbps ในกรณีเป็น 10BaseT เป็นต้น เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางการสื่อสารข้อมูลกับเครื่องอื่น ๆ เลย
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่อยู่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกันและสามารถทำการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง ) เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณืที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เกทเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอลและสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNAของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทำให้เครื่องที่เป็น Workstationสามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย ที่มา: http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net5.htm
เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network Technology) คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น • - สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป • - สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น • - สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว • - สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม เป็นต้น
เทคโนโลยีเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Are Network Technology) คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เครือข่ายระดับเมือง (MAN) ระบบเครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network) หมายถึง ระบบเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายท้องถิ่น แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบการสื่อสารสำหรับสาขาหลาย ๆ แห่งที่อยู่ภายในเขตเมืองเดียวกันหรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เช่นการให้บริการทั้งของรัฐและเอกชน อาจเป็นบริการภายใน หน่วยงานหรือเป็นบริการสาธารณะก็ได้ รวมถึงการให้บริการระบบโทรทัศน์ทางสาย (Cable television) เช่น บริษัท UBC ซึ่งเป็นระบบที่มีสายเคเบิลเพียงหนึ่งหรือสองเส้นโดยไม่มีอุปกรณ์สลับช่องสื่อสาร (switching element) ทำหน้าที่เก็บกักสัญญาณหรือปล่อยสัญญาณออกไปสู่ระบบอื่น มาตรฐานของระบบ MAN คือ IEEE 802.6 หรือเรียกว่า DQDB (Distributed Queue Dual Bus)
ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) นั้น จุดประสงค์ หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็น หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์ สื่อสารต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบ เครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ เครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เครือข่ายแบบ Server-based เครือข่ายแบบ Client/Server ที่มา:http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_lan1.htm
เทคโนโลยีเครือข่ายระดับประเทศ (Wide Are Network Technology) คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เครือข่ายระยะไกล หรือเครือข่ายระดับประเทศ (WAN) เครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network) เป็นระบบที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างกว่า ไกลกว่าระบบแลน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่ไร้ขอบเขตแล้ว เช่น ระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ แต่การที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีระยะห่างกันมาก ๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายสาธารณะ (Public Networks) ที่ให้บริการการสื่อสาร โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม ผ่าน เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (Public Switching Telephone Network ; PSTN) ซึ่งมีทั้งลักษณะต่อโมเด็มแบบที่ต้องมีการติดต่อก่อน (Dial-up) หรือต่อตายตัวแบบสายเช่า (Lease Line) ที่มา http://regelearning.payap.ac.th/docu/mk380/f2.4.6.htm
ตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาจะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max ที่มา: http://www.it.coj.go.th/man.html
Switching คืออะไร Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง Switch จะฉลาดกว่า Hub คือ Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Switch คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Switch ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย