250 likes | 701 Views
ระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals หรือ GHS) และ ประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะ วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในการเสริมสร้างสวัสดิภาพด้านสารเคมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. แผนปฏิบัติการ 21 – ปี พ.ศ . 2535.
E N D
ระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก(Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals หรือGHS)และประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวในการเสริมสร้างสวัสดิภาพด้านสารเคมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
แผนปฏิบัติการ 21 – ปี พ.ศ. 2535 Chapter 19 - 6 Programme Areas Aการขยายผลและเร่งรัดการประเมินความเสี่ยงของสารเคมีในระดับนานาชาติ Bการปรับการจำแนกชนิดและฉลากของสารเคมีให้เป็นระบบและมาตรฐานเดียว C การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารเคมีและความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมี Dการจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อลดความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี Eการเสริมสร้างความเข้มแข้งแก่ขีดความสามารถและศักยภาพของประเทศ ในการบริหารจัดการสารเคมี Fการป้องกันการขนย้ายผลิตภัณฑ์อันตรายระหว่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย
แผนปฏิบัติการ 21 – ปี พ.ศ. 2535 Programme Area B พัฒนาระบบการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลากใหม่ภายในปี พ.ศ. 2543 คำนึงถึงระบบที่ใช้อยู่เดิมและต้องไม่กีดกันทางการค้า ให้องค์การระหว่างประเทศร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคจัดตั้งกลุ่มประสานการพัฒนาระบบใหม่ โครงการต่าง ๆ ภายใต้ UNจะต้องร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ จัดหลักสูตรอบรมเพื่อให้สามารถนำระบบใหม่มาใช้ได้
แผนปฏิบัติการโจฮันเนสเบอร์ก – ปี พ.ศ. 2545 กระตุ้นให้ทุกประเทศปฏิบัติตามระบบการจัดกลุ่มและการติดฉลากใหม่โดยเร็วที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2551 ระบบใหม่จะต้องนำมาปฏิบัติกัน ทุกประเทศ
การพัฒนา GHS - ด้านวิชาการ IOMC CG/HCCS อันตรายด้านกายภาพ UNSCETDG อันตรายด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม OECD ฉลากและ MSDS ILO
การพัฒนา GHS - ด้านปฏิบัติ UNECOSOC UNCETDG/GHS GHS-Subcommittee TDG-Subcommittee ประชุม 5 ครั้ง (พ.ศ. 2544-2546) รับรอง GHS ในสมัยการประชุมครั้งที่ 4ธันวาคม พ.ศ.2545 Purple Book
Content Part 1 Introduction Part 2 Physical Hazards Part 3 Health and Environmental Hazards Annexes http://www.unece.org/ trans/danger/danger.htm
จุดมุ่งหมายของGHS ยกระดับการปกป้องอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นแนวทางให้กับประเทศที่ยังไม่มีระบบการจัดกลุ่มสารเคมีและการติดฉลาก ลดความซ้ำซ้อนของการทดสอบและการประเมินสารเคมี เอื้ออำนวยการค้าระหว่างประเทศและสารเคมีที่ประเมินและจำแนกที่เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศอยู่ก่อนแล้ว
หลักการของ GHS ระดับการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่ลดลงจากระบบเดิม การจัดกลุ่มอันตรายของผลิตภัณฑ์เคมีจะพิจารณาสมบัติเฉพาะตัวเท่านั้น (ผลิตภัณฑ์รวมถึงสารประกอบ สารผสม สารละลาย และอัลลอยด์) การจัดกลุ่มอันตรายและการสื่อข้อมูลอันตรายต้องมีพื้นฐานและเชื่อมโยงกัน คำนึงถึงการจัดกลุ่มและการสื่อข้อมูลอันตรายที่มีอยู่เดิม ระบบเดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงและดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อข้อมูลอันตรายจะต้องเกิดความเข้าใจได้ง่าย การจัดกลุ่มอันตรายในระบบใหม่ต้องยอมรับข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่มีอยู่เดิม พร้อมกับการปกป้องสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงการปกป้องความลับทางธุรกิจด้วย
ขอบเขตของ GHS • หลักเกณฑ์ • จัดกลุ่มอันตรายของผลิตภัณฑ์เคมี คือ อันตรายด้านกายภาพ และอันตรายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม • กำหนดการติดฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยให้สอดคล้องกับอันตราย • ผลิตภัณฑ์เคมี รวมถึง สาร สารประกอบ สารผสม สารละลาย อัลลอยด์ • กลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย : ผู้ทำงานขนส่ง ผู้ทำงานในกระบวนการผลิตและจัดเก็บ ผู้บริโภค และผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน • เฉพาะการบริโภคโดยตรงของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ สารปรุงแต่งอาหาร สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยา และเครื่องสำอาง ไม่ต้องติดฉลาก GHS
การใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย - หลักการของ GSH Source: UNITAR, Developing and Implementing a National Chemical Hazard Communication and GHS Action Plan, Guidance Document
GHS- การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี
GHS- การติดฉลาก Symbol & Pictogram Signal Word: Danger, Warning Hazard Statement extremely flammable, flammable very toxic, toxic, harmful Precaution Statement Product Identifier Supplier
ตัวอย่างการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ของGHSตัวอย่างการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ของGHS Source : UNITED NATIONS, Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS), 2002
การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน GHS นิวซีแลนด์ รับ GHS และนำไปปรับใน Hazardous Substance and new Organism Act บราซิล จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2545 และเริ่มใช้ GHS ในการจำแนกและจัดกลุ่มสารเคมีเมื่อ พ.ศ. 2546 อเมริกา จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2545 และกำลังพัฒนาคู่มือการใช้ แคนาดา เปรียบเทียบระบบเดิมกับ GHS จีนและอาฟริกาใต้ หารือการใช้ GHS ในอนาคต ญี่ปุ่นร่วมกับ ICCAจัดการประชุมให้อาเซียน
การเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน GHS APEC - Chemical Dialogue Steering Groupรับรองการดำเนินงาน GHS และมีเป้าหมายการใช้งานภายในปี พ.ศ. 2549 - การดำเนินงาน GHS ควรเป็นนโยบายระดับบนลงล่าง - จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับประเทศกำลังพัฒนาในเดือนกันยายนนี้ ที่ไต้หวัน และจะจัดที่ประเทศมาเลเซียต่อไป IFCS - IFCSPriorities for Action beyond 2000 - workshop GHS ในการประชุมIFCSForum IV UNITAR - นำเสนอ Global GHS Partnership ในการประชุมคณะกรรมาธิการ ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน สมัยที่ 11 เมื่อพฤษภาคม 2546 - ประชุม WSSDGlobal Partnership for Capacity Building to implement the GHS เมื่อกรกฏาคม2546
สถานการณ์ประเทศไทย • การให้ข้อมูลสารเคมีและอันตรายกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ กำหนดไว้ในกฏหมายหลายฉบับ เช่น • พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 • พรบ. โรงงาน พ.ศ. 2535 • พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • พรบ. ยา พ.ศ. 2510 • พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 • พรบ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
สถานการณ์ประเทศไทย • ข้อกำหนดการติดฉลากสารเคมีและอันตรายมีรายละเอียดแตกต่างกัน ตัวอย่าง • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการขนส่งวัตถุอันตราย (กำหนดระบบ UNRTDG) • ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย (ไม่อ้างอิงระบบ) • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2530) เรื่อง หน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (กำหนดระบบ EUและ UNRTDG) • ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2538 (กำหนดระบบ WHO และUNRTDG) • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538 (กำหนดระบบWHOและ UNRTDG)
ประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะ • สนับสนุนแนวคิดของการนำ GHS มาใช้ในประเทศไทย • ผลดี - ลดความซับซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวให้กับภาคธุรกิจ และ โดยเฉพาะ SME - ลดการสูญเสีย ลดความเสียหาย และลดอุบัติภัยจากสารเคมี - เป็นโอกาสของการจัดการความปลอดภัยสารเคมีของประเทศ เพราะ GHS เป็นพื้นฐานของการให้ความรู้ต่อสาธารณชน • อุปสรรค - ความล่าช้าในการปรับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง - การ identifyหน่วยงานเจ้าภาพและการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - โครงสร้างพื้นฐานของการดำเนินงานเกี่ยวกับอันตรายด้านสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมมีจำกัด
ประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะประเด็นความเห็นจากเวทีสาธารณะ • การเตรียมความพร้อมของไทย • สร้างความรู้ความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ในเรื่องระบบ GHS - จัดทำคำแปลเอกสาร GHSเผยแพร่สาธารณชน - มีกระบวนการและสร้างสื่อความรู้เรื่องสัญลักษณ์และข้อความที่สื่อใน ระบบ GHSในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ • จัดส่งเจ้าหน้าที่อาวุโสเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของ APEC ที่สามารถกลับมาวางแผนศึกษาgap analysis และจัดทำaction plan • เสนอกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานเจ้าภาพที่ประสานการเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน GHS
ประเด็นที่อาจนำเสนอในเวที IFCS เพื่อสร้างความร่วมมือ • Programme Area B - GHS - Proposalความช่วยเหลือทางวิชาการจาก UNITAR ซึ่งไทยจะต้อง เตรียมการประเมินสถานการณ์ว่าจะต้องทำอะไร และidentifyเรื่องที่ ต้องการความช่วยเหลือ • Programme Area C – การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารเคมีและความเสี่ยง - Networkingการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารเคมีที่ยกเลิกการใช้ในบาง อุตสาหกรรมในบางประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ยกเลิก สารตะกั่วในอุตสาหกรรมผลิตแก้ว • Programme Area F –การขนย้ายผลิตภัณฑ์อันตรายระหว่างประเทศอย่างผิดกฎหมาย - ตัวอย่างการจัดทำพิกัดรหัสสถิติของสารเคมีในอนุสัญญา PICทำให้มี ระบบรายงานการนำเข้าและสามารถตรวจจับและการขนส่งที่ละเมิดได้
ประเด็นที่อาจนำเสนอในเวที IFCS เพื่อสร้างความร่วมมือ • การเคลื่อนย้ายกากของเสียอันตราย - กลไกการควบคุมภายใต้อนุสัญญาบาเซลไม่เพียงพอในการปกป้อง ประเทศกำลังพัฒนามิให้เป็นแหล่งรองรับกากของเสียอันตราย - ความรับผิดชอบการขนส่งสารเคมีระหว่างประเทศในประเด็นความเสียหาย และการจัดการบรรจุภัณฑ์ในลักษณะเดียวกับระเบียบ WEEE ของ สหภาพยุโรป • ระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป - Property rights on test data could be acted as barrier to trade - ความไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา POPs