1 / 49

427-303 Sociological Theories

427-303 Sociological Theories. 8 มิถุนายน 2552 13.00-1450 19101. แนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎีสังคมวิทยา. ค้นคว้า ทบทวน จากที่เรียนมา. Knowledge management. ทฤษฎีระดับกลาง (Middle Range Theories). functional. กระบวนการเรียนรู้. conflict. ส่งเป็นผลงาน. topic. symbolic. exchange.

tamyra
Download Presentation

427-303 Sociological Theories

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 427-303 Sociological Theories 8 มิถุนายน 2552 13.00-1450 19101

  2. แนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎีสังคมวิทยาแนวคิดพื้นฐานทางทฤษฎีสังคมวิทยา

  3. ค้นคว้า ทบทวน จากที่เรียนมา Knowledge management ทฤษฎีระดับกลาง (Middle Range Theories) • functional กระบวนการเรียนรู้ • conflict ส่งเป็นผลงาน topic • symbolic • exchange • phenomenology กลุ่มนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ คำแนะนำจากผู้สอน Review จากผลการศึกษา วิจัย Empirical generalization

  4. ลักษณะของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ลักษณะของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ โดยทั่วไป ทฤษฎีวิทยาศาสตร์เป็นทฤษฎีขนาดกลาง (middle range theory) มีลักษณะสำคัญ

  5. ลักษณะของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ลักษณะของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ 1.มีสังกัป (concept) จำนวนจำกัด 2. คำอธิบายเป็นไปตามหลักเหตุผล (logic) 3. แต่ละทฤษฎีเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ (สังกัปผล)

  6. ทฤษฎีสังคมศาสตร์ ทฤษฎีสังคมศาสตร์ (social science theories) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง มีลักษณะทั่วไปเช่นเดียวกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์

  7. ทฤษฎีสังคมวิทยา ทฤษฎีสังคมวิทยา (sociological theories) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์และทฤษฎีสังคมศาสตร์สาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ทางสังคมหรือความสัมพันธ์ระหว่างคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งภายนอก

  8. ประเภทของทฤษฎีสังคมวิทยาประเภทของทฤษฎีสังคมวิทยา 1. ทฤษฎีมหภาค (grand theories) 2. ทฤษฎีขนาดกลาง (middle range theories) 3. หลักทั่วไปเชิงประจักษ์ (empirical generalization)

  9. 1. ทฤษฎีมหภาค (grand theories) เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ มีสังกัปแต่ละทฤษฎีเป็นจำนวนมาก มีลักษณะเป็นคำบรรยาย (discursive) เรื่องราวหรือความรู้เรื่องต่างๆ เช่น เรื่องสังคมมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ชนชั้นทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม ปัญหาสังคม เป็นต้น

  10. ทฤษฎีมหภาคทางสังคมวิทยา มี 5 ทฤษฎี • 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม (structural-functional) • 2.ทฤษฎีขัดแย้ง (conflict theory) • 3.ทฤษฎีปริวรรตนิยม (exchange theory) • 4.ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (symbolic interactionism) • 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (phenomenology)

  11. 2. ทฤษฎีขนาดกลาง (middle range theories) เป็นทฤษฎีขนาดย่อม มีสังกัปจำนวนจำกัด โดยทั่วไปจะมีสังกัปผลหนึ่งตัว สังกัปเหตุหลายตัว เพราะนักสังคมศาสตร์เชื่อว่า ผลอย่างหนึ่งมาจากเหตุหลายอย่าง จึงสร้างทฤษฎีขนาดกลางขึ้นให้มีตัวผลหนึ่งตัว ตัวเหตุหลายตัว

  12. 3. หลักทั่วไปเชิงประจักษ์ (empirical generalization) ทฤษฎีประเภทนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นแต่เพียงประพจน์หนึ่งของทฤษฎีขนาดกลางเท่านั้น (proposition) แต่เป็นประพจน์ที่ยังไม่มีทฤษฎีสังกัด มีฐานะเป็นสมมติฐานการวิจัยที่ได้รับการพิสูจน์ความถูกต้องมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงมีชื่อว่าหลักทั่วไปเชิงประจักษ์

  13. 3. หลักทั่วไปเชิงประจักษ์ (empirical generalization) ตัวอย่างของทฤษฎีประเภทนี้ดูได้จากประพจน์ในทฤษฎีขนาดกลาง เช่น 3.1 การรับนวัตกรรมขึ้นอยู่กับความรู้จักนวัตกรรมนั้น 3.2 การรับนวัตกรรมขึ้นอยู่กับความสามารถรับนวัตกรรมนั้น 3.3 การรับนวัตกรรมขึ้นอยู่กับความเต็มใจรับนวัตกรรมนั้น

  14. ทฤษฎีกับการวิจัย Abstract theoretical structure Formulation of concepts and proposition High-level proposition Low-level proposition Generalization of empirical data Deductive Inductive Data Analysis Hypothesis Data transformation Measurement Instrumentation Observation

  15. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม 1.1 เนื้อหาและประพจน์ 1.2 ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา 1.3 นักทฤษฎีสำคัญ 1.4 สังกัปสำคัญ 1.5 ระเบียบวิธีวิจัย

  16. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม มีฐานคติสำคัญ (Basic Assumptions) ว่า สังคมเป็นเสมือนสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง สิ่งมีชีวิตนี้จะมีส่วนประกอบหลายอย่าง แต่ละอย่างมีหน้าที่เฉพาะจะต้องปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของส่วนสังคมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นของสังคมรวมกันเข้าก็เป็นโครงสร้างของสังคม

  17. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา Utilitarianism อรรถประโยชน์นิยม สิ่งใดๆ ที่ปรากฎอยู่แปลว่า มันมีประโยชน์ในที่นี้ใช้ในความหมายเดียวกับ หน้าที่นิยม (functionalism) Positivism ปฏิฐานนิยม ลัทธิที่เชื่อว่าความเป็นจริงมีเท่าที่ทดลองได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวมองเห็น จับต้องได้ Realism สัจนิยม สิ่งสากลมีอยู่จริง การรับรู้ของมนุษย์มีเป้าหมายตรงกับความเป็นจริง ตรงข้ามกับอุดมคติเชิงจิตวิสัย (subjective idealism) ซึ่งเชื่อว่า สรรพสิ่งมีอยู่ที่จิต โลกเป็นเพียงมโนภาพในจิต

  18. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม สาระสำคัญ 1.สังคมทุกสังคมจะต้องมีโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 2.แต่ละหน่วยต่างทำหน้าที่ประสานกัน 3.แต่ละหน่วยต่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อความคงอยู่ของสังคม 4.แต่ละหน่วยต่างยึดระบบค่านิยมเป็นแนวในการปฏิบัติหน้าที่

  19. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม นักทฤษฎีสำคัญ ออกัสต์ ก๊องต์ (August Comte) เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) อีมิล เดอร์ไคว์ม (Emile Durkheim) บรอนนิสลอส มาสลินนอฟสกิ (Bronislow Maslinowski) เอ.อาร์.เรดคริฟฟีบราวน์ (A.R. Radcliffee-Brown) ทาลคอต พาร์สัน (Talcott Parsons) อามิไต เอทซิโอนิ (Amitai Etzioni)

  20. 1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม1.ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่นิยม ระเบียบวิธีวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะกับทฤษฎีนี้ คือ การทดลอง (experiment) และการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)

  21. ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization) 1.ทฤษฎีภาวะทันสมัยและทฤษฎีระบบราชการของ Max Weber และทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่และทฤษฎีภาวะทันสมัยของ Talcott Parsons 2.ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่และทฤษฎีภาวะทันสมัยของ Gabriel Almond 3.ทฤษฎีภาวะทันสมัยของ Samuel Huntingtun 4.ทฤษฎีการวิเคราะห์ระบบของ David E.Apter 5.ทฤษฎีการวิเคราะห์การเข้าระดมทางสังคมกับการพัฒนาทางการเมืองของ Karl Deutsch

  22. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง 2.1 เนื้อหาและประพจน์ 2.2 ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา 2.3 นักทฤษฎีสำคัญ 2.4 สังกัปสำคัญ 2.5 ระเบียบวิธีวิจัย

  23. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง มีฐานคติสำคัญว่า สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่มีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนในสังคม ส่วนกลุ่ม เรียกว่า กลุ่ม “มี” กับกลุ่ม “ไม่มี” กลุ่มมีเป็นกลุ่มเล็กแต่มีเงิน มีอำนาจหรือเกียรติยศสูงในสังคม จึงสามารถควบคุมหรือบีบบังคับ บางครั้งเอารัดเอาเปรียบกลุ่มไม่มี ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่แต่ไม่มีเงินหรืออำนาจมาต่อรอง สังคมมีระเบียบ ยึดเหนี่ยวกันเป็นสังคมอยู่ได้ก็เพราะการควบคุมบีบบังคับเช่นนี้

  24. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา Dialectic วิภาษวิธี สิ่งใด ๆ ประกอบด้วยสามส่วน Thesis- antithesis synthesis ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งนั้นๆ อยู่เสมอ Structuralism โครงสร้างนิยม สิ่งใดๆ ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆ แต่ละส่วนมีอิทธิพลต่อกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่ง ย่อมก่อผลกระทบไปยังอีกส่วนหนึ่ง Realism สัจนิยม สิ่งสากลมีอยู่จริง Materialism วัตถุนิยม วัดค่าสิ่งใดด้วยวัตถุหรือเงิน

  25. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง สาระสำคัญ 1.ทุกหน่วยของสังคมอาจเปลี่ยนแปลงได้ 2.ทุกหน่วยของสังคมเป็นบ่อเกิดของการขัดแย้ง 3.ทุกหน่วยของสังคมมีส่วนส่งเสริมความไม่เป็นปึกแผ่นและการเปลี่ยนแปลง 4.ทุกสังคมจะมีคนกลุ่มหนึ่งควบคุมบังคับคนอีกกลุ่มหนึ่งให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม

  26. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง นักทฤษฎีสำคัญ จอร์จ เฮเกล (George Hegel) คาร์ล มากซ์ (Karl Mark) เอฟ. เอ็นเจลส์ (F. Engels) ราฟ ดาห์เรนดอฟ (Ralf Dahrendor) เดวิด ล๊อควูด (David Lockwood)

  27. 2. ทฤษฎีขัดแย้ง ระเบียบวิธีวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยสังคมของทฤษฎีขัดแย้งวิธีหลักก็คือ การวิจัยเอกสาร (documentary research) ผสมผสานกับการวิจัยวิธีอื่น เช่น การสังเกตการณ์โดยไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) รวมทั้งการวิจัยโดยไม่เปิดเผยตัว (unobtrusive research) การวิจัยสังคมของทฤษฎีนี้ต้องอิงทฤษฎีค่อนข้างมาก คือ การมองสังคมในฐานะเป็นปรากฏการณ์ของการขัดแย้งที่ก่อทั้งผลกระทบทางบวก เช่น ทำให้กลุ่มขัดแย้งแต่ละกลุ่มรวมตัวกันเหนียวแน่นขึ้น เพื่อต่อสู้กันอีกกลุ่มหนึ่ง ส่วนผลเสียก็ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้ การวิจัยก็จะต้องเก็บข้อมูลมาสนับสนุนทฤษฎี

  28. ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependency) 1.ทฤษฎีพึ่งพิงของ Guner Frank 2.ทฤษฎีพึ่งพิงของ Fernado Cordoso 3.ทฤษฎีพึ่งพิงของ Gabriel Palma 4.ทฤษฎีพึ่งพิงของ Dos Santos

  29. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน 3.1 เนื้อหาและประพจน์ 3.2 ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา 3.3 นักทฤษฎีสำคัญ 3.4 สังกัปสำคัญ 3.5 ระเบียบวิธีวิจัย

  30. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน มีฐานคติสำคัญว่า มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการอะไรหลายอย่างในชีวิต แต่ตัวเองไม่สามารถจะสนองความต้องการของตนเองด้วยตนเองทั้งหมดได้ จะต้องอาศัยผู้อื่นมาช่วยสนองความต้องการเหล่านั้นด้วยจึงจะครบ นอกจากนั้นมนุษย์แต่ละคนยังต้องการผลตอบแทนจากการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ระหว่างกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

  31. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เนื่องจากมนุษย์ต้องการสิ่งต่าง ๆ จากผู้อื่น จึงต้องเข้าสู่สัมพันธ์หรือติดต่อกับผู้อื่นและเนื่องจากแต่ละคนต้องการผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุดจากสิ่งที่ตนนำไปแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น จึงจำต้องสร้างกฏเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนในการแลกเปลี่ยนที่ดีมีความยุติธรรมขึ้น ความต้องการกันและกันจึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกัน กฎ ระเบียบที่ร่วมกันสร้างขึ้นจะควบคุมความประพฤติของกันและกัน กฎ ระเบียบนี้อำนวยประโยชน์สูงสุดจะช่วยรักษาสัมพันธ์ภาพให้ดำรงอยู่ได้นานและมั่นคง

  32. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา Utilitarianism อรรถประโยชน์นิยม ผ่านมาทางสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ Functionalism การหน้าที่นิยม ผ่านมาทางสาขาวิชามานุษยวิทยา Voluntarism เจตจำนงนิยม สมัครใจนิยม ผ่านมาทางสาขาวิชาจิตวิทยาพฤติกรรม

  33. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน สาระสำคัญ 1.มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการจำเป็น(needs) หลายอย่างในการดำรงชีวิต 2.มนุษย์ติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อสนองความต้องการจำเป็นของตน 3.ในการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน แต่ละคนต้องการมูลค่าสูงสุดสำหรับสิ่งของของตน 4.ความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนจะดำรงอยู่ตราบที่คู่สัมพันธ์คิดว่าตนได้กำไรหรือคิดว่าการแลกเปลี่ยนมีความยุติธรรม

  34. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน นักทฤษฎีสำคัญ บี.มาลินอปสกี้ (B. Malinowski) จี.โฮมานส์ (G. Homans) เอ็ม. มอสส์ (M. Mauss) ซี.เลวี สตรวสส์ (C. Levi-Strauss) พี.เบลา (P. Blau)

  35. 3. ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลมาพิสูจน์สมมุติฐานของทฤษฎีการแลกเปลี่ยนเป็นได้ตั้งแต่การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจหรือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปของการสังเกตทั้งการสังเกตุโดยมีส่วนร่วม (participant observation) และการสังเกตโดยไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation)

  36. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ 4.1 เนื้อหาและประพจน์ 4.2 ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา 4.3 นักทฤษฎีสำคัญ 4.4 สังกัปสำคัญ 4.5 ระเบียบวิธีวิจัย

  37. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ ฐานคติสำคัญว่า มนุษย์ติดต่อกัน (หรือเรียกว่ามีการกระทำระหว่างกันก็ได้) โดยอาศัยสัญลักษณ์เป็นสื่อที่ทำให้เกิดความเข้าใจ สัญลักษณ์ต่างกับสัญญาณ (signal) ซึ่งมีความหมายอย่างเดียว เช่น สัญญาณไฟจราจร สิ่งคง-ห้ามไป แต่สัญลักษณ์แต่ละอันจะมีความหมายได้หลายอย่าง

  38. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา Symbolism สัญลักษณ์นิยม สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่ใช้แทนสิ่งอื่นได้หลายอย่าง การเข้าใจสัญลักษณ์อย่างหนึ่งต้องอาศัยการตีคามจากความหมายที่ตกลงกันทั่วไป และบริบทขณะนั้น Voluntarism เจตจำนงนิยม มนุษย์มีเสรีที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใดได้ Realism สัจนิยมสิ่งกังวลมีอยู่จริงในโลก

  39. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ สาระสำคัญ 1.มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักใช้สัญลักษณ์ 2.มนุษย์ใช้สัญลักษณ์สร้างบำรุงรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม 3.มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ สร้าง บำรุงรักษาและพัฒนาวัฒนธรรม 4.มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้มนุษย์รุ่นหลัง

  40. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ นักทฤษฎีสำคัญ จี.เอส.มีด (G.H. Mead) จี.ซิมเมจ (G. Simmel) ดับบลิว.เจมส์ (W. James) ซี.เอส.คูลเลย์ (C.H. Cooley) เจ.เอ็ม บาลวิน (J.M. Balwin) เจ.ดิววี (J. Dewey) ดับบลิว.ไอ.โทมัส (W.I. Thomas)

  41. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ ระเบียบวิธีวิจัย แม้ว่า ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์จะถูกจัดเป็นทฤษฎีสังคมระดับจุลภาค (micro level) แต่เนื้อหาของทฤษฎีก็สามารถขยายไปใช้กับสังคมมนุษย์ดังที่ทราบ การวิจัยสังคมของทฤษฎีนี้จึงนิยมมีสมมติฐานไว้ล่วงหน้าก่อนออกภาคสนามแล้วเก็บข้อมูลมาพิสูจน์สมมุติฐาน เช่นเดียวกับทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม

  42. 4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์4.ทฤษฎีการกระทำด้วยสัญลักษณ์ ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลของทฤษฎีนี้คือ การสังเกตการณ์ทั้งที่มีส่วนร่วม (participant observation) และไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) รวมทั้งการสังเกตโดยไม่เผยตัว (unobtrusive research) ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้อาจรวมเรียกว่าวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ[1] [1]ดู งามพิศ สัตยสงวน การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา

  43. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา 5.1 เนื้อหาและประพจน์ 5.2 ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา 5.3 นักทฤษฎีสำคัญ 5.4 สังกัปสำคัญ 5.5 ระเบียบวิธีวิจัย

  44. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา มีฐานคติสำคัญว่า มนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายต่าง ๆ ในสังคม สร้างความแท้จริงในสังคม นั่นคือ กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในสังคมแล้วทำความเข้าใจร่วมกันและยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการกระทำระหว่างกัน หรือดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันตามแนวความคิดนี้ มนุษย์จึงเป็นตัวสำคัญ เป็นตัวการให้เกิดสิ่งที่ เรียกว่า โครงสร้างสังคม แต่โครงสร้างสังคมที่มนุษย์เองเป็นคนสร้างขึ้นนั้นภายหลังที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ก็อาจมีผลเป็นตัวบังคับเป็นตัวแบบให้มนุษย์ต้องปฏิบัติตามได้ โครงสร้างสังคมจึงไม่ใช่เป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาก่อนอย่างทฤษฎีอื่น แต่เป็นสิ่งที่ตามมาทีหลัง มนุษย์เป็นผลผลิตของมนุษย์

  45. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา ความคิดพื้นฐานทางปรัชญา Phenomenology ปรากฎการณ์นิยม ปรากฎการณ์หนึ่งใดจะมีความหมายอย่างใดย่อมแล้วแต่คนจะมอง คนแต่ละชุมชนหรือเผ่าชน หรือสังคมจะสร้างโลก (ความหมาย ความจริง) ของตนขึ้นมาแล้วดำเนินชีวิตตามแนวที่ตนสร้างขึ้น ดังนั้นจะรู้ว่าสังคมใดมีลักษณะอย่างไร หรือจะเข้าใจสังคมใด จะต้องไปมองสังคมนั้นด้วยสายตามของคนในสังคมนั้น

  46. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา เนื้อหาสาระ สังคมมีลักษณะอย่างไร มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง ส่วนไหนสำคัญ หรือไม่สำคัญ สำคัญอย่างไร ส่วนไหนสำคัญกว่าส่วนไหน ย่อมขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของคนที่อยู่ในสังคมนั้น

  47. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา นักทฤษฎีสำคัญ อัลเฟรด ซุทส์ (Alfred Schutz) ปีเตอร์ เบอร์เกอร์ (Peter Berger) ฮาร์โรลว์ กาฟิงเกล (Harold Garfinkel) โทมัส ลักซ์มานด์ (Thomas Luckmann) เอ็ดมันด์ ฮัสเซิร์ล (Edmund Husserl)

  48. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา ระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยาเป็นทฤษฎีระดับจุลภาค (micro level) การเก็บข้อมูลวิจัยจึงเป็นการสังเกตการณ์ ชีวิตของคน ชุมชน หรือองค์การที่เขาศึกษา ทฤษฎีมีวิธีการวิจัยโดยเฉพาะของทฤษฎีเรียกว่า มานุษยวิธี (ethno methodology) ซึ่งเป็นวิธีการสังกตุการณ์ชุมชนที่ศึกษาโดยทั่วไปนั่นเอง แต่มีวิธีการเฉพาะที่ทำในมานุษยวิธี คือ การทำให้ชีวิตปกติหยุดชะงักลงชั่วขณะ เพื่อให้คนในชุมชนได้คิดว่า ชีวิตปกติของเขาเป็นอย่างไร ทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น นักวิจัยก็จะได้เรียนรู้จากชาวบ้านที่ตนศึกษาว่า สิ่งต่างๆในชีวิตของเขามีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วทำเป็นดรรชนีของเรื่องต่างๆ หรืออีกวิธีหนึ่ง คื อการวิเคราะห์การสนทนาของผู้คนที่ตนศึกษาว่ามีความหมายว่าอะไร เป็นอย่างไร แล้วจับมาประมวลเป็นเรื่องราวชีวิตสังคมของชุมชนที่ศึกษา รายงานวิจัยถือเป็นกรณีศึกษา ไม่ต้องการสร้างหลักทั่วไป (empirical generalization) เหมือนทฤษฎีอื่น

  49. 5.ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยา ระเบียบวิธีวิจัย ทฤษฎีปรากฎการณ์วิทยาเป็นทฤษฎีระดับจุลภาค (micro level) การเก็บข้อมูลวิจัยจึงเป็นการสังเกตการณ์ ชีวิตของคน ชุมชน หรือองค์การที่เขาศึกษา ทฤษฎีมีวิธีการวิจัยโดยเฉพาะของทฤษฎีเรียกว่า มานุษยวิธี (ethno methodology) ซึ่งเป็นวิธีการสังกตุการณ์ชุมชนที่ศึกษาโดยทั่วไปนั่นเอง แต่มีวิธีการเฉพาะที่ทำในมานุษยวิธี คือ การทำให้ชีวิตปกติหยุดชะงักลงชั่วขณะ เพื่อให้คนในชุมชนได้คิดว่า ชีวิตปกติของเขาเป็นอย่างไร ทำไมจึงต้องเป็นเช่นนั้น นักวิจัยก็จะได้เรียนรู้จากชาวบ้านที่ตนศึกษาว่า สิ่งต่างๆในชีวิตของเขามีอะไรบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วทำเป็นดรรชนีของเรื่องต่างๆ หรืออีกวิธีหนึ่ง คือการวิเคราะห์การสนทนาของผู้คนที่ตนศึกษาว่ามีความหมายว่าอะไร เป็นอย่างไร แล้วจับมาประมวลเป็นเรื่องราวชีวิตสังคมของชุมชนที่ศึกษา รายงานวิจัยถือเป็นกรณีศึกษา ไม่ต้องการสร้างหลักทั่วไป (empirical generalization) เหมือนทฤษฎีอื่น

More Related