250 likes | 403 Views
Brainstorming Techniques. การเรียนรู้แบบระดมสมอง. เสนอ. อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำโดย.
E N D
Brainstorming Techniques การเรียนรู้แบบระดมสมอง
เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด
จัดทำโดย นายวีรชน บาดตาสาว เลขที่ 34 นายศรัญญู นุรา เลขที่ 52นายกิตติพัฒน์ ศรีหนองห้าง เลขที่ 53 นายธนวัฒน์จันทร์วงค์ เลขที่ 64นายกรกฎศิริสุข เลขที่ 66 นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 ห้อง 2 คณะศิลปศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
บทนำ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Center) เป็นสิ่งที่ผู้สอนให้ความสำคัญมากขึ้น โดยมุ่งเน้นหาแนวทางที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้มากกว่ารอรับความรู้ และเปลี่ยนผู้สอนจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้จัดการเรียนรู้ หากแต่ในทางปฏิบัติอาจทำได้ยาก เนื่องจากขาดแนวทางในการปฏิบัติ รวมถึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่าการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องใช้เวลามาก ทำให้สอนได้ไม่ครบถ้วนเนื้อหาในรายวิชานั้นการเรียนรู้แบบระดมสมองเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่กับคำถามที่ผู้สอนถามระหว่างการบรรยาย โดยมีแรงจูงใจคือคะแนนตอบคำถาม ที่ผู้สอนจะให้แก่ผู้ที่ตอบคำถามถูกหรือมีแนวคิดที่ดีในคำถามนั้นๆ
ปัญหาของการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันปัญหาของการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน การเรียนการสอนในปัจจุบันได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากโดยผู้สอนให้ความสำคัญต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดมากกว่าการท่องจำ แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้สอนมักพบในชั้นเรียนคือ การที่ผู้เรียนไม่ตอบคำถามที่ผู้สอนถาม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
(1) ไม่ฟังคำถาม เพราะบรรยากาศในการเรียนรู้ไม่ดี (2) ไม่ทราบคำตอบ เพราะเรียนไม่รู้เรื่อง (3) ไม่แน่ใจในคำตอบ เพราะรู้แต่ไม่เข้าใจ (4) ไม่กล้าแสดงออก เพราะอายถ้าตอบผิด (5) ไม่มีกำลังใจในการตอบ เพราะตอบผิดบ่อย (6) ไม่มีแรงจูงใจ เพราะคิดว่าตอบไปก็ไม่ได้อะไร
จากปัญหาดังกล่าวทำให้การเรียนรู้เป็นแบบทางเดียวคือผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ส่วนผู้เรียนก็คอยรับความรู้เพียงอย่างเดียวทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งเกิดความเบื่อหน่ายทั้งผู้เรียนและผู้สอน
การระดมสมอง การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ จัดเป็นเทคนิคการประชุมที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
(1) มุ่งเน้นที่ปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ ช่วยให้ทุกคนกล้าแสดงออก (2) ไม่วิจารณ์ความคิดเห็นของผู้อื่น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นจะไม่ถูกต้อง (3) ใช้การต่อยอดความคิด เพราะความคิดของผู้อื่นอาจช่วยกระตุ้นความคิดของเรา
การเรียนรู้แบบระดมสมองการเรียนรู้แบบระดมสมอง แนวคิดของการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง เริ่มจากปัญหาที่ผู้เรียนมักไม่ตอบคำถามที่ผู้สอนถาม ด้วยเหตุนี้จึงได้นำแนวคิดของการระดมสมองมาใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ โดยการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นระหว่างการศึกษา แทนการอธิบายโดยผู้สอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีแนวทางที่ผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
(1) สำรวจตนเองว่ามีบุคลิกเหมาะกับการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองหรือไม่ (2) จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่อนคลาย โดยสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และอธิบายการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองให้ผู้เรียนเข้าใจ (3) จัดคะแนนในส่วนของการตอบคำถาม (4) ใช้การให้คะแนนเชิงบวก คือได้คะแนนเมื่อตอบคำถามถูก ที่สำคัญไม่ถูกหักคะแนนเมื่อตอบคำถามผิด (5) ไม่กดดันผู้เรียน ถ้าผู้เรียนตอบคำถามไม่ได้ไม่ควรว่ากล่าว และพยายามต่อความคิดให้ผู้เรียน (6) รับฟังทุกคำตอบ แม้ว่าเป็นคำตอบที่ผิด โดยให้ผู้เรียนอธิบายเหตุผล
(7) ไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของคำตอบมากเกินไป หากคำตอบนั้นไม่ถูกต้อง แต่มีแนวคิดที่ดีก็สามารถให้คะแนนได้ (8) ไม่จำกัดจำนวนคำถาม เพราะการจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองต้องใช้คำถามจำนวนมาก ผู้สอนจึงควรเตรียมคำถามหรือแบบฝึกหัดให้มากพอกับการเรียนการสอน (9) ถามคำถามเดิมได้ในช่วงเวลาที่ต่างกัน เป็นการสอบทวนความรู้ของผู้เรียน และลดจำนวนคำถามที่ผู้สอนต้องเตรียม (10) สามารถใช้คำถามแบบอัตนัย แล้วให้นักศึกษาทั้งห้องเลือกคำตอบได้ (11) ให้ความใส่ใจแก่ผู้เรียนที่ตอบคำถามได้น้อย โดยเรียกถาม (12) ต้องไม่ลืมถามเหตุผลของคำตอบนั้นจากผู้เรียน และเสริมความรู้เพิ่มเติมให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่ถาม
ลักษณะของผู้สอนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมองลักษณะของผู้สอนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) มีความรอบรู้ (2) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ร่าเริง (3) รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น (4) ไม่ยึดหลักการมากเกินไป (5) เข้าใจลักษณะของผู้เรียน (6) ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
ลักษณะของผู้เรียนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมองลักษณะของผู้เรียนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง (2) รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น (3) มีสัมมาคารวะ (4) ตั้งใจศึกษา
ข้อดีของการเรียนรู้แบบระดมสมองข้อดีของการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการศึกษา (2) ทำให้ผู้เรียนมีสติ และมีความกระตือรือร้นในการศึกษา (3) ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด (4) ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน (5) เกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น (6) พัฒนาการทางสังคมของผู้เรียนดีขึ้น (7) ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ (8) การเรียนรู้ไม่ยึดติดเฉพาะในตำรา
ข้อเสียของการเรียนรู้แบบระดมสมองข้อเสียของการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) ไม่เหมาะกับผู้สอนที่มีบุคลิกเคร่งขึม เพราะอาจทำให้ ผู้เรียนเครียดได้ (2) สำหรับผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกจะไม่ชอบแนวการสอนนี้ (3) ถ้าผู้เรียนตอบคำถามไม่ได้บ่อยๆ อาจทำให้ท้อ (4) ต้องใช้คำถามจำนวนมาก
สรุป การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมองเป็นแนวการสอนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การถามปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดระหว่างการเรียนการสอน แทนการบอกเล่าจากผู้สอนทั้งหมด โดยมุ่งเน้นที่ปริมาณความคิดเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิด กล้าที่จะแสดงออก ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เรียนรู้ด้วยความเข้าใจมากกว่าการท่องจำ อีกทั้งเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมแก่ผู้เรียน ซึ่งบุคลิกของผู้สอนเป็นสำคัญที่ช่วยให้รูปแบบการเรียนการสอนนี้ประสบผลสำเร็จ เหมาะสมกับผู้สอนที่มีความรอบรู้ บุคลิกร่าเริง ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และเข้าใจลักษณะของผู้เรียน
แบบทดสอบความเข้าใจ กด 1.จงยกตัวอย่างปัญหาของการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน2.จงอธิบายถึงความหมายของการระดมสมองมาพอสังเขป 3.ลักษณะของผู้สอนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมองมีลักษณะอย่างไร4.ลักษณะของผู้เรียนที่เอื้อกับการเรียนรู้แบบระดมสมองมีลักษณะอย่างไร5.จงอธิบายข้อดี/ข้อเสีย ของการเรียนรู้แบบระดมสมอง กด กด กด กด กด สู้ๆ ENG G 2
เฉลย ข้อ 1 ปัญหาหนึ่งที่ผู้สอนมักพบในชั้นเรียนคือ การที่ผู้เรียนไม่ตอบคำถามที่ผู้สอนถาม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก -ไม่ฟังคำถาม เพราะบรรยากาศในการเรียนรู้ไม่ดี -ไม่ทราบคำตอบ เพราะเรียนไม่รู้เรื่อง -ไม่แน่ใจในคำตอบ เพราะรู้แต่ไม่เข้าใจ -ไม่กล้าแสดงออก เพราะอายถ้าตอบผิด -ไม่มีกำลังใจในการตอบ เพราะตอบผิดบ่อย -ไม่มีแรงจูงใจ เพราะคิดว่าตอบไปก็ไม่ได้อะไร
ข้อ 2 การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ จัดเป็นเทคนิคการประชุมที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
ข้อ 3 (1) มีความรอบรู้ (2) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ร่าเริง (3) รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น (4) ไม่ยึดหลักการมากเกินไป (5) เข้าใจลักษณะของผู้เรียน (6) ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน
ข้อ 4 (1) กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง (2) รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น (3) มีสัมมาคารวะ (4) ตั้งใจศึกษา
ข้อ 5 ข้อดีของการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการศึกษา (2) ทำให้ผู้เรียนมีสติ และมีความกระตือรือร้นในการศึกษา (3) ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด (4) ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน (5) เกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น (6) พัฒนาการทางสังคมของผู้เรียนดีขึ้น (7) ทำให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ (8) การเรียนรู้ไม่ยึดติดเฉพาะในตำรา
ต่อข้อ 5 ข้อเสียของการเรียนรู้แบบระดมสมอง (1) ไม่เหมาะกับผู้สอนที่มีบุคลิกเคร่งขึม เพราะอาจทำให้ผู้เรียนเครียดได้ (2) สำหรับผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกจะไม่ชอบแนวการสอนนี้ (3) ถ้าผู้เรียนตอบคำถามไม่ได้บ่อยๆ อาจทำให้ท้อ (4) ต้องใช้คำถามจำนวนมาก