100 likes | 112 Views
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ.
E N D
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานผลิตและนำเสนอสื่อ การผลิตและพัฒนาสื่อเพื่อนำมาใช้งานทางการศึกษาตามปกติแล้ว จะต้องผ่านกระบวนการที่จำเป็นทั้ง 3 ขั้นตอน คือการวางแผนการผลิต การผลิตทางเทคนิค และการทดสอบสื่อก่อนนำไปใช้จริง ซึ่งเป็นขั้นตอนการวัดผล – ประเมินผล เพื่อดูประสิทธิภาพของสื่อทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ อาจกล่าวได้ว่าสามารถนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ได้ทุกขั้นตอน แต่ขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้มากที่สุด คือ ขั้นตอนการผลิตทางเทคนิค ซึ่งต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งเสียงที่จะถูกออกแบบมาในรูปของสัญญาณดิจิตอล (Digital Data) รวมทั้งการทำข้อมูลดิจิตอลทั้งหมดมาผสมผสานกันในรูปของ มัลติมีเดีย(Multimedia) ในที่นี้จะกล่าวถึง งานผลิตและพัฒนาสื่อต่างๆ ที่สามารถนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้
1. พิมพ์งานเอกสาร (Printed material) เป็นงานเตรียมต้นฉบับด้วยคอมพิวเตอร์ แทนการพิมพ์แล้วเลย์เอาท์ลงบนกระดาษ ซึ่งมีความล่าช้าและมีข้อเสียหลายประการ คือ เนื่องจากต้องใช้เวลาและความชำนาญในการเลย์เอาท์เป็นพิเศษ และหากมีข้อผิดพลาดจะแก้ไขได้ยากกว่า เช่นการแก้ไขคำผิดการจัดคอลัมน์และหน้าใหม่ การแก้ไขตำแหน่งของภาพ การบีบข้อมูลให้ลงในตำแหน่งที่ต้องการ ฯลฯ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ การใช้คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ดีกว่า
สรุปการใช้คอมพิวเตอร์ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์อาจทำได้ดังต่อไปนี้สรุปการใช้คอมพิวเตอร์ในงานออกแบบเอกสารสิ่งพิมพ์อาจทำได้ดังต่อไปนี้ • ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบพิมพ์ตัวอักษร • ใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบทั้งตัวอักษรและภาพทั้งหมด • การสร้างหนังสืออิเลคทรอนิคส์ • ***โปรแกรมสำเร็จ (software) ที่นำมาใช้เพื่องานออกแบบและจัด • หน้าที่นิยมมากที่สุด คือ โปรแกรม Page Maker เนื่องจากสามารถ • จัดหน้าได้สะดวก การกำหนดคอลัมน์และตัวอักษรได้ง่ายและรวดเร็ว • ส่วนโปรแกรมอื่นๆ ที่นิยมใช้กันแต่มีลูกเล่นน้อยกว่า เช่น Microsoft • word หรือ Word Perfect ซึ่งปกตินิยมใช้กับการสร้างเอกสาร • ทั่วๆ ไปมากกว่า ส่วนโปรแกรมสร้างแฟ้มข้อมูล .pdfใช้กับโปรแกรม • Adobe Acrobat
งานออกแบบศิลปกรรม (Artwork desing) การออกแบบศิลปกรรมเป็นสื่อประเภทกราฟิกต่างๆ เช่น ภาพโปสเตอร์ ชาร์ท แผนภูมิหรือภาพนิ่ง งานศิลปกรรมที่สามารถสร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ได้แก • - งานกราฟิก ภาพลายเส้น กรอบ ระบายสีภาพและตัวอักษร • - งานกราฟิก 3 มิติ ที่สร้างเงาหรือพื้นผิวให้เว้าหรือนูนเข้าไปภายในภาพ • - ภาพถ่ายหรือภาพที่มีโทนสีต่อเนื่อง *** โปรแกรมที่นำมาใช้ออกแบบงานศิลปกรรมที่นิยม ได้แก่ โปรแกรม Corel Draw, Ilustrater, freehand ฯลฯ ซึ่งสามารถสร้างานได้หลายรูปแบบ ส่วนภาพถ่ายหรือภาพนิ่งนั้น จะใช้โปรแกรม Photoshop ซึ่งนิยม นำมาใช้ในงานตกแต่งภาพถ่าย
3. งานออกแบบโปรแกรมการนำเสนอข้อมูลเป็นสื่อที่เปลี่ยนรูปแบบที่เคยนำเสนอโดยสไลด์ หรือแผ่นโปร่งใสออกมาทางจอฉายภาพทางเครื่องฉายวีดิโอ (Video Projecter) หรือ ดาต้าโชว์ (Data shoe Projecter) การผลิตสื่อเพื่อการนำเสนอนี้เป็นการสร้างงานกราฟิก – ภาพถ่าย และเสียงเพื่อนำเสนอร่วมกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า Multimedia โปรแกรมที่นำเสนอข้อมูลนี้ได้แก่ Power point Persuation ส่วน Macromind director เป็นโปรแกรมสร้างภาพและนำเสนอแบบ Video – animation ที่มีภาพเคลื่อนไหว
การผลิตและใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentstrion Program) - แนวความคิดเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ใน Presentation - การเตรียมข้อมูลและการเขียน สตอรี่บอร์ด - โปรแกรม Presentation ที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล (Action, Direction, PowerPoint) - การใช้โปรแกรม PowerPoint เพื่อการนำเสนอ
ลำดับขั้นตอนในการผลิตโปรแกรมนำเสนอลำดับขั้นตอนในการผลิตโปรแกรมนำเสนอ • ศึกษาเนื้อหา เรื่องที่จะผลิต • กำหนดเป็นหัวข้อและประเด็นย่อยๆ เพื่อนำมาใช้ทำภาพ • สร้างบทหรือสตอรี่บอร์ดหยาบๆ ลงบนกระดาษโดยการร่างภาพในกรอบว่ามีตัวอักษรและภาพอย่างไร หรือมีเสียงประกอบหรือไม่ • ดำเนินการออกแบบภาพ – ตัวอักษร – เรื่อง ตามที่ได้ออกแบบไว้ในสตอรี่บอร์ด ซึ่งอาจเป็นภาพที่มีอยู่แล้วหรือภาพที่สร้างขึ้นเอง • สร้าง effect ต่างๆ เช่น การสร้าง Transition ของเฟรมสไลด์ หรือสร้างBuild สำหรับการเคลื่อนที่ของตัวอักษรและภาพภายในเฟรม
ข้อควรระวังในการออกแบบข้อควรระวังในการออกแบบ 1. พื้นกับตัวอักษร มีการตัดกันอย่างเหมาะสม เช่น ตัวอักษรสีดำบนพื้นสีเหลือง อักษรขาวบนพื้น สีน้ำเงิน ฟ้าอ่อนบนพื้นสีม่วง เป็นต้น 2. ตัวอักษรควรมีขนาดใหญ่และอ่านง่าย ถ้าเลือกได้ควรใช้ตัวอักษรที่มีความหนา ขนาดตัวอักษรที่พอเหมาะถ้าเป็นภาษาไทยควรมีขนาดประมาณ 50 Point ขึ้นไป แบบตัวอักษรที่ใช้ได้ดี เช่น Eucrosia, Freesia UPC, หรือ DelIinea UPC และBrowallia UPC 3. ในสไลด์ เฟรม ไม่ควรใช้ตัวหนังสือหลายบรรทัดเกินไป เช่น ใช้ประมาณ 5 – 10 บรรทัด ก็เพียงพอ มิฉะนั้นตัวอักษรจะเล็กลงทำให้อ่านบาก
4. พยายามใช้ภาพประกอบให้มาก เช่น ภาพกราฟิก ที่เป็นชาร์ท กราฟ Clip art หรือเป็นภาพถ่าย ที่ Scan มา หรือถ่ายจากกล้องดิจิตอล แต่ภาพกราฟิกสีหรือภาพถ่ายที่นำมาใช้ ควรมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่นำเสนอ มิฉะนั้นแล้วส่วนสำคัญในสไลด์อาจถูกแย่งความสำคัญไป 5. ระวังไม่ใช้สีที่ตัดกันมากจนเกินไป อาจทำให้ดูไม่สบายตา เช่น สีแดงเข้ม กับสีน้ำเงินเข้ม จะทำให้ดูแล้วปวดตามาก 6. ไม่ควรสร้างการเคลื่อนไหวให้กับตัวอักษรหรือภาพในสไลด์มากจนเกินไป ผลที่ออกมาจะทำให้ดูสับสน แล้วยังอาจสร้างความรำคาญให้คนดูอีกด้วย
การใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาการใช้ระบบมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โครงสร้างของดิจิตอล - ภาพวาด เป็น Vector เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดโดยกำหนดเป็นจุด x, y ภาพที่เกิดจากโปรแกรม Ilustrator, freehand หรือ Corel Draw - ภาพถ่าย เป็น Raster เกิดจากจุดวางเรียงกันไป เรียกว่า pixel หรือเป็น Bitmap เช่น โปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรมอื่นๆ - Pixel คือ หน่วยของภาพที่มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมประกอบกันเพื่อให้เกิดเป็นภาพถ่ายขึ้น ภาพที่เกิดขึ้นแบบ Raster จึงต้องให้ความสำคัญต่อความละเอียดของภาพ (Resolution) มากกว่าภาพที่เป็นแบบ Vector