250 likes | 374 Views
Principle of Graphic Design. Aj. Metinee Adam. Resolution Color Mode File Format. Agenda. Resolution. Part 1. Resolution. การกำหนดความละเอียดของภาพ ( Resolution) จะต้องทำการกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำภาพนั้นไปใช้
E N D
Principle of Graphic Design Aj. Metinee Adam
Resolution Color Mode File Format Agenda
Resolution Part 1
Resolution การกำหนดความละเอียดของภาพ (Resolution) จะต้องทำการกำหนดให้เหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำภาพนั้นไปใช้ เพื่อให้ชิ้นงานผลลัพธ์ออกมาดี ภาพมีความคมชัด และสามารถตอบสนอง ต่อความต้องการใช้งานแต่ประเภทได้ดีและเหมาะสม โดยความละเอียดของภาพที่เหมาะสมกับงานแต่ละแบบ สามารถแสดงรายละเอียดดังนี้ • ความละเอียดสำหรับการแสดงผลบนจอคอม • ความละเอียดสำหรับภาพที่จะนำไปพิมพ์ผ่าน Printer • ความละเอียดสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์
ความละเอียดสำหรับการแสดงผลบนจอคอมความละเอียดสำหรับการแสดงผลบนจอคอม สำหรับภาพที่จะนำไปใช้เพื่อแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น รูปภาพที่ต้องการแสดงบนเว็บไซต์ รูปที่จะนำไปใช้ในการ presentation หรือรูปที่จะตัด หรือตกแต่งเพื่อนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือนั้น ให้กำหนดความละเอียดของภาพไว้ที่ 72 – 96 pixel / inch เนื่องจากภาพที่ต้องแสดงบนจอคอมนั้น ต้องการความละเอียด ที่ไม่สูงมากนัก และขนาดไฟล์ควรจะมีขนาดเล็ก เพื่อให้การแสดงผล สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ความละเอียดสำหรับภาพที่จะนำไปพิมพ์ผ่าน printer ความละเอียดของภาพที่เหมาะสมกับงานพิมพ์ภาพที่ต้องพิมพ์ผ่าน printer ลงบนกระดาษนั้น ควรจะอยู่ที่ความละเอียด 150 pixel / inch ขึ้นไป เพราะจะทำให้งานมีความคมชัดและ สีสันที่ได้รับจากการพิมพ์ภาพมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
ความละเอียดสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ความละเอียดสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับภาพที่จะนำไปใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์ หรืองานที่ต้องส่ง โรงพิมพ์เพื่อจัดพิมพ์ออกมา เช่น โปสเตอร์โฆษณา ปกนิตยสาร หรือสื่อ สิ่งพิมพ์รูปแบบอื่น ๆ จะต้องใช้ความละเอียดที่สูงกว่าภาพที่ใช้ในงาน ประเภทอื่น ความละเอียดที่เหมาะสมสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ คือ ความละเอียดขั้นต่ำ 300 Pixel/inch เพื่อให้งานที่ได้ออกมามี ความชัดเจน สีสันสวยงาม และมีความคมชัด
Color Mode Part 2
Color Mode โหมดสี คือ รูปแบบของการผสมสี เพื่อนำไปใช้ในการงาน ประเภทต่าง ๆ โดยโหมดสีแต่ละประเภทก็จะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน โหมดสีมีอยู่หลายประเภท แต่ถ้าโหมดสีที่ใช้ในงานกราฟิกแล้ว จะมีอยู่แค่เพียง 3 ประเภทที่นิยมใช้งานอยู่เป็นประจำ ดังนี้ • Grayscale Mode • RGB Mode • CMYK Mode
Grayscale Mode เป็นโหมดสีที่มีเพียงสีเดียว คือ สีดำ การแสดงผลของภาพจะเป็น การแสดงน้ำหนักของสี ไล่โทนสีและน้ำหนักของสีจากสีดำ เทา และขาว เรานิยมใช้สีในโหมด Grayscale ในงานพิมพ์บางประเภท ที่ต้องอาศัยการประหยัดต้นทุนในการพิมพ์ เนื่องจากว่าใช้เฉดสีหลักเพียงแค่ สีเดียว คือ สีดำ
RGB MODE - โหมดสีสำหรับแสดงผลบนจอภาพ โหมดสีที่ถอดคุณสมบัติของภาพแบบ RGB มาสร้างเป็น โหมดภาพ โดยมีสี แดง เขียว และน้ำเงิน โดยแต่ละสีจะไล่ได้ 256 ระดับ โดยใช้หลักการการรวมแสงสี ซึ่งสามารถสร้างสีได้สูงสุด 16.7 ล้านสี หลักการแสดงสีของ จอคอมพิวเตอร์นั้นจะแสดงเป็น RGB อยู่แล้ว ฉะนั้น ไม่ว่าจะเลือกโหมดการทำงานใดก็ตาม การแสดงผลบน จอภาพก็จะใช้เป็น RGB อยู่เช่นเดิม
CMYK - โหมดสีสำหรับงานสื่อสิ่งพิมพ์ โหมดมาตรฐานสำหรับเครื่องพิมพ์ โดยแบ่งสีเป็น 4 สีหลัก ได้แก่ ฟ้า ชมพูม่วง เหลือง และดำ โดยในแต่ละสีจะมีค่า 8 Bit ซึ่งทำ ให้ในแต่ละ Pixcl จะเก็บค่าถึง 32 Bit ในโหมดนี้ Photoshop จัดเตรียมสำหรับภาพที่ใช้ใน การพิมพ์ โดยแก้ไขจุดบกพล่องของโหมดสี RBG ที่เครื่องพิมพ์ไม่ สามารถพิมพ์สีบางสีออกไปได้
File Format Part 3
ชนิดของไฟล์ภาพ • TIF (.tif) • Bitmap (.bmp) • JPEG (.jpg , .jpeg) • GIF ( .gif )
TIF (.tif) ไฟล์รูปชนิด tif หรือ ไฟล์นามสกุล .tif นั้น เป็นไฟล์ที่นิยม ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลข้ามระหว่างโปรแกรม หรือระหว่างระบบปฏิบัติการ เช่น จากโปรแกรม Photoshop --> MS Word หรือจาก Windows --> Mac นอกจากนี้เป็นไฟล์ที่นิยมใช้สำหรับส่งงานเข้าโรงพิมพ์ เนื่องจาก เป็นไฟล์ที่รองรับโหมดสีแบบ CMYK และที่สำคัญเป็นไฟล์ที่สามารถเก็บ คุณสมบัติต่างๆ ที่ปรับแต่งด้วย Photoshop ได้เหมือนต้นฉบับทุกประการ อีกทั้งยังสามารถนำมาเปิดแก้ไขกับ Photoshop ได้ภายหลังอีกด้วย
Bitmap (.bmp) ไฟล์ชนิด Bitmap หรือไฟล์นามสกุล .bmp เป็นไฟล์ ภาพของระบบปฏิบัติการ Windows ข้อดี- เก็บรายละเอียดของรูปได้เยอะ ข้อเสีย- ไม่รองรับโหมด CMYK จึงนำไปใช้กับงาน สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้ และยังไม่สามารถนำไปแสดงผลบนอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
JPEG (.jpg) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กับการแสดงผลภาพบนคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นไฟล์ที่สามารถบีบอัดขนาดให้มี ขนาดเล็กลงได้มาก แสดงผลได้รวดเร็ว แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่ คุณภาพของไฟล์ที่เราบีบอัดจนมีขนาดเล็กลงนั้นจะมีคุณภาพที่ ต่ำลงและความละเอียดก็ต่ำลงไปด้วยเช่นเดียวกัน จึงไม่เหมาะ กับงานสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะจะได้ภาพที่พิมพ์ออกมาแตกหรือเบลอ ไม่ชัดเจน
GIF (.gif) เป็นภาพอีกชนิดที่นิยมนำไปใช้กับการแสดงผลบน อินเทอร์เน็ต เนื่องจากไฟล์ถูกบีบอัดจนมีขนาดเล็ก แสดงผลได้ รวดเร็ว ไฟล์ภาพชนิดนี้เหมาะกับรูปที่มีความละเอียดของสี น้อย เช่น รูปโลโก้ รูปการ์ตูน นอกจากนี้ไฟล์ภาพชนิดนี้ยังสามารถสร้าง ภาพเคลื่อนไหว และภาพที่มีสีพื้นหลังโปร่งใสได้อีกด้วย