1 / 49

โรคคอตีบ (Diphtheria )

โรคคอตีบ (Diphtheria ). มาตรการเร่งด่วน. ฝึกทักษะการสอบสวนโรคเชิงลึก และการค้นหาผู้ป่วยผู้สัมผัส สำหรับทีม SRRT ระดับอำเภอ-ตำบล พร้อมศึกษาเรียนรู้มาตรการจากพื้นที่ระบาดขณะนี้

tyra
Download Presentation

โรคคอตีบ (Diphtheria )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคคอตีบ(Diphtheria)

  2. มาตรการเร่งด่วน • ฝึกทักษะการสอบสวนโรคเชิงลึก และการค้นหาผู้ป่วยผู้สัมผัส สำหรับทีม SRRT ระดับอำเภอ-ตำบล พร้อมศึกษาเรียนรู้มาตรการจากพื้นที่ระบาดขณะนี้ • ขยายศักยภาพการตรวจเพาะเชื้อC. diphtheriaeและยืนยันด้วย Biochemistry ในโรงพยาบาลจังหวัด หรือศูนย์วิทย์ฯ ที่เกี่ยวข้อง • เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน DTPในเด็กอายุน้อยกว่า ๗ ปี ที่มีอายุเกินจากเกณฑ์อายุนั้นๆ ก่อน (Catch up) • ตั้งศูนย์บัญชาการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคคอตีบในจังหวัดใกล้เคียงพื้นที่ระบาด • ค้นหาพื้นที่จำเป็นต้องได้รับ dTล่วงหน้าเพื่อลดอัตราป่วยตายในกลุ่มเสี่ยง • รายงานจำนวนผู้ป่วย พาหะ พร้อมทั้งพื้นที่สำหรับประเมินความเสี่ยง และเข้าควบคุมโรคแล้ว เป็นรายสัปดาห์

  3. กลยุทธ์ สำหรับป้องกันการระบาดของโรคคอตีบ • ค้นหา และกำหนดพื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจน ได้แก่ • พื้นที่เสี่ยง ควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีนก่อน • พื้นที่ระบาด (พบผู้ป่วย – ทานยา 14วัน – ติดตามอาการ 14 วัน) • พื้นที่ติดตามต่อเนื่อง (หลังติดตามกินยา 14วัน – เฝ้าระวังต่อ 14 วัน) • พื้นที่ระยะปลอดภัย (รอพบผู้ป่วยรายใหม่) • การให้นิยามผู้ป่วย ผู้สัมผัส พาหะ กำหนดนิยามโรค • เน้นการรักษาติดตามอาการและการกินยาในผู้ป่วย พาหะ และให้ยาป้องกันในกลุ่มผู้สัมผัสและกลุ่มเสี่ยง

  4. 17 – 30 Sep 2012 Loei Pitsanulok Petchaboon ตำบลที่พบผู้ป่วยมาก่อน 2 สัปดาห์ล่าสุด ตำบลใหม่ที่พบผู้ป่วยใน 2 สัปดาห์ล่าสุด ผู้ป่วยรายใหม่ใน 2 สัปดาห์ล่าสุด

  5. เครื่องมือควบคุมป้องกันโรคคอตีบเครื่องมือควบคุมป้องกันโรคคอตีบ • Diphtheria toxoid: กลุ่มเสี่ยง ลดการป่วยตาย • Diphtheria anti-toxin: ลด complication • Antibiotics: Erythromycin, Roxithromycin, PGs ช่วยกำจัดและลดจำนวนเชื้อในลำคอ • Non-pharmaceutical: mask, alcohol gel • Person: isolation, ติดตามอาการ การกินยา และสอบสวนโรค

  6. ระบบบัญชาการเพื่อป้องกันการระบาดโรคคอตีบ จังหวัดเลย กันยายน – พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะกรรมการตอบโต้การระบาดโรคคอตีบ ระดับจังหวัด/อำเภอ • ส่วนบังคับบัญชาการ • เป็นผู้ตัดสินใจ ตอบสนองเหตุการณ์ • มอบหมายงาน • รับคำแนะนำทั่วไปจากหน่วยรับผิดชอบ หน่วยLogistic และประสานงาน (เลขาฯ การประชุม) ทีมบริหารจัดการ หน่วยปฏิบัติการติดตาม อาการผู้ป่วยและการกินยา หน่วยปฏิบัติการสอบสวน วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานโรค หน่วยปฏิบัติการด้านวัคซีน และรายงานผลสำเร็จ ทีมข้อมูล และ รายงานโรค ทีมสอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็ว ทีมสุขศึกษา และ Mop-up dT ทีมติดตามอาการ ผู้ป่วย/ผู้สัมผัส ทีมติดตาม dT/ DTP coverage

  7. บทบาทหน้าที่ หน่วย Logisticและประสานงาน • คน เงิน ของ • เอกสาร • ประสานงาน • แผ่นพับประชาสัมพันธ์ สื่อวิทยุ กระจายเสียง • กำหนดการประชุม war room และชี้แจงหน่วยปฏิบัติการฯ

  8. บทบาทหน้าที่ หน่วยปฏิบัติการสอบสวน (หน่วยจู่โจม)วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานโรค (หน่วย) • รับรายงาน และสอบสวนโรคเฉพาะราย ในรพ. / รพ.สต. /สถานพยาบาลอื่น • สอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อค้นหาผู้ป่วย ผู้สัมผัสใกล้ชิด และแหล่งโรค • ชี้เป้าหมาย • ผู้ป่วย ผู้สัมผัส ที่ต้องติดตามอาการและการกินยา • พื้นที่สำหรับให้วัคซีน สำหรับพื้นที่เสี่ยงสำหรับให้วัคซีนป้องกัน และพื้นที่ระบาดสำหรับให้วัคซีนควบคุม • รวบรวมผลตรวจทางห้องปฏิบัติการฯ ทุกวัน • รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์การระบาด

  9. บทบาทหน้าที่หน่วยปฏิบัติการติดตามอาการ และการกินยา • รับส่งข้อมูลจากหน่วยปฏิบัติการสอบสวนโรค เน้นกลุ่มเป้าหมายที่รับประทานยา รายชื่อผู้ป่วยติดตามอาการแทรกซ้อน • ติดตามการกินยาของผู้สัมผัส ผู้ป่วย พาหะ • ให้สุขศึกษาสำหรับผู้ที่รับประทานยา • รายงานสถานการณ์พื้นที่ติดตามต่อเนื่อง • รวบรวมข้อมูล และสรุปผลการดำเนินการรายวัน/สัปดาห์

  10. บทบาทหน้าที่ หน่วยปฏิบัติการด้านวัคซีนและรายงานผลสำเร็จ • รับส่งข้อมูลจากหน่วยปฏิบัติการสอบสวนโรค เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับวัคซีน สำหรับพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่ระบาด • ค้นหาความครอบคลุมของวัคซีนสะสมในพื้นที่หมู่บ้าน ของแต่ละตำบล เพื่อพิจารณาพื้นที่เสี่ยง • บริหารจัดการวัคซีน การเก็บ การฉีด และ cold chain • ติดตามการฉีดวัคซีนครบตามกลุ่มเป้าหมาย จำนวนครั้ง และอาการแทรกซ้อน • รวบรวมข้อมูล และสรุปผลจำนวนพื้นที่ที่ได้รับวัคซีน รายวัน/สัปดาห์

  11. สิ่งที่ควรเรียนรู้สำหรับทีมสิ่งที่ควรเรียนรู้สำหรับทีม • การเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล • การสอบสวนโรค เน้นสอบถาม ประวัติสัมผัส และผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกวง • การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ในหมู่บ้าน • ขั้นตอน และวิธีติดตามอาการ การกินยา จำนวนวัน สำหรับควบคุมการระบาดของโรค • การค้นหาเด็กที่เหลือที่ควรได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุนั้น • การให้วัคซีนทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ และติดตามอาการหลังฉีด

  12. นิยามผู้ป่วยโรคคอตีบ(Case Definition) • ผู้ป่วยสงสัย (Suspect) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ 2 ใน 4 ดังนี้ ไข้ เจ็บคอ คอแดง และมีแผ่นขาวในลำคอ/จมูก หรือเป็นแผลสงสัยเกิดจากเชื้อคอตีบบนผิวหนัง (กรณี ไข้ และเจ็บคอ ต้องไม่มีน้ำมูกไหลด้วย) • ผู้ป่วยน่าจะเป็น (Probable) ได้แก่ ผู้ป่วยสงสัยคอตีบเสียชีวิต หรือผู้ป่วยสงสัยที่มีผลเพาะเชื้อเบื้องต้นเป็นบวก ในสารเลี้ยงเชื้อ Tellurite blood agar และกำลังตรวจยืนยันเชื้อคอตีบและยีนผลิต Toxin • ผู้ป่วยยืนยัน (Confirmed) ได้แก่ ผู้ป่วยสงสัย หรือ ผู้สัมผัสผู้ป่วยที่มีอาการไข้ หรือ เจ็บคอ หรือ มีแผ่นขาวในลำคอหรือจมูกหรือแผลที่สงสัยเชื้อคอตีบและผลการตรวจเพาะเชื้อพบ C. diphtheriaeและพบพบยีนผลิต Toxin (กรณีรายที่ 3 ขึ้นไปในหมู่บ้านเดียวกัน เมื่อพบเชื้อ C. diphtheriaeให้รวมด้วย)

  13. Diphtheria – Clinical features • Clinical manifestations: • 85-90% Sore throat • 50-85% low grade fever • 26-40% dysphagia • 50% membrane • Toxin mediated • myocarditis, polyneuritis, renal tubular necrosis and other systemic toxic effects • Fatality rate 5–10%, but in <5 or >40 year olds, could be 20%

  14. นิยามผู้ป่วยโรคคอตีบ(Case Definition) • พาหะ (Asymptomatic case / Carrier) คือ ผู้ที่ตรวจพบเชื้อC. diphtheriae แต่ไม่เคยมีประวัติเป็นไข้หรือเจ็บคอหรือมีแผ่นขาวในคอ/จมูก ก่อนการตรวจเพาะเชื้ออย่างน้อย 10 วัน • ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย (Contacts) ได้แก่ ผู้ที่อาศัย หรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย ในรัศมี 1 เมตร ได้แก่ สมาชิกครอบครัวบ้านเดียวกัน เพื่อนร่วมชั้นเรียนนั่งใกล้กัน เพื่อนร่วมงานที่นั่งใกล้กัน หรือดื่มเหล้าด้วยกัน เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกัน • การคัดกรองผู้ป่วยเพิ่มเติม • จากชุมชนที่พบผู้ป่วยคอตีบ หรือผู้ป่วยสงสัยคอตีบ • จากผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยคอตีบ หรือผู้ป่วยสงสัยคอตีบ ทั้งวงที่ 1 และ 2 • ให้ทำ TS ให้ยาปฏิชีวนะ และติดตามอาการและการกินยาจนครบกำหนด

  15. มาตรการในผู้ป่วย (Case management) • ให้Diphtheria Antitoxin (DAT) และยาปฏิชีวนะตามมาตรฐานการรักษา และติดตามอาการตามมา เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ • แยกผู้ป่วยจนกว่า ผลเพาะเชื้อให้ผลลบติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ภายหลังหยุดให้ยาปฏิชีวนะ • เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ป่วยคอตีบ ให้ Diphtheria Toxoid จำนวน 3 ครั้ง แก่ผู้ป่วยทุกราย โดยเริ่มให้วัคซีนเข็มแรกก่อนผู้ป่วยกลับบ้านระยะห่างระหว่างเข็มขึ้นกับอายุผู้ป่วยดังนี้ • ถ้าผู้ป่วยอายุ ≥ 7 ปี ให้ dT สูตร 0, 1, 6 เดือน • ถ้าผู้ป่วยอายุ < 7 ปี ให้ DTสูตร 0, 2, 4 เดือน

  16. มาตรการในผู้สัมผัส (Close contact) • ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด ได้แก่ ผู้ที่ได้สัมผัสติดต่อคลุกคลีกับผู้ป่วยในช่วง 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วยของผู้ป่วยรายนี้ ติดต่อจากการไอ จาม พูดคุยกันในระยะใกล้ชิด หรือใช้ภาชนะร่วมกัน • ติดตามดูอาการทุกวันเป็นเวลา 14 วัน ว่ามีอาการโรคคอตีบหรือไม่ ถ้ามีอาการให้การรักษาแบบผู้ป่วยทันที และให้เพาะเชื้อจากลำคอ (Throat swab) ก่อนให้ยาerythromycin 40-50 mg/kg/day รับประทาน ≥7 วัน • กรณีไม่มีอาการ และเพาะเชื้อได้ผลบวก ให้ดำเนินการแบบเป็นพาหะ • กรณีมีอาการและเพาะเชื้อได้ผลบวก ให้ดำเนินการแบบผู้ป่วยคอตีบ • กรณีมีอาการแต่เพาะเชื้อได้ผลลบ ให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง

  17. มาตรการในผู้สัมผัส (Close contact) • ไม่แนะนำให้ฉีด DATในผู้สัมผัสโรค เพื่อลดการแพ้ • ให้วัคซีน DTP หรือ dTตามเกณฑ์อายุทันที โดยพิจารณาจากประวัติการได้รับวัคซีน DTPในอดีตดังนี้ • กรณีเด็กไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้ไม่ครบ 3 ครั้ง หรือไม่ทราบ ให้ DTP สูตร 0, 1, 2 เดือน • กรณีที่เด็กได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้งแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการกระตุ้นภายใน 1 ปี ให้ฉีดdT1 เข็ม • กรณีที่เด็กได้รับวัคซีน 4 ครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายนานเกิน 5 ปี ให้ฉีด dT1 เข็ม • กรณีที่เด็กได้รับวัคซีน 4 ครั้ง ครั้งสุดท้ายไม่เกิน 5 ปี หรือได้รับวัคซีนครบ 5 ครั้งแล้ว ไม่ต้องให้วัคซีนอีก

  18. มาตรการในพาหะ (Carrier) • ช่วงที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด ให้รับประทานยา erythromycinเป็นเวลา 3วัน และเก็บตัวอย่าง Throat swab ส่งตรวจเบื้องต้น • เมื่อผลเพาะเชื้อจากลำคอเบื้องต้นเป็นบวก สงสัยเชื้อ C. diphtheriaeและยังไม่มีอาการ จัดเป็นพาหะ ให้รับประทานยา erythromycin ต่ออีก 7 วัน • เมื่อผลเพาะเชื้อยืนยันจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบเชื้อ C. diphtheriaeที่มียีนผลิตสาร Toxin ให้รับประทานยา erythromycinต่ออีก 3 วัน และให้ส่งเพาะเชื้อในสารเลี้ยงเชื้อ Loffler blood agarซ้ำอีก 2ครั้งห่างกัน 24 ชั่วโมง • ถ้าผลเพาะเชื้อจากลำคอเป็นผลบวกให้ยาerythromycin รับประทานต่อไปและเพาะเชื้อจากลำคอช้ำอีกครั้งจนเป็นผลลบ • ให้วัคซีนเช่นเดียวกับมาตรการในผู้สัมผัส • ติดตามผลการเพาะเชื้อและรับประทานยาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา14วัน

  19. ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และติดตามอาการและกินยา ผู้ป่วยสงสัยคอตีบ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ในหมู่บ้าน ต่อเนื่อง 14วัน ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด ร่วมบ้าน ร่วมงาน หมู่บ้านผู้ป่วย หมู่บ้านใกล้เคียง หมู่บ้าน Exposed ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ที่มีอาการป่วย ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ที่ไม่ป่วย ติดตามสอบถามอาการป่วยทุกคน และตามการกินยา จนครบ 14วัน

  20. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ผู้ป่วยสงสัยคอตีบ ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ในหมู่บ้าน ต่อเนื่อง 14วัน ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด ร่วมบ้าน ร่วมงาน หมู่บ้านผู้ป่วย หมู่บ้านใกล้เคียง หมู่บ้าน Exposed ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ที่มีอาการป่วย ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดของผู้ที่ไม่ป่วย การให้ยาปฏิชีวนะ DAT การให้วัคซีนในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วย หมุ่บ้านข้างเคียง และหมู่บ้านที่เกี่ยวข้อง การติดตามอาการ และการกินยา

  21. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยสงสัยคอตีบแนวทางการตรวจวินิจฉัยและให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยสงสัยคอตีบ

  22. แนวทางการตรวจ วินิจฉัยและรักษา ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย

  23. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและให้ยาปฏิชีวนะสำหรับพาหะแนวทางการตรวจวินิจฉัยและให้ยาปฏิชีวนะสำหรับพาหะ

  24. สรุป ถ้าท่านพบหรือรับรายงานผู้ป่วยสงสัยคอตีบ 1ราย ท่านจะทำอย่างไรต่อไป ?

  25. ระบาดวิทยา (Epidemiology)ศึกษาอะไร • เวลา (Time) • สาเหตุ(Cause) • การกระจายของโรค • บุคคล (Person) • สถานที่ (Place) • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรค • ปัจจัยเสี่ยง(Risk factor) • ระบาดวิทยา

  26. ขั้นตอนการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาขั้นตอนการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา • ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น • เตรียมการปฏิบัติงาน • ยืนยันการวินิจฉัยโรค และการระบาด • กำหนดนิยามผู้ป่วยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม • ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา -ตามบุคคล เวลา สถานที่ • สร้างสมมุติฐานการเกิดโรค • ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ –ทดสอบสมมุติฐาน • มีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น • ควบคุมและป้องกันโรค • นำเสนอผลการสอบสวน

  27. Throat swab (posterior pharyngeal swab) WHO/CDS/EPR/ARO/2006.1 Indication for sampling: Resp. symptom (direct detection) How to take the sample: • Hold tongue away with tongue depressor • Locate areas of inflammation and exudate in posterior pharynx, tonsillar region of throat behind uvula • Avoid swabbing soft palate; do not touch tongue • Rub area back and forth with cotton or Dacron swab

  28. ขอบคุณครับ

  29. สรุปสถานการณ์การระบาดของโรคคอตีบจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภูณ วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เลย เพชรบูรณ์ หนองบัวลำภู สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๖ และ ๙ และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  30. สถานการณ์ทางระบาดวิทยาโรคคอตีบสถานการณ์ทางระบาดวิทยาโรคคอตีบ • ณ วันที่ ๒๕กันยายน ๒๕๕๕ พบผู้ป่วยคอตีบจากจังหวัดเลย ๔๖ ราย เพชรบูรณ์ ๑๐ ราย และหนองบัวลำภู ๓ ราย รวม ๕๙ ราย • เป็นชาย ๒๘ ราย หญิง ๓๑ ราย • ค่ามัธยฐานอายุ ๑๒ ปี (๑ปี ๕ เดือน - ๗๒ ปี) • ผู้ป่วยเสียชีวิต ๒ ราย • แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับประเมินความเสี่ยง และเข้าควบคุมโรคแล้ว (แสดงระดับหมู่บ้าน/พื้นที่เฉพาะ) ได้แก่ • พื้นที่ระบาด (พบผู้ป่วย/พาหะรายใหม่) ๑๒ จุด • พื้นที่ติดตามต่อเนื่อง (หลังผู้ป่วย/พาหะทานยา ไม่พบเชื้ออีก ๑ เดือน) ๑๘ จุด • พื้นที่ระยะปลอดภัย (ไม่พบผู้ป่วย/พาหะหลังติดตามอีก ๑ เดือน) ๑ จุด • พื้นที่เสี่ยง ควรได้รับการป้องกันด้วยวัคซีนก่อน -ยังประเมินไม่ได้-

  31. จำนวนผู้ป่วยคอตีบตามวันเริ่มป่วย แยกรายที่พบในสถานพยาบาล และที่ค้นหาเพิ่มเติม (จากข้อมูล ๕๙ ราย)

  32. จำนวนผู้ป่วยคอตีบตามวันเริ่มป่วยแยกรายพื้นที่จำนวนผู้ป่วยคอตีบตามวันเริ่มป่วยแยกรายพื้นที่ จำนวนผู้ป่วย จำนวนพาหะ 3 1 1 1 1 4 3 8 6 13 4 3 3 14 1 1 1 10 10 1 1 1 จำนวนผู้ป่วยต่อพาหะ = ๕๙ : ๓๑

  33. ระบาดวิทยา (Epidemiology)ศึกษาอะไร • เวลา (Time) • สาเหตุ(Cause) • การกระจายของโรค • บุคคล (Person) • สถานที่ (Place) • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรค • ปัจจัยเสี่ยง(Risk factor) • ระบาดวิทยา

  34. ระบาดวิทยากับงานสาธารณสุขระบาดวิทยากับงานสาธารณสุข การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา การสอบสวนทางระบาดวิทยาของโรค/ภัยสุขภาพ การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา

  35. ขั้นตอนการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาขั้นตอนการสอบสวนโรคทางระบาดวิทยา • ตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น • เตรียมการปฏิบัติงาน • ยืนยันการวินิจฉัยโรค และการระบาด • กำหนดนิยามผู้ป่วยค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม • ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา -ตามบุคคล เวลา สถานที่ • สร้างสมมุติฐานการเกิดโรค • ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ –ทดสอบสมมุติฐาน • มีการศึกษาเพิ่มเติม ถ้าจำเป็น • ควบคุมและป้องกันโรค • นำเสนอผลการสอบสวน

  36. โรคคอตีบ(Diphtheria)

  37. โรคคอตีบ • เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ • ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ • พิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย

  38. สาเหตุ • เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacteriumdiphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก • มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxigenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxigenic) • พิษที่ถูกขับออกมาจะไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ และปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ

  39. ระบาดวิทยา • โรคติดต่อชนิดนี้ เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้นโดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ (carrier) • ติดต่อกันได้ง่ายโดยการได้รับเชื้อโดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ สูบบุหรี่รือใช้อุปกรณ์เสพยาร่วมกัน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก • ทั้งผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการสามารถแพร่เชื้อได้ • ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่พบจะอยู่ในชนบทหรือในชุมชนแออัด ซึ่งมีเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบเป็นจำนวนมาก • อัตราป่วยตาย (case-fatality rate) ประมาณร้อยละ 10-30

  40. ระยะฟักตัวและการแพร่เชื้อระยะฟักตัวและการแพร่เชื้อ • ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจพบนานกว่านี้ได้ • เริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย และเชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ • ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน 1-2 สัปดาห์

  41. อาการและอาการแสดง • เริ่มด้วยมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก ไอ เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย • ในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ • หากแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้ • ตำแหน่งอื่นที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ ได้แก่ ในจมูก ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู

  42. Diphtheria – Clinical features • Clinical manifestations: • 85-90% Sore throat • 50-85% low grade fever • 26-40% dysphagia • 50% membrane • Toxin mediated • myocarditis, polyneuritis, renal tubular necrosis and other systemic toxic effects • Fatality rate 5–10%, but in <5 or >40 year olds, could be 20%

  43. Colonisation

  44. Milky white patches over tonsils Infectious mononucleosis

  45. Enlarge and injected tonsils Acute tonsillitis

  46. Dirty white patches over tonsils and posterior pharyngeal wall Diphtheria

  47. การรักษา • ให้ Diphtheria antitoxin (DAT) • ให้ยาปฎิชีวนะ • ยาฉีด ได้แก่ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้าม 1 ครั้ง ถ้าแพ้เพนนิซิลิน • ยากิน ได้แก่ Erythromycin หรือ Roxithromycin • เจาะคอในเด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ • โรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการ • ผู้ป่วยเด็กโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2

  48. การป้องกัน • ต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 2สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง • ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน • ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ • ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิด ต้องเก็บตัวอย่าง ให้ยาปฏิชีวนะ พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน และติดตามเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด • การให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่เด็กตาม EPI

More Related