1.09k likes | 2.32k Views
Production and Operation Management. การจัดการผลิตและการปฏิบัติการ. CHAPTER 1 บทนำ การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ Introduction to Production and Operation Management. หน้าที่หลัก 3 ประการ ของการจัดองค์การเพื่อผลิตสินค้าหรือบริกา ร. ด้านการตลาด ( Marketing )
E N D
Production and Operation Management การจัดการผลิตและการปฏิบัติการ
CHAPTER 1บทนำการบริหารการผลิตและการปฏิบัติการIntroduction to Production and Operation Management
หน้าที่หลัก 3 ประการของการจัดองค์การเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ • ด้านการตลาด (Marketing) • เป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ที่เกิดขึ้นของลูกค้า • ด้านการผลิต (Production) และการปฏิบัติการ (Operation) • เป็นการแปรสภาพทรัพยากรการผลิต ให้ออกมาเป็นสินค้าหรือบริการ • ด้านการเงิน (Financing) และการบัญชี (Accounting) • เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุน การใช้เงินทุน การรวบรวมวิเคราะห์ ตลอดจนการรายงานข้อมูลทางการเงิน
การผลิตและการปฏิบัติการการผลิตและการปฏิบัติการ การผลิต (Production) หมายถึง การสร้างสินค้าและบริการ การปฏิบัติการ (Operation) หมายถึง กระบวนการภายในองค์การที่ใช้ปัจจัยนำเข้า (Input) เช่น คน เงินทุน วัตถุดิบ และแปรรูปให้กลายเป็นปัจจัยนำออก (Output) ในรูปของสินค้าและบริการ การบริหารการผลิต (Production Management) เป็นการวางแผนและการตัดสินใจเพื่อการผลิตสินค้า
ตัวอย่างของประเภทของการผลิตตัวอย่างของประเภทของการผลิต ที่มา : ดัดแปลงจาก William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 7.
การบริหารการปฏิบัติการ (Operation Management : OM) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ (Service) โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Transformation) จากปัจจัยนำเข้า เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) หรือเป็นการออกแบบ (Design) การปฏิบัติการ (Operations) และการปรับปรุงระบบการผลิต (Production system improvement) ระบบการผลิต (Production system) เป็นระบบซึ่งเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้า(Input) ออกมาเป็นกลุ่มของปัจจัยนำออก (Output) ตามที่ต้องการ
การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operation management : POM) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดแนวทางปฏิบัติ และควบคุมกระบวนการแปรรูป (transformation process) ปัจจัยนำเข้า (input) หรือทรัพยากรการดำเนินงานให้เป็นผลลัพธ์ (output) ออกมาในรูปแบบของสินค้า และ/หรือบริการ อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์การ
การผลิตและการดำเนินงานการผลิตและการดำเนินงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือทรัพยากรขององค์การที่ใช้ผลิตทั้งที่เป็น - สินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) เช่น วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ และ - สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) เช่น แรงงาน ระบบการจัดการ ข่าวสาร ทรัพยากรที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติและประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสม และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เพื่อให้สินค้าสำเร็จรูปสามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ในท้องตลาด
2. กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) • เป็นขั้นตอนที่ทำให้ปัจจัยนำเข้าที่ผ่านเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้แก่ • - รูปลักษณ์ (Physical) โดย การผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน- สถานที่ (Location) โดย การขนส่ง การเก็บเข้าคลังสินค้า- การแลกเปลี่ยน (Exchange) โดย การค้าปลีก การค้าส่ง- การให้ข้อมูล (Informational) โดย การติดต่อสื่อสาร- จิตวิทยา (Psychological) โดย การนันทนาการ ฯลฯ • 3. ผลผลิต (Output) • เป็นผลได้จากระบบการผลิตที่มีมูลค่าสูงกว่าปัจจัยนำเข้าที่รวมกันอันเนื่อง มาจากที่ได้ผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ผลผลิตแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สินค้า (Goods) และบริการ (Service) ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันหลายประการ
การผลิต/บริการคือกระบวนการแปลงสภาพการผลิต/บริการคือกระบวนการแปลงสภาพ Transformation process OUTPUT INPUT วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน การจัดการ เงินทุน Feedback สินค้า หรือบริการ
คุณลักษณะของการผลิตสินค้าคุณลักษณะของการผลิตสินค้า • สามารถนำมาขายซ้ำได้ • มีการจัดเก็บเป็นสินค้าคงคลังได้ • คุณภาพของสินค้าสามารถวัดได้ • การผลิตแยกออกจากการขาย • สามารถทำการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ • ทำเลที่ตั้งของการผลิตมีผลต่อต้นทุนผลิต • มักง่ายต่อการผลิตแบบอัตโนมัติ • ก่อให้เกิดรายได้ โดยพื้นฐานจากการขายที่มีตัวตนและจับต้องได้
คุณลักษณะของการบริการคุณลักษณะของการบริการ • ไม่สามารถนำมาขายซ้ำได้ • ไม่สามารถจัดเก็บเป็นสินค้าคงคลังได้ • คุณภาพของบริการบางลักษณะยากที่จะสามารถวัดได้ • การขายเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ • เป็นเรื่องของการจัดหา ไม่มีตัวสินค้าจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง • ทำเลที่ตั้งของการบริการมีความสำคัญในการติดต่อกับลูกค้า • มักจะยากต่อการดำเนินการแบบอัตโนมัติ • ก่อให้เกิดรายได้ โดยพื้นฐานจากการขายที่ไม่มีตัวตนและจับต้องไม่ได้
การบริหารการผลิตและการดำเนินการการบริหารการผลิตและการดำเนินการ • เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคุณค่าในรูปของสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยกระบวนการแปรสภาพ INPUTให้ออกมาเป็น OUTPUT • คุณค่า : ลูกค้าต้องการจากการใช้งานหรือประโยชน์ • มูลค่า : ลูกค้าเป็นผู้จ่ายเงินตามมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ของ • ประโยชน์หลัก หรือคุณค่านั้น ปัจจัยนำเข้า MAN MONEY MATERIAL METHOD MACHINE MANAGEMENT
ส่วนประกอบของระบบการผลิต (ภาพรวม)
วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิตวัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต การบริหารการผลิตเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจและองค์การอันมี พันธกิจ (Mission) คือผลกำไรที่ทำให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว เมื่อมีการแยกพันธะกิจออกเป็นวัตถุประสงค์ของแต่ละหน้าที่หลักจะพบว่า ฝ่ายการตลาด : วัตถุประสงค์หลัก คือ การขยายตัวของส่วนแบ่งตลาด (Market Share) และความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)ฝ่ายการเงิน : วัตถุประสงค์หลักคือ ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ (Liquidity)ฝ่ายการผลิต : วัตถุประสงค์หลัก คือ คุณภาพ (Quality) และผลิตภาพ (Productivity)แต่แม้คุณภาพและผลิตภาพคือหัวใจของการผลิต
วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการผลิตมีดังนี้วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการผลิตมีดังนี้ 1. การสร้างคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับคุณภาพที่กำหนดได้ 2. การมีระดับต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแสดงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การมีความสามารถที่จะส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลาที่กำหนดแก่ลูกค้า 4. การมีความยืดหยุ่นที่จะปรับปริมาณการผลิตให้เพียงพอกับความ ต้องการของลูกค้าและสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
คุณภาพ (Quality) เป็นวัตถุประสงค์หลักของการผลิตที่สำคัญที่สุด เพราะการที่ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ย่อมต้องการสิ่งที่ตรงกับความคาดหมายของเขา หรือถ้าได้ในสิ่งที่เหนือกว่าความคาดหมายก็ยิ่งพอใจมากขึ้น คุณภาพครอบคลุมความหมายถึงประโยชน์ใช้สอย รูปร่างลักษณะที่ดึงดูดใจ คุณค่าทางจิตใจที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ผลิตภาพ (Productivity) เป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของการบริหารการผลิต เพราะผลิตภาพคือการเปรียบเทียบระหว่างปริมาณของปัจจัยนำเข้าและปริมาณของผลผลิตจากระบบการผลิต ผลิตภาพ = ผลผลิต / ปัจจัยนำเข้า
อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ(Productivity growth) อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพ = (ผลิตภาพของปีปัจจุบัน – ผลิตภาพของปีก่อนหน้า) ผลิตภาพของปีก่อนหน้า ตัวอย่าง ถ้าผลิตภาพเพิ่มจาก 100 ไปเป็น 120 ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเป็น (120-100) / 100 = 0.20 หรือ 20%
การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพเป็นสิ่งที่ผู้บริหารการผลิตให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะสามารถทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยทั้งในด้านค่าแรงหรือค่าใช้จ่ายใน การบริหารงานลดลง อันจะช่วยให้การแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งอื่นทำได้ง่ายขึ้น หรือทำให้ผลกำไรขององค์การสูงขึ้น การเพิ่มผลิตภาพทำได้หลายวิธีคือ 1. Efficientคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ปัจจัยนำเข้าเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2. Downsizeคือ ผลผลิตเท่าเดิมแต่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง 3. Expandคือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเร็วกว่า การเพิ่มขึ้นของปัจจัยนำเข้า 4. Retrench คือ ผลผลิตลดลงแต่ช้ากว่าการลดลงของปัจจัยนำเข้า 5. Breakthroughs คือ ผลผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ใช้ปัจจัยนำเข้าลดลง
สาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพสาเหตุการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ • การเปลี่ยนแปลงของผลผลิต การเพิ่มขึ้นของผลผลิตมีผลจากการใช้เทคโนโลยีในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันต้องระมัดระวังไม่ให้คุณภาพของผลผลิตลดลง เพราะการลดต้นทุนอาจจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าและบริการได้ • การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนำเข้า อาจมีผลต่อผลิตภาพโดยตรง 3 ประเภท - แรงงาน การที่ผลผลิตภาพจะเพิ่มขึ้นได้ต้องอาศัยแรงงานที่มีฝีมือและความรู้ - เงินทุน เป็นการจัดสรรเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนแรงงานคน ดังนั้นจึงควรมี • การพิจารณาให้เหมาะสม - การจัดการ เป็นตัวประสานการใช้แรงงานและเงินทุน ให้อยู่ในสัดส่วนที่ทำ • ให้เกิดประสิทธิภาพและมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น
EX. บริษัท ASEA TECH เป็นบริษัทขนาดย่อม ต้องเพิ่มต้นทุนเป็น 2 เท่า เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนคงที่ และสามารถทำกำไรให้เพียงพอที่จะซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ • ฝ่ายบริหารคาดการณ์ว่า หากบริษัทไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร ก็จะไม่สามารถซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่และอุปกรณ์การผลิตได้ โดยข้อจำกัดอยู่ที่กำลังการผลิตของเครื่องจักรเก่า ทำให้พนักงานต้องถูกให้ออกจากงาน กิจการต้องหยุดผลิตสินค้า • สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยมีทางเลือกในการตัดสินใจดังนี้ • เพิ่มยอดขาย 50% • ลดต้นทุนการเงิน 50% • ลดต้นทุนการผลิต 20%
การเพิ่มผลผลิตทางวิทยาศาสตร์การเพิ่มผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มผลผลิต = ผลิตผล ปัจจัยการผลิต การวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Measurement) • การเพิ่มผลผลิตโดยรวม = ผลิตผล (Total Productivity) แรงงาน + ทุน + วัตถุดิบ
การวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Measurement) • การเพิ่มผลผลิตบางส่วน(Partial Productivity) • การเพิ่มผลผลิตแรงงาน = ผลผลิต (Labor Productivity)แรงงาน • การเพิ่มผลผลิตทุน = ผลผลิต (Capital Productivity) ทุน • การเพิ่มผลผลิตวัตถุดิบ = ผลผลิต (Material Productivity) วัตถุดิบ
EX. บริษัทแห่งหนึ่ง มีพนักงาน 4 คน แต่ละคนทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน (ค่าแรง 640 บาทต่อวัน) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 400 บาทต่อวัน บริษัททำการทำการประมวลผลข้อมูลและปิดงานวันละ 8 รายการ ไม่นานมานี้บริษัทได้ทำการซื้อระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลได้วันละ 14 รายการต่อวัน ถึงแม้ว่าพนักงานจะมีจำนวนชั่วโมงการทำงานและการจ่ายเงินเช่นเดียวกัน แต่ทางบริษัทก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 800 บาทต่อวัน
ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ • การผลิตตามคำสั่งซื้อ (Made-to-order) • เป็นการผลิตที่คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย การเตรียมการผลิตและวัตถุดิบที่ต้องการจะใช้ตลอดจนกระบวนการผลิตจึงไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องเป็นแบบอเนกประสงค์ และผู้ผลิตต้องมีความสามารถและความชำนาญหลายอย่าง เพื่อทำการผลิตสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ • ตัวอย่างของการผลิตตามคำสั่งซื่อได้แก่ การตัดเย็บชุดวิวาห์ การรับสร้างบ้านบนที่ดินของลูกค้า การทำผม
การผลิตเพื่อรอจำหน่าย (Made-to-stock) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นมาตรฐานเดียวกันตามความต้องการของ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายการจัดหาวัตถุดิบและการเตรียมกระบวนการผลิตสามารถทำได้ล่วงหน้า เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นเครื่องมือเฉพาะงานและผู้ผลิตถูกอบรมมาเพื่อทำงาน ตามหน้าที่เฉพาะอย่าง • ตัวอย่างเช่น การผลิตสบู่ การผลิตรถยนต์ การผลิตเสื้อผ้าเครื่องแบบนักเรียน ฯลฯ
การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อ (Assembly-to-order) • เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่จะประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปได้หลายชนิด ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านั้นจะมีลักษณะแยกออกเป็นส่วนจำเพาะหรือโมดูล (Module) โดย ผลิตโมดูลรอไว้ก่อน เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจึงทำการประกอบโมดูลให้เป็นสินค้าตามลักษณะ ที่ลูกค้าต้องการ และแต่งเติมรายละเอียดให้สินค้าสำเร็จรูปมีความแตกต่างกันไปตามความต้องการ ของลูกค้าเฉพาะราย • ตัวอย่างเช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หลายรุ่นที่มีการใช้อะไหล่เหมือนกัน
ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต • การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ราคาแพง และมีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย เช่น • - การสร้างเขื่อน • - การสร้างทางด่วน • - การต่อเรือดำน้ำ • - การต่อเครื่องบิน • การผลิตแบบโครงการมักมีปริมาณการผลิตต่อครั้งน้อยมากหรือผลิตครั้งละชิ้นเดียวและใช้เวลานาน
ประเภทของการผลิต แบ่งตามลักษณะของระบบการผลิตและปริมาณการผลิต • การผลิตแบบโครงการ (Project Manufacturing) ต่อ • การผลิตจะเกิดขึ้นที่สถานที่ตั้งของโครงการ (Site) เมื่อเสร็จงานโครงการหนึ่ง จึงย้ายทั้งคนและวัสดุสิ่งของเครื่องมือต่าง ๆ ไปรับงานใหม่ เครื่องมือที่ใช้จึงเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย และคนงานต้องสามารถทำงานได้หลายอย่างจึงต้องใช้แรงงานมีฝีมือที่ผ่านการอบรมอย่างดี
การผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง (Job Shop หรือ Intermit ten Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยมีปริมาณการผลิตต่อครั้งเป็นล็อต มีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตค่อนข้างบ่อย และผลผลิตไม่มีมาตรฐานมากนัก • เช่น การบริการคนไข้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกรวมกันตามหน้าที่การใช้งานไว้ในสถานีการผลิตแยกเป็นหมวดหมู่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของผังโรงงานในจุดที่จะสามารถทำให้กระบวนการผลิตทุกผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินไปตามขั้นตอนการผลิตที่กำหนดไว้อย่างคล่องตัว การเดินเครื่องจักรผลิตจะผลิตสินค้าชนิดหนึ่งจนได้ปริมาณตามที่ต้องการแล้วจึงเปลี่ยนไปผลิตสินค้าชนิดอื่นโดยใช้เครื่องจักรชุดเดิม
การผลิตแบบกลุ่ม (Batch Production) • เป็นการผลิตที่คล้ายกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องมาก จนบางครั้งจัดเป็นการผลิตประเภทเดียวกัน แต่จะแตกต่างกนตรงที่การผลิตแบบกลุ่มจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแยกเป็นกลุ่ม ๆ ในแต่ละกลุ่มจะผลิตตามมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อต ในขณะที่การผลิตแบบไม่ต่อเนื่องจะมีลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์หลากหลายมากกว่า ลักษณะการจัดเครื่องจักรอุปกรณ์ของการผลิตแบบกลุ่มจะเหมือนกับการผลิตแบบไม่ต่อเนื่องคือจัดเครื่องจักรตามหน้าที่การใช้งานเป็นสถานีแล้วงานจะไหลผ่านไปแต่ละสถานีตามลำดับขึ้นตอนของงาน • และเนื่องจากการผลิตแบบกลุ่มเป็นการผลิตของเป็นล็อต ขั้นตอนการผลิตจึงมีแบบแผนลำดับเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ ตามล็อตการผลิตเหล่านั้น การผลิตแบบกลุ่มนี้ใช้ได้กับการผลิตตามคำสั่งซื้อและการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เช่น การเย็บเสื้อโหลเป็นต้น
การผลิตแบบไหลผ่าน หรือการผลิตตามสายการประกอบ หรือการผลิตแบบซ้ำ (Line- Flow หรือ Assembly หรือ Repetitive Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันในปริมาณมาก เช่น การผลิตแชมพู การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องซักผ้า การผลิตแบบไหลผ่านจะมีเครื่องจักรอุปกรณ์เฉพาะของแต่ละสายผลิตภัณฑ์แยกต่างหาก ไม่มีการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เครื่องจักรอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะงาน • สำหรับแต่ละสายผลิตภัณฑ์เพื่อการผลิตที่รวดเร็ว และได้ปริมาณมาก การผลิตแบบนี้จะเหมาะสมกับการผลิตเพื่อรอจำหน่ายหรือใช้ในการประกอบโมดูลใน การผลิตเพื่อรอคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่อไป
การผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Process หรือ Continuous Flow Production) • เป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวในปริมาณที่มากมายอย่างต่อเนื่องโดยใช้เครื่องจักรเฉพาะอย่าง ซึ่งมักจะเป็นการผลิตหรือแปรรูปทรัพยากร ธรรมชาติให้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขั้นตอนต่อไป • ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำมัน การผลิตสารเคมี การทำกระดาษ
ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ 1. ประสิทธิภาพของต้นทุน (cost efficiency) การลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดยิ่งเป็นสิ่งสำคัญการเพิ่มประสิทธิภาพของต้นทุนอาจทำได้หลายวิธีเช่น - การลดค่าโสหุ้ย - การใช้อุปกรณ์การผลิตชนิดอเนกประสงค์ - การใช้ประโยชน์จากระบบการผลิตอย่างเต็มกำลัง - การควบคุมวัตถุดิบอย่างใกล้ชิด - การเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุดและ - การจ้างแรงงานในอัตราต่ำ
ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ความสำคัญของการบริหารการผลิตในเชิงยุทธศาสตร์ 2. คุณภาพ (quality) • บริษัทที่ประกอบการอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดเหนือกว่าในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้นย่อมมีโอกาสขายได้มากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง • ตัวอย่างเช่นทักษะของพนักงาน ตรงของอุปกรณ์การผลิตการจูงใจและสร้างความภูมิใจให้แก่พนักงานการชี้แจงให้พนักงานทราบถึงมาตรฐานของการทำงาน
3. ความเชื่อถือได้ (dependability) หมายถึงการกระจายผลิตภัณฑ์ออกครอบคลุมตลาดให้มากที่สุด ผลิตออกมาให้ได้ตรงตามกำหนดเวลาในตารางการผลิตและยังต้องรับผิดชอบในการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางให้ตรงตามกำหนดเวลาอีกด้วยอันจะเป็นการทำให้ตลาดสามารถหาซื้อได้สะดวกทุกสถานที่และทุกเวลาที่อยากซื้อ 4. ความยืดหยุ่น (flexibility) การใช้ระบบการผลิตที่มีระดับความเป็นอเนกประสงค์สูงสามารถปรับเปลี่ยนให้ผลิตสินค้าได้มากมายหลายรุ่นหลายแบบสนองตอบต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็ว และสามารถปรับอัตราเร็วในการผลิตได้ง่ายความยืดหยุ่นยิ่งมีมากก็ยิ่งทำให้บริษัทสามารถควบคุมมิติทางด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้มากนั่นคือโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจะมีมากขึ้นตามไปด้วย
หน้าที่การตัดสินใจของผู้จัดการฝ่ายผลิตและการดำเนินงานหน้าที่การตัดสินใจของผู้จัดการฝ่ายผลิตและการดำเนินงาน • Service &Production Design การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ • Quality Management การจัดการคุณภาพ • Process & Capacity Design การออกแบบกระบวนการ,กำลังผลิต • Location การเลือกทำเลที่ตั้ง • Layout Design การออกแบบผังองค์การ • HR. & Job Design การออกแบบงานและทรัพยากรบุคคล • Supply Chain Management การจัดการห่วงโซ่อุปทาน • Inventory & MRP & JIT. การจัดการสินค้าคงเหลือและระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี • Intermediate and Short term Scheduling การกำหนดตารางงาน • Maintenance การบำรุงรักษา
หน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคมหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อสังคม • ตอบสนองความต้องการของ Stakeholder • Customer • Suppliers • Orwners • Lende • Employees • Government Agency • Environment • Behavior ( กฎหมาย + ศีลธรรม + จารีตประเพณี )
คำถามท้ายบท • อธิบายความหมายของการผลิต , การปฏิบัติการ และการบริหารการผลิต มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร • อธิบายพร้อมยกตัวอย่างคุณสมบัติของการผลิตสินค้าและการให้บริการ • องค์ประกอบหลักของระบบการบริหารการผลิตมีอะไรบ้าง • อธิบายความหมายของผลผลิต พร้อมยกตัวอย่าง