1 / 17

อาณาจักรมอเนอร่า ( Kingdom Monera )

อาณาจักรมอเนอร่า ( Kingdom Monera ) . อาณาจักรมอเนอร่า ( Kingdom Monera ) . เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกที่นิวเคลียสไม่มีผนังห่อหุ้ม ( prokaryotic nucleus) ภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียสชัดเจน เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือต่อกันเป็นสาย. รูปร่างแบคทีเรีย. แบบกลม ( coccus) แบบท่อน ( bacillus)

taro
Download Presentation

อาณาจักรมอเนอร่า ( Kingdom Monera )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาณาจักรมอเนอร่า (Kingdom Monera)

  2. อาณาจักรมอเนอร่า (Kingdom Monera) เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกที่นิวเคลียสไม่มีผนังห่อหุ้ม (prokaryotic nucleus) ภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียสชัดเจน เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือต่อกันเป็นสาย

  3. รูปร่างแบคทีเรีย • แบบกลม (coccus) • แบบท่อน (bacillus) • แบบเกลียว (spirallum)

  4. อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย (Subkingdom Archaebacteria) อาร์เคียแบคทีเรีย ผนังเซลล์ไม่มีเพปทิโดไกลแคน ดำรงชีวิตในแหล่งน้ำพุร้อน ทะเลที่มีน้ำเค็มจัด บริเวณที่มีความเป็นกรดสูง และบริเวณทะเลลึก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ • กลุ่มยูริอาร์เคียโอตา (Euryarchaeota) ซึ่งสร้างมีเทนและชอบความเค็มจัด • กลุ่มครีนาร์เคียโอตา (Crenarchaeota) ซึ่งชอบอุณหภูมิสูงและกรดจัด

  5. อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรีย (Subkingdom Eubacteria) แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 5 กลุ่ม คือ • กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria) • กลุ่มคลาไมเดีย (Chlamydias) • กลุ่มสไปโรคีท (Spirochetes) • กลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-Positive Bacteria) • กลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria)

  6. กลุ่มโพรทีโอแบคทีเรีย (Proteobacteria) • พวกสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ • พวกช่วยตรึงแก๊สไนโตรเจนในอากาศมาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนในดิน

  7. ปมรากถั่ว

  8. การตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixsion) พืชตระกูลถั่วจะมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนได้ดีกว่าพืชตระกูลอื่น เนื่องจากมีแบคทีเรีย ไรโซเบียม (Rhizobium sp.) อาศัยอยู่

  9. กลุ่มคลาไมเดีย (Chlamydias) เป็นปรสิตในเซลล์สัตว์ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคโกโนเรียหรือหนองใน เป็นต้น กลุ่มสไปโรคีท (Spirochetes) มีรูปทรงเกลียว ดำรงชีวิตแบบอิสระ แต่บางสปีชีส์เป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส โรคฉี่หนู(เล็ปโตสไปโรซีส)

  10. เล็บโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์ (Leptospira interrogans)

  11. กลุ่มแบคทีเรียแกรมบวก (Gram-Positive Bacteria) Steptomyces sp.ใช้ทำยาปฏิชีวนะ เช่น ยาสเตร็บโตมัยซิน ยาเตตราไซคลิน เป็นต้น Bacillus sp. สามารถสร้างเอนโดสปอร์ (endospore) ทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี บางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

  12. Lactobacillus sp. เป็นพวกผลิตกรดแลกติก ได้ เช่นจึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ การทำเนย ผักดองและโยเกิร์ต ไมโคพลาสมา (mycoplasma) เป็นเซลล์ที่ไม่มีผนังเซลล์มีเพียง เยื่อหุ้มเซลล์ที่ประกอบด้วยชั้นของไขมัน ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น แต่มีบางพวกทำให้เกิดโรคปอดบวมในคนและวัว

  13. Lactobacillus bulgaricus เป็นแบคทีเรียที่ใช้ทำโยเกิร์ต

  14. สังเคราะห์แสงได้ มี คลอโรฟิลล์ เอ แคโรทีนอยด์ และไฟโคบิลิน นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เป็นพวกทำให้ออกซิเจนในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่หายใจโดยใช้ออกซิเจนในปัจจุบัน แอนาบีนา (Anabaena) นอสตอก (Nostoc) และออสิลลาทอเรีย (Oscillatoria) สามารถตรึงแก๊สไนโตเจนในอากาศ ให้เป็นสารประกอบไนเตรต กลุ่มไซยาโนแบคทีเรีย (Cyanobacteria)

  15. แอนนาบีนา เป็นไซยาโนแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศได้

  16. Cyanobacteria สาหร่ายเกลียวทอง คือ สไปรูไลนา พลาเทนสิส(Spirulinaplatensis) จัดเป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่เรียกว่าไซยาโนแบคทีเรีย

  17. สาหร่ายเกลียวทองเป็นสาหร่ายที่มีโปรตีนสูงถึงร้อยละ 60-70 เมื่อเปรียบเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วเหลือง และยังพบว่าโปรตีนของสาหร่ายเกลียวทองมีปริมาณสูงกว่าเนื้อสัตว์  มีวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1,2,3 และ 12 วิตามินซี วิตามินอี และเบตาแคโรทีน และยังประกอบไปด้วยกรดแกมมาลิโนเลนิก (GLA) แหล่งของโอเมกา 3 (Omega 3)

More Related