1 / 26

Best Practice ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัด การศึกษา สำหรับ นักเรียนพิการเรียนรวม

ผู้พัฒนา : นางลักขณา อัฐนาค ครู โรงเรียน กุฉิ นารายณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. Best Practice ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัด การศึกษา สำหรับ นักเรียนพิการเรียนรวม. เจ้าของ นางลักขณา อัฐนาค ครู วิทย ฐานะ ชำนาญการพิเศษ โรงเรียน กุฉิ นารายณ์ อำเภอ กุฉิ นารายณ์

trilby
Download Presentation

Best Practice ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัด การศึกษา สำหรับ นักเรียนพิการเรียนรวม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้พัฒนา : นางลักขณา อัฐนาค ครู โรงเรียนกุฉินารายณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 Best Practice ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม

  2. เจ้าของ นางลักขณา อัฐนาค • ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ • โรงเรียนกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ • จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ ๔๖๑๑๐ • E-mail :lakana.atk@gmail.com • Website :www. kuchinarai.ac.th รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนรวมในชั้นเรียนปกติ

  3. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปี 2549-2556 • หัวหน้างานโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม ปี 2549 -ปัจจุบัน ข้อมูลผู้พัฒนา Best Practice

  4. ๑. ผ่านการอบรม เรื่อง การเป็นผู้ให้บริการตามกฎกระทรวง ฯพ.ศ.๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๘ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ๒. ผ่านการอบรม เรื่อง การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ เมษายน ๒๕๔๙ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ๓. ผ่านการอบรม ครูการศึกษาพิเศษ หลักสูตร ๒๐๐ ชั่วโมง ระหว่างวันที่ ๘-๒๐ กันยายน ๒๕๕๖ ณ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษประจำ สพฐ. ๔. ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้คัดกรอง ระหว่างวันที่ ๑-๓ เมษายน ๒๕๕๗ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนร่วม /เรียนรวม

  5. เป็นหัวหน้างานโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม วางแผน ประสานงาน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือเพื่อนครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการดูแล การสอนนักเรียนกลุ่มเรียนรวม • เป็นคณะกรรมการคัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวม • เป็นคณะกรรมการจัดทำ IEP • เป็นครูผู้สอนนักเรียนพิการเรียนรวม หน้าที่ในความรับผิดชอบ งานโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม

  6. Best Practice ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษา สำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนรวมในชั้นเรียนปกติ

  7. โรงเรียนกุฉินารายณ์ เป็นโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๔ เข้าร่วมโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2548 และเป็นโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม ( Inclusive School) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๔ ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

  8. ปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ระดับกลาง (กลุ่มเรียนรู้ได้) เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ รวมกับเพื่อนนักเรียนในชั้นเรียนปกติ เป็นนักเรียนที่ย้ายมาจากโรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ

  9. เมื่อแรกรับเข้ามาเรียน นักเรียนคนดังกล่าวไม่สามารถอ่าน หรือเขียนได้เอง เขียนตามแบบได้บ้าง ได้จัดการสอนเสริมให้นอกเวลาเรียนทุกวัน วันละ ๑ ชั่วโมง สามารถอ่านคำง่ายๆ ที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา อ่านคำบรรยายภาพง่ายๆ สั้นๆได้ เขียนตามแบบได้ดีขึ้น เขียนเรื่องราวง่ายๆสั้นๆเกี่ยวกับตนเองและครอบครัวได้

  10. ยังพบปัญหาความยุ่งยากในการเรียน คือ นักเรียนมีความยากลำบากในการอ่าน อ่านคำสะกดไม่ตรงตามมาตราไม่ได้ เรียบเรียงหรือจัดลำดับเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความจากเรื่องที่อ่านไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเรียนทุกรายวิชา จากสภาพการณ์ดังกล่าว ผู้สอนวิชาภาษาไทยจึงได้จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพระบุคคล(IEP) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) และจัดทำชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านที่มีภาพประกอบ จำนวน ๕ ชุด เรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก ที่สอดคล้องกับแผนการสอนเฉพาะบุคคล(IIP) เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ๑ คน ในชั้นเรียนปกติ ให้สามารถอ่านได้ตามระดับความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล ให้สามารถเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนอย่างมีความสุข

  11. ๑. เพื่อสร้างชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน ประกอบแผนการสอนเฉพาะบุคคล 1( Individual Implementation Plan :IIP) สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา มีปัญหาด้านการอ่าน ที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ • ๒. เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน • ๓.เพื่อประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

  12. ๑. มีชุดฝึกเสริมทักษะการอ่านประกอบแผนการสอนเฉพาะบุคคล 1 ( Individual Implementation Plan :IIP) สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา มีปัญหาด้านการอ่าน ที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ • ๒. นักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น • ๓.นักเรียนมีพฤติกรรมการเข้าเรียนสม่ำเสมอ สนใจการเรียนมากขึ้นและเรียนอย่างมีความสุข ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  13. ความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง Best Practiceกับเป้าหมาย/จุดเน้นของสถานศึกษา/สพป.สพม.สพฐ.

  14. พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 • มาตรฐานการศึกษาของชาติ • มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน • มาตรฐานการเรียนร่วม พ.ศ. 2555 • นโยบายปฏิรูปการศึกษา ระยะที่ 2 แนวคิดหลักการ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการพัฒนา

  15. คัดกรองนักเรียน ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ • ประชุมครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) • จัดทำคำสั่งแต่งตั้งครูรับผิดชอบการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล • ๔. ครูผู้สอนจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ในรายวิชาที่สอน ขั้นตอนการดำเนินงาน

  16. ๕. สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน จำนวน ๕ ชุด ดังนี้ • ชุดภาษาพาสนุก • ชุดประโยคหรรษา • ชุดวงล้อพาเพลิน • ชุดเธอถามฉันตอบ • ชุดอ่านคำสู่ประโยค

  17. ๖. นำแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องกับแผนการสอนเฉพาะบุคคล • ๗. ทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านกับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ที่มีปัญหาด้านการอ่าน • ๘. นำแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนรวมในชั้นเรียนปกติ โดยสังเกตพฤติกรรมการเรียนและเก็บข้อมูลระหว่างเรียน

  18. นักเรียนได้รับการคัดกรองความสามารถพื้นฐานด้านการอ่านนักเรียนได้รับการคัดกรองความสามารถพื้นฐานด้านการอ่าน • ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ได้ร่วมประชุมรับทราบปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน และร่วมกันวางแผนการช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรวมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้อย่างมีความสุข • ครูผู้สอนมีแผนการสอนเฉพาะบุคคลของนักเรียน นำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน • นักเรียนได้เรียนรวมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ ทำกิจกรรมในชั้นเรียนกับเพื่อน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคลและชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน ในคาบการเรียนรายวิชาภาษาไทย • นักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่าน ทั้งอ่านออกเสียงคำ พยางค์ ข้อความ ประโยค และ อ่านจับใจความเรื่องราวสั้น ๆง่ายๆได้ ตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้ ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

  19. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนคนดังกล่าวไม่มีปัญหาผลการเรียน สอบผ่านตามเกณฑ์การวัดผลประเมินผลที่กำหนดในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล( IEP ) แผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล( IIP) • นักเรียนมาเรียนสม่ำเสมอ ไม่หนีเรียน สนใจการเรียน มีความสุขกับการเรียน มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกทั้งในชั้นเรียน เข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียนทุกครั้ง

  20. 1. ได้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน ประกอบแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) แผนการสอนรายบุคคล(IIP) สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ ช่วยให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น เข้าเรียนสม่ำเสมอ • 2. การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ โดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน พัฒนาความสามารถการอ่านได้คะแนนรวม 157 จากคะแนนเต็ม 210 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.76 ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ดี • 3. การประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ที่เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเสริมทักษะการอ่าน พบว่า นักเรียนทุกคนที่เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีความสุขกับการเรียน ไม่หนีเรียน ไม่ซุกซน ไม่เดินไปมา มีสมาธิในการเรียนดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆในการเรียน ผ่านเกณฑ์ในระดับ มาก ปัจจัยความสำเร็จ

  21. ๑. การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนรวม ที่มีนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ต้องใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อ เทคนิคการสอนที่หลากหลาย เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน • ๒. นักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเรียนรู้ได้ หากใช้สื่อที่เหมาะสม พัฒนาศักยภาพนักเรียนแต่ละคนอย่างเต็มศักยภาพ เรียนรู้ได้ตามความสามารถของเขาเอง วัดผล ประเมินผลตามแผน IEP บทเรียนที่ได้รับ

  22. โรงเรียนกุฉินารายณ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม สังกัด สพม.๒๔ รุ่นที่ ๑ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้างานโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ โรงเรียนกุฉินารายณ์ ได้เป็นวิทยากรการอบรมโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สพม ๒๔ ทุกปีการศึกษา • ครูหัวหน้างานโรงเรียนต้นแบบจัดการเรียนรวม เป็นวิทยากรแกนนำ จัดอบรมครูและบุคากรทางการศึกษาโรงเรียนกุฉินารายณ์ ตามโครงการยกระดับมาตรฐานการเรียนรวม ทุกปีการศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม จะได้ช่วยเหลือนักเรียนให้เรียนรู้ได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล นักเรียนจะไม่มีปัญหาผลการเรียน เรียนกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติได้ทุกรายวิชา การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

  23. เผยแพร่ผ่าน เว็บไซด์ www.kuchinarai.ac.th • Facebook กลุ่มครูการศึกษาพิเศษ 200 ชั่วโมงภาคอีสานและภาคใต้ • E-office สพม24 กาฬสินธุ์ 55 โรงเรียน การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

  24. รางวัลชนะเลิศการใช้โปรแกรมPaint บกพร่องทางการเรียนรู้ สพม.๒๔ • รางวัลเหรียญทอง โปรแกรม Paint บกพร่องทางการเรียนรู้ สพม.๒๔ • รางวัลชนะเลิศการร้องเพลงลูกทุ่ง ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา สพม24 • รางวัลชมเชยการร้องเพลงลูกทุ่ง ประเภทบกพร่องทางสติปัญญา ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ

More Related