1.09k likes | 2.91k Views
การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking). ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. เหตุผลที่ต้องคิดเชิงระบบ. องค์การทั้งหลายยังแก้ปัญหาไม่ตก ปัญหาไม่หลุดไป อย่างถาวร แก้ปัญหาตรงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิได้แก้ที่สาเหตุ ชอบแก้ปัญหาตรงที่มันผุดขึ้น เป็นการตามไล่แก้ปัญหา เป็นการแก้ปัญหาแบบ “แยกส่วน”
E N D
การคิดเชิงระบบ(Systems Thinking) ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร Excellence Training Institution
เหตุผลที่ต้องคิดเชิงระบบเหตุผลที่ต้องคิดเชิงระบบ • องค์การทั้งหลายยังแก้ปัญหาไม่ตก ปัญหาไม่หลุดไป อย่างถาวร • แก้ปัญหาตรงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มิได้แก้ที่สาเหตุ • ชอบแก้ปัญหาตรงที่มันผุดขึ้น • เป็นการตามไล่แก้ปัญหา • เป็นการแก้ปัญหาแบบ “แยกส่วน” • เป็นการแก้ปัญหาที่อาการ Excellence Training Institution
Systems Thinking • There are no right answers. • You won’t be able to “divide your elephant in half.” • Cause-effect will not be closely related in time and space. • You’ll have your cake and eat it too - but not all at once. • The easiest way out will lead back in. • Behavior will grow worse before it grows better. Excellence Training Institution
การคิดเชิงระบบ • การคิดเชิงระบบคือ “การคิดแบบให้เห็นทั้งหมด” • “ทั้งหมด” คือ “หนึ่งเดียว” ที่มีส่วนประกอบเหล่านั้นเชื่อมติดกันทั้งหมด เป็นหนึ่งเดียว • “ความเชื่อมต่อ” คือโครงสร้างของระบบ (Systemic Structure) ที่เรามองเห็นได้ยาก เราจึงไม่ให้ความสำคัญ Excellence Training Institution
ความมั่นคงของระบบ (Systems Stability) • อยู่กับคุณภาพของการเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบ ทั้งหลายของระบบ • ทุกส่วนประกอบมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น จงระลึกว่า “ตัวเองมีส่วนช่วย หรือไม่ก็เป็น ผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ” Excellence Training Institution
เมื่อระบบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเมื่อระบบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่ง • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ส่วนประกอบหนึ่ง ย่อมเป็นแรงส่งอิทธิพล ทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และส่งอิทธิพลย้อนกลับมาที่จุดเดิมอีก Excellence Training Institution
รูปแบบพฤติกรรมของระบบรูปแบบพฤติกรรมของระบบ • เมื่อเราเห็น “โครงสร้างของระบบ” เราจะมองเห็น “รูปแบบ พฤติกรรมของระบบ” และเราจะสามารถมองเห็นวิธีเปลี่ยนแปลง ระบบอย่างมีประสิทธิภาพ Excellence Training Institution
A Shift of Mind • การกลับใจ คือ หัวใจขององค์การที่เรียนรู้ • กลับใจจากการเห็นตัวเองว่าไม่เกี่ยวข้องกับโลก เป็นการเห็นว่าตัวเองเชื่อมติดกับโลก และเป็นส่วนหนึ่งของโลก • กลับใจจากเคยมองว่าปัญหาเกิดจาก “คนอื่น หรือสิ่งอื่นนอกตัว” เป็นการมองเห็นว่า ตัวเราเองก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราเผชิญอยู่ • เลิกมองที่ส่วนย่อย หรือมองแบบแยกส่วน แล้วหันไปมอง “ทั้งหมด” • เลิกจากการมองว่า “มนุษย์เป็นผู้ตามแก้ปัญหา” หันมามองว่า “มนุษย์ จะก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ ได้” Excellence Training Institution
A shift of mind • มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์อนาคตที่ดีได้ด้วยตัวของมนุษย์เอง • เลิกมองเห็นแต่เพียงส่วนประกอบของระบบ แล้วหันไปมอง ให้เห็นความสัมพันธ์ของกันและกัน หรือความเชื่อมโยงของส่วนประกอบ • เลิกมองเห็นว่าเหตุและผลสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง แล้วหันไปมอง ให้เห็นว่า เหตุและผลสัมพันธ์กันและกันเป็นวงรอบ • เลิกมองแต่เฉพาะเหตุการณ์ (Events) แล้วหันไปมองให้เห็นรูปแบบ พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของระบบด้วย Excellence Training Institution
กระบวนการย้อนกลับ(Feedback Process) Excellence Training Institution
กระบวนการย้อนกลับ(Feedback Process) • กระบวนการย้อนกลับ เกิดจากการทำงานของ “พลังความเคลื่อนไหวของระบบ • (Systemic Dynamics)” หรือ “พลัง ความเคลื่อนไหวของโครงสร้าง (Structural Dynamics)” Excellence Training Institution
รูปแบบของกระบวนการย้อนกลับรูปแบบของกระบวนการย้อนกลับ • กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรง (Reinforcing Feedback Process) • กระบวนการย้อนกลับแบบสร้างดุลย์ สร้างเสถียรภาพ หรือ ต่อต้าน (Balancing, Stabilizing or Counteracting Feedback Process) Excellence Training Institution
กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรงกระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรง • คือ กระบวนการที่มีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น ต่อระบบ ทุกครั้งที่ขึ้นวงรอบใหม่ • การเสริมแรงเป็นได้ ทางบวก และ ทางลบ Excellence Training Institution
กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรงกระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรง • กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรงทางบวก (Virtuous Feedback Process) คือ การแผ่อิทธิพลย้อนกลับแบบทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากยิ่งๆ ขึ้นไป • กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรงทางลบ (Vicious Feedback Process) คือ การแผ่อิทธิพลย้อนกลับแบบทำให้ เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ Excellence Training Institution
ข้อจำกัดการเจริญเติบโต(Limits of Growth) • กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรง ทั้งทางบวกหรือทางลบ ย่อมมีข้อจำกัด • ข้อจำกัด จะขัดขวางอิทธิพลการเสริมแรงให้ช้าลง หยุด หรือเปลี่ยนทิศทาง กลับได้ Excellence Training Institution
กระบวนการย้อนกลับแบบสร้างดุลย์กระบวนการย้อนกลับแบบสร้างดุลย์ • จะเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่มีการปฏิบัติแบบมีเป้าหมาย คือ เกิดอิทธิพลย้อนกลับ เพื่อบังคับการกระทำ ให้บรรลุเป้าหมาย Excellence Training Institution
ประโยชน์ของกระบวนการย้อนกลับประโยชน์ของกระบวนการย้อนกลับ • กระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรง เป็นกระบวนการที่ ค้นหา และศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ อาจกลายเป็นใหญ่โตได้ • กระบวนการย้อนกลับแบบสร้างดุลย์ เป็นกระบวนการค้นหาว่า จุดใดเป็นการสร้างเสถียรภาพ และจุดใดเป็น การต่อต้าน Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ(Systems Archetypes) Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ • คือ รูปแบบพฤติกรรมที่เกิดซ้ำๆ เป็นเสมือนกุญแจสำหรับการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของระบบ การเห็นโครงสร้างของระบบ จะช่วยให้เห็น “พลังคานงัด” Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ “Limits of Growth” • โครงสร้าง “ข้อจำกัดการเจริญเติบโต” คือ มีกระบวนการย้อนกลับแบบเสริมแรงทางบวก อยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงมีกระบวนการย้อนกลับ แบบสร้างดุล หรือแบบต่อต้านมาขัดขวาง การเจริญเติบโต Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ “Shifting the Burden” • โครงสร้าง “ภาระย้ายที่” คือมีกระบวนการย้อนกลับ แบบสร้างดุลย์สองกระบวนการ ที่พยายามแก้อาการของปัญหา แต่วงรอบหนึ่ง มุ่งแก้ที่ อาการของปัญหา และอีกวงรอบหนึ่งมุ่งแก้ที่สาเหตุ วงรอบหลังอาจมีเวลาทิ้งช่วง และเกิดมี วงรอบเสริมแรงทางลบมาทำลายการแก้ปัญหาที่สา-เหตุ Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ “Fixes that Backfire” • โครงสร้าง “ระงับปัญหาเสียงดัง” คือเป็นวงรอบสร้างดุลย์เพื่อ “ระงับปัญหาเสียงดังน่ารำคาญ” หรือการ แก้ปัญหาที่อาการ แต่เกิดผลข้างเคียง เกิดวงรอบเสริมแรง ทางลบ และสถานการณ์ต่างๆ ก็จะเลวลง ตลอดเวลา Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ “Tragedy of the Commons” • โครงสร้าง “ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์” เป็นโครงสร้างแบบบุคลากรได้ผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรของส่วนรวม และเจริญเติบโต แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ทรัพยากรส่วนกลางจะหมดลง แล้วเสื่อมสลายไปทั้งบุคลากรและองค์การ Excellence Training Institution
ต้นแบบระบบ “Accidental Adversaries” • โครงสร้าง “การเป็นศัตรูโดยไม่ได้ตั้งใจ” เป็นลักษณะ โครงสร้างที่แสดงให้เห็นการเป็นศัตรูกัน ของกลุ่มคนที่ควรจะเป็น หรืออยากจะเป็นหุ้นส่วนของกัน และกัน Excellence Training Institution
หลักของคานงัด (Principles of Leverage) • การสำรวจดูระบบว่า การกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงอะไรในโครงสร้าง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้นอย่างถาวร โดยอาศัยหลัก “พอดี” ไม่ต้องออกแรงมากแต่ตรงจุด • ต้นแบบระบบทั้งหลายจะช่วยให้เห็นโครงสร้าง และพิจารณาพลังคานงัดได้ตรงจุด Excellence Training Institution
แบบฝึกการคิดเชิงระบบ • ลองหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้การทำงานมีประสิทธิภาพมีปัจจัยอะไรบ้าง • เขียน Loop and Ling ปัจจัยต่างๆ ที่เป็น • วัฏจักรเดียวกัน หรือเป็นวงจรไหลเวียนที่เป็นระบบ Excellence Training Institution