1.65k likes | 4.81k Views
การเก็บรวบรวมข้อมูล. ธรรมชาติของข้อมูล. Theory. Abstract statements that make claims about the world and how it works Research problems are usually stated at a theoretical level Poverty leads to poor health. Concepts.
E N D
Theory • Abstract statements that make claims about the world and how it works • Research problems are usually stated at a theoretical level • Poverty leads to poor health.
Concepts • Building blocks of theory which are usually abstract and cannot be directly measured • poverty, poor health
Indicators • Phenomena which point to the existence of the concepts • low income, poor living conditions, restricted diet, etc.
Variables • Components of the indicators which can be measured • levels of overcrowding, levels of litter, etc.
Values • Actual units of measurement of the variables. • These are data in their most concrete form. • numbers of people per room
Example • Theory – Poverty leads to poor health • Concepts – Poverty, poor health • Indicators of Poverty – Low income, poor living conditions • Variables of Poor Living Conditions – Levels of overcrowding, levels of litter • Values of Levels of Overcrowding – Numbers of people per room
แหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มีข้อมูลที่ต้องการ แบ่งเป็น 1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ได้แก่ข้อมูลซึ่งมาจากแหล่งที่เกิดของข้อมูลโดยตรง เช่น ในการรวบรวมอายุผู้เข้าอบรม ถ้ารวบรวมข้อมูลจากผู้เข้าอบรมแต่ละคน ข้อมูลอายุที่ได้มาเรียกว่าข้อมูลปฐมภูมิ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้แก่ข้อมูลที่มาจากแหล่งที่ไม่ใช่แหล่งที่เกิดข้อมูลโดยตรง แต่ได้มาจากแหล่งอื่นที่รวบรวมข้อมูลนั้นไว้แล้ว เช่น ในการรวบรวมอายุผู้เข้าอบรม ถ้ารวมรวมข้อมูลจากสำนักทะเบียน หรือฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ข้อมูลอายุที่ได้มา เรียกว่าข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) • คือข้อมูลใดๆที่ผู้วิจัยต้องเก็บขึ้นมาใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นๆ • เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ 1) การสำรวจ (Survey) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลจากประชากรเป้าหมายที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อาจใช้วิธี ดังนี้ สังเกตการณ์ (Observation) การสัมภาษณ์ (Interview) และ การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แต่ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลจากทุกๆ หน่วยในประชากร เรียกว่า การสำรวจสำมะโน (Census) 2)การทดลอง (Experiments) ได้แก่การรวบรวมข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลนั้นยังไม่มีอยู่ ต้องทำการทดลองโดยควบคุมปัจจัยบางปัจจัยก่อน หรือควบคุมตัวแปรทดลองให้ผันแปรตามที่ต้องการ จึงจะวัดข้อมูลจากหน่วยทดลองได้
สังเกตการณ์ (Observation) การเก็บข้อมูลแบบสังเกตการณ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. การสังเกตการณ์แบบเข้าไปมีส่วนร่วม (Participant Observation) 2. การสังเกตการณ์แบบไม่ได้มีส่วนร่วม (Non-participant Observation)
สังเกตการณ์ (Observation) ข้อดี • ได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งกว่าวิธีการอื่น • เป็นข้อมูลที่ได้จากสถานการณ์จริง • เป็นข้อมูลที่มองถึงการเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนต่างๆ ข้อเสีย • ใช้ได้เฉพาะบางเรื่องที่ศึกษา • สิ้นเปลือง ใช้เวลานาน • หาบุคลากรที่จะทำหน้าที่สังเกตการณ์ยาก • สรุปผลการศึกษายาก
การสัมภาษณ์ (Interview) • เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องอาศัยคำถามจากผู้สัมภาษณ์และคำตอบจากผู้ตอบ สามารถถามบุคคลทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย ยืดหยุ่นได้ และได้ข้อมูลครบถ้วน • ใช้การสังเกตการณ์ร่วมด้วยได้ เป็นวิธีที่ดีที่สุดเกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติ แต่อาจมีการบิดเบือนได้ อาจได้ข้อมูลไม่เพียงพอหากผู้ถูกสัมภาษณ์มีเวลาไม่พอ • ช่องทางสัมภาษณ์ เช่น • สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • สัมภาษณ์ตัวต่อตัว
การสัมภาษณ์ (Interview) ข้อดีของการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • สามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ทันเวลาที่เกิดขึ้น ณ สถานที่อื่น • รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย • อาจได้ข้อมูลที่เป็นความจริงมากที่สุด ข้อเสียของการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ • ไม่สามารถใช้วิธีสังเกตการณ์ได้ • จำกัดเฉพาะผู้มีโทรศัพท์เท่านั้น • ใช้เวลาในการสัมภาษณ์จำกัด
การสัมภาษณ์ (Interview) ข้อดีของการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว • ระบุผู้สัมภาษณ์ได้แน่นอน • ถามคำถามได้มาก • ทำได้แน่นอนตามกำหนดเวลา ข้อเสียของการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว • ข้อมูลอาจถูกบิดเบือนได้ง่าย • ค่าใช้จ่ายสูง • ต้องแข่งกับเวลา • บางคนให้สัมภาษณ์ได้ยาก
การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) • แบบสอบถาม คือชุดคำถามที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สามารถใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากได้ และง่ายต่อการวิเคราะห์ • วัตถุประสงค์ของการใช้แบบสอบถาม • สอบถามความจริง • สอบถามความคิดเห็น • สอบถามเหตุผล
การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ข้อดี • ต้นทุนต่ำ • กระจายถึงกลุ่มตัวอย่างได้พร้อมๆ กัน • ตอบคำถามได้ง่าย • ผู้ตอบกล้าเปิดเผยข้อมูล ข้อเสีย • ผู้ตอบไม่สนใจตอบ การได้รับคืนต่ำ • ผู้ตอบไม่สามารถซักถามปัญหาได้ • ประชากรจำกัดแค่กลุ่มคนที่อ่านออกเขียนได้
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) • คือข้อมูลใดๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วในรูปแบบเอกสารเช่น ได้จากการศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดต่างๆสถานที่ราชการ องค์กรเอกชนบุคคลต่างๆและแหล่งเอกสารอื่นๆ • ข้อควรพิจารณาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ • เก็บจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ • ข้อมูลต้องทันสมัย • ไม่ควรใช้การอ้างอิงหลายต่อมากเกินไป
3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ข้อดีของข้อมูลที่มาจากเอกสาร • สะดวกรวดเร็ว • ไม่ต้องทำการเก็บใหม่ ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย • สามารถศึกษาย้อนหลังได้ไกลเท่าที่เอกสารนั้นจะทำได้ ทำให้ทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ข้อเสียของข้อมูลที่มาจากเอกสาร • ข้อมูลไม่ครบถ้วนสมบูรณ์พอ • ข้อมูลอาจผิดพลาดไม่ถูกต้อง • ข้อมูลไม่ทันสมัย
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 1. การวิเคราะห์ทางกายภาพ 2. การวิเคราะห์ทางสถิต
การวิเคราะห์ทางกายภาพการวิเคราะห์ทางกายภาพ • คำถามชัดเจนหรือไม่ • ภาษาที่ใช้รัดกุมเหมาะสมหรือไม่ • คำสั่งชัดเจนหรือไม่ • ความยาวของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่ • รูปแบบของเครื่องมือเหมาะสมหรือไม่
วิธีการทางสถิติ 1. ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือวิจัย 2. ใช้ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3.1 สถิติเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา 3. ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการทางสถิติ 3.2.1 สถิติมีพารามิเตอร์ 3.2 สถิติอ้างอิงหรือเชิงอนุมาน 4. ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 3.2.2 สถิติไร้พารามิเตอร์
ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง ความสามารถในการวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัด และวัดได้ครอบคลุมพฤติกรรมลักษณะที่ต้องการ • ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) • ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) • ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity)
ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) • เครื่องมือหรือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้ตรงตามโครงสร้างนั้น มีความสอดคล้อง ระหว่างเนื้อหาสาระของเครื่องมือ ที่สร้างขึ้นกับเนื้อหาสาระของสิ่งที่ต้องการวิจัยหรือวัตถุประสงค์การวิจัย โดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมานั้น ต้องครอบคลุมกรอบของเนื้อหา (ตรงตามวัตถุประสงค์/กรอบแนวคิด/นิยามศัพท์) • การตรวจสอบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง อย่างน้อย 3 ท่าน ตรวจสอบว่า มีความครอบคลุมเนื้อหาสาระหรือไม่ โดยสามารถใช้แบบตรวจสอบเพื่อทดสอบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันหรือไม่ (Index Objective Congruence: IOC)
ความตรงตามเนื้อหา (Content Validity)
ความหมายของคะแนน IOC • + 1 หมายถึง ข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้น • 0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ • - 1 หมายถึง ข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้น
ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) • การเครื่องมือหรือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นนั้น สามารถวัดคุณลักษณะ/ขอบเขตตามโครงสร้างของเรื่องที่ทำการวิจัยได้หรือไม่ โดยมีขั้นตอนดำเนินการสร้างเครื่องมือวิจัย ดังนี้ 1. ผู้วิจัยพิจารณาจากวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดการวิจัยเป็นหลัก 2. การพิจารณาแนวคิดหรือทฤษฎี และนิยามศัพท์เฉพาะแนวทาง 3. การพิจารณาจากแบบสอบถามของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย 4. การพิจารณาจากจำนวนประชากรหรือขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ 5. การพิจารณาสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือตัวอย่าง ซึ่งทั้ง 5 ข้อจะต้องพิจารณาไปพร้อมๆ กันด้วย
ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) มีวิธีการตรวจสอบหลายวิธี ได้แก่ • การเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะนั้นแตกต่างกัน (Known-Group Technique) • การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ขอเสนอ 2 วิธี • วิธีของคาร์เวอร์ (Carver Method) • วิธีการหาค่าสหสัมพันธ์แบบฟี (Phi-Correlation)
ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) ด้วยวิธีของคาร์เวอร์ (Carver Method) • ทำได้โดยการนำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปทดสอบกับกลุ่มผู้เรียนที่เรียนแล้วกับกลุ่มผู้เรียนที่ยังไม่เคยเรียน
ความตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) วิธีการหาค่าสหสัมพันธ์แบบฟี (Phi-Correlation) • ทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของผู้เรียน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เรียนที่ยังไม่ได้รับการสอนหรือไม่ได้สอบก่อนเรียน และ 2) กลุ่มผู้เรียนที่เรียนแล้วหรือผ่านการสอบหลังเรียนแล้ว
ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity) • เป็นความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่เกิดจากการเอาผลหรือคะแนนที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือที่สร้างขึ้น ไปสัมพันธ์กับเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ 1) ความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) เกณฑ์ : คะแนนที่มีอยู่ในปัจจุบัน แบบทดสอบที่สามารถวัดได้ตามสภาพความเป็นจริงของกลุ่มตัวอย่าง การทดสอบทำได้โดยนำคะแนนของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นใหม่ไปหาค่าสหสัมพันธ์กับคะแนนของแบบทดสอบเดิมที่มีความเที่ยงตรง
ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity) 2) ความตรงตามพยากรณ์ (Predictive Validity) เกณฑ์ : คะแนนที่จะหาได้ในอนาคตความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ การหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลการสอบกับเกณฑ์ของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้คะแนนผลการสอบในการพยากรณ์ในอนาคตการทดสอบทำได้โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดความสำเร็จ
ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion Related Validity)
การแปลผล r = 0 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองไม่มีความสัมพันธ์กันเลย < 0.5 แสดงว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์กันน้อย 0.5 < < 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันปานกลาง > 0.8 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันสูง r = 1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นบวกสมบูรณ์ r = -1 แสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันเป็นลบสมบูรณ์
สรุปความตรงแต่ละประเภทที่จำเป็นสำหรับแบบวัดชนิดต่างๆสรุปความตรงแต่ละประเภทที่จำเป็นสำหรับแบบวัดชนิดต่างๆ
ความเชื่อมั่น (Reliability) • หมายถึง ความคงที่ในการวัดเมื่อวัดซ้ำๆ กันหลายครั้งจะให้ค่าเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกันและเชื่อถือได้ หรือกล่าวได้ว่า มีความคงที่ (Stability) ความเชื่อถือได้ (Dependability) ความสามารถทำนายได้(Predictability) และ ความถูกต้อง (Accuracy) ในการวัดสิ่งที่ต้องการวัด หรือไม่มีความคลาดเคลื่อนในการวัด (Measurement Error) • ค่าความเชื่อมั่นสูงสุดมีค่า = 1
ความเชื่อมั่น (Reliability) วิธีการหาความเที่ยง • แบบสัมประสิทธิ์ของความคงตัว (Coefficient of Stability) 1. วิธีสอบซ้ำ (Test-Retest Method) 2. วิธีคู่ขนาน (Parallel Form Method) • แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 1. วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half Method) 2. วิธีวิเคราะห์ส่วนย่อย • การหาความคงที่ภายในแบบคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (Kuder-Richardson) (KR 20 และ KR21) • การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า โดยวิธีครอนบัค(Cronbach’s Alpha)
แบบสัมประสิทธิ์ของความคงตัว (Coefficient of Stability) 1. วิธีสอบซ้ำ (Test-Retest Method) • การนำแบบวัดที่ต้องการหาความเที่ยงไปใช้วัดซ้ำในกลุ่มตัวอย่างเดิม โดยเว้นระยะช่วงเวลาหนึ่งจากนั้นไปหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น) 2. วิธีคู่ขนาน (Parallel Form Method) • การหาความเชื่อมั่นวิธีนี้ทำได้โดยใช้แบบทดสอบ 2 ฉบับที่เหมือนกัน ทำในระยะเวลาที่ห่างกันเพียงเล็กน้อยแบบทดสอบที่เหมือนกันในที่นี้หมายความว่าทั้งสอบวัดในสิ่งเดียวกัน จำนวนข้อเท่ากัน มีโครงสร้างเหมือนกัน มีความยากง่ายในระดับเดียวกัน มีวิธีการทดสอบ การตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนนเหมือนกัน จากนั้นจึงนำคะแนนจากผลการทดสอบทั้ง 2 ฉบับไป หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (ค่าความเชื่อมั่น)
สูตรการหาค่าสหสัมพันธ์สูตรการหาค่าสหสัมพันธ์
แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 1. วิธีแบ่งครึ่ง (Split-half Method) แบบคะแนนออกเป็น 2 ส่วน เป็นฉบับแรกและฉบับหลัง หรือ ฉบับข้อคี่และฉบับข้อคู่ ไปคำนวณค่าสัมประสิทธิสหสัมพัทธ์ เป็นค่าครึ่งฉบับ ต้องนำมาคำนวณหาค่าความเที่ยงเต็มฉบับด้วยสูตร สเปียรแมน บราวน์
ตัวอย่างวิธีแบ่งครึ่ง (Spilt-half Method)
แบบสัมประสิทธิ์ของความสอดคล้องภายใน (Coefficient of Internal Consistency) 2. วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR 20 และ KR 21) • ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจะกระทำโดยการนำเอาแบบทดสอบไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียงครั้งเดียว แล้วคำนวณหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบสอบทั้งฉบับ • เป็นการหาค่าความเที่ยงของแบบวัดที่มีการให้คะแนนแบบ 0 กับ 1
วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR20 และ KR21)
วิธีหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ทสัน (KR20 และ KR21)