E N D
1780-1849 Johann Dobereiner Johann Dobereinerจัดเรียงธาตุเป็นหมวดหมู่ โดยนำธาตุที่มีสมบัติคล้ายกันมาจัดไว้ในหมู่เดียวกัน หมู่ละ 3 ธาตุ เรียงตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก และธาตุแต่ละหมู่มวลอะตอมที่อยู่ตรงกลางจะเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีก 2 ธาตุ โดยประมาณ กฎนี้เรียกว่า Law of Triads Ca Sr Ba (40 + 137) ÷ 2 = 8840 88 137
1837-1898 John Newlands Li Be B C N O F Na Mg Al Si P S Cl K Ca John Newlandsได้จัดธาตุต่าง ๆ เป็นตารางธาตุ โดยพยายามเรียงลำดับตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากเป็นแถวตามแนวนอน สมบัติของธาตุจะมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ของธาตุที่ 8 ตารางธาตุแบบนี้มีข้อจำกัดคือใช้ได้กับ 20 ธาตุแรกเท่านั้น
1834-1907 Dimitri Mendeleev Dmitri Ivanovich Mendeleevได้เสนอการจัดตารางธาตุออกมาในลักษณะคล้าย ๆ กัน โดยพบว่าสมบัติต่าง ๆ ของธาตุสัมพันธ์กับมวลอะตอมของธาตุ ตาม Periodic Law คือ “ สมบัติของธาตุเป็นไปตามมวลอะตอมของธาตุโดยเปลี่ยนแปลงเป็นช่วง ๆ ตามมวลอะตอมที่เพิ่มขึ้น”
1834-1907 Dimitri Mendeleev ตาราง เปรียบเทียบสมบัติของธาตุเอคาซิลิคอนกับเจอร์เมเนียมที่ทำนายและที่ค้นพบ
1887-1915 Henry Moseley Henry Moseleyได้จัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปหามาก ดังนั้นในปัจจุบัน Periodic Law มีความหมายว่า “สมบัติต่าง ๆ ของธาตุจะขึ้นอยู่กับเลขอะตอมของธาตุนั้น และขึ้นอยู่กับการจัดอิเล็กตรอนของธาตุเหล่านั้น” He was able to derive the relationship between x-ray frequency and number of protons
ns2np6 ns1 ns2np1 ns2np2 ns2np3 ns2np4 ns2np5 ns2 d10 d1 d5 4f 5f การจัดเรียงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของธาตุ
การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่
การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่ การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบในยุคแรกจะใช้ชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบ ธาตุบางธาตุถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคณะ ทำให้มีชื่อเรียกและสัญลักษณ์ต่างกัน
การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่การตั้งชื่อธาตุที่ค้นพบใหม่ การที่คณะนักวิทยาศาสตร์ต่างคณะตั้งชื่อแตกต่างกัน ทำให้เกิดความสับสน International Union of Pure and Applied Chemistry (IUPAC)จึงได้กำหนดระบบการตั้งชื่อขึ้นใหม่ โดยใช้กับชื่อธาตุที่มีเลขอะตอมเกิน 100 ขึ้นไป ทั้งนี้ให้ตั้งชื่อธาตุโดยระบุเลขอะตอมเป็นภาษาละติน แล้วลงท้ายด้วย -ium ระบบการนับเลขในภาษาละตินเป็นดังนี้ 0 = nil (นิล) 1 = un (อุน) 2 = bi (ไบ) 3 = tri (ไตร) 4 = quad (ควอด) 5 = pent (เพนท์) 6 = hex (เฮกซ์) 7 = sept (เซปท์) 8 = oct (ออกตฺ) 9 = enn (เอนน์)
สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบสมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ ขนาดอะตอม รัศมีไอออน พลังงานไอออไนเซชัน อิเล็กโตรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดเดือดจุดหลอมเหลว เลขออกซิเดชัน
แรงดึงดูดของนิวเคลียส(Zeff) บ่งบอกถึงอิเล็กตรอนที่อยู่ในชั้นนอกสุดว่าสามารถถูกดูดโดยประจุที่นิวเคลียสได้มากน้อยเพียงใด ทำให้พบว่าถ้าจำนวนอิเล็กตรอนมากขึ้นแรงดึงดูดของนิวเคลียสจะมากขึ้นด้วย ทำให้ Zeff มากขึ้น Element Al Si P S Cl Ar Atomic# 13 14 15 16 17 18 Zeff 1+ 2+ 3+ 4+ 5+ 6+
รัศมีอะตอม ส่วนใหญ่ใช้ค่ารัศมีอะตอม ซึ่งอาจใช้หน่วยเป็นพิโกเมตร (pm) หรือแองสตรอม (A๐ ) 1. รัศมีโคเวเลนต์ รัศมีโคเวเลนต์ คือระยะทางครึ่งหนึ่งของความยาวพันธะโคเวเลนต์ ระหว่างอะตอมชนิดเดียวกัน ความยาวพันธะ Cl-Cl = 198 รัศมีอะตอมของ Cl = 198/2 = 99 pm ถ้าความยาวพันธะ C-Cl = 176 pm รัศมีอะตอมของ Cl = 99 pm ดังนั้นรัศมีอะตอมของ C = (176-99) = 77 pm
2. รัศมีแวนเดอร์วาลส์ รัศมีแวนเดอร์วาลส์ คือระยะทางครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้ที่สุด H2 H2 Kr Kr รัศมีแวนเดอร์วาลส์ของ Kr = 200 pm รัศมีแวนเดอร์วาลส์ของ H = 120 pm
3. รัศมีโลหะ รัศมีโลหะ คือมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมโลหะที่อยู่ใกล้กันมากที่สุด Mg Mg รัศมีอะตอมของโลหะ Mg = 320/2 = 160 pm 320 pm
รัศมีไอออน Mg : 1s2 2s2 2p6 3s2 160 pm รัศมีไอออน คือระยะระหว่างนิวเคลียสของไอออนคู่หนึ่งๆ ที่มีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันในโครงผลึก Mg2+ : 1s2 2s2 2p6 65 pm O : 1s2 2s2 2p4 73 pm O2- : 1s2 2s2 2p6 140 pm
ขนาดอะตอม ธาตุในคาบเดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ขนาดอะตอมจะเล็กลง เนื่องจากธาตุในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน แต่เมื่อเลขอะตอมเพิ่ม จำนวนโปรตอนจะเพิ่มขึ้นด้วย แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ขนาดจึงลดลง ธาตุในหมู่เดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้น เพราะเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น จะมีจำนวนระดับพลังงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนโปรตอนจะเพิ่มขึ้นด้วยก็ตาม แต่แรงดึงดูดต่อเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีน้อย จึงทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น กล่าวได้ว่ากรณีนี้การเพิ่มระดับพลังงานมีผลมากกว่าการเพิ่มจำนวนโปรตอน
ขนาดไอออน “ไอออนของโลหะในหมู่เดียวกันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” และ“ไอออนของโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” “ไอออนของอโลหะในหมู่เดียวกัน จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” และ “ไอออนของโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”
Ionization energy :พลังงานที่ใช้ในการดึง e-หลุดออกจากในสภาวะก๊าซ อะตอมใดมีขนาดเล็ก จะทำให้ดึง e- ออกยาก IE สูง อะตอมใดมีขนาดใหญ่ จะทำให้ดึง e- ออกง่าย IE ต่ำ
First Ionization Energy Plot 2500 He Ne 2000 F Ar 1500 N Kr Cl First ionization energy (kJ/mol) H Br O P C Zn As 1000 Be S Mg Fe Ni Se Si Ti Cr Ge B Ca Co Cu Sr Mn 500 Sc V Al Ga Li Na K Rb 0 5 10 15 20 25 30 35 40 Atomic number
First Ionization Energy เพิ่มขึ้น First Ionization Energy เพิ่มขึ้น ตามคาบจำนวนประจุบวกเพิ่มมากขึ้น e- ถูกดึงดูดมาอยู่ใกล้ Nu ได้มากe- หลุดยาก IE สูง ตามหมู่ระดับพลังงานมากขึ้น e- อยู่ไกล Nu มาก e- หลุดง่าย IE ต่ำ
X (g) + e- X-(g) O (g) + e- O-(g) F (g) + e- F-(g) Electron affinity(EA) คือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการรับอิเล็กตรอนของอะตอมธาตุแล้วเกิดเป็นแอนไอออน ณ สถานะแก๊ส Electron Affinity ธาตุที่มี EA สูง จะคายพลังงานออกมามากเมื่อรับอิเล็กตรอนเข้าไป ทำให้เกิดไอออนลบที่มีความเสถียรมาก ดังนั้นค่า EA จึงใช้ทำนายความสามารถในการเป็นไอออนลบ กล่าวคือ ธาตุที่มี EA สูง จะสามารถเกิดเป็นไอออนลบได้ง่ายกว่าธาตุที่มี EA ต่ำ H = -328 kJ/mol EA = -328 kJ/mol H = -141 kJ/mol EA = -141 kJ/mol
Electron Affinity ธาตุในหมู่เดียวกัน ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนลดลงจากบนลงล่าง เพราะธาตุข้างบนมีขนาดเล็กกว่าธาตุข้างล่าง จึงมีแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกที่นิวเคลียสกับอิเล็กตรอนที่เพิ่มเข้าในอะตอมได้มากกว่า ระยะทางจากนิวเคลียสถึงขอบเขตของอะตอมสั้นกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ข้างล่างของหมู่ ธาตุข้างบนรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่าธาตุข้างล่าง EA จึงมากกว่า ธาตุในคาบเดียวกัน ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ เพราะธาตุทางขวามีขนาดเล็กกว่าธาตุทางซ้าย จึงรับ e- ได้ดีกว่า e- ที่เข้ามาใหม่จะถูกดึงดูดด้วย Nucleus ได้มากกว่า EA จึงมากกว่า
Electronegativity อิเล็กโตรเนกาติวิตี้ ( Electronegativity ) เป็นค่าสมมติที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจาก Nucleus e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดเล็ก จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus มาก EN สูง e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus น้อย EN ต่ำ อะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบมาก จะดึงอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันในการเกิดพันธะโคเวเลนต์เข้าหาตัวเองได้มากกว่า ได้มีผู้หาค่าสภาพไฟฟ้าลบไว้หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้อ้างอิงมากที่สุด คือ ของพอลิง โดยกำหนดให้ฟลูออรีนมีค่าสภาพไฟฟ้าลบมากที่สุด คือ เท่ากับ 4.0 และซีเซียม ( Cs ) มีสภาพไฟฟ้าลบน้อยที่สุด คือเท่ากับ 0.7
Electronegativity ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า EN จะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาเพราะขนาดอะตอมเล็กลงทำให้ได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสมากกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ EN จึงสูงขึ้น ธาตุหมู่เดียวกันค่า EN จะลดลงจากบนลงล่าง เพราะขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นทำให้นิวเคลียสมีโอกาสดึงดูดอิเล็กตรอนได้น้อยกว่าอะตอมที่มีขนาดเล็ก EN จึงต่ำลง
Back to Main Page จุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก. โลหะในหมู่เดียวกัน คือ หมู่ IA , IIA, และ IIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากความแข็งแรงของพันธะโลหะลดลง เพราะมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น ข. โลหะในคาบเดียวกัน คือ โลหะในหมู่ IA , IIA, และ IIIA ในคาบต่างๆ “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากมีพันธะโลหะที่แข็งแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอะตอมมีขนาดเล็กลงและมีจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น หมายเหตุ สำหรับธาตุหมู่ IVA และ VA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน เนื่องจากมีโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่แตกต่างกัน หมู่ IA หมู่IVA สูง (โลหะ) ต่ำ
Back to Main Page จุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก.อโลหะในหมู่เดียวกัน คือ หมู่ VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น เพราะมวลโมเลกุลและขนาดโมเลกุลเพิ่มขึ้น ข. อโลหะในคาบเดียวกัน คือ อโลหะ หมู่ VA, VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดต่ำลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือ แรงวันเดอร์วาลส์มีค่าลดลง เพราะขนาดของโมเลกุลเล็กลง โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยเป็นก๊าซประเภทโมเลกุลเดี่ยว และมีขนาดเล็ก มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำมาก หมู่ VA หมู่VIIIA ต่ำ (อโลหะ) สูง
Back to Main Page จุดหลอมเหลว จุดเดือด
Oxidation Number เลขออกซิเดชัน( Oxidation Number ) เป็นตัวเลขเพื่อแสดงค่าประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขจำนวนเต็มรวมทั้งศูนย์และอาจมีเครื่องหมายเป็นบวกหรือลบก็ได้ การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน มีกฎดังนี้ คือ 1. อะตอมของธาตุต่าง ๆ ในสภาวะอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่เป็นอะตอมเดียว หรือโมเลกุล จะมีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์ เช่น Na Be He O2 S8 2. ไอออนที่มีอะตอมเดี่ยวเลขออกซิเดชันจะมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น Na+มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +1 Be2+ มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +2 O2- มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ -2 3. เลขออกซิเดชันของโลหะอัลคาไล ( หมู่ IA ) และโลหะอัลคาไลน์เอิร์ท ( หมู่ IIA ) ในสารประกอบต่าง ๆ มีค่าเท่ากับ +1 และ +2 ตามลำดับ
Oxidation Number • 4. เลขออกซิเดชันของออกซิเจนในสารประกอบส่วนมาก มีค่าเท่ากับ -2 ยกเว้นในกรณี • สารประกอบเปอร์ออกไซด์ เช่น H2O2 และ Na2O2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1 • สารประกอบซุปเปอร์ออกไซด์ เช่น KO2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1/2 • สารประกอบ OF2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน +2 • 5. เลขออกซิเดชันของไฮโดรเจนในสารประกอบส่วนมากมีค่าเท่ากับ +1 ยกเว้นในสารประกอบพวกไฮไดรด์ไอออนิก ซึ่งไฮโดรเจนมีค่าเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 เช่น LiAlH4 และ NaBH4 • 6. ผลรวมทางพีชคณิตของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสูตรเคมีใด ๆ จะมีค่าเท่ากับประจุสำหรับกลุ่มของอะตอมที่เขียนแสดงในสูตรนั้น ๆ เช่น ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ KMnO4 เท่ากับ 0 ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ NO3- เท่ากับ -1
Oxidation Number ตัวอย่างที่1 จงหาเลขออกซิเดชันของ S ใน H2SO4 สมมติเลขออกซิเดชันของ S = x เลขออกซิเดชันของ H = +1 2 อะตอมของ H มีเลขออกซิเดชันรวม = (+1 2) = +2 เลขออกซิเดชันของ O = -2 4 อะตอมของ O มีเลขออกซิเดชันรวม = (-2 4) = -8 ผลรวมของเลขออกซิเดชันธาตุทั้งหมดในสารประกอบ เท่ากับ 0 ดังนั้น +2 + x + (-8) = 0 x = +6 เลขออกซิเดชันของ S ใน H2SO4 = +6 ตัวอย่างที่2 จงหาเลขออกซิเดชันของ Co ใน [Co(CN)6]4- สมมติเลขออกซิเดชันของ Co = x เลขออกซิเดชันของ CN- = -1 ผลรวมเลขออกซิเดชันของ CN = (-1 6) = -6 ผลรวมเลขออกซิเดชันธาตุทั้งหมดในไอออนเท่ากับประจุของไอออน เท่ากับ -4 ดังนั้น x + (-6) = -4 x = +2 เลขออกซิเดชันของ Co ใน [Co(CN)6]4- = +2
สมบัติของธาตุและสารประกอบสมบัติของธาตุและสารประกอบ • สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ • ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่ • ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA • ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA • ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ
Bismuth(Bi) Antimony(Sb) Arsenic(As) ตัวอย่างออกไซด์: N2O, NO2, N2O4, N2O5,P4O6, P4O10
SO3(s) +H2O(l) H2SO4(aq) Group 6A Elements Oxygen (O) Polonium (Po) Sulphur (S) Selenium (Se) Tellurium(Te) ตัวอย่างออกไซด์: SO2,SO3
ก๊าซเฉื่อย ก๊าซเฉื่อยหรือก๊าซมีตระกูล ( inert gas or noble gas) หมายถึง ธาตุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ธาตุ ตือ He, Ne, Ar, Kr, Xe และ Rn * ก๊าซเฉื่อย 1 อะตอม เท่ากับ 1 โมเลกุล * ปนอยู่กับอากาศประมาณร้อยละ 1 โดยปริมาตร พบว่ามี Ar อยู่มากที่สุดคือประมาณร้อยละ 96.6 ของก๊าซเฉื่อยทั้งหมด * ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา Xe > Kr > Ar > Ne > He ส่วน Rn เป็นธาตุกัมมันตรังสี พบว่า Xe และ Kr สามารถทำปฏิกิริยากับ F2 และ O2 ได้
ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อยประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย 1.ก๊าซฮีเลียม (He):เป็นก๊าซที่มีมวลโมเลกุลน้อย ไม่ติดไฟจึงใช้บรรจุบัลลูนแทนก๊าซไฮโดรเจนและใช้ผสมกับก๊าซออกซิเจนในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร เพื่อใช้ในการหายใจสำหรับผู้ที่ลงไปทำงานในทะเลลึก 2.ก๊าซนีออน (Ne): ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาให้หลอดไฟสีแดงเข้ม 3.ก๊าซอาร์กอน (Ar): ใช้เป็นก๊าซบรรจุในหลอดไฟฟ้าเพื่อให้ไส้หลอดมีอายุการใช้งานนานมากขึ้น ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาเพื่อให้แสงสีม่วงสีน้ำเงิน และใช้ในอุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะ 4.ก๊าซคริปทอน (Kr):ใช้ในหลอดไฟแฟลชสำหรับการถ่ายรูปด้วยความเร็วสูง 5.ซีนอน (Xe):เป็นก๊าซที่ช่วยให้สลบ แต่มีราคาแพงมาก 6.เรดอน (Rn):ใช้รักษาโรคมะเร็ง
สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ 1.ความเป็นกรดของสารประกอบเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา 2. ความเป็นเบสของสารประกอบเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง 3. ธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA เมื่อเกิดเป็นสารประกอบจะมีออกซิเดชันได้เพียงค่าเดียว คือ +1 +2 และ +3 ตามลำดับ 4. ธาตุหมู่ IVA VA และ VIIA เมื่อเกิดเป็นสารประกอบจะมีออกซิเดชันได้หลายค่า 5. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2มีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA มีสมบัติเป็นกรด 6. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ CCl4 , NCl3 7. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้ PCl5 + 4H2O H3PO4 + 5HCl SiCl4 + 2H2O SiO2 + 4HCl
สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ 1. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2มีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA มีสมบัติเป็นกรด 2. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ CCl4 , NCl3 3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้ PCl5 + 4H2O H3PO4 + 5HCl SiCl4 + 2H2O SiO2 + 4HCl
สารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จักสารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จัก • CaCl2ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม • KCl ใช้ทำปุ๋ย • NH4Cl ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ของเซลล์ถ่านไฟฉาย ใช้เป็นน้ำประสานดีบุก • ปูนคลอรีน ใช้เป็นสารฟอกสีหรือฟอกขาวเยื่อกระดาษ ใช้ฆ่าแบคทีเรียในน้ำประปาและในสระว่ายน้ำ • DDT และดีลดริน ใช้เป็นยาฆ่าแมลง กำจัดศัตรูพืช • เกลือแกง ใช้ปรุงแต่งอาหาร ถนอมอาหาร และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต NaHCO3 (โซดาทำขนม) Na2CO3(โซดาแอช) NaOH (โซดาไฟ) และ HCl นอกจากนี้ยังใช้ละลายน้ำแข็งในหิมะ • CCl4และ CHCl3ใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดสารอินทรีย์