140 likes | 273 Views
Basic Computer and Maintenance. 25 Dec 2012. ฝึกคิด... ประลองสมอง 1. มาเสี่ยงกันหน่อย...
E N D
Basic Computer and Maintenance 25 Dec 2012
ฝึกคิด...ประลองสมอง 1 มาเสี่ยงกันหน่อย... บาร์โทโลมิว นักตกแต่งภายในได้ออกแบบ ลายกระเบื้องขาวดำ เพื่อประดับห้องเล่นเกมในห้องชุดเพนต์เฮาส์ของมิสเตอร์ซี แล้วเกิดแรงดลใจวูบหนึ่งในนาทีสุดท้าย เขาออกแบบลายลูกเต๋าลูกหนึ่งแปลกไปกว่าเพื่อน ตอนเสนองานที่เสร็จแล้ว เขาถามมิสเตอร์ซีว่า “ลายกระเบื้องแผ่นไหนลายแปลกกว่าเพื่อน” (ใช้เวลาคิดไม่เกิน 2 นาที)
ฝึกคิด...ประลองสมอง 2 ต่อภาพ โจชัวชอบหาว่าสิ่งต่างๆต่อเข้ากันได้อย่างไร ตั้งแต่เด็กแล้วที่เขาเก่งเรื่องต่อเรือและเครื่องบินจำลอง ตอนนี้เขาทำงานเป็นนักออกแบบฉากละครเวที เขาคิดปริศนาชิ้นส่วนภาพนี้ขึ้นเพื่อให้โรซินาหลานสาว โดยได้แรงบันดาลใจมาจากความรักเรือจำลองในวัยเด็ก ปริศนามีอยู่ว่า “ช่องไหนที่เป็นชิ้นส่วนภาพต่อของเรือชิ้นที่ถูกต้อง” (ใช้เวลาคิดไม่เกิน 1นาที)
การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์การจัดเตรียมฮาร์ดดิสก์ • การเตรียมความพร้อมของฮาร์ดดิสก์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน • 1. การแบ่งหรือการจัดสรรพาร์ติชั่น • 2. การจัดเตรียมพื้นที่สำหรับสร้างระบบไฟล์หรือการฟอร์แมต หลังจากฮาร์ดดิสก์ผ่านขั้นตอนทั้งสองอย่างแล้วก็สามารถ นำไปติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึง นำไปจัดเก็บข้อมูลได้ในทันที
พาร์ติชั่นคืออะไร ทำไมต้องแบ่งพาร์ติชั่น • พาร์ติชั่นคือ เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการสร้างระบบไฟล์ (Format) ในพื้นที่แต่ละส่วนให้เป็นอิสระจากกัน เพื่อใช้ในการแยกเก็บข้อมูล หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการ โดยรวมแล้ว คือ การจัดสรรพื้นที่ให้เป็นส่วนๆ ที่เป็นอิสระจากกัน • แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • Primary : เป็นพาร์ติชั่นหลักสำหรับติดตั้งและบู๊ตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ • Extended :เป็นพาร์ติชั่นเสริมหรือส่วนขยายเพื่อช่วยแก้ข้อจำกัดของ Primary ที่ฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่งมีได้ไม่เกิน 4 พาร์ติชั่น • Logical : เป็นพาร์ติชั่นย่อยๆ ที่ถูกแบ่งหรือจัดสรรอยู่ภายในพื้นที่ทั้งหมดของ Extended ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมหรือสำรองไฟล์ข้อมูลต่างๆ
ตัวอย่างการจำลองการแบ่งพาร์ติชั่นตัวอย่างการจำลองการแบ่งพาร์ติชั่น C D E F H G
ข้อดี-ข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่นข้อดี-ข้อเสียของการแบ่งพาร์ติชั่น
ระบบไฟล์ • FAT : File Allocation Table • เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการในตระกูล Microsoft และเป็นระบบไฟล์ที่มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ระบบไฟล์ในตระกูลนี้มีลักษณะคือ เป็นการกำหนดหมายเลขให้กับทุก ๆ Cluster ในแต่ละ Partition แล้วทำการสร้างตารางที่มีจำนวนช่องตามจำนวน Cluster นั้น เพื่อเป็นการระบุสถานที่หรือ Cluster ที่ทำการเก็บข้อมูลของไฟล์แต่ละไฟล์ และมีตารางอีกตารางหนึ่ง ที่เรียกว่า Directory สำหรับเก็บข้อมูลรายละเอียดของไฟล์ เช่น Attribute ต่าง ๆ และ หมายเลข Cluster เริ่มต้นที่เก็บตัวข้อมูลจริง ๆ ระบบไฟล์ FAT มีหลายรุ่นดังต่อไปนี้ FAT12 FAT16 FAT32
FAT32 • ระบบไฟล์ระบบนี้จะใช้หมายเลขขนาด 28 บิท ซึ่งตามทฤษฎีจะสามารถกำหนด Cluster ได้มากถึง 268,435,456 Clusters และสามารถใช้กับ Partition ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 2 TeraBytesระบบไฟล์แบบ FAT32 นี้มีใช้ใน Windows 95 OSR2 ขึ้นไป แต่ใช้ไม่ได้ใน Windows NT
NTFS : New Technology File System • NTFS จะสร้างไฟล์ขึ้นมาชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บ Information ของแต่ละ Partition ไฟล์เหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ตอนที่ทำการ Format แต่ละ Partitionไฟล์เหล่านี้เรียกว่า MetaData Files NTFS ที่เป็นที่รู้จักกันมี 2 รุ่น คือ • a) NTFS 1.1 หรือ NTFS 4.0 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ใน Windows NT 4.0 • b) NTFS 5 เป็นระบบไฟล์ที่ใช้ใน Windows 2000,XP,2003
ข้อดีของ NTFS • สามารถรองรับขนาดไฟล์ที่ใหญ่เกินกว่า 4GB ได้ (FAT32 ถูกจำกัดไว้สูงสุดไม่เกิน 4GB เท่านั้น) และรองรับขนาดความจุของแต่ละพาร์ติชั่นได้มากถึง 2TB • สามารถกำหนดสิทธิ์ (Permission) ในการเข้าถึงข้อมูลให้กับผู้ใช้งานแต่ละคนว่าใครมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง • มีความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ไฟล์ตัวอักษรบีบอัดให้เล็กลงได้ 50% และไฟล์ติดตั้ง (.exe) บีบอัดให้เล็กลงได้ 40%
ข้อดีของ NTFS… ต่อ • มีความสามารถในการจัดการกับคลัสเตอร์ที่มีปัญหา โดยเมื่อระบบพบ Bad Sector ที่ใดก็ตาม ระบบจะจัดหาตำแหน่งของคลัสเตอร์ใหม่ที่ดีแล้วย้ายข้อมูลตรงตำแหน่งที่เกิดปัญหานั้นมาจัดเก็บโดยอัตโนมัติ • มีความสามารถในการเข้ารหัส เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล