1.32k likes | 2.86k Views
กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม และระเบียบที่เกี่ยวข้อง. นาย สุพัฒน์ ทวี พันธ์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต ๖ ขอนแก่น. หัวข้อบรรยาย. ๑. พระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่ แก้ไข เพิ่มเติม.
E N D
กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมและระเบียบที่เกี่ยวข้อง นายสุพัฒน์ ทวีพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เขต ๖ ขอนแก่น
หัวข้อบรรยาย ๑. พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒. ประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบ สังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) ของหน่วยของรัฐ ๓. ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการ กำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่กลางสำหรับการติดต่อ ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน
กฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม • พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ • พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่ ๒) • พ.ศ. ๒๕๐๔ • พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม (ฉบับที่ ๓) • พ.ศ. ๒๕๓๕
การโอนอำนาจในการกำกับดูแลความถี่วิทยุการโอนอำนาจในการกำกับดูแลความถี่วิทยุ • มาตรา ๘๑วรรค ๒ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรี อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมเป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ • เป็นกฎหมายว่าด้วยการบริหารความถี่วิทยุ • ความจำเป็น • มีอยู่อย่างจำกัด • มีข้อจำกัดอันเกิดจากธรรมชาติ • มีข้อจำกัดอันเกิดจากการใช้งาน • วัตถุประสงค์ • ให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ • ปราศจากการรบกวน • ใช้ความถี่วิทยุได้อย่างเพียงพอและเท่าเทียมกัน
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (ต่อ) เจตนารมณ์ • กำหนดการใช้ความถี่วิทยุ - การจัดสรรความถี่วิทยุ • กำกับดูแลการใช้ความถี่วิทยุ - ออกใบอนุญาต - ออกกฎ ระเบียบ - กำหนดมาตรฐานเครื่องวิทยุคมนาคม - การดำเนินคดี
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (ต่อ) การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ • เครื่องวิทยุคมนาคม (ม.4) • อุปกรณ์วิทยุคมนาคม • อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม ดังนี้ • สายอากาศ (Antenna) • เครื่องขยายกำลังส่ง (RF Amplifier)
เครื่องวิทยุคมนาคม ได้แก่ เครื่องส่ง เครื่องรับ หรือเครื่องส่งและรับ เครื่องหมาย สัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ เสียงและ การอื่นใดซึ่งสามารถเข้าใจความหมายได้ด้วย คลื่นแฮรตเซียน แต่ไม่รวมถึงเครื่องรับวิทยุ กระจายเสียงและเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
อุปกรณ์วิทยุคมนาคม อุปกรณ์วิทยุคมนาคม ทั้ง ๒ รายการ หากนำไป ประกอบเข้าหรือใช้กับเครื่องวิทยุคมนาคม ที่ได้รับ ใบอนุญาตแล้วให้อุปกรณ์นั้นได้รับยกเว้นไม่ต้องได้ รับใบอนุญาตอีก (ตาม ข้อ๘ ประกาศ กทช. เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับยกเว้นฯ)
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (ต่อ) การควบคุมและกำกับดูแลเครื่องวิทยุคมนาคม • การทำเครื่องวิทยุคมนาคม (ม.6) การผลิต การประกอบขึ้น การสร้าง การกลับสร้างใหม่ การแปรสภาพ - เปิดแบนด์ - เพิ่มภาคกำลังส่ง • การมีเครื่องวิทยุคมนาคม (ม.6) • การใช้เครื่องวิทยุคมนาคม (ม.6) • การตั้งสถานีวิทยุคมนาคม - เครื่องวิทยุคมนาคมประเภทมือถือ ( ม.11 , ม.13) - เครื่องวิทยุคมนาคมประเภทประจำที่ , เคลื่อนที่
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (ต่อ) การควบคุมและกำกับดูแลเครื่องวิทยุคมนาคม • การนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคม (ม.6) • นำเข้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเครื่องเถื่อนและผิดกฎหมายศุลกากร • นำเข้าโดยชอบด้วยกฎหมาย - ผ่านการตรวจสอบทางวิชาการ - ออกหมายเลขทะเบียนวิทยุคมนาคม เช่น กทช. 3009738/48 หรือ NTC ID. B30007-08-0019 • การนำออกนอกราชอาณาจักร • การค้าเครื่องวิทยุคมนาคม
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ (ต่อ) การควบคุมและกำกับดูแลเครื่องวิทยุคมนาคม • การกระทำหน้าที่พนักงานวิทยุคมนาคม -พนักงานวิทยุคมนาคมประจำสถานีในเรือ -พนักงานวิทยุคมนาคมสมัครเล่น • การรับข่าววิทยุคมนาคมต่างประเทศเพื่อการโฆษณา หมายเหตุ • ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำ ใช้ นำเข้า นำออก ค้า ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ให้ถือว่าได้รับใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย
ลักษณะของใบอนุญาต • เป็นสิทธิเฉพาะตัว • ออกให้เฉพาะบุคคลและเฉพาะเครื่อง • โอนเครื่องได้แต่โอนใบอนุญาตไม่ได้
ข้อห้ามในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อห้ามในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม • ส่งหรือจัดให้ส่งข้อความเท็จ หรือที่ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่(ม.๑๖) • ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเพื่อประโยชน์นอกเหนือจากราชการหรือที่กำหนดในใบอนุญาต (ม.๑๒) • จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ( ม. ๒๖ ) • ไม่ปฏิบัติตามที่เจ้าพนักงานสั่งการ เมื่อกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมโดยไม่เจตนา ( ม. ๑๕ ) • ดักรับไว้หรือใช้ประโยชน์ซึ่งข่าววิทยุคมนาคมที่มิได้มุ่งหมายเพื่อประโยชน์ สาธารณะ ( ม.๑๗ ) • ใช้ความถี่วิทยุที่ไม่ได้รับอนุญาต ( ม.๑๑ )
การดำเนินคดีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.๒๔๙๘ • ๑. การดำเนินคดีทางศาล • ๒. การเปรียบเทียบปรับโดยเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต
การเปรียบเทียบคดี ๑. กสทช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นว่ามิได้เป็นการกระทำผิดร้ายแรงจนต้องได้รับโทษจำคุก ๒. ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ๓.กสทช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดค่าปรับ ๔. ผู้กระทำผิดชำระค่าปรับภายใน ๑๕ วัน ๓.ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ คือ กสทช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ กสทช.แต่งตั้ง ๔. ผลการเปรียบเทียบปรับ สิทธิการฟ้องคดีเป็นอันระงับไป ๕. เป็นสิทธิของผู้ต้องหา
หน่วยงานที่ได้รับยกเว้นการได้รับใบอนุญาต ( ม. ๕ ) • กระทรวง ทบวง กรม • นิติบุคคลในกฎกระทรวง - จังหวัด, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, สุขาภิบาล, กทม. เมืองพัทยา, องค์การบริหารส่วนตำบล, สภาตำบล
ประกาศ กสทช. เรื่อง การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ (Synthesizer) ของหน่วยของรัฐ • เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 1 เครื่องที่ผู้ใช้สามารถตั้งความถี่ได้เองจากภายนอกเครื่อง • เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 เครื่องที่ผู้ใช้ไม่สามารถตั้งความถี่ได้เองจากภายนอกเครื่อง
หน่วยงานที่มีสิทธิใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๑ • มีหน้าที่ป้องกันและรักษาความมั่นคงของประเทศ • ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ • อารักขาบุคคลสำคัญของประเทศ • อารักขาบุคคลสำคัญของต่างประเทศที่มาเยือนประเทศไทย
หน่วยงานที่มีสิทธิใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๑ อาทิเช่น • กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ • สนง. ตำรวจแห่งชาติ • สนง.กสทช. • สนง. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด • สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ • กระทรวงมหาดไทย (เฉพาะตำแหน่งตามประกาศฯ) • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หน่วยงานที่มีสิทธิใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๒ • หน่วยงานราชการอื่นที่ไม่มีสิทธิใช้เครื่อง วิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท ๑ • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภท ๒ ๑. เป็นบุคคลที่มีฐานะ ดังนี้ ๑.๑ เป็นข้าราชการทุกระดับ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การของรัฐ ลูกจ้างประจำ
๑.๒เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด อบต. เทศบาล สุขาภิบาล กทม. เมืองพัทยา สภาตำบล หรือพนักงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๑.๓ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน สารวัตรกำนัน หรือแพทย์ประจำตำบล ๑.๔ เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่ วิทยุกับหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้รับจัดสรร ความถี่วิทยุ ๑.๕ ต้องไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นที่เสียหายหรือเป็นภัยต่อ สังคม หรือความมั่นคง ของชาติ
๑.๖ ต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบ สังเคราะห์ความถี่ ประเภท 2 จากหน่วยงานที่สังกัด ๑.๗ ต้องผ่านการฝึกอบรมตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความ ปลอดภัยแห่งชาติจากหน่วยงานหรือหน่วยงานอื่นที่ตนสังกัด ๑.๘ ต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วย งานราชการหรือ รัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณีว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ ๑. จัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมมาโดยชอบ ด้วยกฎหมาย ๒. ควบคุมการรับ-ส่งข่าวสารทางเครื่อง วิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ • ๓. จัดให้มี • บัตรประจำตัวผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม • (รับรองตัวบุคคล) • บัตรประจำเครื่องวิทยุคมนาคม • (รับรองเครื่องว่าเป็นของหน่วยงาน)บัตรประจำเครื่อง • ต้องระบุตราอักษร แบบ รุ่น และเลขทะเบียนครุภัณฑ์
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ ๔. กำหนดทะเบียนควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ๕. จัดทำบัญชีคุมการเบิกจ่ายเครื่องวิทยุคมนาคม ๖. จัดทำคู่มือการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ๗. จัดฝึกอบรมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ ๘. อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานใน การตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม ระเบียบนี้
บทกำหนดโทษ • หากผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมฝ่าฝืนระเบียบนี้หรือระเบียบของหน่วยงานให้หน่วยงานพิจารณาโทษทางวินัย • หากหน่วยงานฝ่าฝืนระเบียบนี้ กสทช. อาจพิจารณาไม่อนุญาตหรือยกเลิกการอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
ตัวอย่างบัตรประจำ เครื่อง วิทยุคมนาคม
ตัวอย่างบัตรประจำตัว ผู้ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคม
ตัวอย่างบัตรประจำตัวผู้ใช้เครื่อง/บัตรประจำเครื่องตัวอย่างบัตรประจำตัวผู้ใช้เครื่อง/บัตรประจำเครื่อง
เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลการใช้ คลื่นความถี่กลางสำหรับการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต หมวด ๒ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ หมวด ๓ มาตรการกำกับดูแล
หมวด ๑ หลักเกณฑ์การอนุญาต • คลื่นความถี่กลางร่วมของหน่วยงานของรัฐ • คลื่นความถี่กลางร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน
คลื่นความถี่กลางร่วมของหน่วยงานของรัฐคลื่นความถี่กลางร่วมของหน่วยงานของรัฐ
คลื่นความถี่กลางร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนคลื่นความถี่กลางร่วมระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชน
หมวด ๒ ข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติ • ภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ให้ดำเนินการบรรจุคลื่นความถี่กลางได้ • หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการใช้ความถี่กลาง (ก) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย -ระดับประเทศ (ข) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย -ระดับเขตภูมิภาค (ค) สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประจำจังหวัด –ระดับจังหวัด • ในกรณีที่เกิดเหตุภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน หน่วยงานที่ไม่มีหน้าที่ ระงับการใช้คลื่นความถี่กลางทันที
หมวด ๓ มาตรการกำกับดูแล • ตักเตือนด้วยวาจา • ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร • ระงับการใช้คลื่นความถี่ หรือพักใช้ใบอนุญาตวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี • ยกเลิกการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ หรือเพิกถอนใบอนุญาตวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี • ดำเนินการตามกฎหมาย
ข้อควรปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุข้อควรปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ • ใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร • ควรใช้เวลาให้น้อยและใช้ความถี่วิทยุให้สั้นที่สุด - ความถี่วิทยุมีน้อยผู้ใช้มีจำนวนมาก - มีคนรอที่จะใช้ความถี่วิทยุอยู่ • ต้องใช้ข้อความสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ - ประมวลสัญญาณวิทยุ (รหัส ว.) - ไม่ใช้คำที่ยาวจนเกินความจำเป็น - ควรพูดสัญญาณวิทยุ (รหัส ว.) ให้ครบ • พูดให้มีจังหวะพอดีๆ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป • ก่อนติดต่อสื่อสารควรฟังว่ามีผู้ใดใช้ความถี่อยู่หรือไม่
ข้อควรปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ (ต่อ) • ควรกดคีย์ 1 – 2 วินาที แล้วค่อยพูดและปล่อยคีย์เมื่อจบประโยค • แจ้งนามเรียกขาน/สัญญาณเรียกขานของตัวเอง และนามเรียกขาน /สัญญาณเรียกขานผู้ที่เราจะติดต่อด้วยต้องขออนุญาตแม่ข่ายก่อน • ไม่ควรพูดติดต่อสื่อสารกันในช่องเรียกขาน • ไม่ควรเรียกแทรกซ้อนเข้าไปขณะที่ยังมีการรับ-ส่งข่าวสารกันอยู่ • ไม่ควรเปิดเครื่องวิทยุคมนาคมเสียงดังรบกวนผู้อื่น • เมื่อพูดติดต่อสื่อสารจบประโยค หรือจบข้อความควรใช้คำว่า “เปลี่ยน” • เมื่อจบการติดต่อสื่อสารถ้าจะขอบคุณคู่สนทนาให้ใช้คำว่า“ขอบคุณ”
ข้อพึ่งหลีกเลี่ยง ในการใช้วิทยุสื่อสาร • รับส่งข่าวทางธุรกิจการค้า • ติดต่อกับสถานีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ • ใช้รหัสลับนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต • รับส่งข่าวสาร นอกเหนือไปจากราชการ • การใช้ถ้อยคำหยาบคายไม่สุภาพ • การรับ - ส่ง ข่าวสารที่ละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง • ส่งเสียงดนตรีและรายการบันเทิงต่าง ๆ
ข้อพึ่งหลีกเลี่ยงในการใช้วิทยุสื่อสาร (ต่อ) • กระทำการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีอื่น • ใช้นามเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างนามเรียกขาน • แย่งใช้ช่องสัญญาณติดต่อสื่อสาร • ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานที่หรือเครื่องวิทยุ • กระทำผิดกฎหมายวิทยุคมนาคมหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง • ส่งข่าวที่ตัวเองรู้อยู่ว่าเป็นเท็จทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน
สรุป การใช้วิทยุคมนาคมให้ถูกต้อง • ความถี่ • เครื่องวิทยุคมนาคม • คน (ผู้ใช้เครื่องวิทยุ)
Q & A • หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามได้ที่ • โทรศัพท์ ๐๔๓-๒๐๒๖๐๐ – ๔ • E-mail.mtr_kk@nbtc.go.th