50 likes | 529 Views
บทที่ 10 ภัยธรรมชาติ อุทกภัย-ภัยแล้งและผลกระทบจากปรากฏการณ์ ENSO. 10.1 นิยามและความหมาย. ภัยธรรมชาติ : เป็นพฤติกรรมของธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการตาม ธรรมชาติของโลก ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินถล่มและความแห้งแล้ง.
E N D
บทที่ 10 ภัยธรรมชาติ อุทกภัย-ภัยแล้งและผลกระทบจากปรากฏการณ์ ENSO 10.1 นิยามและความหมาย ภัยธรรมชาติ : เป็นพฤติกรรมของธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการตามธรรมชาติของโลก ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินถล่มและความแห้งแล้ง ลักษณะภัยธรรมชาติ 2 ประการ - ภัยธรรมชาติที่เกิดอย่างฉับพลัน - ภัยธรรมชาติที่เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อุทกภัย(Flood) : ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม เป็นผลมาจากฝนตกหนัก ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหรือมีขนาดมากจน เกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากพายุหมุนเขตร้อน ภัยแล้ง (Drought) : ภัยที่เกิดจากฝนตกน้อยกว่าปกติ หรือไม่ตก ตามฤดูกาลทำให้เกิดความขาดแคลนน้ำเพื่อ การอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร พื้นที่เสี่ยงภัย (Risk Area): พื้นที่ที่มีโอกาสจะ ได้รับความเสียหายจาก ภัยธรรมชาติ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผ่นดิน ถล่ม อุทกภัย วาตภัย หรือภัยจากความแห้งแล้ง
พิบัติภัยจากดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันพิบัติภัยจากดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน พฤศจิกายน 2531 อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช เสียชีวิตมากกว่า 200 ราย สิงหาคม 2542 อ.เขาคิชฌกูฏ จ. จันทบุรี เสียชีวิต 1 ราย พฤษภาคม 2544 อ.วังชิ้น จ.แพร่ เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย สิงหาคม 2544 อ.หล่มสัก จ.เพชรบรูณ์ เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย
อุทกภัย (flood) หมายถึง สภาวะที่น้ำไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำ ลำธารหรือทางน้ำ ท่วมพื้นที่ที่โดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำหรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ ซึ่งระบายออกไม่ทัน ทำให้พื้นที่ปกคลุมไปด้วยน้ำ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) เป็นสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นและลดลงอย่างฉับพลันอันเนื่องจากฝนที่ตกหนัก ในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันมากและมีคุณสมบัติในการในการเก็บกักหรือต้านน้ำน้อย น้ำท่วมฉับพลันมักเกิดขึ้นหลังฝนตกหนักไม่เกิน 6 ชั่วโมง และมักเกิดบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจไม่มีฝนตกหนักในบริเวณนั้นมาก่อน แต่มีฝนตกหนักมากในบริเวณต้นน้ำที่อยู่ห่างออกไปทำให้เกิดน้ำท่วม