300 likes | 675 Views
Lehman Brother Crisis. วิกฤต sub-prime. Lehman Brother คือใคร ?. Lehman Brothers Holdings Inc. เป็นวาณิชธนกิจเก่าแก่ของสหรัฐฯ ธุรกิจด้านการเงินอย่างหลากหลายครบวงจร ผู้ให้บริการบัตรเครดิตอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ นั่นคือ American Express และการให้บริการทางการเงินอื่นๆ
E N D
Lehman Brother คือใคร ? • Lehman Brothers Holdings Inc.เป็นวาณิชธนกิจเก่าแก่ของสหรัฐฯ • ธุรกิจด้านการเงินอย่างหลากหลายครบวงจร • ผู้ให้บริการบัตรเครดิตอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ นั่นคือ American Express และการให้บริการทางการเงินอื่นๆ • Lehman Brothers มีสินทรัพย์ ณ สิ้นปี 2007 มูลค่า 691,063 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำไมจึงเกิด Lehman crisis ? • บริษัทลูกของ Lehman Brothers ชื่อว่า BNC Mortgage เป็นบริษัทลูกที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาด้านเครดิต (Sub-prime lending) ที่ต้องการซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะบ้านและที่ดิน เกิดปัญหาหนี้เสียครั้งมโหฬาร • วิกฤติ Sub-prime ยังคงลุกลามต่อเนื่องไปจนถึงบริษัทแม่ เพราะ Lehman Brothers ก็มีสินทรัพย์ที่อ้างอิงจากสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ทั้ง Sub-prime และ Alt-A) เป็นจำนวนมาก • Lehman Brother ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งมูลค่าหุ้นดิ่งลงอย่างมาก • ทางรอดเดียวของ Lehman Brothers คือ การขายกิจการให้กลุ่มทุนใดๆ เพื่อประคับประคองสถานะทางการเงินของบริษัทเอาไว้
Korea Development Bank , ธนาคารบาร์เคลย์ส ของอังกฤษ และ Bank of America มีการเจรจาที่จะซื้อ Lehman brother ต่อ แต่การเจรจาก็ล้มเหลวทั้งหมด • Lehman Brothers วาณิชธนกิจอันดับ 4 ของโลกประกาศล้มละลายตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก (รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ไทย) ปรับตัวลดลงร้อยละ 4-5 ต่อวัน เกิดความผันผวนต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันสภาพคล่องทั่วโลกได้ตึงตัวรุนแรง (Credit Crunch) และทำให้ดอกเบี้ยตลาดLondon Interbank Offer Rate (LIBOR) ซึ่งเป็นอัตรามาตรฐานในการกู้ยืมกันในตลาดลอนดอนปรับตัวสูงขึ้นกว่าร้อยละ 2-3 ภายในวันเดียว
ผลกระทบจากการล้มละลายของ Lehman Brothers ต่อสหรัฐฯ • อัตราการว่างงานเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 6.1% สูงสุดในรอบ 5 ปี • อัตราการฟ้องยึดหลักประกันสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ยังพุ่งทะยานอย่างต่อเนื่อง โดยเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น 55% มาอยู่ที่ 272,000 ราย เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 303,879 ราย • รัฐบาลสหรัฐฯจะตั้งกองทุนขึ้นมาซื้อหนี้เสียของธนาคารที่มีปัญหาด้านการเงิน และห้ามทำชอร์ตเซลล์ในหุ้นบริษัทการเงิน
บทวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมสหรัฐอเมริกาบทวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมสหรัฐอเมริกา
(Real GDP) หดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่3 ของปี 2551 และมีการหดตัวอย่างรุนแรงที่ร้อยละ 6.3 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 • อัตราการว่างงานในเดือนมีนาคม ปี2552ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 8.5 • ปี 2551 ดัชนี S&P 500 ร่วงลงถึงร้อยละ 38 และร่วงลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 12 ในไตรมาสแรกของปี 2552 • ดัชนีบ่งชี้ความผันผวนของราคาหุ้นในดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ที่ร้อยละ 80 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2551 • สินเชื่อของทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจตึงตัวรุนแรงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
ความเชื่อมโยงทางการค้า (Intertrade Linkage) • การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ส่งผลต่อประเทศที่มีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าสำคัญจากการส่งออก เช่น กลุ่มประเทศยูโร ญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย • ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มูลค่าการส่งออกประเทศผู้ส่งออกสินค้าเหล่านี้เป็นหลักลดลง เช่น เช่น ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
การแพร่กระจายของวิกฤตการเงินสู่ภูมิภาคเอเชียการแพร่กระจายของวิกฤตการเงินสู่ภูมิภาคเอเชีย • ภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบน้อยกว่าภูมิภาคอื่นๆเ เนื่องจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์เสี่ยงประเภท subprime มีค่อนข้างน้อยและสถาบันการเงินมีฐานะการเงินที่ดี โดยได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการเร่งขายทรัพย์สินจำนวนมาก(deleveraging) ของนักลงทุนต่างประเทศนำไปสู่ปัญหาสภาพคล่องที่ตึงตัวของภาคธุรกิจและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น
ในระยะสั้น วิกฤต Lehman Brothers มีผลกระทบต่อไทยใน 2 ด้าน -ผลกระทบทางตรง -ผลกระทบทางอ้อม
ผลกระทบทางตรง • ความเสียหายจากสถาบันการเงินไทยที่ไปลงทุนใน Lehman Brothers โดยตรง • ความเสียหายจากธุรกิจที่ Lehman Brothers ที่ลงทุนในไทย • ความเสียหายจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่ทำธุรกรรมกับ Lehman Brothers
ผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้นผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้น • ตลาดหลักทรัพย์ผันผวน
ผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้นผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้น • สภาพคล่องในประเทศอาจตึงตัวตามตลาดโลก
ผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้นผลกระทบทางอ้อม>>ระยะสั้น • ค่าเงินบาทจะผันผวนมาก
กราฟแสดงอัตราแลกเปลี่ยนในรูป บาท/ดอลลาร์สรอ ที่บาทมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะสองปีหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงส่งผลต่อการส่งออกของไทย
ผลกระทบทางอ้อม>>ระยะปานกลางถึงยาวผลกระทบทางอ้อม>>ระยะปานกลางถึงยาว • เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้การส่งออกของไทยลดลง • เศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกมากจะชะลอตามไปด้วย
ผลกระทบจากปัญหา Subprime ที่มีต่อประเทศไทย
ผลกระทบจากปัญหา Subprime ที่มีต่อประเทศไทย
ความสัมพันธ์ของทฤษฎีต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขเสมอภาค
จากผลของตัวแปรต่าง ๆ ในเศรษฐกิจ จะพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนของไปไทยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ( ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเที่ยบเงินบาท ) อัตราเงินเฟ้อของอเมริกา ปรับตัวสูงขึ้นมาก เกือบถึง 10% และอัตราดอกเบี้ยของอเมริกามีแนวโน้มสูงขึ้นโดยอัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มลดลงโดยเปรียบเทียบ
แนวนโยบายเศรษฐกิจไทย • ระยะสั้น • หน่วยงานภาครัฐจึงควรดูแลสภาพคล่องภายในประเทศให้เพียงพอ - ธปท.ควรเข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนให้เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ค่าเงินบาทไม่ผันผวนเกินไป
แนวนโยบายเศรษฐกิจไทย • ระยะปานกลางถึงยาว - รัฐบาลควรจะเร่งการใช้จ่ายในประเทศโดยเน้นการลงทุนให้เร็วที่สุด - นโยบายการเงินอาจจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ในขณะนี้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อน้อยกว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจหดตัว(Recession) - นโยบายในระยะยาวจะต้องเร่งกระจายตลาดการส่งออก - ควรเน้นควรมีการเพิ่มความร่วมมือทางการเงินในเอเชีย
การใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังควบคู่กันในการแก้ปัญหาการใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลังควบคู่กันในการแก้ปัญหา