1 / 30

การสร้างตาราง : CREATE TABLE

การสร้างตาราง : CREATE TABLE . รูปแบบคำสั่งการสร้างตาราง CREATE TABLE <table name> (<column_name > Data type <size > not null unique, < column name>data type >< size >,…... , Primary key<Column name>);. ตัวอย่าง. Create table Employee ( Eid char(4) not null unique;

terri
Download Presentation

การสร้างตาราง : CREATE TABLE

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสร้างตาราง : CREATE TABLE • รูปแบบคำสั่งการสร้างตาราง • CREATE TABLE <table name> (<column_name> Data type<size> not null unique, • <column name>data type><size>,…..., • Primary key<Column name>);

  2. ตัวอย่าง Create table Employee (Eid char(4) not null unique; Enamevarchar(25), Salary number, Position varchar(20), Address varchar(40), primary key(Eid ));

  3. คำสั่งการเพิ่มข้อมูล • คำสั่งการเพิ่มข้อมูลในตารางจะใช้คำสั่ง INSERT จะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ การเพิ่มข้อมูลเข้าไปทีละแถว และ การเพิ่มข้อมูลโดยการดึงกลุ่มข้อมูลด้วยคำสั่งค้นหาข้อมูล • 1.1 คำสั่งการเพิ่มข้อมูลทีละแถวโดยระบุข้อมูลที่จะ INSERTเข้าไปโดยตรง รูปแบบของคำสั่งเป็นดังนี้ • INSERT INTO <tablename>[(column 1, column 2,…)] • VALUES(<value1,value2, …>);

  4. INSERT INTO SALES • VALUES( “1001”, “Chaiwat”, “Bangkok”,0.12); • ตัวอย่างต้องการจะใส่ข้อมูลทุกคอลัมน์ลงในตารางลูกค้า ผลของคำสั่งนี้ จะมีข้อมูลปรากฎในทุกคอลัมน์ในตารางพนักงานขายดังนี้

  5. ตัวอย่าง ถ้าต้องการจะใส่ข้อมูลบางคอลัมน์ เช่น ที่อยู่ Bangkok ชื่อลูกค้า Arlee และหมายเลขลูกค้า 2010 ลงในตารางลูกค้า ใช้คำสั่งดังนี้ • INSERT INTO CUSTOMER (ADDRESS,CUSNAME,CUSNO) • VALUES( “Bangkok”,”Arlee”, “2010”); • ผลของคำสั่งในตารางลูกค้า จะทำให้คอลัมน์ ADDRESS มีค่าเป็น Bangkok คอลัมน์ CUSNAME จะมีค่าเป็น Arlee คอลัมน์ CUSNO จะมีค่าเป็น 2010

  6. การแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่ (Update) Update <table Name> Set <Column Name> = New _Value Where <Condition>; รูปแบบ ตัวอย่าง ต้องการปรับเงินเดือนพนักงานทุกคน ๆละ 1,000 บาท Update Employee Set salary = salary+1000;

  7. การแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่ (Update) ตัวอย่าง ต้องการปรับเงินเดือนพนักงานชื่อ “Somchai” เพิ่มขึ้นอีก 2000 บาท Update employee Set salary = salary+2000 Where ename = “Somchai”;

  8. การลบข้อมูลที่มีอยู่ (Delete) Delete from <table Name> Where <Condition>; รูปแบบ ตัวอย่าง นพนักงานชื่อ “Wilai”ลาออกจากบริษัท ให้ลบข้อมูลของ “wilai” ออกจากเทเบิล employee Delete from employee Where ename = “Wilai”;

  9. การเรียกดูข้อมูล การเรียกดูข้อมูลทั้งตาราง รูปแบบ SELECT * FROM <table name>; การเรียกดูข้อมูลจากตารางสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งที่มีเงื่อนไขหรือไม่มีเงื่อนไข หรือแม้แต่ดูข้อมูลจากหลายตาราง โดยคำสั่งที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล คือ คำสั่ง SELECT • การเรียกดูข้อมูลทั้งตาราง จะใช้เครื่องหมาย * • เพื่อแทนการเรียกดูจากทุกคอลัมน์ของตารางหนึ่ง ๆ

  10. ตัวอย่าง ให้เรียกดูข้อมูลทั้งหมดของตาราง EMPLOYEE • คำสั่งที่ใช้คือ SELECT * FROM Employee; ผลลัพธ์ที่ได้คือ ข้อมูลทั้งหมดของตาราง Employee

  11. การเรียกดูข้อมูลเพียงบางคอลัมน์การเรียกดูข้อมูลเพียงบางคอลัมน์ SELECT <column 1, column 2, ….> FROM <table name>; รูปแบบ ตัวอย่างที่ 1 ให้เรียกดูข้อมูลรหัสพนักงาน ชื่อ และเงินเดือนของพนักงาน การเรียกดูข้อมูลเพียงบางคอลัมน์ จำเป็นต้องระบุชื่อคอลัมน์ให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในโครงสร้าง หากเรียกดูมากกว่าหนึ่งคอลัมน์ จะต้องมีเครื่องหมาย , คั่นระหว่างคอลัมน์ SELECT Empnum, Emname, Salary FROM Employee;

  12. ตัวอย่างที่ 2 ให้เรียกดูข้อมูล ชื่อ วันที่เริ่มงาน และเงินเดือนของพนักงาน คำสั่งที่ใช้คือ SELECT Ename, Salary,Position FROM Employee; ผลลัพธ์ที่ได้คือ

  13. การเรียกดูโดยไม่ให้แสดงข้อมูลซ้ำกันการเรียกดูโดยไม่ให้แสดงข้อมูลซ้ำกัน เมื่อต้องการดูข้อมูลจากตารางโดยไม่ให้แสดงข้อมูลที่ซ้ำซ้อนออกมา จะใช้คำว่า DISTINCT กำกับ หลังคำว่า SELECT รูปแบบ SELECT DISTINCT<column Name> FROM <table name>; ตัวอย่างที่ 1 ให้เรียกดูข้อมูลรหัสแผนก และตำแหน่งงานของพนักงานที่ไม่ซ้ำกัน SELECT DISTINCT Depno, Position FROM Employee; คำสั่งที่ใช้คือ

  14. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ 1 ต้องการดูข้อมูลเงินเดือนต่อปีของพนักงาน คำสั่งที่ใช้คือ SELECT Empname, Salary*12 FROM Employee;

  15. ตัวอย่างที่ 2 ต้องการดูข้อมูลรหัสพนักงาน ชื่อ เงินเดือนใหม่ต่อปี โดยที่เงินเดือนใหม่ของพนักงานทุกคน จะปรับขึ้นเงินเดือนจากเดิมอีกคนละ 10 % คำสั่งที่ใช้คือ SELECTEid, Ename, (Salary*1.1)*12 As New Salary FROM Employee; Select e eid, Ename, (Salary+(salary*.10))*12 As New salary From Employee;

  16. การเรียกดูโดยการจัดเรียงข้อมูลการเรียกดูโดยการจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่ถูกเรียกจะจัดเรียงตามคอลัมน์ที่ต้องการ เช่น ให้เรียงชื่อตามตัวอักษร หรือให้เรียงข้อมูลตามเงินเดือน เป็นต้น รูปแบบ SELECT <column 1, ….> FROM <table name> ORDER BY <column ..>[[ASC][DESC]]; ORDER BY คือการสั่งให้จัดเรียงผลลัพธ์ตามคอลัมน์ที่ระบุต่อท้าย ORDER BY เรียงจากมากมาน้อยให้ระบุคำว่า DESC แต่ถ้าเรียงน้อยไปหามากไม่จำเป็นต้องระบุ ASC

  17. ตัวอย่างที่ 1 ให้แสดงชื่อ ตำแหน่ง และวันที่เริ่มทำงาน โดยให้เรียงตาม วันที่เริ่มทำงานครั้งล่าสุด คำสั่งที่ใช้คือ SELECT Empname, Position, Hiredate FROM Employee ORDER BY Hiredate DESC;

  18. ตัวอย่างที่ 2 ให้แสดงชื่อ แสดงเงินเดือน ของพนักงานโดยเรียงจาก เงินเดือนน้อยไปหามาก คำสั่งที่ใช้คือ SELECT Empname, Salary FROM Employee ORDER BY Salary;

  19. การสอบถามข้อมูลแบบมีเงื่อนไขSelect …….where รูปแบบSelect <Column Name> From <Table Name> Where <condition>;

  20. ตัวดำเนินการเชิงเปรียบเทียบComparison Operators

  21. ตัวอย่าง แสดงข้อมูลทั้งหมดของลูกค้าเฉพาะที่อาศัยอยู่ใน “Bangkok” Select * From customer where address = “Bangkok”;

  22. การเลือกข้อมูลโดยระบุหลายเงื่อนไขการเลือกข้อมูลโดยระบุหลายเงื่อนไข • การสอบถามข้อมูลจากการเชื่อมเงื่อนไขหลายเงื่อนไขด้วย AND • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลลูกค้าที่อาศัยอยู่ใน “Bangkok” และมีวงเงินมากกว่า500,000 บาท Select cid,cname,address, credit_lim From customer Where address= “Bangkok” and credit_lim>500000 ;

  23. การเลือกข้อมูลโดยระบุหลายเงื่อนไขการเลือกข้อมูลโดยระบุหลายเงื่อนไข • การสอบถามข้อมูลจากการเชื่อมเงื่อนไขหลายเงื่อนไขด้วย OR • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลลูกค้าที่อาศัยอยู่ใน “Bangkok” หรือ มีวงเงินมากกว่า500,000 บาท Select cid,cname,address, credit_lim From customer Where address= “Bangkok” OR credit_lim>500000 ;

  24. การสอบถามข้อมูลด้วยการใช้ Not กับเงื่อนไข • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ใน “Bangkok” Select cname, address from customer where address <> “Bangkok”; Select cname, address from customer where not address = “Bangkok”;

  25. เลือกข้อมูลที่ตรงตามชุดข้อมูลด้วย IN • Select <column name> • From <Table name> • Where <colimn name> [NOT] in <data set>;

  26. เลือกข้อมูลที่ตรงตามชุดข้อมูลด้วย IN , NOT IN • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลลูกค้าที่อยู่ใน “Bangkok”, “Rayong”, “TRAT” Select cname, address from customer where address in (“Bangkok”, “Rayong”, “TRAT”); • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลลูกค้าที่ไม่ได้อยู่ใน “Bangkok”, “Rayong”, “TRAT” Select cname, address from customer where address not in (“Bangkok”, “Rayong”, “TRAT”);

  27. เลือกข้อมูลที่ตรงตามชุดข้อมูลด้วย between…And….. • Select <column name> • From <Table name> • Where <colimn name> [NOT] Between <value-1> and <value-2>;

  28. ตัวอย่าง แสดงข้อมูลพนักงานที่มีเงินเดือนระหว่าง 10000 – 50000 บาท เลือกข้อมูลที่ตรงตามชุดข้อมูลด้วย between…And….. Select ename, salary from employee where salary between 10000 and 50000;

  29. เลือกข้อมูลที่ตรงตามชุดข้อมูลด้วย Like • ตัวอย่าง แสดงข้อมูลพนักงานที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “S” Select ename, salary from employee where ename like “s*”;

  30. แบบฝึกหัด • ให้แสดงข้อมูล ชื่อ เงินเดือน และตำแหน่งของพนักงาน • ให้แสดงชื่อแผนก และสถานที่ของแผนก โดยเรียงตามชื่อแผนก • ให้แสดงข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดของตาราง Customer • แสดงข้อมูลพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 40,000 บาท • แสดงข้อมูลลูกค้าเฉพาะที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่และ มียอดคงเหลือเท่ากับศูนย์บาท • แสดงชื่อลูกค้าที่ชื่อขึ้นต้นด้วย “P” • แสดงข้อมูลลูกค้าเฉพาะที่มียอดวงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 200,000 บาท โดยเรียงลำดับตามวงเงินสินเชื่อจากน้อยไปมาก

More Related