1 / 20

การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ 2(4) รหัสวิชา 2201-2413

การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ 2(4) รหัสวิชา 2201-2413. อาจารย์อ่อนจันทร์ คงสกุล. เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ. ความหมายของสถิติ ความหมายของข้อมูล ระดับการวัดของข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร ประเภทตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการเลือกตัวอย่าง. ความหมายของสถิติ.

sela
Download Presentation

การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ 2(4) รหัสวิชา 2201-2413

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประยุกต์คอมพิวเตอร์กับงานสถิติ 2(4)รหัสวิชา2201-2413 อาจารย์อ่อนจันทร์ คงสกุล

  2. เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ • ความหมายของสถิติ • ความหมายของข้อมูล • ระดับการวัดของข้อมูล • ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • ตัวแปร • ประเภทตัวแปร • การเก็บรวบรวมข้อมูล • วิธีการเลือกตัวอย่าง

  3. ความหมายของสถิติ • หมายถึง ข้อสรุปของข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือไม่ก็ได้ ที่แสดงข้อเท็จจริงของสิ่งใดหรือเหตุการณ์ใด ๆ • หมายถึง ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล เพื่อนำผลจากการศึกษามาช่วยในการอธิบายและตอบปัญหาที่สนใจ ซึ่งสถิติศาสตร์จะครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ การเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ การแปลความหมาย และนำเสนอข้อสรุป

  4. ความหมายของข้อมูล (Data) • หมายถึง ข้อเท็จจริงที่สามารถแสดงอยู่ในรูปของตัวเลขหรือข้อความ ซึ่งสามารถจำแนกคือ • ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่แสดงในรูปของตัวเลขหรือปริมาณและมีความหมายตามตัวเลขนั้น ๆ เช่น ความสูง รายได้ เป็นต้น • ข้อมูลเชิงคุณภาพ หมายถึงข้อมูลที่แสดงอยู่ในรูปข้อความเป็นการอธิบายลักษณะเชิงคุณภาพ เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น

  5. ประเภทข้อมูลจำแนกตามแหล่งข้อมูลประเภทข้อมูลจำแนกตามแหล่งข้อมูล • ข้อมูลปฐมภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่เก็บจากหน่วยที่ให้ข้อมูลโดยตรง ไม่มีการเปลี่ยนรูปหรือความหมาย เช่น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง การตอบแบบสอบถาม • ข้อมูลทุติยภูมิ หมายถึง ข้อมูลที่รวบรวมมาจากข้อมูลที่ผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว เช่น รวบรวมจากข้อมูล รายงานสถิติต่าง ๆ เอกสารรายงานผู้ป่วย ฯลฯ

  6. ระดับการวัดของข้อมูล แบ่งระดับการวัดเป็น 4 ระดับดังนี้ 1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นการวัดที่ไม่สามารถนำตัวเลขนั้นมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ เช่น เพศ กำหนดชายเป็น 0 หญิงแทนด้วย 1 2. มาตราอันดับ (Ordinal Scale) เป็นการกำหนดตัวเลขให้เห็นว่าค่าใดมากหรือน้อยกว่ากัน เช่น ผลการวิ่งแข่ง 100 เมตร นาย ก. วิ่งได้เป็นอันดับ 1

  7. ระดับการวัดของข้อมูล (ต่อ) 3. มาตราอันตรภาค (Interval Scale) เป็นการกำหนดตัวเลขให้กับข้อมูลโดยที่ช่วงห่างกัน 1 หน่วย 4. มาตราอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นการกำหนดตัวเลขให้กับข้อมูล โดยตัวเลขนี้มีสมบัติอย่างตาม 3 มาตราที่กล่าวมา สามารถเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนได้ เช่น นาย ก.อายุ 60 ปี นาย ข . อายุ 30 ปี นาย ก. มีอายุเป็น 2 เท่าของนาย ข.

  8. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง • หมายถึง ขอบเขตของข้อมูลทั้งหมดที่เรากำลังศึกษา หรืออาจหมายถึง กลุ่มของสิ่งของทั้งหมดที่ให้ข้อมูลตามที่ต้องการศึกษา เช่น ศึกษาเกี่ยวกับคนไข้สูติ-นรีเวชของโรงพยาบาลจังหวัดกระบี่ ในปี 2553 ทั้งหมด

  9. ตัวแปร (Variables) • หมายถึง สมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ส่วนสูง ระดับความดันโลหิต การวินิจฉัยโรค เป็นต้น

  10. ประเภทของตัวแปร • ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) หมายถึง ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น เป็นตัวที่เปรียบเสมือนต้นเหตุ ทำให้เกิดผลหรือตัวแปรตามขึ้นได้ • ตัวแปรตาม (Dependent Variables) หมายถึงตัวแปรที่เป็นผลหรือขึ้นอยู่กับอิทธิพลของตัวแปรอิสระ • ตัวแปรควบคุม (Control Variables) หมายถึง ตัวแปรที่ตั้งไว้เป็นตัวควบคุมความแตกต่างของกลุ่มที่กำลังศึกษา

  11. การเก็บรวบรวมข้อมูล • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานทะเบียนหรือการบันทึก • การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง

  12. วิธีการเลือกตัวอย่าง • การเลือกตัวอย่างตามความน่าจะเป็น • การเลือกตัวอย่างที่ไม่ทราบความน่าจะเป็น

  13. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย • ความหมายของการวิจัย • ประเภทของงานวิจัย • ส่วนประกอบของการวิจัย • การเขียนงานวิจัย • ข้อผิดพลาดที่ควรระมัดระวังในการทำวิจัย

  14. ความหมายของการวิจัย • คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น

  15. ความหมายของการวิจัยตามพจนานุกรม การวิจัย คือ การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม • ความหมายการวิจัยของ Bestการวิจัย คือ การวิเคราะห์และบันทึกการสังเกต ภายใต้การควบคุมอย่างเป็นระบบ และเป็นปรนัย ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างทฤษฎี หลักการหรือการวางนัยทั่วไป

  16. ความหมายการวิจัยของจริยา เสถบุตร การวิจัย คือ การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบและแบบแผน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์แก่มนุษย์ โดยอาศัยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา

  17. สรุปความหมายการวิจัย การวิจัยคือ กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้

  18. ประเภทของการวิจัย • แบ่งตามสาขาวิชาหรือเนื้อหาวิชาที่ใช้ศึกษา 1.1 วิจัยทางวิทยาศาสตร์ (Socience Research) 1.2 วิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Science Research)

  19. 2. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล 2.1 วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) 2.2 วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

  20. 3. แบ่งตามลักษณะการศึกษา 3.1 วิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) 3.2 วิจัยเหตุการณ์ที่เกิดแล้วหรือศึกษาย้อนหลัง (Former Research) 3.3 วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)

More Related