400 likes | 1.15k Views
The Siam Cement (Kaeng Khoi) Co ., Ltd. กลยุทธ์ที่สำคัญในการตัดสินใจวางผังงาน. 1 . ต้อง ใกล้ วัตถุดิบ 2 . ต้อง ห่างจากชุมชน 3 . สามารถ เชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งทั้ง ทางรถยนต์ และทางรถไฟ 4. มีการใช้สายพานในการลำเลียงวัตถุดิบ
E N D
กลยุทธ์ที่สำคัญในการตัดสินใจวางผังงานกลยุทธ์ที่สำคัญในการตัดสินใจวางผังงาน 1. ต้องใกล้วัตถุดิบ 2. ต้องห่างจากชุมชน 3. สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งทั้ง ทางรถยนต์ และทางรถไฟ 4. มีการใช้สายพานในการลำเลียงวัตถุดิบ 5. ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องการเครื่องจักรในการผลิตสำหรับวัตถุประสงค์ก็แตกต่างไปในการผลิตแต่ละชนิดซึ่งการวางแผนที่ควรจะให้มีความยืดหยุ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้เครื่องจักรต่าง ๆควรมีการวางแผนไว้สำหรับการใช้เครื่องจักรโดยทั่ว ๆ ไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็อาจจะเปลี่ยนได้โดยง่าย 6. การเสี่ยงภัยของความล้าสมัยของเครื่องจักรเครื่องจักรในปัจจุบันมีความล้าสมัยเร็วเพราะโรงงานผลิตได้พยายามปรับปรุงและผลิตรูปแบบใหม่ ๆมันจึงเป็นเรื่องเสี่ยงภัยและไม่ฉลาดเลยในการจะลงทุนซื้อเครื่องจักรที่ใกล้จะชำรุด 7. คุณภาพของผลผลิตคุณภาพของการผลิตเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงในเรื่องการวางแผนผังโรงงานเพราะวัตถุประสงค์ของการผลิต คือต้องการให้สินค้ามีคุณภาพสูงดังนั้นในบางครั้งคุณภาพของสินค้าอาจจะลดลงเพราะแบบการติดตั้งเครื่องจักรไม่ถูกต้องจึงทำให้คุณภาพของสินค้าอาจลดลงด้วยสาเหตุจากการใช้เครื่องจักรล้าสมัยจึงทำให้สินค้านั้นล้าสมัยไปด้วยดังนั้นจึงควรใช้เครื่องจักรใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ใหม่ตามไปด้วยซึ่งเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตไปในตัว
ขั้นตอนในการจัดวางผังของบริษัทเป็นอย่างไรขั้นตอนในการจัดวางผังของบริษัทเป็นอย่างไร 1. วางผังโรงงานขั้นต้นก่อนที่จะมีการวางผังอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง 2. เตรียมที่ดีที่สุดไว้ก่อนขั้นแรกแล้วจึงนำผังนี้ไปเป็นหลักในการวางผังให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. พิจารณาเลือกวิธีการผลิต และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 4. เลือกแบบผังโรงงาน5. เลือกระบบการขนย้ายวัสดุ 6. วางผังโรงงานให้เข้ากับตัวอาคารโรงงาน7. วางผังโดยใช้รูปวาด หรือแบบจำลองเป็นเครื่องช่วย 8. ติดต่อขอทราบความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากบุคล ที่เกี่ยวข้อง 9. วางผังโรงงานไว้หลาย ๆ แบบจึงเลือกแบบที่ดีที่สุดไว้เพียงแบบเดียว10. ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของให้เป็นที่เรียบร้อย
การออกแบบผังงานของบริษัทมีลักษณะอย่างไรการออกแบบผังงานของบริษัทมีลักษณะอย่างไร 1. ใกล้วัตถุดิบ 2. วางระบบกระบวนการให้มีขั้นตอที่ต่อเนื่องตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า - การวางผังโรงงานขั้นต้นการวางผังโรงงานแบบนี้เป็นการกำหนดขอบเขตเอาไว้กว้าง ๆ ว่าจะกำหนดให้พื้นที่นี้ทำอะไรพื้นที่ตรงนี้ต้องอยู่ใกล้กับหน่วยงานใด - การวางผังโรงงานอย่างละเอียดก็เป็นการกำหนด ราละเอียดในแต่ละแผนกว่าในแผนกนี้จะติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือตรงไหนมุมไหนทางเดินภายในแผนก จะกำหนดอย่างไรสรุปแล้วการวางผังโรงงาน อย่างละเอียดก็คือการมองไปในรายละเอียด ของแต่ละแผนกนั่น 3. การติดตั้งเครื่องจักรขั้นนี้เป็นขั้นนำการวางผังโงงาน อย่างละเอียดมาสู่การปฏิบัติก็คือการติดตั้งเครื่องจักร ตามที่วางผังไว้แล้วให้สามารถปฏิบัติงานได้
11 7 แผนผังบริษัท SCG : สถานที่เก็บผลิตภัณฑ์แบ่งตามตราผลิตภัณฑ์ 9 13 14 10 : ควบคุมองผลิตภัณฑ์ : ดำเนินการผลิต 10 โรงงาน 3 8 12 : สถานที่ใช้ผสมส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ โรงงาน 2 6 5 4 1 2 โรงงาน 1 3 สถานที่ชั่งนำหนักรถ สถานีตรวจนับสินค้า ไปโรงงานถุงกระดาษ TOILET ฝ่ายงานด้านเอกสารและการจัดส่งสินค้า ลานจอดรถ
การออกแบบผังงานช่วยให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งขันเป็นอย่างไรการออกแบบผังงานช่วยให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งขันเป็นอย่างไร • การที่ใกล้วัตถุดิบมากที่สุดจะเป็นการประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายมากที่สุด • สามารถขนส่งได้สะดวกและรวดเร็วได้ทั้งทางรถไฟ และการขนส่งทางบก • ลดระยะทางและเวลาการเคลื่อนย้ายวัสดุ • ช่วยทำให้วัตถุดินไหลไปได้รวดเร็ว และราบรื่น พร้อมทั้งขจัดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่มีเกินไป • เพื่อสะดวกในการดำเนินงานโดยแบ่งเนื้อที่ภายใน โรงงานให้เหมาะสมเช่น ช่องทางเดินพื้นที่เก็บสินค้า • ขจัดสิ่งรบกวนการสั่นสะเทือนของพื้นที่ฝุ่นละอองความร้อนกลิ่นการถ่ายอากาศเป็นต้น • จัดแผนงานต่าง ๆ ให้ทำงานในกรอบความรับผิดชอบชัดเจนให้เอื้อต่อกระบวนการ ผลิตและง่ายต่อการควบคุม • ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ และสร้างความปลอดภัยให้กับคนงาน
การออกแบบผังงานส่งผลดีต่อบริษัทอย่างไรการออกแบบผังงานส่งผลดีต่อบริษัทอย่างไร • สามารถลำเลียงสินค้าได้สะดวกง่ายต่อการขนส่ง • ความปลอดภัยสามารถควบคุมได้ง่าย • อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสามารถควบคุมและตรวจสอบได้ง่าย • สามารถป้องกันทรัพย์สินสูญหายได้ง่าย
บริษัทมีกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบริษัทมีกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไร มีการแบ่งงานการบริหารงานการจัดการออกเป็นส่วนๆ เพื่อง่ายต่อการบริหารงาน ประกอบไปด้วย ส่วนเหมือง ส่วนผลิต ส่วนส่งเสริมการผลิต ส่วนซ่อมบำรุง ส่วนบุคคล ส่วนพัฒนาองค์กรอย่างยังยืน - กลยุทธ์การดูแลรักษาพนักงานให้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข - กลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร -กลยุทธ์ในการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่จูงใจและเป็นธรรม- การปรับปรุงฝ่ายบุคคลที่เป็นงานเอกสารให้กลายเป็นงานบริการบุคลากรภายในองค์กร - การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตทำงานกับชีวิตส่วนตัว- คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและถือเป็น และพยายามอย่างยิ่งที่จะผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ
SKK-MD Mr. Somkiat Pananookooln • การวางผังงาน ศูนย์การเรียนรู้ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุน ส่วนส่งเสริมการผลิต แผนกการผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง ส่วนเหมือง ฝ่ายบุคคล Mr.Somchai Pupipatphol Mr.Banjong Witayatawornwong Mr.Wijit Teerasarun Mr. Thanongkiat Charoenwongphet Mr.Suthee Suthanaruk
บริษัทมีการออกแบบงานอย่างไรบริษัทมีการออกแบบงานอย่างไร มีการแบ่งงานการบริหารอกเป็นส่วนต่าง ๆ เช่น 1. แผนกการผลิต ทำหน้าที่ตามกระบวนการผลิตและจัดจำหน่าย 2. ส่วนซ่อมบำรุง ทำหน้าที่ดูแลรักษาและติดตั้งเครื่องจักร 3. ส่วนส่งเสริมการผลิต ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพ 4. ส่วนเหมือง ทำหน้าที่ จัดหาวัตถุดิบเตรียมวัตถุดิบ เช่นหินปูน และส่วนผสมอื่นๆ 5. ฝ่ายบุคคล ทำหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ ระเบียบบทลงโทษและให้ผลตอบแทน 6. ฝ่ายพัฒนาองค์กรอย่างยังยืน มีหน้าที่ผสานงานระหว่างบริษัทกับชุมชนและภาครัฐในด้านสิงแวดล้อม
บริษัทมีการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอย่างไรบริษัทมีการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอย่างไร มีข้อตกลงที่ชัดเจน เช่น สัญญาจ้าง กำหนดระยะการจ้างที่ชัดเจน มีข้อบังตับในการปฏิบัติงานแจ้งให้พนักงานจ้างทราบมีผลประโยชน์แจ้งให้ทราบ มีบทลงโทษไว้ชัดเจน บริษัทจะจัดหาสวัสดิการให้พนักงานในด้านต่างๆเช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน รถรับส่ง ค่าเช่าบ้าน เป็นต้นโดยมิต้องร้องขอ ระบบการพัฒนาสายอาชีพที่เป็นมาตรฐาน การมอบหมายและงานที่สนุกและท้าทาย ระบบผลตอบแทนที่ดี ระบบการให้รางวัลที่มีประสิทธิภาพ ความมั่นคงในการทำงาน
บริษัทมีการวัดผลการทำงานของพนักงานอย่างไรบริษัทมีการวัดผลการทำงานของพนักงานอย่างไร ในรอบ 1 ปีหรือ 365 วัน การทำงานจะมีการวัดผลการทำงานเป็นช่วงๆระยะเวลาการทำงาน 180 วันจะมีการประชุมพนักงานให้ทราบถึงผลการทำงานของตนว่าดีหรือไม่หรือควรปรับปรุงแก้ไขและจะนำผลที่ไปประเมินรวมกันอีกครั้งเมื่อสิ้นปี หลักการที่บริษัท SCG ใช้ประเมินบุคลากรในองค์กร 1. พนักงานของบริษัท เอสซีจี มีการเข้าทำงานที่ตรงต่อเวลา 2. พนักงานสามารถทำงานที่หัวหน้ามอบหมายและงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3. มีการกล้าคิด กล้าเสนอความคิดไอเดียใหม่ๆที่สร้างสรรค์และก่อให้เกิด นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่ดีแก่บริษัท 4. มีผลการวิจัยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือก้าวทันสิ่งประดิษฐ์ ในปัจจุบันตลอดเวลา
USA S. Asia Africa ASEAN S. America S.Pacific บริษัทมีการกำหนดกลยุทธ์ หรือการออกแบบเครือข่ายปัจจัยการผลิตอย่างไร มีการผลิตให้ครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทยโดยมีการดำเนินงานการสร้างโรงงานทุกภูมิภาคของประเทศไทย และต่างประเทศในกลุ่ม อาเซียน ประเทศสหรัสอเมริกา อเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชียใต้ แปซิฟิก
บริษัทมีการวางแผนด้านเครือข่ายปัจจัยการผลิตอย่างไรบริษัทมีการวางแผนด้านเครือข่ายปัจจัยการผลิตอย่างไร SCG มีการวางแผนในการกระจายวัตถุดิบในการผลิตในหลายๆจังหวัด เช่น จังหวัดลำปาง สระบุรี กรุงเทพ นครศรีธรรมราช เพราะการกระจายปัจจัยในการผลิตจะก่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการขาดแคลนวัตถุดิบเนื่องจากสามารถนำปัจจัยการผลิตจากแหล่งอื่นสำรองแทนได้ Lampang Saraburi Bangkok Nakhon Srithammarat
ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตมีการตัดสินใจซื้อหรือผลิตเองผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตมีการตัดสินใจซื้อหรือผลิตเอง บริษัทมีการผลิตสินค้าเองไม่มีการซื้อวัตถุดิบจากที่อื่นวัตถุดิบที่ใช้ได้มาจากการผลิตเองเป็นวัตถุดิบภายในประเทศ “วัตถุดิบในการผลิต มีดังนี้ ” 1. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของปูนขาว ซึ่งมีความบริสุทธิ์ประมาณ 85 - 95 % ตัวอย่างวัตถุเหล่านี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ หินปูน (Limestone) ชอล์ก (Chalk) และดินขาว (Marl) 2. วัตถุดิบที่มีส่วนประกอบของดินดำ ตัวอย่างวัตถุเหล่านี้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินดำ (Clay) และดินดาน (Shale) 3. วัตถุดิบปรับแต่งคุณสมบัติ เป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเพิ่มเติมสารประกอบบางตัว ซึ่งมีไม่เพียงพอในดินดำ หรือดินดาน วัตถุดิบเหล่านี้ได้แก่ ทราย แร่เหล็กหรือดินลูกรัง และดินอะลูมินา เป็นต้น
บริษัทมีการบริหารเครือข่ายปัจจัยการผลิตอย่างไรบริษัทมีการบริหารเครือข่ายปัจจัยการผลิตอย่างไร การจัดตารางการผลิต เป็นการจัดสรรทรัพยากรการผลิตไม่ว่าจะเป็นแรงงาน เครื่องจักร หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ให้ดำเนินการผลิตตามที่ได้รับมอบหมายภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งรับช่วงต่อมาจากการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) และการวางแผนความต้องการกำลังการผลิต (CRP) ทั้งการจัดตารางการผลิตจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำงาน (Job Order) และการจัดลำดับงาน (Job Sequencing) ให้กับแต่ละหน่วยงาน การจัดตารางการผลิตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของการผลิตทั้งแบบต่อเนื่อง และแบบกลุ่มรวมถึงแบบไม่ต่อเนื่อง เพราะต้องจัดสรรทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่ใช้ สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิด ดังนั้นจึงต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งด้านแรงงานคน และเครื่องจักร อุปกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
บริษัทมีการบริหารสินค้าคงเหลืออย่างไรบริษัทมีการบริหารสินค้าคงเหลืออย่างไร 1. สินค้าจะผลิตตาม Order ของลูกค้าและจะผลิตเพิ่มตามความต้องการของลูกค้า 10 – 20 % ตาม Order 2. การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด(ทฤษฎี EOQ) เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าคงคลังในการเก็บรักษา 3. ด้านการวางแผนทางการตลาดเพื่อระบายสินค้าค้างสต๊อก โดยการวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ของสินค้าค้างสต๊อก การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อกระจายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค 4. การจัดทำระบบสินค้าคงคลังให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น กำหนดกระบวนการในระบบสินค้าคงคลัง จัดทำเอกสารที่ใช้ ในการจัดการสินค้าคงคลัง การจัดทำใบบันทึกรายการสินค้า เพื่อตรวจนับสินค้าคงเหลือในคลังว่ามีจำนวนเท่าใดอย่างชัดเจน 5. การนำกิจกรรม 5 ส มาใช้ในการจัดหมวดหมู่สินค้าให้ชัดเจน สะดวกในการค้นหาสินค้าคงคลังมากยิ่งขึ้น
บริษัทมีการวางแผนความต้องการวัตถุดิบอย่างไรอย่างไรบริษัทมีการวางแผนความต้องการวัตถุดิบอย่างไรอย่างไร การวางแผนการผลิตรวม (Aggregate Planning) ต้องใกล้วัตถุดิบ วัตถุดิบมีปริมาณมากเพื่อให้พียงพอต่อต่อการผลิต และหาวัตถุดิบอื่นมาทดแทนหรือเตรียมสำรองในกรณีที่วัตถุดิบใกล้หมดโดยมีการเปิดระเบิดหน้าเหมืองใหม่ ขั้นตอนการผลิต ซึ่งจะบอกถึงสิ่งที่จะต้องผลิตปูนมีจำนวนเท่าใดในเวลาใดที่ตลาดต้องการสินค้าตัวใดมากที่สุด จากนั้นจะพิจารณาถึงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตว่าประกอบด้วยวัตถุดิบชิ้นส่วนประกอบและวัสดุอื่นๆ อะไรบ้าง เพื่อจะใช้ในการจัดหาวัตถุดิบ หิน ดิน แร่ มาสำรองไว้ในคลัง โดยจะต้องดูข้อมูลปริมาณจากในคลังวัสดุที่มีช่วงเวลาที่ใช้ในการจัดหา ผลิตภัณฑ์ที่มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อน มีชิ้นส่วนประกอบต่างๆ เป็นจำนวนมากจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณ ซึ่งจะทำให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้นทำให้ทราบว่าในช่วงไหนจะต้องใช้วัตถุดิบเท่าไร ถ่านหินชนิดแข็งและเป็นเงา ถ่านหิน ลิกไนท์ โค้กปิโตรเลียม
บริษัทมีการบริหารระบบการผลิตแบบทันเวลาหรือไม่อย่างไรบริษัทมีการบริหารระบบการผลิตแบบทันเวลาหรือไม่อย่างไร เมื่อผลจากการรายงานและตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน ได้ตรวจพบว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงผิดพลาดไปจากแผนงานที่กำหนดไว้ ผู้ควบคุมการผลิตจะต้องหาสาเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และทำการแก้ไขและปรับปรุงตารางการทำงานใหม่ เพื่อให้ทันความต้องการที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งในการแก้ไขอาจทำได้ดังนี้ 1. บริษัทจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะเวลาในการผลิตให้สามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันเวลา 2. จัดตารางการทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้น 3. เพิ่มกะในการทำงานเป็นพิเศษมีการหมุนเวียนในการทำงานทั้งระบบกลางวันและกลางคืนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตรงทันเวลา 4. ในกรณีที่วัสดุขาดแคลน อาจทำการเร่งกำหนดการส่งของเข้ามาให้เร็วขึ้น 5. จัดหาคนงานเพิ่มขึ้นเพื่อเสริมกำลังคนในการผลิตเพื่อส่งออกให้ทันตามเวลา 6. จัดหาเครื่องมือเครื่องจักรเพิ่มขึ้น หรือหาเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเข้ามาเพิ่มในการผลิต
บริษัทมีการใช้ระบบการผลิตแบบประหยัดหรือไม่อย่างไรบริษัทมีการใช้ระบบการผลิตแบบประหยัดหรือไม่อย่างไร บริษัทมีระบบการผลิตแบบประหยัด คือ 1. มีการนำเอาเศษวัสดุที่ได้จาก เกษตรกรรมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต เช่น แกลบ ซังข้าวโพด และวัสดุที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรม เช่น ยางรถยนต์เป็นต้น 2. นำลมร้อนที่ได้จากการเผาปูน มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าด้วยเครื่อง Generate 3. มีการนำกากของเสียที่เกิดจากอุตสาหกรรมแปรรูปหินแกรนิตมาใช้ประโยชน์โดยนำมาแทนที่หินฝุ่นในการผลิตคอนกรีต 4. ใช้กากปูนขาวมาใช้แทนที่ทรายในวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนก่อและฉาบ 5. การทำกากซิลิโคจาโรไซท์ให้เป็นก้อนโดยปูนซีเมนต์ ปูนขาว ขี้เถ้าลอยและขี้เถ้าลิกไนต์ 6. การใช้เถ้าลอยในการปรับปรุงคุณสมบัติของปูนก่อและปูนฉาบ 7. การนำกากของเสียจากอุตสาหกรรมหลอมโลหะเพื่อใช้เป็นวัสดุผสมกับปูนซีเมนต์ในการหล่อแข็ง ของเสีย ชีวมวล ยางใช้ เศษไม้ ยางใช้แล้ว น้ำมันใช้ไม่ได้ ขี้เลื่อย
บริษัทมีกระบวนการการวางแผนการผลิตรวมอย่างไรบริษัทมีกระบวนการการวางแผนการผลิตรวมอย่างไร มีการวางแผนการผลิตในรอบ 1 ปี หรือ365 วัน จะมีการหยุดแมนเทอร์แนนซ์เครื่องจักรปีละ 2 ครั้ง และมีการตั้งเป้าหมายในการผลิตมีการใช้วัตถุดิบอย่างประหยัดและคุ้มค่า 1. รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักรฯลฯ ให้สม่ำเสมอได้ ของที่ขายไม่หมดในช่วงขายไม่ดี จะเก็บไว้ขายตอนช่วงขายดีซึ่งอาจจะผลิตไม่ทันขายแต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปูนเป็นสินค้าที่สามารถเก็บรักษาได้นานพอสมควรจึงไม่ค่อยมีปัญหา 2. ป้องกันของขาดมือด้วย ของเพื่อการผลิตในช่วงฉุกเฉิน (Safety Stock) เมื่อของที่สั่งเกิดส่งมาล่าช้าหรือบังเอิญได้คำสั่งเพิ่มขึ้นกะทันหันต้องมีการสำรองวัตถุดิบในการผลิตให้เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงในบางครั้งคราว 3. ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่อง อย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงัก เพราะวัตถุดิบขาดมือจนเกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิต เช่น คนงานว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด ผลิตไม่ทันคำสั่งซื้อของลูกค้า
ลักษณะของการทำแผนการผลิตรวมของผลิตเป็นอย่างไรลักษณะของการทำแผนการผลิตรวมของผลิตเป็นอย่างไร • ผลิตปุนซิเมนต์ที่มีคุณภาพแบ่งแยกตามตราสินค้า ตราช้าง ตราเสือ ตราแรด ตามประเภทของการใช้งาน และในช่วงฤดูฝนการก่อสร้างจะชลอลงทำให้ยอดการสั่งซื้อมีน้อยดังนั้นบริษัทจึงมีการผลิตในเวลากลางคืนแทนเวลากลางวันเพื่อลดต้นทุนในด้านค่าไฟฟ้า เพราะเนื่องจากการผลิตในเวลากลางคืนจะประหยัดกว่าการผลิตในเวลากลางวันเพื่อเป็นการลดต้นทุน • SCGมีการวางแผนการผลิตรวม ดังนี้ • 1. เพื่อทำการผลิตสินค้า และบริการให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า • 2. กำลังการผลิตที่มีอยู่ มีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการ ตลอดจนการจัดลำดับการผลิต และต้นทุนการผลิต • 3. การที่จะให้ได้มาซึ่งกำลังการผลิต จะต้องมีการลงทุน การตัดสินใจว่าจะขยายกำลังการผลิตไปมากหรือน้อยเพียงใดจึงจะให้ผลตอบแทนในการลงทุนสูงที่สุด
บริษัทมีการจัดทำตารางการทำงานบริษัทมีการจัดทำตารางการทำงาน โดยมุ่งที่กระบวนการเป็นศูนย์รวมอย่างไร การทำงานจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การทำงานปกติ คือจะทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะเริ่มทำงาน เวลา 07.30 น. – 16.30 น. จะหยุดทำงานในวันเสาร์ และอาทิตย์ 2. การทำงานเป็นกะ จะแบ่งออกเป็น 3 กะ คือ - กะเช้า เริ่มทำงาน เวลา 08.00 น. – 16.00 น. - กะบ่าย เริ่มทำงานเวลา 16.00 น. – 24.00 น. - กะดึก เริ่มทำงานเวลา 00.00 น. – 08.00 น. จะใช้เวลาในการทำงาน 5 วัน และหยุด 2 วัน และจะเปลี่ยนกะทุกสัปดาห์
9.4 บริษัทมีการจัดลำดับงานในศูนย์รวมการผลิตอย่างไร แบ่งตามสายงานความรับผิดชอบ ส่วนเหมือง ทำหน้าที่รับผิดชอบนำวัตถุดิบที่ได้ส่งมอบให้กับส่วนผลิต ส่วนผลิต ทำหน้าที่ทำการย่อย บด เผา วัตถุดิบ นำวัตถุดิบที่ได้มาทำการผลิตในความต้องการของลูก ทั้งปูนช้าง ปูนเสือ และปูนแรด และส่งมอบให้กับลูกค้า ส่วนส่งเสริมทำหน้าที่ ตรวจสอบคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามมาตราฐานก่อนส่งมอบให้แก่ลูกค้า ส่วนซ่อมบำรุง ทำหน้า ซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรให้สามารถเดินเครื่องจักรได้ตลอดเวลาหรือหยุดเบรกดาว์
บริษัทมีการใช้การผลิตซ้ำหรือไม่บริษัทมีการใช้การผลิตซ้ำหรือไม่ - บริษัทมีการผลิตซ้ำคือ นำเอาปูนที่ไม่มีคุณภาพและไม่ผ่านมาตรฐานตามที่กำหนดไว้จะนำปูนเหล่านั้นมามาทำการเผาใหม่เพื่อให้ได้ปูนที่มีคุณภาพจึงจะส่งขายให้แก่ลูกค้า -มีการนำวัตถุดิบที่ไม่ได้ประสิทธิภาพมาผลิตปูนเกรดต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ตัวจริงแล้วจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง - ปูนที่ผลิตแล้วไม่ได้คุณภาพแรงอัดในการแข็งตัวน้อยหรือไม่มีความข้นเหลวของคอนกรีตอาจผลิตใหม่ได้ด้วยการเพิ่มดินขาวหรือชอลช์มากขึ้น
บริษัทมีเทคนิคการสร้างความน่าเชื่อถือด้านใดบริษัทมีเทคนิคการสร้างความน่าเชื่อถือด้านใด บริษัทตั้งเป็นอุดมการณ์ 4 ดำเนินธุรกิจที่ดีจะต้องเป็นไปตามครรลองแห่งความถูกต้องและเป็นธรรม ดังนั้น คณะจัดการเครือฯ และพนักงานทุกระดับจึงยึดถือและปฏิบัติตามอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ คือ 1. ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเครือฯ จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมขณะประกอบธุรกิจ หรือทำงานร่วมกับเครือฯ 2. มุ่งมั่นในนความเป็นเลิศ มุ่งกระทำการทุกอย่าง ด้วยความตั้งใจให้เกิดผลในทางที่ดีกว่าเสมอโดยมุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจอย่างดีเยี่ยม เต็มความสามารถ 3. เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ให้ความสำคัญต่อ คุณค่าของพนักงาน และถือว่าเขาเหล่านั้นคือสมบัติที่มีค่าที่สุดพยายามคัดสรรบุคลากร ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมเข้ามาร่วมงาน ให้การฝึกฝน และดูแลอย่างดี ด้วยสวัสดิการ และผลตอบแทนตามสมควร 4.ถือมั่นความรับผิดชอบต่อสังคม ตั้งเจตนารมณ์ไว้ว่า จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศชาติและ สังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ
บริษัทมีเทคนิคด้านการบำรุงรักษาอย่างไรบริษัทมีเทคนิคด้านการบำรุงรักษาอย่างไร • มีการฝึกอบรมเกี่ยวการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรทุก 3 เดือน • ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายน้อยกว่า แทนสารเคมีที่อันตราย • จัดระบบการระบายอากาศให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงาน • การจัดเก็บระเบียบรักษาความสะอาด • การระบายอากาศทั่วไป • หมุนเวียนพนักงานทำงาน • ติดสัญญาณเตือนอันตรายที่ตัวคนงาน
บริษัทได้รับประโยชน์จากการได้รับความน่าเชื่อถือและการบำรุงรักษาอย่างไรบริษัทได้รับประโยชน์จากการได้รับความน่าเชื่อถือและการบำรุงรักษาอย่างไร - การบำรุงรักษาให้เครื่องจักรให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอและมีอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการผลิตให้ได้สินค้า และคุณภาพของสินค้าได้ตามมาตรฐานการผลิต ตามที่ลูกค้าต้องการสามารถส่งสินค้าได้ตามต้องการทำให้บริษัทเป็นที่น่าเชื่อถือแก่กลุ่มลูกค้า - พนักงานสามารถทำงานอย่างเต็มที่และระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัยทำให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานตามต้องการ - เกิดบรรยากาศที่ดี และเป็นระเบียบเรียบร้อย ภายในกิจการโรงงาน มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ภายในสำนักงาน
การซ่อมบำรุงเครื่องจักรมีแนวทางปฏิบัติอย่างไรการซ่อมบำรุงเครื่องจักรมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร มีการแบ่งแผนกการซ่อมบำรุงรักษาออกเป็นระบบต่าง ๆ ดังนี้ ระบบเครื่องกล ทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงาน ระบบไฟฟ้า จะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบนิวเมติกส์ ทำหน้าที่ระบบการส่งถ่ายกำลังโดยอาศัยความดันลมเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายกำลัง โดยมีอุปกรณ์เช่น กระบอกสูบ ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมให้เป็นพลังงานกล ระบบไฮดรอลิกส์ทำหน้าที่ดูแลระบบที่มีการส่งถ่ายพลังงานของการใหลให้เป็นพลังงานกลโดยผ่านตัวกระทำเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรม
การรักษาความปลอดภัยในการทำงานอย่างไรการรักษาความปลอดภัยในการทำงานอย่างไร 10.6 1.มีข้อความกำกับทุกจุดที่มีลงมือปฏิบัติงาน รายละเอียดจะบอกวิธีการใช้หรือการปฏิบัติงาน และคำเตือน 2. มีหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ในพ้นที่การทำงานอย่างเคร่งครัดทุกชุดตลอด 24 ชั่วโมง 3.มีอุปกรณ์ในการทำงานที่ปลอดภัยส่วนบุคคล 3.1 ใส่หมวก safety เมื่อออกนอกอาคารเพื่อป้องกันสิงของตกใส่ศีรษะ 3.2 สวมแว่นตากันฝุ่น เพื่อป้องฝุ่นละอองเข้าสู่ดวงตา 3.3 สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องฝุ่นลออ 3.4 สวมถุงทุกครั้งที่มีปฏิบัติงานที่เสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดความร้อน และสารเคมี 3.5 สวมชุดปฏิบัติงานหรือชุดหมีในการปฏิบัติงานที่สภาพงานมีความสกปรก 3.6 สวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่มีเสียงดังมาก 3.7 สวมรองเท้า safety ทุกครั้งเมื่อเข้าโรงงาน
การรักษาความปลอดภัยในการทำงานอย่างไรการรักษาความปลอดภัยในการทำงานอย่างไร 1. มีข้อความกำกับทุกจุดที่มีลงมือปฏิบัติงาน รายละเอียดจะบอกวิธีการใช้หรือการปฏิบัติงาน และคำเตือน 2. มีหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ.ในพ้นที่การทำงานอย่างเคร่งครัดทุกชุดตลอด 24 ชั่วโมง 3. มีอุปกรณ์ในการทำงานที่ปลอดภัยส่วนบุคคล - ใส่หมวก safety เมื่อออกนอกอาคารเพื่อป้องกันสิงของตกใส่ศีรษะ - สวมแว่นตากันฝุ่น เพื่อป้องฝุ่นละอองเข้าสู่ดวงตา -สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องฝุ่นลออ - สวมถุงทุกครั้งที่มีปฏิบัติงานที่เสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดความร้อน และสารเคมี - สวมชุดปฏิบัติงานหรือชุดหมีในการปฏิบัติงานที่สภาพงาน มีความสกปรก - สวมอุปกรณ์ป้องกันการได้ยินเมื่อปฏิบัติงานในสถานที่มีเสียงดังมาก - สวมรองเท้า safety ทุกครั้งเมื่อเข้าโรงงาน
ความปลอดภัยในการทำงานความปลอดภัยในการทำงาน
สมาชิกในกลุ่มน.ส.รสสุคนธ์ ชูสอนน.ส.ดลยา เอี่ยมคานะน.ส.ปิยะนุช ศรีคล้ำน.ส.อลิสา เวสารัชญาณน.ส.ธัญญรัตน์ นาคสอาดน.ส.ชลพินท์ ทองย่นน.ส.ดารณี เขตน้อยกจท4 / 53