80 likes | 363 Views
นำเสนอข่าวไอที. ดาวเทียม "ธีออส" (THEOS) ดาวเทียมดวงใหม่บนโลกสำรวจ ของประเทศไทยดวงแรก. ความเป็นมาของดาวเทียม “ธีออส”. ประเทศไทยมีแผนส่งดาวเทียมสำรวจดวงใหม่เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล โดยมีกำหนดปล่อยทะยานขึ้นสู่วงโคจรของโลกภายในสิ้นปีนี้
E N D
นำเสนอข่าวไอที ดาวเทียม "ธีออส" (THEOS) ดาวเทียมดวงใหม่บนโลกสำรวจของประเทศไทยดวงแรก
ความเป็นมาของดาวเทียม “ธีออส” ประเทศไทยมีแผนส่งดาวเทียมสำรวจดวงใหม่เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล โดยมีกำหนดปล่อยทะยานขึ้นสู่วงโคจรของโลกภายในสิ้นปีนี้ ดาวเทียมใหม่นี้ ชื่อว่า "ธีออส" "THEOS" (Thailand Earth Observation System) เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยดวงแรก ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ.ดำเนินโครงการ
"ธีออส" เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก หนัก 750 กิโลกรัม โคจรเหนือพื้นผิวโลก 822 กิโลเมตร ตัวดาวเทียม ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1. อุปกรณ์ถ่ายภาพ 2. ส่วนควบคุมสนับสนุนการทำงานของดาวเทียมสามารถบันทึกภาพ ขาว-ดำ รายละเอียดภาพ 2 เมตร บันทึกภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร หน้าที่หลัก คือถ่ายภาพสำรวจทรัพยากร ส่วนการนำมาประยุกต์ใช้งานขึ้นอยู่ว่าจะนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านภัยพิบัติ ภาพถ่ายจากดาวเทียมที่บันทึกก่อนเหตุการณ์จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันการเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม เพลิงไหม้ เป็นต้น
ขณะที่ภาพถ่ายหลังเกิดเหตุการณ์แล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินความเสียหาย และการวางแผนอพยพ ประโยชน์ด้านอื่นๆ ก็เช่น การทำและปรับปรุงข้อมูลแผนที่เพื่อใช้ในการวางผังเมือง การพัฒนาสาธารณูปโภค หรือยุทธศาสตร์ทางทหาร ด้านการเกษตร เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมด้านการเกษตร การจำแนกพื้นที่ และการประเมินความเสียหายในพื้นที่การเกษตร เป็นต้น ความต่างของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียมดวงอื่นๆ คือธีออสเป็นดาวเทียมขนาดเล็กสามารถบิดตัวถ่ายภาพได้ทั้งซ้าย ขวา ก้ม เงยได้ จึงถ่ายในบริเวณที่มีเมฆมากได้ อีกทั้งยังถ่ายภาพในลักษณะ 3 มิติได้ ขณะที่ดวงอื่นต้องอาศัยเทคนิคที่ยุ่งยาก
การเกิดขึ้นของ "ธีออส" ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลภาพถ่ายที่ไม่ต้องการความละเอียดมากเป็นของตัวเองลดค่าใช้จ่ายในการซื้อข้อมูล ภาพดาวเทียมจากประเทศอื่นทั้งจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ซึ่งมีราคาแพง ระดับหลายแสนบาทตามแต่ความละเอียดของภาพถ่ายนั้นๆในอนาคต ประเทศไทยจะเปลี่ยนสถานะจากคน "ซื้อ" มาเป็นคน "ขาย" ได้โดยมีประเทศที่เตรียมซื้อข้อมูลภาพจากดาวเทียมธีออสแล้วหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย เป็นต้น
เงินที่ลงไปกับการพัฒนา "ธีออส" กว่า 6 พันล้านบาท ตั้งแต่ปลายปี 2548 จนถึงขณะนี้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ส่งทะยานขึ้นฟ้า ณ ฐานปล่อยจรวดส่งดาวเทียม ที่เมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย ภายในปลายปีนี้ แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3924 (หน้า 37)
นายธราศักดิ์ ชุนกองฮอ รหัสนิสิต 50070486 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเสนอโดย