160 likes | 273 Views
Impact Factor : IF. ความหมาย. คือ ค่าเฉลี่ยของจำนวนการได้รับการอ้างอิงของบทความในวารสารชื่อหนึ่ง ต่อ จำนวนบทความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้น. ความเป็นมา. ปี ค.ศ. 1960 Dr. Eugene Garfield ได้นำเสนอแนวคิดในการนำข้อมูลการอ้างอิงมาวัดคุณภาพวารสาร โดยตีพิมพ์บทความนำเสนอให้วารสาร Science เมื่อปี 1955
E N D
ความหมาย • คือ ค่าเฉลี่ยของจำนวนการได้รับการอ้างอิงของบทความในวารสารชื่อหนึ่ง ต่อ จำนวนบทความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้น
ความเป็นมา • ปี ค.ศ. 1960 Dr. Eugene Garfield ได้นำเสนอแนวคิดในการนำข้อมูลการอ้างอิงมาวัดคุณภาพวารสาร โดยตีพิมพ์บทความนำเสนอให้วารสาร Science เมื่อปี 1955 • ปี ค.ศ. 1963 เกิดฐานข้อมูล Science Citation Index เป็นการนำเสนอบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง • ปี ค.ศ. 1970 เกิดฐานข้อมูล Social Science Citation Index เป็นการนำเสนอบทความวิจัยสังคมศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง • ปี ค.ศ. 1976 เกิดบริการ Journal Citation Report, JCR นำเสนอค่า Journal Impact Factor, JIF
ความเป็นมา • ปี ค.ศ.1980 เกิดฐานข้อมูล Arts & Humanities Citation Index เป็นการนำเสนอบทความวิจัยมนุษยศาสตร์ที่มีข้อมูลการอ้างอิง • ปี ค.ศ. 1990 ISI นำเสนอข้อมูล Indicators datasets & Citation report • ปี ค.ศ. 1995 เกิดบริการแบบเว็บเบส ISI – Web of Knowledge • ปี ค.ศ. 2000 เกิดบริการ Essential Science Indicators, ESI • ปี ค.ศ. 2005 มีการเสนอหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย h index • ปี ค.ศ. 2007 มีการเสนอหน่วยวัดคุณภาพงานวิจัย Eigenfactor Metrics
หน่วยวัด คุณภาพงานวิจัยวิทยาศาสตร์ 1. Impact Factor, IF 2. H index 3. Eigenmetrics 4. Map & Research Fronts 5. Usage Statistics
หน่วยวัด คุณภาพงานวิจัยวิทยาศาสตร์ • จากหน่วยวัด 3 ค่าหลักข้างต้น ทุกๆหน่วยต่างก็ใช้ข้อมูลการอ้างอิง (citation count) เป็นสำคัญ
หลักการวัด • 1. Impact Journal Metrics- เป็นการนับจำนวนการได้รับการอ้างอิง ต่อจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (ในวารสาร)- เป็นวิธีที่ง่ายเข้าใจได้- เป็นหน่วยวัดที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในชุมชนวิจัยทั่วโลก คือค่า JIF, Immediacy index, Time half life index
หลักการวัด • 2. H Family -อยู่บนหลักการเรียงลำดับจากสูงสุดไล่เรียง ของจำนวนบทความตีพิมพ์- เป็นหน่วยวัดที่ง่าย เข้าใจได้- สามารถนำประยุกต์ได้กับทุกระดับ คือ วารสาร นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน ประเทศ • 3. Influence Metric- เป็นการให้ค่าน้ำหนักในการวัดของโครงสร้างเครือข่ายของการอ้างอิงทั้งหมด- คิดหน่วยวัดเป็น 2 ค่าหลัก คือ Eigenfactor Influence (EI) / Article Influence (AI)
วิธีการคำนวณหาค่า Journal Impact Factor • คำจำกัดความหมายถึงสัดส่วนระหว่าง จำนวนการได้รับการอ้างอิง / จำนวนบทความที่ตีพิมพ์
วิธีการคำนวณหาค่า Journal Impact Factor • แสดงวิธีการคำนวณ 2 years JIF 2007 ของวารสาร A ดังนี้ -มีจำนวนการอ้างอิงในปี 2007 ถึงบทความที่ตีพิมพ์ปี 2006 =4541 ครั้ง-มีจำนวนการอ้างอิงในปี 2007 ถึงบทความที่ตีพิมพ์ปี 2005 =5827 ครั้ง-รวม จำนวนการอ้างอิงถึงวารสาร A ช่วง 2 ปี = 10368-จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ ปี 2006 = 773 เรื่อง-จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ ปี 2005 = 837 เรื่อง-รวม จำนวนการตีพิมพ์ ของวารสาร A ช่วง 2 ปี = 1610 เรื่อง ฉะนั้น ค่า JIF- 2 years ของวารสาร A = 10368/1610= 6.440
ประเด็นที่เกิดข้อถกเถียงของค่า JIF • - Citable items ไม่มีมาตรฐานและคำจำกัดความไม่แน่ชัด- Citation Pattern ในแต่ละสาขาวิชามีความผันแปรแตกต่างกันอย่างมาก- การคิดค่า แค่ช่วงระยะเวลาเพียง 2 ปี เป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินไป- ประเภทของบทความตีพิมพ์ (Review, Research article) มีความผันแปรในการอ้างอิงแตกต่างกัน- คิดค่า JIF เฉพาะวารสารไม่มีสิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆ- เป็นการวัดที่บิดเบือนของการกระจายตัวของค่าต่างๆ
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai Journal Citation Index : TCI • จัดตั้งขึ้นโดยได้รับเงินสนับสนุนจาก สกว. • จัดตั้งที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เกณฑ์การคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI • วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • เป็นวารสารที่จัดพิมพ์อย่างต่อเนื่องทุกปี และออกตรงตามเวลาที่กองบรรณาธิการของแต่ละวารสารกำหนด • เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นภายในประเทศทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ • เป็นวารสารที่มีอายุการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี
เกณฑ์การคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI • เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทความเรื่องสั้น • เป็นบทความที่มีบทคัดย่อภาษาไทย และ หรือ ภาษาอังกฤษ • เป็นบทความที่มีเอกสารอ้างอิง • มีการตรวจสอบคุณภาพของบทความที่เสนอขอรับการตีพิมพ์โดยมีทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความอย่างน้อย 2 ท่าน • สามารถขอรับการประเมินคุณภาพผลงานโดยศูนย์ TCI ตามระยะเวลาที่เหมาะสม