1 / 16

การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหา รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ (ง 30222)

การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหา รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ (ง 30222). ปัญหาคืออะไร. ปัญหาคืออะไร. ปัญหา คือ สิ่งที่เรายังไม่ทราบคำตอบ และ ยังไม่ทราบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา. ปัญหา Water.

uri
Download Presentation

การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหา รายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ (ง 30222)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหารายวิชา การโปรแกรมและการประยุกต์ (ง30222)

  2. ปัญหาคืออะไร

  3. ปัญหาคืออะไร ปัญหา คือ สิ่งที่เรายังไม่ทราบคำตอบ และ ยังไม่ทราบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา

  4. ปัญหา Water มีถังน้ำ 2 ใบ ความจุ 6 และ 8 แกลลอนตามลำดับ ทั้ง 2 ถังไม่มีมาตราบอกปริมาณน้ำ ถ้าต้องการให้ถังที่จุ 8 แกลลอนมีน้ำบรรจุอยู่ 4 แกลลอน ให้หาตัวกระทำการที่จะใช้ในการแก้ปัญหานี้ 6 แกลลอน 8 แกลลอน

  5. A B C B B D C B C E A A + คิดสนุก ตัวอักษรแต่ละตัวแทนตัวเลขโดดที่ต่างกัน จงหาว่าตัวอักษรแต่ละตัวแทนตัวเลขอะไรที่ทำให้มีผลลัพธ์ดังนี้

  6. + 4 2 7 2 2 8 7 2 7 144 A B C B B D C B C E A A + คิดสนุก คำตอบ A = 4 B = 2 C= 7 D = 8 E= 1

  7. ปัญหาปริศนาลากเส้น มีจุด 9 จุด ตามที่กําหนดดังรูป จงลากเสนตรง 4 เสน ใหผานจุดทั้ง 9 จุดนี้ โดยไมยกปากกา(ดินสอ)

  8. ค้นหาเหรียญปลอม มีเหรียญบาทอยู่ 9 เหรียญ เป็นเหรียญปลอม1 เหรียญซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าเหรียญจริง จงหาวิธีในการหาเหรียญปลอมโดยการชั่งด้วยตาชั่ง 2 แขนเพียง 2 ครั้ง คุณสมบัติของตาชั่ง 2 แขนคือ ตาชั่งชนิดนี้จะสามารถบอกน้ำหนักได้ก็ต่อเมื่อของที่นำขึ้นชั่งทั้ง 2 แขนมีน้ำหนักเท่ากัน

  9. การแก้ปัญหาโจทย์ • ลองผิด ลองถูก • การใช้เหตุผลประกอบ • วิธีขจัด • การใช้ตารางแสดงความสัมพันธ์

  10. สรุปกระบวนการแก้ปัญหาประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ • การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) • การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) • การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) • การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)

  11. 1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) • การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา • การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ • การกำหนดวิธีประมวลผล ได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือ

  12. ตัวอย่างที่ 1 แสดงการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของการหาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม 5 จำนวน ได้แก่ 3, 7, 2, 4 และ 9 (1) การระบุข้อมูลเข้า ในที่นี้โจทย์กำหนดให้หาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม 5 จำนวน ดังนั้น ข้อมูลเข้าได้แก่จำนวน 3, 7, 2, 4 และ 9 (2) การระบุข้อมูลออก จากโจทย์สิ่งที่เป็นคำตอบของปัญหา คือค่าเฉลี่ย (x) ของจำนวนทั้งห้า (3) การกำหนดวิธีการประมวลผล จากสิ่งที่โจทย์ต้องการ "ค่าเฉลี่ย" หมายถึง ผลรวมของจำนวนทั้ง 5 หารด้วย 5 ดังนั้น ขั้นตอนของการประมวลผลประกอบด้วย 3.1 รับค่าจำนวนทั้ง 5 จำนวน 3.2 นำจำนวนเต็มทั้ง 5 มาบวกเข้าด้วยกัน 3.3 นำผลลัพธ์จากข้อ 3.2มาหารด้วย 5

  13. 2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm development) ในการออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพหรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเช่น ผังงาน (flowchart)รหัสลำลอง (pseudo code)การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่ายและแก้ไขได้อย่างรวด

  14. 3. การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) หลังจากที่ได้ออกแบบขั้นตอนวิธีเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จ หรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาที่เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในการดำเนินการอาจพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

  15. 4. การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

  16. ปัญหาบางปัญหาไม่สามารถแก้ได้ปัญหาบางปัญหาไม่สามารถแก้ได้ เชน มีเมือง ๆ หนึ่งมีชางตัดผมอยู 1 คน และเมืองนี้มีกติกาวา การตัดผมตองใช ชางตัดผมของเมืองนี้ตัดให เทานั้นและหามตัดผมใหตัวเองปญหาเกิดขึ้นที่ชางตัดผมคนนี้จะจัดการกับผมตัวเองไดอยางไร จะเห็นว่าปัญหานี้ไมมีทางแกไดเลย ดังนั้นปญหาบางอยางก็ไมสามารถใชคอมพิวเตอรชวยแก้ปัญหาใหไดเชนเดียวกัน

More Related