2.34k likes | 7.44k Views
สมการเคมี ( Chemical Equation). สมการเคมี (Chemical Equation).
E N D
สมการเคมี(Chemical Equation) สมการเคมีเป็นสิ่งที่เขียนแทนปฏิกิริยาเคมีบอกให้ทราบชนิดของสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน (reactants) และชนิดของสารที่เป็นผลผลิตของปฏิกิริยา (products) โดยเขียนสารที่เข้าทำปฏิกิริยากันไว้ทางซ้ายมือและสารที่เป็นผลิตผลไว้ทางขวามือของลูกศรที่มีทิศทางชี้ไปทางสารที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
สมการเคมี เขียนขึ้นเพื่อแสดงอัตราส่วนต่ำสุดของจำนวนโมลของ ของสารตั้งต้นที่รวมพอดีกัน และจำนวนโมลของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
CH4 (g) +2O2 (g) CO2 (g) + 2H2O(g) สมการเคมี สมการเคมีเขียนได้ 2 แบบคือ • สมการแบบโมเลกุลแสดงปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลของสารสมการโมเลกุลที่ดุลแล้วจะต้องมีจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุทั้งสองข้างลูกศรเท่ากัน
ข. สมการไอออนิก นิยมใช้สำหรับปฏิกิริยาที่มีสารประกอบไอออนิกเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเขียนเฉพาะไอออนและโมเลกุลที่จำเป็นและเกิดปฏิกิริยาเท่านั้น
เช่นสมการแบบโมเลกุล NaCrO2 + NaClO +NaOH Na2CrO4 + NaCl + H2O เนื่องจากเป็นสารประกอบไอออนิก เมื่ออยู่ในน้ำ จะแตกตัวให้ไอออน
Na+ปรากฏอยู่ทั้งซ้ายมือและขวามือของสมการแสดงว่าไม่ได้เข้าร่วมในการทำปฏิกิริยา ดังนั้นสมการไอออนิกที่เขียนจึงไม่จำเป็นต้องเขียน Na+ไว้ด้วย ดังนี้
การดุลสมการเคมี การดุลสมการอย่างง่าย 1. เริ่มจากโมเลกุลใหญ่สุด หรือโมเลกุลที่ประกอบด้วย ธาตุมากสุด 2. ดุลโลหะ 3. ดุลอโลหะ (ยกเว้น H และ O) 4. ดุล H และ O 5. ตรวจจำนวนทุกธาตุในสมการ 6. ถ้ายังไม่ดุลทำซ้ำข้อ 2-5 อีกครั้งหนึ่ง
การดุลสมการเคมี ตัวอย่าง Na2O2 + H2O NaOH + O2 ข้อ 1,2 Na2O2 + H2O 2 NaOH + O2 ข้อ 3 ไม่ต้องใช้ ข้อ 4 Na2O2 + 2H2O 2 NaOH + O2 ข้อ 5 H ไม่ดุล ข้อ 6 2Na2O2 + 2H2O4 NaOH + O2
จงดุลสมการต่อไปนี้ 1. H3PO4 + CaO Ca3(PO4)2 + H2O • NH4NO3 N2 + H2O + O2 2H3PO4 + 3CaO Ca3(PO4)2 + 3H2O 2NH4NO3 2N2 + 4H2O + O2
แบบฝึกหัด : การดุลสมการเคมี • B2O3(s) + H2O(l) H3BO3(aq) B2O3(s) + 3H2O(l) 2H3BO3(aq) • Cu(s) + AgNO3(aq) Ag(s) + Cu(NO3)2(aq) Cu(s) + 2AgNO3(aq) 2Ag(s) + Cu(NO3)2(aq) • NH3(g) + O2(g) NO(g) + H2O(l) 4NH3(g) + 5O2(g) 4NO(g) + 6H2O(l) • C3H6O(l) + O2(g) CO2(g) + H2O(l) C3H6O(l) + 4O2(g) 3CO2(g) + 3H2O(l) • C12H22O11(s) + O2(g) CO2(g) + H2O(l) C12H22O11(s) + 12O2(g) 12CO2(g) + 11H2O(l)
หลักในการเขียนสมการเคมีหลักในการเขียนสมการเคมี • ต้องเขียนสูตรเคมีของสารตั้งต้นแต่ละชนิดได้ • ต้องทราบว่าในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งเกิดสารผลิตภัณฑ์ใดขึ้นบ้าง และเขียนสูตรเคมีของสารผลิตภัณฑ์ได้ • เมื่อเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาแล้วให้ทำสมการเคมีให้สมดุลด้วย คือทำให้จำนวนอะตอมของธาตุทุกชนิดทางซ้ายเท่ากับทางขวา โดยการเติมตัวเลขข้างหน้าสูตรเคมีของสารนั้นๆ เช่น N2 + H2NH3ยังไม่ได้ดุล N2 + 3H22NH3 สมการดุลแล้ว
ในการเขียนสมการเคมี ถ้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรบอกสถานะของสารแต่ละชนิดด้วย คือ ก๊าซ(gas) , เป็นสารละลายในน้ำ(aqueous) ,เป็นของแข็ง(solid) , เป็นของเหลว(liquid)s = solid l = liquid g = gas aq = aqeous(สารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย) เช่น CaC2(s) +2H2O(g) Ca(OH)2(aq) + C2H2(g) • การเขียนสมการเคมีบางครั้งจะแสดงพลังงานของปฏิกิริยาเคมีด้วย เช่น 2NH3(g) + 93kJ N2(g) + 3H2(g) CH4(g) + 2O2(g) CO2(g) + 2H2O(l) + 889.5 kJ
สมการเคมีที่ควรทราบ • โลหะ + กรด เกลือ + แก๊สไฮโดรเจน เช่น Zn + 2HClZnCl2 + H2 Fe + HClFeCl2 + H2 ** โลหะส่วนหนึ่งที่ทำกับปฏิกิริยากับกรดแล้วให้ก๊าซ H2เช่น Li, Fe, K, Na, Sr, Ca, Mg, Zn, Cr, Ni ฯลฯ ## โลหะบางชนิดไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไม่ให้แก๊ส H2แต่ให้สารอื่น เช่น Cu + HNO3(เข้มข้น) Cu(NO3)2 + 2H2O + 2NO2
2. กรด + สารประกอบคาร์บอเนต เกลือ + น้ำ + CO2 เช่น 2HCl + Na2CO3 2NaCl + H2O + CO2 3. กรด + สารประกอบซัลไฟด์ เกลือ + แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ เช่น 2HCl + FeS FeCl2 + H2S 4. สารประกอบคาร์บอเนต สารประกอบออกไซด์ + แก๊ส CO2 เช่น CaCO3(s) CaO(s) + CO2
การคำนวณที่เกี่ยวข้องกับสมการเคมีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับสมการเคมี สมการเคมีบอกถึงสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี ความสัมพันธ์เชิงปริมาณของสารต่างๆที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาและสามารถคำนวณปริมาณของผลิตผลที่ได้จากปฏิกิริยาเคมี
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารในสมการเคมีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารในสมการเคมี 2H2(g) + O2(g) 2H2O(g) บอกอัตราส่วนจำนวนโมล บอกจำนวนโมเลกุล จำนวนปริมาตร (เป็นแก๊ส)
ปริมาณสารสัมพันธ์ สมการที่ดุลแล้ว บอกให้ทราบความสัมพันธ์เชิงปริมาณ ของสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยา SiCl4(s) + 2H2O(l) SiO2(s) + 4HCl(g) โมเลกุล 1 2 1 4 โมล 1 2 1 4 จำนวนโมเลกุล6.0210232(6.021023) 6.0210234(6.021023) ลิตรที่ STP - - - 4(22.4) ใช้หาปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น
CaC2(s) + 2H2O(l)Ca(OH)2(aq) + C2H2(g)……. 1 1 2 1 1 โมเลกุล 1 2 1 1 โมล 6.02 x 10232(6.02 x 1023)6.02 x 1023 6.02 x 1023โมเลกุล 64.1 2(18.0) 74.1 26.0 กรัม 22.4 ลิตร(dm3) ที่ STP
Ex จากสมการ (1) ถ้าใช้ CaC2 2.5 mol ทำปฏิกิริยากับน้ำที่มีปริมาณมากเกินพอ ก. ได้ C2H2(g) เกิดขึ้นกี่โมล ข. ได้ C2H2(g) เกิดขึ้นกี่กรัม ค. ได้ C2H2(g) เกิดขึ้นกี่ลิตรที่ STP ง. น้ำทำปฏิกิริยาไปกี่โมลและกี่กรัม (Ca = 40.1 , C = 12.0, H = 1.0)
วิธีทำ ก. จากสมการ 1 จะเห็นว่า CaC2 1 mol ให้ C2H2 1 mol CaC2 2.5 mol ให้ C2H2 2.5 mol ด้วย
ข.น้ำหนักโมเลกุลของ C2H2 = 26.0 หมายความว่า C2H2 1 mol หนัก 26.0 g C2H2 2.5 mol หนัก = (2.5 mol) (26.0 g) (1 mol) = 65.0 g
ค. C2H2(g) 1 mol มีปริมาตร 22.4 l ที่ STP C2H2(g) 2.5 mol มีปริมาตร = (2.5 mol) (22.4 l) ที่ STP (1 mol) = 56.0 l ที่ STP
ง. จากสมการ CaC2 1 mol ทำปฏิกิริยาพอดีกับ H2O 2 mol CaC2 2.5 mol ทำปฏิกิริยากับ H2O (2 x 2.5) mol = 5.0 mol H2O 1 mol มีน้ำหนัก = 18.0 g H2O 5.0 mol มีน้ำหนัก = (18.0) (5.0) = 90 g
การคำนวณเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมีการคำนวณเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี • เทียบบัญญัติไตรยางศ์ - ดุลสมการ - แสดงจำนวนโมลโมเลกุลของสารที่เกี่ยวข้องกับในการคำนวณ - เปลี่ยนจากโมลโมเลกุลเป็นเทอมหรือปริมาณอื่นที่ต้องการทราบหรือเกี่ยวข้องใน การคำนวณ - เทียบบัญญัติไตรยางศ์หาปริมาณสารที่ต้องการ • ใช้สูตรเทียบอัตราส่วนโมลaA + bBcC + dD nA = a nB = b เมื่อ nA, nB, nC คือจำนวนโมลของสารnBb nC c
การคำนวณโดยใช้สูตรมีวิธีการดังนี้การคำนวณโดยใช้สูตรมีวิธีการดังนี้ - ดุลสมการ - ใช้สูตรเทียบอัตราส่วนโมล - เปลี่ยนเทอมของโมลเป็นเทอมอื่นหรือปริมาณอื่นโดยใช้สูตร n = g หรือ n = N หรือ n = Vที่STP M 6.02 x 102322.4 dm3 - จะใช้สูตรไหนขึ้นอยู่กับการถามของโจทย์ แล้วคำนวณหาสิ่งนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารต่างๆ ในสมการเคมี สมการเคมีสามารถบอกถึงปริมาณการใช้สารตั้งต้น และปริมาณสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งหมายถึงปริมาณโมล จำนวนอะตอม น้ำหนัก หรือปริมาตรแก๊สที่ STP เช่น CH4 + 2O2 CO2 + 2H2O จากสมการได้ความสัมพันธ์ดังนี้ - CH4 1 โมล รวมกับ O22 โมล จะได้ผลิตภัณฑ์ CO2 1 โมล และ H2O 2โมล - CH4 1 x 6.02 x 1023โมลโมเลกุล รวมกับ O22 x 6.02 x 1023โมลโมเลกุล จะได้ผลิตภัณฑ์ CO21 x 6.02 x 1023โมลโมเลกุล และ H2O 2 x 6.02 x 1023โมลโมเลกุล
CH4 5โมลอะตอม รวมกับ O24โมลอะตอม จะได้ผลิตภัณฑ์ CO23โมลอะตอม และ H2O 6 โมลอะตอม • CH4 5 x 6.02 x 1023อะตอม รวมกับ O24 x 6.02 x 1023อะตอม จะได้ผลิตภัณฑ์ CO23 x 6.02 x 1023 อะตอม และ H2O 6 x 6.02 x 1023อะตอม • CH4 16 กรัม รวมกับ O22 x 32 กรัม จะได้ผลิตภัณฑ์ CO2 44 กรัม และ H2O 2 x 18 กรัม
การคำนวณมวลร้อยละของธาตุจากสูตรเคมีการคำนวณมวลร้อยละของธาตุจากสูตรเคมี ถ้าทราบสูตรโมเลกุลของสารประกอบ และมวลอะตอมสามารถคำนวณหามวลร้อยละของธาตุจากสูตรเคมีได้ ซึ่งมวลร้อยละของธาตุในสารประกอบแต่ละชนิดเป็นค่าคงที่ ร้อยละของธาตุ A ในสารประกอบ = มวลของธาตุ A x 100 มวลของสารประกอบ มวลร้อยละของธาตุ = จำนวนอะตอม x มวลอะตอม x 100 มวลสูตรของสารประกอบ
จงหามวลร้อยละของ C และ H ใน C3H8 C3H8 มีมวลโมเลกุล = 44 มวลร้อยละของ C ใน C3H8 = 3 x 12 x 100 44 = 81.81 มวลร้อยละของ H ใน C3H8 = 8 x 1 x 100 44 = 18.18
การนำค่ามวลร้อยละไปใช้ประโยชน์การนำค่ามวลร้อยละไปใช้ประโยชน์ • ใช้หาปริมาตรของธาตุในสารประกอบเพื่อเปรียบเทียบว่าสารประกอบชนิดใดมีธาตุใดเป็นองค์ประกอบมากกกว่าหรือน้อยกว่า ตัวอย่าง สารประกอบใดมีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบมากที่สุด H2O2 H2SO4 Na2B4O7 SO2 (H=1, O=16, S=32, Na=23, B=11) H2O2
ระบบกับการเปลี่ยนแปลงระบบกับการเปลี่ยนแปลง ระบบ (system) คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราและเป็นสิ่งที่เราสนใจศึกษา หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในขอบเขตของเราที่ต้องการจะศึกษา สิ่งแวดล้อม (surrounding)คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกตัวเราที่ไม่ต้องการศึกษา หรือสิ่งที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา ระบบที่ศึกษาทั่วไปแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงมวลของสารในระบบได้ 2 ประเภท คือ ระบบปิด (close system)หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทพลังงานระหว่าง ระบบกับระบบ และระบบกับสิ่งแวดล้อมได้ แต่ไม่มีการถ่ายเทมวลสาร มวลระบบคงที่
ระบบเปิด (open system) คือ ระบบที่สามารถถ่ายเทมวลสารและพลังงาน ให้กับสิ่งแวดล้อมได้ ระบบอิสระ (Isolated system) คือ ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทหรือแลกเปลี่ยน มวลของสารและพลังงานกับสิ่งแวดล้อม เช่น กระติกน้ำร้อนที่มีฉนวน หุ้มอย่างดีบรรจุน้ำร้อน
พิจารณาระบบต่อไปนี้ว่าระบบใดเป็นระบบเปิด หรือระบบปิด - การหลอมเหลวแนฟทาลีนในชามกระเบื้อง เป็นระบบเปิด เพราะแนพทาลีนจะระเหิดกลายเป็นไอ - ใส่โลหะทองแดงลงในสารละลายกรดไนตริก เป็นระบบเปิด จะมีก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เกิดขึ้น - ผสมกรด HCl กับ NaOH ในบีกเกอร์ เป็นระบบปิด เพราะไม่มีก๊าซเกิดขึ้น ได้โซเดียมคลอไรด์กับน้ำ - ตั้งบีกเกอร์ใส่น้ำปูนใสไว้บนโต๊ะจนกระทั่งมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนน้ำปูนใส จัดเป็นระบบเปิด เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้าทำปฏิกิริยากับน้ำปูนใส มวลระบบจะเพิ่มขึ้น
กฎทรงมวล (Law of conservation of Mass) • กฎทรงมวล “ ในปฏิกิริยาเคมีใดๆ มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยา” เช่น เมื่อให้ก๊าซ H2 4 g ทำปฏิกิริยากับ O2 32 g เกิดน้ำ 36 g 2 H2 (g) + O2(g) 2H2O (l) 4g+32 g (36 g) 36 g (มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยา) (มวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา)
กฎสัดส่วนคงที่ (Law of constant proportion) “เป็นกฎที่กล่าวถึงอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่มารวมกันเป็นสารประกอบ” ผู้ที่ตั้งกฎนี้คือ โจเซฟ เพราสต์ กล่าวว่า “สารประกอบชนิดเดียวกันย่อมประกอบด้วยธาตุต่างๆ มารวม ตัวกัน โดยมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุต่างๆ ในสารประกอบหนึ่งๆ จะ มีค่าคงที่เสมอ ไม่ว่าสารประกอบนั้นจะเตรียมขึ้นมาด้วยวิธีการใดก็ตาม” “อัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่มารวมตัวกันเป็นสารประกอบหนึ่งๆ จะมีค่าคงที่”
จากการทดลอง ทราบว่า อัตราส่วนโดยมวลที่ทองแดง และกำมะถันทำปฏิกิริยาพอดีกัน = 2:1 เกิดดังนี้ Cu(s) + S(s) CuS(s)
ข้อสังเกต กฎสัดส่วนคงที่ มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ • โจทย์จะกำหนดการทดลองมาอย่างน้อย 2 ครั้ง • หาอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ของทั้งสองการทดลอง - ถ้าอัตราส่วนโดยมวลของทั้ง 2 การทดลองเท่ากัน แสดงว่าเป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่ - ถ้าอัตราส่วนโดยมวลของทั้ง 2 การทดลองไม่เท่ากัน แสดงว่าไม่เป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่
ตัวอย่างการคำนวณ • นำทองแดงมา 0.35 g มาละลายในกรดไนตริก แล้วทำให้แห้ง จากนั้นจึงนำไปเผาอย่างรุนแรงจะได้คอปเปอร์ออกไซด์หนัก 0.438 g ในการทดลองอีกวิธีหนึ่งโดยการนำคอปเปอร์คาร์บอเนตจำนวนหนึ่งมาเผาจนสลายตัวหมดได้คอปเปอร์ออกไซด์หนัก 1.62 g แล้วนำคอปเปอร์ออกไซด์ไปเผาให้ร้อนจัดในบรรยากาศแก๊สไฮโดรเจนจะได้ทองแดง 1.29 g จะแสดงว่าองค์ประกอบของคอปเปอร์ออกไซด์เป็นจริงตามกฎสัดส่วนคงที่
นำโลหะ Na มา 1.021 g ไปละลายในกรดไนตริก จะได้โซเดียมไนเตรดแล้วนำ NaNO3ไปเผาจนสลายตัวได้ NaO หนัก 1.1 g ในการทดลองอีกวิธีหนึ่ง โดยการนำ NaO มา 5 g ไปเผาในบรรยากาศแก๊สไฮโดรเจนที่มากเกินพอ จะได้โลหะ Na หนัก 4.64 g ข้อมูลนี้เป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่หรือไม่ • ธาตุ A ทำปฏิกิริยากับธาตุ B ด้วยอัตราส่วนโดยมวลเป็น 1:16 ได้สาร C เพียงอย่างเดียว ถ้ามีธาตุ A และ B อย่างละ 8 g เมื่อทำปฏิกิริยากันแล้วจะได้สาร C มีมวลกี่กรัม
การวิเคราะห์อะลูมิเนียมคาร์ไบด์ ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างอะลูมิเนียมกับคาร์บอน ให้ผลดังนี้ ครั้งที่ 1 ใช้อะลูมิเนียมคาร์ไบด์ 1.44 g พบว่ามีอะลูมิเนียม 1.08 g ครั้งที่ 2 ใช้อะลูมิเนียมคาร์ไบด์ 3.6 g พบว่ามีคาร์บอน 0.9g อยากทราบว่าผลการวิเคราะห์นี้เชื่อถือได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) ประกอบด้วยธาตุไนโตรเจนร้อยละ 82.4 และธาตุไฮโดรเจนร้อยละ 17.6 โดยมวล ถ้าใช้ธาตุไนโตรเจน 10 g ทำปฏิกิริยากับธาตุไฮโดรเจน 3 g จะได้ก๊าซแอมโมเนียกี่กรัม
การนำกฎสัดส่วนคงที่ไปใช้การนำกฎสัดส่วนคงที่ไปใช้ • 1. ในการคำนวณเพื่อแสดงว่าสารประกอบที่กำหนดให้เป็นสารชนิดเดียวกัน • หรือไม่ ทำได้ 2 วิธี • หา %โดยมวลของธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบว่าเท่ากันหรือไม่ • หาอัตราส่วนโดยมวลของธาตุในสารประกอบว่าอัตราส่วนเท่ากันหรือไม่ • 2. ใช้คำนวณหามวลของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาได้เมื่อทราบอัตราส่วน • หรือ %ของธาตุที่รวมพอดีกัน
ตัวอย่าง ก๊าซ CO2มีธาตุ C เป็นองค์ประกอบ 27.27%โดยมวล และจากการเผา ธาตุ C 4 gในอากาศ ปรากฏว่ามีก๊าซไม่มีสีเกิดขึ้น 14.67g ก๊าซไม่มีสี ดังกล่าวเป็นก๊าซ CO2 ก๊าซไม่มีสี ถ้าเป็น CO2 จะต้องมีอยู่ 27.27 % โดยมวล ดังนั้นก๊าซไม่มีสี 14.67g มีธาตุ C เป็นองค์ประกอบอยู่ 4 g ถ้าก๊าซไม่มีสี 100 g มีธาตุ C เป็นองค์ประกอบ = 4 x 100 = 27.27% 14.67 ดังนั้นก๊าซไม่มีสีจึงเป็น CO2
เมื่อนำ CuO มา 7.95g เผาให้ร้อนแดง แล้วผ่าน H2เข้าไป ปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุด • ปฏิกิริยามี Cuเหลือ 6.35 g แต่เมื่อทดลองนำ Cu มา 1.9 g เผารวมกับ O2 • ในอากาศ ปรากฏว่ามี CuO เกิดขึ้น 2.38 g การทดลองนี้สนับสนุนกฎสัดส่วน • คงที่หรือไม่ • CaO เป็นสารประกอบมี Ca 71.43%โดยมวล ถ้านำ Caมา 8 g ทำปฏิกิริยากับ • O2 5 g จะได้ CaO กี่กรัม
สารประกอบ Al2S3 มี Al เป็นองค์ประกอบ 36%โดยมวล ถ้านำ Al มา 10 g • และ S 16 g เผารวมกันในหลอดทดลอง จะได้ Al2S3กี่กรัม
การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีการคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี ปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสาร ในสมการเคมี สารกำหนดปริมาณ การคำนวณจากสมการเคมีที่เกี่ยวข้อง มากกว่าหนึ่งสมการ
ปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมีปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี ในการศึกษาปริมาณสัมพันธ์ของสารในสถานะแก๊สในปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ไม่สะดวกที่จะวัดมวลของแก๊สเหมือนกับของแข็งและของเหลว “จึงใช้วิธี วัดปริมาตรแทน” ในปฏิกิริยาเคมีของสารที่มีสถานะเป็นแก๊สปริมาตรรวมของแก๊สที่เข้าทำ ปฏิกิริยากันและปริมาตรรวมของแก๊สที่เกิดจากปฏิกิริยาจะเท่ากันหรือไม่เท่า กันก็ได้ (ต่างกับมวลซึ่งเป็นไปตามกฎทรงมวล)
กฎของเกย์-ลูสแซก (Law of Gay-Lussac) • ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน และปริมาตรของแก๊สที่เกิดจากปฏิกิริยา โดยทำการทดลองวัดปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน และที่เกิดจากปฏิกิริยาที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน เขาได้ทำการทดลองซ้ำหลายครั้ง จนสรุปเป็นกฎเรียกว่า “กฎการรวมปริมาตรของแก๊ส” “อัตราส่วนระหว่างปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยาพอดีกันและปริมาตรของแก๊สที่ได้จากปฏิกิริยาซึ่งวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกันจะเป็นเลขจำนวนเต็มลงตัวน้อยๆ”
เช่น ไฮโดรเจน + คลอรีน ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจน + ออกซิเจน ไอน้ำ ไนโตรเจน + ไฮโดรเจน แอมโมเนีย ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยากัน และที่ได้จากปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นดังนี้