1.07k likes | 2.31k Views
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System).
E N D
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ
Definition • Mr. Scott Morton (1971) “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบที่มีการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบ คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูล(Data) และแบบจำลอง(Model) ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไขปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem)ได้” • Mr. Keen & Mr. Scott Morton (1978) “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากร สมองของมนุษย์ที่ทำงานร่วมกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ เพื่อต้องการปรับปรุง การตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ ระบบ DSS เป็นระบบ ๆ หนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอย ช่วยเหลือ และให้การสนับสนุน เพื่อบุคคล ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ สามารถจัดการกับปัญหา กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Problem)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
วิวัฒนาการของ DSS • ระยะที่ 1: กลางปี 1950 เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ ระบบที่นำมาใช้ได้แก่ TPS สำหรับระบบประมวลผลรายการข้อมูล และ การจัดทำรายงานสารสนเทศ • ระยะที่ 2: ระหว่างปี 1960-1970 มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้ในสำนักงาน ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และลดปริมาณกระดาษได้อย่างมากเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)
วิวัฒนาการของ DSS (ต่อ) • ระยะที่ 3: ระหว่างปี 1970-1980 มีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของผู้บริหาร ต่อมา DSS ถูกนำมาไปใช้ทำงาน 2 ลักษณะคือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Support System: GSS)
วิวัฒนาการของ DSS (ต่อ) • ระยะที่ 4: ตั้งแต่กลางทศวรรษปี 1980 มีการพัฒนาระบบที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาของผู้บริหารเรียกว่า “ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)” ในปี 1990 มีการพัฒนาข้อมูลสำหรับการสนับสนุนการตัดสินใจในรูปของคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ซึ่งสามารถเรียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ได้ รวมถึงการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) โดยผู้บริหารสามารถสั่งการระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง
วิวัฒนาการของ DSS (ต่อ) • ระยะที่ 5: วิวัฒนาการล่าสุดคือ “ระบบตัวแทนปัญญา (Intelligence Agent)” สามารถลดข้อจำกัดในการเข้าถึงฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั่วโลก โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร DSS เป็นระบบที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือข้อมูลตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
การตัดสินใจและการตัดสินใจเชิงธุรกิจการตัดสินใจและการตัดสินใจเชิงธุรกิจ • การตัดสินใจ (Decision Making) คือ กระบวนการคัดเลือกแนวทางปฏิบัติจากทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่ต้องการ (เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา) • ลักษณะของการตัดสินใจเชิงธุรกิจ • สามารถทำได้โดยลำพัง หรือร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้ • การตัดสินใจอาจมีวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจหลายประการที่ขัดแย้งกัน • มีแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจหลายทางเลือก • ผลของการตัดสินใจในปัจจุบัน จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพยากรณ์เรื่องต่าง ๆ ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี • เป็นการตัดสินใจแบบ “ลองผิด-ลองถูก” เนื่องจากมีเงื่อนไขเดียวให้พิจารณา • ปัจจัยแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ลักษณะของปัญหาที่ผู้ใช้ต้องเผชิญลักษณะของปัญหาที่ผู้ใช้ต้องเผชิญ • ปัญหาแบบมีโครงสร้าง (Structured Problem) การแก้ไขปัญหาชัดเจน แน่นอน หรือสามารถจำลองปัญหาได้ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ (แบบจำลองทางคณิตศาสตร์) คือ ปัญหาที่ใช้ข้อมูลและระบบสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ ตัวอย่าง:ปัญหาการกำหนดระดับสินค้าคงคลัง ระดับสินค้าคงคลัง = ปริมาณความต้องการสินค้าที่แน่นอน + ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่ประหยัดที่สุด + ระดับสินค้าคงคลังที่มีปริมาณปลอดภัย + จุดสั่งซื้อสินค้า
ลักษณะของปัญหาที่ผู้ใช้ต้องเผชิญ (ต่อ) • ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Problem) การแก้ปัญหาไม่ชัดเจน และแน่นอน คือ ข้อมูลและสารสนเทศไม่เพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจ ต้องอาศัยประสบการณ์ในการตัดสินใจร่วมด้วย ตัวอย่าง:ปัญหาการเลือกลงทุนของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ตัดสินใจลงทุนไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าหุ้นที่ตัดสินใจลงทุนไปนั้นจะให้ผลตอบแทนสูงสุดได้หรือไม่ เมื่อถึงเวลาปันผลกำไร
ลักษณะของปัญหาที่ผู้ใช้ต้องเผชิญ (ต่อ) • ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Problem) ปัญหามีลักษณะเฉพาะ ส่วนมากจะเกิดไม่ซ้ำและไม่มีกระบวนการดำเนินการมาตราฐาน หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วน ต้องอาศัยประสบการณ์ กับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่าง:ปัญหาระดับสินค้าคงคลัง ผู้ตัดสินใจไม่สามารถทราบปริมาณความต้องการสินค้าที่แน่นอนได้ ก็จะไม่สามารถหาผลลัพธ์ที่แน่นอนได้อย่างถูกต้อง ต้องอาศัยประสบการณ์ในการคาดการณ์ปริมาณความต้องการในอนาคต อาจใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์(AI)เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ
การตัดสินใจและการแก้ปัญหาการตัดสินใจและการแก้ปัญหา • กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Process) คือ การกำหนดขั้นตอนในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ Intelligence Phase Decision Making Process Design Phase Problem Solving Process Choice Phase Implementation Phase Monitoring Phase
กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Process) • การใช้ความคิด (Intelligence Phase) การระบุปัญหา • การออกแบบ (Design Phase) ขั้นตอนการสร้างและวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ ประกอบด้วย -Model (แบบจำลอง) -Decision Tree (แผนภาพการตัดสินใจแบบต้นไม้) - Decision Table (ตารางการตัดสินใจ) • การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด (Choice Phase) ขั้นตอนของการค้นหาและประเมินทางเลือกต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบ และคัดเหลือกให้เหลือเพียงทางเลือกเดียว
กระบวนการตัดสินใจ (Decision Making Process) • การนำไปใช้ (Implementation Phase) ขั้นตอนการนำทางเลือกที่ได้จาก Choice Phase มาใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งอาจประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลวก็ได้ • การติดตามผล (Monitoring Phase) ขั้นตอนที่ประเมินผลหลังจาก Implementation Phase หากผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจ ต้องพิจารณาถึงสาเหตุว่าเกิดจากขั้นตอนใด หรือขาดสารสนเทศส่วนใด เพื่อนำมาปรับปรุงการตัดสินใจแก้ปัญหาอีกครั้ง
Notation Used in Decision Trees • A box is used to show a choice that the manager has to make. • A circle is used to show that a probability outcome will occur. • Lines connect outcomes to their choice or probability outcome.
Decision Tree Example 1 Joe’s garage is considering hiring another mechanic. The mechanic would cost them an additional $50,000 / year in salary and benefits. If there are a lot of accidents in Providence this year, they anticipate making an additional $75,000 in net revenue. If there are not a lot of accidents, they could lose $20,000 off of last year’s total net revenues. Because of all the ice on the roads, Joe thinks that there will be a 70% chance of “a lot of accidents” and a 30% chance of “fewer accidents”. Assume if he doesn’t expand he will have the same revenue as last year. Draw a decision tree for Joe and tell him what he should do.
70% chance of an increase in accidents Profit = $70,000 Hire new mechanic Cost = $50,000 30% chance of a decrease in accidents Profit = - $20,000 Don’t hire new mechanic Cost = $0 .7 .3 • Estimated value of “Hire Mechanic” = NPV =.7($70,000) + .3(- $20,000) - $50,000 = - $7,000 • Therefore you should not hire the mechanic NPV = Net Present Value
Decision Tree Example 2 Mary is a manager of a gadget factory. Her factory has been quite successful the past three years. She is wondering whether or not it is a good idea to expand her factory this year. The cost to expand her factory is $1.5M. If she does nothing and the economy stays good and people continue to buy lots of gadgets she expects $3M in revenue; while only $1M if the economy is bad. If she expands the factory, she expects to receive $6M if economy is good and $2M if economy is bad. She also assumes that there is a 40% chance of a good economy and a 60% chance of a bad economy. (a) Draw a Decision Tree showing these choices.
40 % Chance of a Good Economy Profit = $6M Expand Factory Cost = $1.5 M 60% Chance Bad Economy Profit = $2M Good Economy (40%) Profit = $3M Don’t Expand Factory Cost = $0 Bad Economy (60%) Profit = $1M .4 .6 .4 .6 NPVExpand = (.4(6) + .6(2)) – 1.5 = $2.1M NPVNo Expand = .4(3) + .6(1) = $1.8M $2.1 > 1.8, therefore you should expand the factory NPV = Net Present Value
Condition Alternatives Conditions Actions Action Entries Decision Table (IfConditionsThenActions) Printer troubleshooter If Printer does not print AND A red light is flashing AND Printer is recognized Then Check/replace ink AND Check for paper jam
Example Rule 1: IF it is raining AND it is not warm today THEN take an umbrella AND take an overcoat. Rule 2: IF it is raining AND it is warm today THEN take a raincoat Rule 3: IF it is not raining AND the weather forecast is fine AND it is warm today THEN do not take an umbrella, a raincoat, or an overcoat Rule 4: IF it is not raining AND the weather forecast is fine AND it is not warm today THEN take an overcoat Rule 5: IF it is not raining AND the weather forecast is not fine AND it is warm today THEN take an umbrella Rule 6: IF if is not raining AND the weather forecast is not fine AND it is not warm today THEN take an umbrella AND take an overcoat
Y Y Y Y N N N N Y Y N N Y Y N N Y N Y N Y N X X X X X X Example Weather Forecast It is raining the weather forecast is fine Y N It is warm today X Take an umbrella X X Take A raincoat Take An overcoat X
1. Structured 2. Unstructured 3. Semi-Structured 1. Strategic 2. Management Control 3. Operational 1. Personal 2. Group ประเภทของการตัดสินใจ ประเภทของการตัดสินใจ จำนวนผู้ตัดสินใจ โครงสร้างของปัญหา การบริหารงานในองค์กร
ประเภทการตัดสินใจจำแนกตามจำนวนผู้ตัดสินใจประเภทการตัดสินใจจำแนกตามจำนวนผู้ตัดสินใจ • การตัดสินใจส่วนบุคคล (Personal Decision) เป็นการตัดสินใจปัญหาที่มีความซับซ้อนไม่มากนัก ผู้ตัดสินใจจำเป็นต้องมีประสบการณ์และความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นอย่างดี • การตัดสินใจแบบกลุ่ม(Group Decision) เป็นการระดมสมอง (Brainstorming) ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพ และใช้เวลามากกว่า การตัดสินใจส่วนบุคคล
ประเภทการตัดสินใจจำแนกตามโครงสร้างของปัญหาประเภทการตัดสินใจจำแนกตามโครงสร้างของปัญหา • การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) มีขั้นตอนการตัดสินใจไว้เป็นอย่างดี และใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ โดยวิธีการมาตรฐาน • การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) มีขั้นตอนการตัดสินใจที่อาศัยประสบการณ์ และใช้กับปัญหาที่มีลักษณะคลุมเครือซับซ้อน และเป็นปัญหาที่ไม่เคยทำการแก้ไขมาก่อน • การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) มีขั้นตอนการตัดสินใจแบบมาตรฐานสำหรับปัญหามีโครงสร้าง และประสบการณ์สำหรับการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
Top Middle Management Lower Management ประเภทการตัดสินใจจำแนกตามระดับการจัดการในองค์กร Strategic Decision Tactical Decision Operational Decision
ประเภทการตัดสินใจจำแนกตามระดับการจัดการในองค์กรประเภทการตัดสินใจจำแนกตามระดับการจัดการในองค์กร • การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ (Strategic Decision) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ในระดับนโยบาย เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์กรในระยะยาว เช่น การตัดสินใจจัดห้องอาหารสำหรับพนักงาน • การตัดสินใจเพื่อควบคุมการบริหาร (Management Control Decision) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ในระดับเทคนิค หรือ “Tactical Decision”เป็นการตัดสินใจระดับกลยุทธ์ระยะเริ่มต้น เช่น การจัดประเภทของอาหารเป็น 3 ประเภท • การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Decision) การตัดสินใจของผู้บริหารระดับล่าง เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ เช่นการจัดรายการอาหารให้เป็น 3 ประเภท ตามการตัดสินใจระดับเทคนิค
สภาพการณ์ในการตัดสินใจสภาพการณ์ในการตัดสินใจ • สภาพการณ์ที่แน่นอน (Certainty Condition ) เป็นการตัดสินใจที่ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน ทำให้สามารถทราบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน มักเกิดกับปัญหาแบบ Structured • สภาพการณ์ที่มีความเสี่ยง (Risk Condition ) เป็นการตัดสินใจที่ผู้ตัดสินใจมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถทราบทางเลือกและผลลัพธ์ของปัญหาได้อย่างชัดเจน ทำได้เพียงประมาณการ(ความน่าจะเป็น) • สภาพการณ์ที่ไม่แน่นอน (Uncertainty Condition ) เป็นการตัดสินใจที่ผู้ตัดสินใจไม่มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ทำให้ไม่สามารถทราบได้ถึงโอกาส (ความน่าจะเป็น) ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยง และไม่สามารถประเมินความเสี่ยงได้
สาเหตุ การนำระบบสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจมาใช้ • จำนวนทางเลือกที่ใช้แก้ปัญหามีมาก • ระยะเวลาที่จำกัด • สถานการณ์ที่มีความผันผวน หรือไม่มีความแน่นอน
Dictionary DSS Decision Support System EIS Executive Information System MIS Management Information System TPS Transaction Processing System Expert System ES Office Automation System OAS
Top Management Middle Management Lower Management ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ DSS EIS MIS TPS Generic Management ES OAS
คุณสมบัติของ DSS • พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ DSS สามารถช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จำเป็น แบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ และชุดคำสั่งที่ง่ายต่อการใช้งานรวมเข้าเป็นระบบเดียว เพื่อสะดวกต่อในการใช้งานของผู้ใช้ โดยที่ DSS ที่เหมาะสมควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
คุณสมบัติของ DSS (cont) • 1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Easy to use) เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจนความเร่งด่วนในการใช้งานและความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้ • 2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยที่ DSS ที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบสนองความต้องการและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
คุณสมบัติของ DSS (cont) • 3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา • 4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติ งานที่จัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวันเท่านั้น
คุณสมบัติของ DSS (cont) • 5. มีความยืดหยุ่น (Flexibility)ที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญหน้ากับปัญหา ที่มีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญกับปัญหาในหลายลักษณะจึงต้องการระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดรูปข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ • คุณสมบัติของ DSS สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานของระบบ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากหลายองค์การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหรือซื้อระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพขึ้น
ความสามารถของ DSS • ผู้บริหารทุกระดับสามารถนำไปใช้งานได้ • สนับสนุนการตัดสินใจปัญหาแบบ Semi-Structured และ Unstructured • สนับสนุนการตัดสินใจทั้งแบบ Personal และ Group ได้ • สนับสนุนกระบวนการตัดสินใจในขั้นตอน Intelligence Design, Choice และ Implementation Phase ได้
ส่วนประกอบของ DSS • สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ • อุปกรณ์ • ระบบการทำงาน • ข้อมูล • บุคลากร
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ • 1.1 อุปกรณ์ประมวลผล • 1.2 อุปกรณ์สื่อสาร • 1.3 อุปกรณ์แสดงผล
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 1.1. อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งในสมัยเริ่มแรกจะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) หรือมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ในสำนักงานเป็นหลักแต่ในปัจจุบันองค์การส่วนมากหันมาใช้ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) แทนเนื่องจากมีราคาถูก มีประสิทธิภาพดี และสะดวกต่อการใช้งาน ตลอดจนผู้ใช้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานสารสนเทศสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ สามารถที่จะพัฒนา DSS ขึ้นบน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้ชุดคำสั่งประเภทฐานข้อมูล และ Spread Sheet ประกอบ
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 1.2. อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) ได้ถูกนำเข้ามาประยุกต์ เพื่อทำการสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศของ DSS โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวีดีโอ (Video Conference) หรือการประชุมทางไกล (Teleconference) ประกอบ เนื่องจากผู้มีหน้าที่ตัดสินใจอาจอยู่กันคนละพื้นที่
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 1.3. อุปกรณ์แสดงผล DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลเช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยถ่ายทอดข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 2. ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ • ฐานข้อมูล • ฐานแบบจำลอง • ระบบชุดคำสั่งของ DSS
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 2.1. ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลขององค์การ เนื่องจากระบบข้อมูลขององค์การเป็นระบบขนาดใหญ่มีข้อมูลหลากหลายและเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลายประเภท แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไว้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน และแน่นอน เพื่อรอการนำไปประมวลผลประกอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน DSS อาจจะต่อเชื่อมกับระบบฐานข้อมูลขององค์การ เพื่อดึงข้อมูลสำคัญบางประเภทมาใช้งาน
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 2.2. ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ปกติ DSS จะถูกพัฒนาขึ้นมาตามจุดประสงค์เฉพาะอย่าง ดังนั้น DSS จะประกอบด้วยแบบจำลองที่ต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 2.3. ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆ โดยระบบชุดคำสั่ง ของ DSS จะมีหน้าที่จัดการ ควบคุมการพัฒนา จัดเก็บ และเรียกใช้แบบจำลองต่างๆเพื่อนำมาประมวลผลกับข้อมูลขากฐานข้อมูล นอกจากนี้ระบบชุดคำสั่งยังมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ใช้ในการโต้ตอบกับ DSS โดยที่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนคือ
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังอาจจะสร้างปัญหา หรือความผิดพลาดในการตัดสินใจขึ้นได้ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ DSS จะแตกต่างจากข้อมูลในระบบสารสนเทศอื่น โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสม สมควรที่จะมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 3.1. มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน • 3.2. มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ • 3.3. สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน • 3.4. มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
ส่วนประกอบของ DSS (cont) • 4. บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่ การกำหนดเป้าหมายและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ DSS ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ • 4.1. ผู้ใช้ (End-user)เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆตลอดจนนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้น