350 likes | 747 Views
การพิจารณาวินิจฉัยคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (มาตรา 41) จังหวัดเชียงใหม่. พรบ .หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. มาตรา 41
E N D
การพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (มาตรา 41) จังหวัดเชียงใหม่
พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 • มาตรา 41 ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงิน ที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ ไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้ หรือหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
พพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545รบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 • มาตรา 42 ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจาก การรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตาม มาตรา 41 เมื่อสำนักงานได้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการไปแล้ว สำนักงานมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดได้
หนังสือ สปสช. เรื่องติดตามการฟ้องร้องคดี กรณีมาตรา 41 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สอบถาม คณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เกี่ยวกับการจ่ายเงิน + การไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดตามมาตรา 41 ,42 มติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการ การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูก-ผิด การจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้กระทำผิดตามมาตรา 42 ได้ เมื่อมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว สปสช. แจ้งให้ติดตามและรายงานข้อมูลที่มีการฟ้องร้องคดีทุกกรณีที่เกี่ยวกับ ความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล
ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน 7 ตัวแทนผู้ให้บริการ 2 คน คณะอนุกรรมการ ฯ ตัวแทนผู้ใช้บริการ 2 คน นพ.อำนวย ชิงชยานุรักษ์ นายประณม ถวัลย์ลาภา น.ส.ดวงเดือน คำไชย นพ.กิจจา เจียรวัฒนกนก นายมงคล ด่านวิไลปิติกุล นางไพรินทร์ เจนตระกูล นพ.ไพศาล ธัญญาวินิชกุล รศ.พญ.อภิชนา โฆวินทะ เลขานุการ
บทบาทหน้าที่คณะอนุกรรมการฯบทบาทหน้าที่คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น • เข้าเกณฑ์ตามข้อบังคับหรือไม่ • อัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีเข้าเกณฑ์ • ส่งต่อเรื่องให้คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพฯ พัฒนาหน่วยบริการ
หหลักเกณฑ์ เงื่อนไข • ต้องมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตาม พยาธิสภาพหรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตาม สภาพปกติธรรมดาของโรคนั้น • ให้รวมถึงเหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล • ไม่มีการพิสูจน์ถูก – ผิด • เป็นการเยียวยาความเสียหาย ไม่ใช่ชดเชยความเสียหาย
หหลักเกณฑ์ เงื่อนไข • ผู้รับบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • หน่วยบริการเป็นโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • ยื่นคำร้องภายใน 1 ปีนับจากวันรับทราบความเสียหาย
ปัจจัยประกอบการพิจารณาปัจจัยประกอบการพิจารณา • ความเสียหายเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากกระบวนการรักษาพยาบาล • ความสัมพันธ์กับโรคที่เจ็บป่วย • ความรุนแรงของความเสียหาย สำนักกฎหมาย สปสช.
ความหมายประเภท 1 ความหมายประเภท ๑ สำนักกฎหมาย สปสช.
ความหมายประเภท 2 ประเภท 2 สูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ความหมาย (1) สูญเสียอวัยวะหรือพิการโดยที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาสู่สภาพเดิมได้ (2) ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หมายความถึง ยังสามารถช่วยตัวเองได้ แต่มีผลต่อการประกอบอาชีพหรือการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม หรือลดประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวัน
ความหมายประเภท 2(ต่อ) (3) ประเภท 2 ให้รวมถึงภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ และมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น กรณีติดเชื้อ HIV จากการรับบริการตามมติ คกก.ควบคุม ฯ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ให้จัดเป็นประเภท 2
ความหมายประเภท 3 ประเภท 3 บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ความหมาย (1) การเจ็บป่วยต่อเนื่องที่สามารถรักษาหรือฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพเดิมหรือใกล้เคียงเดิมได้ (2) หมายรวมถึงกรณีสูญเสียอวัยวะที่ไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิต (3) หมายรวมถึงกรณีอวัยวะสูญเสียหน้าที่ แต่สามารถฟื้นฟูกลับมาสู่สภาพเดิมได้ สำนักกฎหมาย สปสช.
ประเภท 1 (240,000 - 400,000) กรณีเศรษฐานะ สังคม และจิตใจ เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 10 % ของเงินเยียวยาแต่รวมแล้ว ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด ในแต่ละประเภทความเสียหาย สำนักกฎหมาย สปสช.
ประเภท 2 (100,000 - 240,000) กรณีเศรษฐานะ สังคม และจิตใจ เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 10 % ของเงินเยียวยาแต่รวมแล้ว ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด ในแต่ละประเภทความเสียหาย สำนักกฎหมาย สปสช.
ประเภท 3(ไม่เกิน 100,000) กรณีเศรษฐานะ สังคม และจิตใจ เพิ่มเติมอีกไม่เกิน 10 % ของเงินเยียวยาแต่รวมแล้ว ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด ในแต่ละประเภทความเสียหาย สำนักกฎหมาย สปสช.
จำนวนเงินให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบ 2549-2557 จำนวนเงิน ปี ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค 2557
กรณี ม.41 แยกตามประเภทความรุนแรงที่ได้รับความเสียหาย จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2549-2557 จำนวนราย ปี ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค 2557
กรณี ม.41 จังหวัดเชียงใหม่ แยกตามประเภทบริการปีงบประมาณ 2549-2557 จำนวนราย ปี ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค 2557
จำนวนการฟ้องคดี จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากพิจารณา ม.41 ปีงบ 2549 - 2557 จำนวนเรื่องที่พิจารณา 167 ราย จ่าย120 ราย ไม่จ่าย 47 ราย ฟ้องศาลปกครอง 4 คดี ฟ้องศาลแพ่ง 2 คดี ฟ้องศาลปกครอง 1 คดี อยู่ในกระบวนการพิจารณา ศาลชั้นต้นตัดสินให้จ่ายค่าเสียหาย 1 คดีคู่ความไม่อุทธรณ์ อยู่ในกระบวน การพิจารณา 1 คดี อยู่ภายในกระบวนการพิจารณา 3 คดี ยกฟ้อง1 คดี คู่ความไม่อุทธรณ์ มีอาการคล้ายโปลิโอ หลังฉีดวัคซีนโปลิโอ (ฟ้อง สปสช./คณะอนุ ม.41) เท้าผิดรูป เดินไม่ถนัด จากอุบัติเหตุรถชน กระดูกแตก ผู้ร้องแจ้งว่าแพทย์กลั่นแกล้ง กรณีที่ 1 เจ็บข้อนิ้วมือเรื้อรังแพทย์วินิจฉัยโรคผิด กรณีที่ 2 ผ่าตัดตาต้อกระจกล่าช้าแพทย์วินิจฉัยผิด ถูกรถชน รักษาไม่ทันเวลา เกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยง ถูกตัดขา มีอาการคล้ายโปลิโอ หลังหยอดวัคซีนโปลิโอ (ฟ้องกระทรวง สธ./องค์การเภสัชฯ) กรณีที่ 3 เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ข้อมูล ณ วันที่ 31 มี.ค 2557
อัตราเด็กเกิดมีชีพ มีภาวะขาดออกซิเจน ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพจังหวัดเชียงใหม่ ตัวชี้วัดไม่เกิน 30 ตัวชี้วัด : ไม่เกิน 30 ต่อ 1000 การเกิดมีชีพ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557
อัตราทารกตายปริกำเนิด(0-7 วัน) ต่อ 1,000 การเกิดทั้งหมดจังหวัดเชียงใหม่ ตัวชี้วัดไม่เกิน 9 ตัวชี้วัด : ไม่เกิน 9 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557