270 likes | 1.13k Views
Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย. ความหมาย. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2529 : 6) ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์
E N D
Inductive and Deductive การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว(2529 : 6) ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ ที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์ 2.จากเหตุผล 3.จากผู้รู้ 4.จากการหยั่งรู้
อุปนัย(Inductive) FracisBacon ได้วิจารณ์ไว้ 1,600 ปีกว่ามาแล้วว่า ข้อความหลักตามการใช้เหตุผลแบบนิรนัย อาจเป็นสิ่งที่ทึกทักเอาเอง หรือไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอ จึงสามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดได้ FracisBacon ได้เสนอแนวคิดเชิงตรรกวิทยาที่เรียกว่า วิธีอุปนัย (Inductive Method) เป็น "วิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มด้วยการสังเกตความเป็นจริงจากปรากฏการณ์เฉพาะต่าง ๆ แล้วสรุปรวมเป็นกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปทั่วไป"
วิธีคิดแบบอุปนัยไม่ได้เริ่มต้นจากความเชื่อ แต่เริ่มจากการสังเกตข้อมูลอย่างเป็นกลางหลาย ๆ สถานการณ์ เพื่อหาลักษณะร่วมกันที่นำไปสู่ข้อสรุปทั่วไป Fracis Bacon ได้เน้นความสำคัญของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูลที่ได้ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ไม่ใช่ข้อสรุป แต่เป็นข้อมูลสำหรับการตั้งสมมติฐานเพื่อการตรวสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์
เนื่องจากแนวคิดตามวิธีอุปนัยเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถที่จะใช้ในการตรวจสอบความจริงได้อย่างสมบูรณ์ เพราะต้องอาศัยมาตรฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล ถ้าข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการสุ่มจากหลายแหล่งที่ขาดมาตรฐานอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือขาดความสอดคล้องกัน จะทำให้เกิดความสับสนในการตรวจสอบ และสรุปผลเข้าด้วยกันเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป
เทคนิคการสอนแบบอุปนัย (Inductive Method) ความหมาย วิธีการสอนแบบอุปนัย เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย 1. ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม ให้กับนักเรียน 2. ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่างๆให้นักเรียนได้ วิเคราะห์และพิจารณา 3. ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม คือ การที่นักเรียนได้มีโอกาสพิจารณาขององค์ประกอบในตัวอย่างเพื่อเตรียมสรุปกฎเกณฑ์ 4. ขั้นสรุป คือการนำข้อสังเกตต่างๆ จากตัวอย่างมาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ นิยามหลักการ หรือสูตร ด้วยตัวนักเรียนเอง 5. ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์หรือข้อสรุปที่ได้มาแล้วว่าสามารถที่จะนำไปใช้ในปัญหาหรือแบบฝึกหัดอื่น ๆ ได้หรือไม่
ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบอุปนัยข้อดีและข้อจำกัดของการสอนแบบอุปนัย ข้อดี 1. จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน 2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์ 3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา
ข้อจำกัด 1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ 2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย 3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป 4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน
นิรนัย ( Deductive ) คือการหาเหตุผลจากส่วนรวมที่ยอมรับกันแล้ว เป็นสากล หรือชัดแจ้งแล้ว ไปหาข้อสรุปในส่วนที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัดแจ้ง พูดง่าย ๆ ก็คือจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ จากทุกส่วนไปหาบางส่วน
อริสโตเติล(Aritotle) นักปรัชญาชาวกรีกได้ให้กำเนิดแนวคิดเชิงตรรกวิทยา เรียกว่าวิธีนิรนัย (Deductive Method) เป็น "วิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มด้วยการกำหนดข้อความหลัก ซึ่งเป็นข้อความโดยนัยทั่วไป เพื่อใช้ถอดแบบไปเป็นข้อเสนอหรือข้อสรุปสำหรับสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ "โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นบนพื้นฐานของความเชื่อว่าข้อความหลักเป็นจริงด้วยข้อมูลที่สามารถอธิบายด้วยตัวของมันเอง (self-evident) เช่น สิ่งที่มีชีวิตเกิดมาแล้วจะต้องตาย ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นต้น
วิธีนิรนัยจึงเป็นการพัฒนากระบวนการคิดที่สำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลเป็นอย่างมาก แต่จุดอ่อนของการใช้เหตุผลแบบนิรนัยคือ ถ้าข้อความหลักไม่เป็นจริง ผลของการนิรนัยก็ไม่ถูกต้อง วิธีคิดแบบนี้จึงใช้ได้เฉพาะบางสถานการณ์ และมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้ตรวจสอบความรู้ ความจริงใหม่ ๆ เพราะถ้าข้อความหลักไม่สมบูรณ์ตามข้อเท็จจริง หรือไม่เป็นที่ยอมรับ หรือยอมรับกันในทางที่ผิด ก็จะทำให้การสรุปในกรณีเฉพาะเกิดความผิดพลาดได้
ในศตวรรษที่ 19 Charles Darwin ได้สร้างทฤษฎีวิวัฒนาการโดยอาศัยหลักการใช้เหตุผลแบบอุปนับและนิรนัยมาใช้ร่วมกัน สำหรับทดสอบความถูกต้องของกฎเกณฑ์อันเป็นข้อสรุปโดยสะท้อนกลับไปมาทั้งสองวิธี อันเป็นการตรวจสอบยืนยันซึ่งกันและกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสรุปที่แน่นอนยิ่งขึ้น
วิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัย เริ่มจากวิธีการอุปนัย ด้วยการสังเกตข้อมูลในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ เพื่อสร้างเป็นหลักเกณฑ์หรือข้อสรุปทั่วไป จากนั้นจึงใช้วิธีนิรนัยด้วยการนำหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ได้นั้นถือเป็นสมมติฐาน สำหรับนำไปใช้ทดสอบด้วยจ้อมูลในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ในเวลาต่อมากระบวนการนี้ได้รับการยอมรับทั่วไปว่าเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ดังนั้นวิธีการใช้เหตุผลแบบอุปนัย-นิรนัยจึงช่วยให้แนวคิดที่สมเหตุสมผลในการสังเคราะห์ความคิดเพื่อตั้งเป็นสมมติฐานและ ให้แนวคิดการใช้เหตุผลสำหรับการตรวขสอบสมมติฐานด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ การแปลความหมายและสรุปผลในการแสวงหาความรู้ความจริง
แบบทดสอบ 1. พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้สรุปให้เข้าใจการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย-นิรนัยไว้ว่าอย่างไร เฉลย 2. วิธีการสอนแบบอุปนัย หมายถึง เฉลย 3. ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยมีกี่ข้อ อะไรบ้าง เฉลย 4. การหาเหตุผลแบบนิรนัย หมายถึง เฉลย 5. ผู้ใดได้ให้กำเนิดแนวคิดแบบนิรนัย เฉลย
จัดทำโดย น.ส.อวัชฎา ไชยสุระ น.ส.ศิรดา ภูจอมจิตร น.ส.สุนิษา อภัยพักต์ น.ส.สุภัททรา ทศราช น.ส.วัชรี ธนะฤทธิ์ สาขาภาษาอังกฤษ G:3
เฉลยแบบทดสอบ 1. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยและนิรนัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งความรู้และที่มาของความรู้ มาได้ 4 ทางคือ 1.จากประสบการณ์ 2.จากเหตุผล 3.จากผู้รู้ 4.จากการหยั่งรู้ 2. เป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง 3. มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1). ขั้นเตรียม 2). ขั้นสอนหรือขั้นแสดง 3). ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม 4). ขั้นสรุป 5). ขั้นนำไปใช้ ถัดไป กลับ
4. คือการหาเหตุผลจากส่วนรวมที่ยอมรับกันแล้ว เป็นสากล หรือชัดแจ้งแล้ว ไปหาข้อสรุปในส่วนที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัดแจ้ง พูดง่าย ๆ ก็คือจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ จากทุกส่วนไปหาบางส่วน 5. อริสโตเติล (Aritotle) กลับ