1 / 22

Schizophrenia and

Schizophrenia and. Others Psychosis Disorders. อ. อัศวินี นามะกันคำ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช. Schizophrenia. ความผิดปกติทางสมองในด้านความคิด การใช้ภาษา อารมณ์ พฤติกรรมทางสังคม ความสามารถในรับรู้ความเป็นจริง. 1. พันธุกรรม 2. สารชีวเคมี 3. กายวิภาคของสมอง 4. ประสาทสรีรวิทยา.

vance
Download Presentation

Schizophrenia and

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Schizophrenia and Others Psychosis Disorders อ. อัศวินี นามะกันคำ ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช

  2. Schizophrenia • ความผิดปกติทางสมองในด้านความคิด การใช้ภาษา อารมณ์ พฤติกรรมทางสังคม ความสามารถในรับรู้ความเป็นจริง

  3. 1. พันธุกรรม 2. สารชีวเคมี 3. กายวิภาคของสมอง 4. ประสาทสรีรวิทยา • การเลี้ยงดู • สัมพันธภาพระหว่างบุคคล • สิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งในจิตใจ

  4. ด้านร่างกาย ประเมินสุขอนามัย ภาวะโภชนาการ การขับถ่าย การเคลื่อนไหว การปฏิบัติกิจวัตร การนอนหลับ ด้านจิตใจ อารมณ์ ความคิด ประเมินสมาธิ การรับรู้ กระบวนการคิดและเนื้อหาความคิด วิธีการจัดการกับปัญหาต่างๆ การประเมินภาวะสุขภาพ

  5. ด้านพฤติกรรม ประเมินการแสดงออกของพฤติกรรม การแสดงอาการและสาเหตุของการแสดงออก ด้านสังคม ประเมินบทบาทของผู้ป่วย ประเมินสัมพันธภาพ ประเมินค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม การประเมินภาวะสุขภาพ (ต่อ)

  6. อาการผู้ป่วยจิตเภท Prodromal Active phase Stabilization Stable phase

  7. การวินิจฉัยทางการพยาบาลการวินิจฉัยทางการพยาบาล • การตั้งข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตั้งอาศัยข้อมูลที่ได้จากการประเมินภาวะสุขภาพซึ่งพยาบาลต้องมาจากการสัมภาษณ์ การสังเกตและการตรวจพิเศษต่างๆ • ปัญหาทางการพยาบาลของผู้ป่วยจิตเภทและโรคทางจิตอื่นๆ สามารถพบได้ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา สังคม และพฤติกรรม • ประเด็นหลักที่ควรพิจารณาคือ การมีพฤติกรรมและความคิดที่ผิดปกติ เช่น ภาวะหลงผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง แยกตัว ก้าวร้าว ซึมเศร้า เป็นต้น

  8. กระบวนการพยาบาล (ต่อ) • การวางแผนการพยาบาล • การปฏิบัติการพยาบาล • การประเมินผล

  9. การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหลงผิดการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหลงผิด • สร้างสัมพันธภาพที่น่าเชื่อถือและให้เกิดความไว้วางใจ • ให้ผู้ป่วยได้ระบายความหลงผิดของตนเอง • หลีกเลี่ยงการโต้แย้งกับผู้ป่วยเกี่ยวกับความหลงผิดนั้น • หลีกเลี่ยงการพูดถึงศาสนา การเมือง ความเชื่อ ค่านิยม • มุ่งที่ความรู้สึกของผู้ป่วยที่มีต่อภาวะหลงผิด • มุ่งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

  10. การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะหลงผิด (ต่อ) • เบี่ยงเบนความสนใจไปที่เรื่องอื่นมากกว่าจะติดอยู่กับภาวะหลงผิด • จัดสิ่งแวดล้อมให้เลี่ยงภาวะหลงผิด • จัดเวลาเพื่ออภิปรายเกี่ยวเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลงผิด • ตรวจสอบความจริงร่วมกับผู้ป่วย

  11. การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหลอนการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหลอน • สร้างสัมพันธภาพให้เกิดความไว้วางใจ สร้างความมั่นใจ • ประเมินอาการของผู้ป่วย หาเหตุผล • กำหนดเป้าหมายและแนวทางช่วยเหลือ • หลีกเลี่ยงการสนับสนุนว่าประสาทหลอนนั้นเป็นจริง • ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก

  12. การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหลอน(ต่อ)การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหลอน(ต่อ) • ยอมรับและรับฟังสถานการณ์ของผู้ป่วย • ให้ผู้ป่วยเพิกเฉย หาวิธีการผ่อนคลาย หากิจกรรมทำ บอกวิธีการแก้ไข • จัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดการกระตุ้นผู้ป่วย • แนะนำแหล่ง support

  13. การพยาบาลผู้ป่วยหวาดระแวงและแยกตัวการพยาบาลผู้ป่วยหวาดระแวงและแยกตัว • สร้างสัมพันธภาพให้เกิดความไว้วางใจ • ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก รับฟังผู้ป่วยด้วยท่าทีที่สนใจ • สอบถามถึงสาเหตุที่ผู้ป่วยหวาดระแวงและแยกตัว • ร่วมกับผู้ป่วยวิเคราะห์สาเหตุ และวิธีแก้ปัญหา • ดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวัน

  14. การพยาบาลผู้ป่วยหวาดระแวงและแยกตัว (ต่อ) • ช่วยให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นๆ : แบบ one to one แล้วจึงพัฒนาต่อไป • ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ • ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวนานๆ • ช่วยให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเหมาะสม • ให้กำลังใจผู้ป่วย และเสริม self-esteem

  15. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนและคิดวุ่นวายการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะสับสนและคิดวุ่นวาย • ไม่แสร้งว่าเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยสื่อออกมา • ค้นหาหัวเรื่องที่ผู้ป่วยสื่อ • เน้น here and now • ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่อยู่บนพื้นฐานความจริง และ ไม่ซับซ้อน • บอกให้ผู้ป่วยทราบเมื่อพยาบาลเข้าใจสิ่งที่ผู้ป่วยสื่อ

  16. การพยาบาลผู้ป่วยที่ก้าวร้าวการพยาบาลผู้ป่วยที่ก้าวร้าว • สร้างสัมพันธภาพให้ไว้วางใจ • ใช้น้ำเสียงที่สงบ ไม่กระตุ้นผู้ป่วย • สังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด • ให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก • ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ป่วย และบุคคลอื่น • จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย และไม่กระตุ้นผู้ป่วย • จัดกิจกรรมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการแข่งขัน

  17. สรุป หลักการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทหรือโรคจิตอื่นๆ • ด้านร่างกาย • ส่งเสริมการดูแลตนเอง :สุขอนามัย อาหาร กิจวัตร กิจกรรม • ด้านความคิด • หาความหมายของความคิดและพฤติกรรม การให้ความจริงกับผู้ป่วย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยอยู่กับความจริง

  18. สรุป หลักการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทหรือโรคจิตอื่นๆ(ต่อ) • ด้านจิตใจอารมณ์ • พยาบาลต้องควบคุมอารมณ์ของตนเอง เข้าใจอารมณ์ของผู้ป่วย เสริมสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย • ด้านสังคม • ประเมินความสามารถที่เหลืออยู่ เสริมสร้างทักษะการสร้างสัมพันธภาพและทักษะทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย

  19. การประเมินผล ประเมินตามพฤติกรรม • ได้รับการตอบสนองทางร่างกาย • อาการผิดปกติต่างๆลดลง • ความคิดใกล้เคียงกับความจริง • อารมณ์และพฤติกรรมสอดคล้องกับความเป็นจริง • มีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นดีขึ้น

  20. การประเมินผล ประเมินผลตามปัญหา • ปัญหาที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น • ปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการดูแลตนเอง • ปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้ • ปัญหาการแยกตัวและสัมพันธภาพ • ปัญหาพร่องการสื่อความหมาย • ปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการคิด

  21. ให้ความรู้ : โรคอาการยา ความเครียดและวิธีการผ่อนคลายความเครียด การดูแลตนเอง ช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นความสามารถและคุณค่าของตนเอง สอนให้เผชิญกับสถานการณ์ที่เกิดความเครียดและอาการทางจิต การแสวงหาแหล่งช่วยเหลือ การสังเกตอาการหรือสัญญาณที่บอกความผิดปกติ บอกความสำคัญของการร่วมมือในการรักษาและรักษาที่ต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสารเสพติด การให้คำแนะนำด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยและญาติ

  22. ขอบคุณค่ะ บุคลากรและผู้ใกล้ชิดต้องให้การช่วยเหลือ ดูแล เอาใจใส่และฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากพวกเขายังขาดกำลังในการช่วยเหลือตนเอง

More Related