1.3k likes | 1.46k Views
The Multi-disciplinary Study on Ancient Cultural Relationship in GMS and Malay Peninsula. Surat Lertlum Chulachomklao Royal Military Academy Surapol Natapintu Silpakorn University Pongdhan Sampaongern Fine Arts Department Panjai Tantasanawong Silpakorn University
E N D
The Multi-disciplinary Study on Ancient Cultural Relationship in GMS and Malay Peninsula Surat Lertlum Chulachomklao Royal Military Academy SurapolNatapintuSilpakorn University Pongdhan Sampaongern Fine Arts Department Panjai TantasanawongSilpakorn University Mr. IM Sokrithy APSARA Authority
Ancient Communication Road Network North-west road, toward Phimai Toward Vat Phu Koh ker North road Kulen West road, pass by Sdok Kak Thom Beng Mealea Bakan East road, toward Bakan and Vat Phu Angkor South-east road, toward Sambor prei Kuk
Associated Structures: * Stone bridges - 22 on the South-east road (Angkor- Sambor Prei Kuk) - 20 on the East road (Angkor-Bakan) - 23 on the West road (Angkor-Sdok Kak Thom) • 32 on the northwest road, Angkor-Phimay • - ~ 4 on the road Beng Mealea-Koh Ker- Vat Phu • 5 found in Capital Angkor • About 106 stone bridges found
Theme “Culture has no boundary”
Objective วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยคือเพื่อรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมสมัยโบราณในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกของประเทศไทยและในพื้นที่ในประเทศเพื่อนบ้านที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการความรู้สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมในระเบียงวัฒนธรรมแนวทิศเหนือ-ใต้ และทิศตะวันออก-ตะวันตกของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืนแก่ประเทศไทยในปัจจุบันโดยแบ่งประเด็นหลักของการวิจัยออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
1. เพื่อขยายฐานความรู้จากการศึกษาการแผ่ขยายของอารยธรรมเขมรโบราณ ที่ดำเนินการมาแล้ว ให้ครอบคลุมกลุ่มวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันในประเทศกลุ่ม GMS (Greater Mekong Sub-region) และคาบสมุทรมลายา ซึ่งสามารถนำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลรวมทางวัฒนธรรมสำหรับประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของประชาชนในกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายาทั้งในระดับชุมชนและระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี
2. ดำเนินการวิเคราะห์เชิงโบราณคดีและวัฒนธรรมและเชิงพื้นที่ในลักษณะสหวิทยาการ เพื่อศึกษารายละเอียดของความสัมพันธ์ในอดีตผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องการดำเนินการศึกษาอารยธรรมเขมรโบราณที่ผ่านมาเป็นไปในลักษณะการศึกษาเฉพาะแหล่ง โดยยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ในภาพรวมและเชิงพื้นที่อย่างจริงจังและเป็นระบบ และทำการขยายการศึกษาตามแนวถนนโบราณจากเมืองพระนครไปทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ (ประเทศลาว)
3. ศึกษาถึงความเชื่อมโยงของแหล่งอุตสาหกรรมถลุงโลหะโบราณในประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อให้ทราบถึงการกระจายตัว ความสัมพันธ์ของชุมชนในอดีตในระดับภูมิภาค เนื่องจากโลหะเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาของชุมชน ซึ่งการศึกษานี้เป็นการขยายขอบเขตการศึกษาด้านโลหะกรรมโบราณบริเวณ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ของโครงการที่ผ่านมา เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแหล่งโลหะกรรมโบราณซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตามแนวถนนโบราณจากเมืองพระนครถึงเมืองพิมายที่ได้มีการค้นพบ ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งโลหะกรรมที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคในอดีต
4. พัฒนาฐานข้อมูลทางโบราณคดีและวัฒนธรรมจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และการเก็บรวบรวมในพื้นที่ศึกษาซึ่งจะกระจายตัวอยู่ในประเทศกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลในลักษณะ Geo-Spatial ของพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเป็นฐานข้อมูลรวม ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเด็นวิจัยแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยในด้านอื่นๆ อีกด้วย
5. พัฒนาความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีของประชาชนในกลุ่ม GMS และคาบสมุทรมลายา โดยใช้ผลที่ได้จากการวิจัยเผยแพร่ต่อชุมชน เยาวชน การจัดประชุมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนเพื่อเป็นแกนของการสร้างความสัมพันธ์ในระดับชุมชนและระดับองค์กรต่อไป
Study on Ancient Iron Smelting การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านสายโท 7 ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
โครงการวิจัยฯ ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านสายโท 7 ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้เคยสำรวจเบื้องต้นไว้แล้วเมื่อ พ.ศ. 2551 และพบว่าเป็นแหล่งที่มีร่องรอยกิจกรรมการถลุงเหล็กสมัยโบราณและร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยสามัญของคนสมัยโบราณที่อาจเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็ก วัตถุประสงค์ของการขุดค้นทางโบราณคดี การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อรวบรวมข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีมาศึกษา วิเคราะห์ให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับประวัติการผลิตเหล็กสมัยโบราณ และวัฒนธรรมของประชากรผู้ผลิตเหล็กสมัยโบราณ ในพื้นที่เขตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ปริมณฑลของเส้นทางคมนาคมจากเมืองเสียมเรียบมายังเมืองพิมายสมัยโบราณ
ลักษณะพื้นที่ของแหล่งโบราณคดีบ้านสายโท 7 มีลักษณะเป็นเนินใหญ่ พื้นที่รอบแหล่งเป็นที่ราบลุ่ม มีทางน้ำธรรมชาติ อยู่ไม่ไกลทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ
เนินตะกรันจากการถลุงเหล็กเนินตะกรันจากการถลุงเหล็ก เนินดินแหล่งโบราณคดีรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 - 330 เมตร ที่ขอบแหล่งมีเนินเล็กที่ประกอบด้วยตะกรันและสิ่งเหลือทิ้งจากการถลุงเหล็กสมัยโบราณกระจายไปตามขอบแหล่งโดยรอบรวมไม่น้อยกว่า 10 เนิน
สภาพภูมิประเทศและลักษณะการใช้ที่ดินบนแหล่งโบราณคดีเป็นสวนยางพาราสภาพภูมิประเทศและลักษณะการใช้ที่ดินบนแหล่งโบราณคดีเป็นสวนยางพารา
รายละเอียดการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี ระยะเวลาปฏิบัติงาน การขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านสายโท 7 ได้ดำเนินการเป็นเวลา 29 วันระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552
ตำแหน่งของพื้นที่ขุดค้นตำแหน่งของพื้นที่ขุดค้น การปฏิบัติงานวิจัยครั้งนี้ ได้ขุดค้นพื้นที่จำนวน 3 หลุมขุดค้น กระจายอยู่ที่ทำเลต่างๆในแหล่งโบราณคดี - หลุมขุดค้นหมายเลข 1 อยู่บริเวณตอนกลางของแหล่งโบราณคดี เป็นหลุมขุดค้นผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร วางตัวตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก - หลุมขุดค้นหมายเลข 2 เป็นหลุมขุดค้นผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร วางตัวตามแนวทิศเหนือ – ใต้ อยู่ห่างหลุมขุดค้นหมายเลข 1 ไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 30.67 เมตร - หลุมขุดตรวจสอบหมายเลข 1 เป็นหลุมขุดค้นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร วางตัวตามแนวทิศเหนือ – ใต้ อยู่ที่เนินตะกรันจากการถลุงเหล็กที่ขอบด้านตะวันออกของพื้นที่เนินแหล่งโบราณคดี และอยู่ห่างจากหลุมขุดค้นหมายเลข 1 ไปทางทิศตะวันออก
หลุมขุดค้นหมายเลข 1 อยู่บริเวณตอนกลางของแหล่งโบราณคดี เป็นหลุมขุดค้นผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร
ผลการดำเนินการในหลุมขุดค้นหมายเลข 1 หลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำคัญที่พบในหลุมขุดค้นหมายเลข 1 มีดังนี้ 1. เศษภาชนะดินเผา ได้พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทเนื้อเครื่องดินจำนวนมาก โดยพบตั้งแต่ในชั้นทับถมทางโบราณคดีระดับช่วงบน จนถึงระดับชั้นล่างสุด โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่างมากและชัดเจน แสดงว่าชั้นทับถมทางโบราณคดีที่พบทั้งหมดเกิดจากกิจกรรมการอยู่อาศัยสามัญของประชากรสมัยโบราณวัฒนธรรมเดียวอย่างต่อเนื่อง
2. โบราณวัตถุและร่องรอยเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเหล็ก หลักฐานทางโบราณคดีประเภทนี้ ประกอบด้วยซากเตาตีเหล็ก ตะกรันจากการถลุงเหล็ก และตะกรันจากการตีเหล็ก ซึ่งนับเป็นหลักฐานประเภทสำคัญ บ่งชี้ว่าชุมชนสมัยโบราณแห่งนี้ดำเนินการทั้งถลุงเหล็กและตีเหล็กที่ถลุงได้ให้เป็นวัตถุและสิ่งของรูปทรงต่างๆด้วย
3. โครงกระดูกคนสมัยโบราณ ได้พบโครงกระดูกคนสมัยโบราณจำนวน 1 โครง ถูกฝังในท่านอนหงายเหยียดยาว มือทั้งสองข้างถูกจัดประสานไว้ที่หน้าท้อง หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก มีภาชนะดินเผาทรงชามครอบที่ศีรษะ 1 ใบ วางไวที่ด้านข้างศรีษะด้านขวาของโครงกระดูก 1 ใบ และวางบนกระดูกหน้าแข้ง 1 ใบ ที่แขนข้างซ้ายสวมกำไลทำด้วยสำริด 4 วง ไม่สามารถระบุเพศได้ เมื่อเสียชีวิตอาจมีอายุไม่เกิน 15 ปี
การแปลความหมายหลักฐานทางโบราณคดี เบื้องต้น โบราณวัตถุประเภทต่างๆที่พบในหลุมขุดค้นหมายเลข 1 ดังรายการข้างต้นนั้น จัดได้ว่าเป็นวัตถุหลงเหลือจากการทำกิจกรรมสมัยโบราณ อย่างน้อย 3 ประเภทได้แก่ - กิจกรรมการอยู่อาศัยสามัญ - กิจกรรมการทำหัตถกรรมพิเศษ ซึ่งในกรณีของหลุมขุดค้นนี้ก็คือ การตีเหล็ก - กิจกรรมทางด้านประเพณี – ความเชื่อ
ผลการดำเนินการในหลุมขุดค้นหมายเลข 2 หลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำคัญที่พบในหลุมขุดค้นหมายเลข 2 มีดังนี้ 1. ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ซึ่งมีประเภทต่างๆเหมือนกับที่พบในหลุมขุดค้นหมายเลข 1 2. ก้อนดินเผาไฟ ซึ่งส่วนใหญ่มีรูปทรงไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม ได้พบว่าในบางบริเวณของหลุมขุดค้นนี้ มีก้อนดินเผารวมเป็นกลุ่มและมีตะกรันจากการตีเหล็กรวมอยู่ด้วย จึงเห็นได้ว่าเป็นร่องรอยของเตาตีเหล็ก 3.ตะกรันที่เกิดจากกระบวนการผลิตเหล็ก ประกอบด้วยตะกรันจากการถลุงเหล็กและตะกรันจากการตีเหล็ก
การแปลความหมายหลักฐานทางโบราณคดี เบื้องต้น โบราณวัตถุประเภทต่างๆที่พบในหลุมขุดค้นหมายเลข 2 ดังรายการข้างต้นนั้น จัดได้ว่าเป็นวัตถุหลงเหลือจากการทำกิจกรรมสมัยโบราณ อย่างน้อย 2 ประเภทได้แก่ - กิจกรรมการอยู่อาศัยสามัญ - กิจกรรมการทำหัตถกรรมพิเศษ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ การตีเหล็ก
ผลการดำเนินการในหลุมขุดตรวจหมายเลข 1 หลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำคัญที่พบในหลุมขุดตรวจหมายเลข 1 มีดังนี้ 1. ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา 2. ก้อนดินเผาไฟ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนจากผนังเตาถลุงเหล็กสมัยโบราณ 3. ชิ้นส่วนปลายของท่อสูบลมทำด้วยดินเผา 4. ตะกรันที่เกิดจากกระบวนการถลุงเหล็ก 5. ก้อนดินเผาไฟสำหรับใช้เป็นที่อุดช่องดักตะกรันที่ผนังเตา
การแปลความหมายหลักฐานทางโบราณคดี เบื้องต้น โบราณวัตถุประเภทต่างๆที่พบในหลุมขุดตรวจหมายเลข 1 ดังรายการข้างต้นนั้น จัดได้ว่าเป็นวัตถุหลงเหลือจากการทำกิจกรรมสมัยโบราณเพียง 1 ประเภทได้แก่ - กิจกรรมการทำหัตถกรรมพิเศษ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ การถลุงเหล็ก
สรุปภาพรวมของการดำเนินการสรุปภาพรวมของการดำเนินการ การปฏิบัติงานขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ สามารถค้นพบข้อมูลใหม่ทั้งที่คาดคะเนไว้ในแผนการวิจัยและที่นอกเหนือไปจากที่คาดคะเนไว้ จึงนับว่าดำเนินการได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ข้อมูลสำคัญที่รวบรวมมาได้ ประกอบด้วย 1. ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีการปลงศพประชากรสมัยโบราณที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็กสมัยโบราณ 2. ข้อมูลด้านเครื่องปั้นดินเผาแบบเด่นของประชากรสมัยโบราณที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตเหล็กสมัยโบราณ สามารถเอื้ออำนวยการวิเคราะห์เพื่อหาอายุเชิงเทียบของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ และแหล่งอื่นๆ เพื่อพยายามวิเคราะห์ประเด็นเรื่องความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมของแหล่งโบราณคดีเหล่านั้นต่อไป
งานวิจัยที่ต้องดำเนินการต่อไปงานวิจัยที่ต้องดำเนินการต่อไป งานโครงการวิจัยฯในส่วนของกิจกรรมการศึกษาประวัติการใช้โลหะสมัยโบราณในประเทศไทย ที่ต้องดำเนินการต่อไปนั้น จะประกอบด้วยงานต่างๆ ดังนี้ 1. งานวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ โดยวิธีการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปะ และด้านโบราณคดี เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการขุดค้นทางโบราณคดี 2. งานรวบรวมข้อมูลคุณลักษณะประการต่างๆของแหล่งโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและใช้โลหะสมัยโบราณ
Area of Study ภาคใต้ตอนบนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด่านสิงขร และสหภาพเมียนม่าร์
Concept • การค้นคว้าทางโบราณคดีของชุมชนหมู่บ้านดั้งเดิมหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ได้ทราบว่ามีพัฒนาการทางวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และอาจจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค ดังปรากฏความร่วมแบบของวัตถุทางวัฒนธรรมบางประเภทในหลายๆ ชุมชน ด้วยเหตุนี้เองการศึกษาพัฒนาการทางสังคมผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม (Material Culture) จึงเป็นประเด็นสำคัญในการทำความเข้าใจรากฐานความสัมพันธ์ของชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Direction • ศึกษาและอธิบายประวัติ พัฒนาการและการกระจายตัวของชุมชนโบราณ แหล่งโบราณคดี แหล่งภาพเขียนสี ในพื้นที่กลุ่มประเทศ GMS และคาบสมุทรมลายา เพื่อตรวจสอบการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมผ่านหลักฐานทางโบราณคดี
Scope of Work • ศึกษาพัฒนาการและการกระจายตัวของชุมชนโบราณ แหล่งโบราณคดี เส้นทางทางวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เส้นทางข้ามคาบสมุทร
Survey เ
Criteria for Survey • สถานที่ที่เคยมีคนอาศัย • ปรากฏเศษสิ่งของเครื่องใช้ • เศษหม้อ • โครงกระดูกคน เศษชิ้นส่วนกระดูก • กระดูกสัตว์ เปลือกหอยน้ำจืด หอยทะเล • เครื่องมือหิน ขวานหินขัด ค้อนหิน • เครื่องประดับ • เริ่มต้นในเขตจังหวัดชุมพร • แนวฝนเคลื่อนลงสุราษฎร์ธานี • มีรายงานการพบแหล่งน้อยผิดปกติ • เข้าถึงแหล่งได้ยาก • คาดว่าจะค้นพบไม่เกิน ๑๐ แหล่ง
การค้นหาและเข้าถึงแหล่งการค้นหาและเข้าถึงแหล่ง
บ้านรุ่งเรือง อ.ละแม จ.ชุมพร
ถ้ำฉานทา ต.เขาทะลุ อ.สวี
ถ้ำตาเหลี่ยม ต.เขาทะลุ อ.สวี จ.ชุมพร
บ้านทอนพงษ์ ต.ปังหวาน อ.พะโต๊ะ
ตำแหน่งแหล่งโบราณคดีที่พบก่อนพ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๓๓ แหล่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๑๐ แหล่งสมัยประวัติศาสตร์ ๓๓ แหล่ง
ผลการสำรวจ รวบรวมข้อมูล ๑. สำรวจแหล่งที่เคยได้รับการสำรวจแล้วจำนวน ๑๓ แหล่งในจำนวนนี้ไม่ปรากฏรายงานและการสำรวจได้พบหลักฐานเพิ่มเติม ๒. สำรวจค้นพบแหล่งโบราณคดี จำนวน ๖๗ แหล่ง ๓. มีจำนวน ๒ แหล่งที่ไม่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดี ๔. มีจำนวน ๗๐ แหล่ง ที่มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลายแหล่งพบหลักฐานหม้อสามขาที่อยู่ในยุคหินใหม่
ตำแหน่งแหล่งชุมชนโบราณและชุมชนปัจจุบันตำแหน่งแหล่งชุมชนโบราณและชุมชนปัจจุบัน