560 likes | 1.01k Views
ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติ Hypertext / Hypermedia. ความหมายของ hypertext.
E N D
ข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติHypertext/Hypermediaข้อความหลายมิติ/สื่อหลายมิติHypertext/Hypermedia
ความหมายของ hypertext • ข้อความหลายมิติ (hypertext)หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน โดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ (interaction) ด้วยการนำข้อความที่ใช้มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะปรากฏในลักษณะที่เด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น
ระบบช่วยเหลือที่ใช้ข้อความหลายมิติระบบช่วยเหลือที่ใช้ข้อความหลายมิติ
ความหมายของ hypermedia • ในระบบสื่อประสม ได้นำหลักการของข้อความหลายมิติมาเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอจากเดิมที่มีการเชื่อมโยงเฉพาะข้อความหรือตัวอักษรเท่านั้น มาเป็นการเชื่อมโยงโดยใช้ภาพนิ่ง เสียง และวิดีโอโดยเรียกกันโดยทั่วไปว่า hypermedia
สื่อประสม สื่อหลายมิติ ข้อความหลายมิติ ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อประสม ข้อความหลายมิติ และสื่อหลายมิติ
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำสื่อหลายมิติมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำสื่อหลายมิติมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอ
แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติแบบจำลองระบบข้อความหลายมิติ แบบจำลองดั้งเดิมของระบบข้อความหลายมิติ
แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติ (ต่อ) • แบบจำลองระบบข้อความหลายมิติที่มักนิยมนำเสนอและใช้อ้างอิง ได้แก่ • แบบจำลอง ham (hypertext abstract machine) • แบบจำลอง dexter (dexter’s model) • แบบจำลอง ahm (amsterdam hypermedia model) • แบบจำลอง hdm(hypermedia design model) • แบบจำลอง oohdm (object oriented hypermedia design model) • แบบจำลอง rmm (relationship management methodology)
User Interface Application Tools Hypertext Abstract Machine Host File Systems ภาพแบบจำลอง Hypertext Abstract Machine (HAM)
แบบจำลอง ham • ถูกนำเสนอโดย campbell และ goodman ในปี ค.ศ.1988 มีสาระสำคัญของแบบจำลองที่ได้นำเสนอนี้ เป็นส่วนของกรอบแนวความคิดในการจัดทำระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้วยระบบข้อความหลายมิติ โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ graph,content, node, link และ attribute โดยนำมาประมวลผลรายการ (transaction) เพื่อจัดเก็บสารสนเทศทั้งหมดไว้บนระบบไฟล์ของเครื่องแม่ข่าย และมีการใช้งานเป็นแบบ multi-user มีความใกล้เคียงกับ WWW
องค์ประกอบของระบบข้อความหลายมิติองค์ประกอบของระบบข้อความหลายมิติ • มีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 องค์ประกอบ • พอยต์ (point) • โหนด (node) • ลิงค์ (link) • โครงสร้างไฮราคี่ (hierarchies structure)
point • หมายถึง กลุ่มคำ หรือวลี ที่เป็นข้อความพิเศษที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น โดยที่ข้อความเหล่านี้จะถูกแสดงในลักษณะที่ต่างกันออกไป ทำให้รู้ว่าเป็นพอยต์ เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง หรือบางครั้งเรียกว่า “สมอเชื่อมโยง (link anchor)”
พอยต์ ลักษณะของ point
node • หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียว ซึ่งภายในโหนดนั้นอาจมีพอยต์อยู่มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความยาวของโหนดนั้นไม่สามารถระบุตายตัวได้บางครั้ง อาจมีความยาวเป็นหน้ากระดาษหรือกว่านั้น หรือจะมีความยาวเพียงไม่กี่บรรทัดก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเรื่องราวนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งอาจเรียก โหนด ว่า “การ์ด (card)”
จุดต่อ ลักษณะของ Node
link • หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีกลไกภายในที่ช่วยนำทางไปยังเป้าหมายได้อย่างทั่วทั้งระบบข้อความหลายมิติ ทั้งที่เป็นแบบการเชื่อมโยงภายใน และแบบการเชื่อมโยงภายนอก จำแนกลิงค์ได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย • ลิงค์ชนิดอ้างถึง (referential link) • ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (organization link) • ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (keyword link)
ลิงค์ • ลิงค์ชนิดอ้างถึง (referential link) ใช้สำหรับเชื่อมโยงการอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด ประกอบด้วยจุดเริ่มต้น (start point) และจุดสิ้นสุด (end point) เช่น ปุ่มหรือข้อความที่ลิงค์ไปข้างหน้า (forward) หรือย้อนกลับ (backward) • ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (organization link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างไฮราคี่ • ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (keyword link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ ลิงค์เหล่านี้ จะเป็นตัวบอกปลายทางของข้อมูลที่จะนำเสนอ
จุดต่อ เชื่อมโยง เชื่อมโยง จุดต่อ จุดต่อ เชื่อมโยง ลักษณะของการ Link
hierarchies structure • เป็นการผสมผสานของโครงสร้างระบบข้อความหลายมิติ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน (unstructured hypertext) กับชนิดที่มีโครงสร้างแน่นอน (structured hypertext) โครงสร้างแบบนี้ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ • ชนิดจำกัดความสัมพันธ์ (strict hierarchy) • ชนิดไม่จำกัดความสัมพันธ์ (compromised hierarchy) • ชนิดซ้อน (overlapping hierarchy)
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดจำกัดความสัมพันธ์
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดไม่จำกัดความสัมพันธ์
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบเนื้อหาสัมพันธ์ชนิดซ้อน
structured hypertext • โครงสร้างระบบข้อความหลายมิติชนิดที่มีโครงสร้างแน่นอน สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ • โครงสร้างชนิดเรียงลำดับ (sequential structured hypertext) • โครงสร้างชนิดจดหมาย (structured hypertext for mail)
โครงสร้างชนิดเรียงลำดับโครงสร้างชนิดเรียงลำดับ • จะมีการจัดเรียงเนื้อหาไว้อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลในแต่ละโหนดนั้น จำเป็นต้องผ่านโหนดที่อยู่ก่อนหน้าไปตามลำดับ เว้นแต่การเข้าถึงโหนดแรกหรือโหนดเริ่มต้นเท่านั้น
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบมีโครงสร้างชนิดเรียงลำดับเป็นเส้นตรง
โครงสร้างชนิดจดหมาย • ผู้ออกแบบจะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียด และจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาทั้งหมดแล้วจึงกำหนดว่าโหนดใดเป็นโหนดหลักและโหนดใดเป็นส่วนขยาย จากนั้น จึงทำการเชื่อมโยงโหนดต่างๆ เข้าด้วยกัน
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบมีโครงสร้างชนิดจดหมาย
unstructured hypertext • โครงสร้างระบบข้อความหลายมิติ ชนิดที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน จะเป็นการเชื่อมโยงโหนดในลักษณะของการสุ่มจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดอื่นๆ ซึ่งอาจมากกว่าหนึ่งโหนดขึ้นไปก็ได้โดยเนื้อหาภายในโหนดจะมีการจัดเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ
จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ จุดต่อ ลักษณะของข้อความหลายมิติแบบไม่มีโครงสร้าง
ประโยชน์ของระบบข้อความหลายมิติประโยชน์ของระบบข้อความหลายมิติ • ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เส้นทางที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะไปยังข้างหน้าหรือย้อนกลับในเส้นทางเดิมได้ • ผู้ใช้สามารถควบคุมเส้นทางเลือกจากเครื่องช่วยนำทางได้ตามความต้องการ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงทั้งระบบ • ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานของระบบข้อความหลายมิติจะเป็นลักษณะที่มีการเชื่อมโยงที่ไม่เป็นในแนวทางเส้นตรง • ผู้ใช้สามารถค้นหาและติดตามร่องรอยของข้อมูลที่ผ่านมาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจาก ระบบมีเครื่องช่วยนำทางที่คอยบันทึกและจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ บุ๊คมาร์ค (bookmark) และระบบเชื่อมโยงลัด (quick link) หรือระบบไกด์ทัวร์ (guide tour) เป็นต้น • ผู้สร้างสามารถสร้างเอกสารได้โดยการเชื่อมโยงเอกสารทั้งที่เป็นภายในหรือต่างเอกสารกันด้วยข้อความและ/หรือผนวกกับสื่อประสมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เข้าเยี่ยมชมได้ • ผู้สร้างสามารถเผยแพร่ชิ้นงานของตนสู่สาธารณชนได้ โดยนำเสนอและเผยแพร่ผ่านบนระบบเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ เครือข่ายระยะใกล้ (lan : local area network) เครือข่าย internet / intranet หรือเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless communication) เป็นต้น รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ • ผู้สร้างสามารถเข้าถึงและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการแก้ไขการเชื่อมโยงและการอ้างถึงข้อมูลภายในระบบในคราวเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบข้อความหลายมิติปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบข้อความหลายมิติ • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล (presentation) และการนำทาง (navigation) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานได้อย่างอิสระและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยเรียกวิธีการนี้ว่า “adaptive hypertext/hypermedia systems”
presentational adaptation • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและเข้าถึงข้อมูลได้ตรงประเด็นมากที่สุด โดยมีเทคนิคในการนำเสนอทั้งหมด 5 วิธี ประกอบด้วย • conditional text • stretch text • page variants • fragment variants • frame-based
conditional text • เป็นวิธีการแสดงกลุ่มของข้อความหรือตัวอักษรที่กำหนดเงื่อนไขตามประเภทของผู้ใช้ ทั้งที่มีทักษะและไม่มีทักษะในการใช้งานมาก่อน กล่าวคือ การนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ใช้ที่มีทักษะมาก่อนจะมีรายละเอียดมากกว่าการนำเสนอข้อมูล (เพียงบางส่วน) ให้กับผู้ใช้ที่ไม่เคยมีทักษะมาก่อนเลย
ข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอ Aaaaaa aaaaaa aaaaaa aaaaaa aaa Aaaaaa aaaaaa aaaaaa Aaaaaa aaaaaa แสดงข้อความทั้งหมดสำหรับผู้มีทักษะ แสดงข้อความเกือบทั้งหมดสำหรับผู้มีทักษะบ้าง แสดงข้อความเพียงบางส่วนสำหรับผู้ไม่มีทักษะเลย รูปแบบข้อความมีเงื่อนไข
stretch text • เป็นวิธีการแสดงคำอธิบายของข้อความที่ต้องการขยายความ แทนที่จะต้องแสดงข้อความของคำอธิบายเดียวกันนี้ไปไว้อีกหนึ่งหน้าเอกสารโดยไม่จำเป็น เพียงแต่คลิกที่ข้อความที่ได้ทำการเชื่อมโยงไว้ ก็จะปรากฏคำอธิบายภายในกรอบสี่เหลี่ยมขึ้นมา เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เมนูป็อปอัพ (menu popup)”
รูปแบบข้อความขยายหรือรายการเลือกแบบผุดขึ้นรูปแบบข้อความขยายหรือรายการเลือกแบบผุดขึ้น
page variants • เป็นวิธีการแสดงหน้าเอกสารที่มีจำนวนมากกว่า 2 หน้าขึ้นไป โดยแต่ละหน้าเอกสารจะแสดงข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ตามแต่ระดับของความแตกต่างหรือรูปแบบที่ใช้งาน โดยระบบจะแสดงหน้าเอกสารที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้งาน
ข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอข้อความหรือตัวอักษรที่นำเสนอ ชุดเอกสาร ก แต่ละหน้าบรรจุข้อความที่แตกต่างกัน ชุดเอกสาร ข แต่ละหน้าบรรจุข้อความที่แตกต่างกัน รูปแบบการแปรหน้า
fragment variants • เป็นวิธีการแยกส่วนของหน้าเอกสาร ซึ่งทุกหน้าจะถูกแยกออกเป็นส่วนๆ ตามจำนวนที่ต้องการ พร้อมกับบรรจุข้อมูลลงไปในแต่ละชิ้นส่วน โดยที่ระบบจะแสดงข้อมูลภายในของชิ้นส่วนนั้นๆ ให้กับผู้ใช้
หน้าเอกสารแสดงข้อความหน้าเอกสารแสดงข้อความ ส่วน ก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน หน้าเอกสาร ส่วน ข แบ่งออกเป็น 2 ส่วน หน้าเอกสาร ส่วน ค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน หน้าเอกสาร รูปแบบการแปรส่วน
frame-based • เป็นวิธีการแบ่งช่อง (เฟรม) ของหน้าเอกสาร โดยกำหนดพื้นที่ของหน้าเอกสารออกเป็นเฟรมๆ เพื่อใช้แสดงข้อมูลของเอกสารปลายทางตามที่ได้เชื่อมโยงไว้ ให้มาปรากฏอยู่ภายในช่องตามที่ต้องการ
หน้าเอกสาร ก แบ่งออกเป็น 4 กรอบ หน้าเอกสาร ข แบ่งออกเป็น 3 กรอบ กรอบเชื่อมโยงแบบเร็ว กรอบหัวเรื่อง กรอบหัวเรื่อง กรอบนำเสนอ กรอบเชื่อมโยงแบบเร็ว กรอบนำเสนอ กรอบหมายเหตุ รูปแบบกรอบ
การนำรูปแบบกรอบมาประยุกต์ใช้ในโปรแกรม FrontPage
navigational adaptation • วิธีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำทาง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว จะมีเทคนิคในการนำเสนอทั้งหมด 5 วิธี ประกอบด้วย • annotations • ordering or link sorting • direct guidance • hiding • mapping
annotations • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยใช้คำอธิบายประกอบ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของข้อความหรือไอคอนที่แสดงให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับทราบข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้เส้นทางนี้
ordering or link sorting • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยการเรียงลำดับตัวเชื่อมได้ใหม่ โดยส่วนใหญ่มักจะนำมาใช้งานร่วมกับระบบฐานข้อมูล (database system) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent system) เพื่อช่วยในการค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นระบบช่วยเหลือ (help system) หรือเครื่องมือประเภทค้นหา (search engine) ได้แก่ yahoo, excite เป็นต้น
direct guidance • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยใช้เครื่องช่วยนำทาง โดยที่ระบบสามารถนำพาผู้ใช้ไปยังปลายทางตามเส้นทางที่ได้สร้างไว้อย่างเป็นขั้นตอน
hiding • เป็นวิธีการเชื่อมโยงโดยการซ่อนเร้นข้อมูล เพื่อไม่ให้แสดงข้อมูลทั้งหมด โดยจะแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่านั้น หากผู้ใช้ต้องการดูในรายละเอียด ก็สามารถคลิกที่ข้อความหรือไอคอนเพื่อขยายส่วนของข้อมูลที่ซ่อนไว้ให้ปรากฏเห็นได้ ตัวอย่างเช่น การใช้งานสารบัญ (table of content) ผู้ใช้สามารถคลิกที่หัวเรื่องเพื่อขยายหัวข้อย่อยที่ได้ซ่อนไว้ให้ปรากฏขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อคลิกที่หัวเรื่องอีกครั้ง หัวข้อย่อยทั้งหมดก็จะถูกเก็บซ่อนไว้ดังเดิม