480 likes | 592 Views
Chapter 11 กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทย & วิวาทะในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย. EC 482. ช่องว่างของนโยบายอุตสาหกรรมของประเทศไทย. กรอบแนวคิดในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม พัฒนาการภาคอุตสาหกรรมไทย โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย ปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต
E N D
Chapter 11กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทย & วิวาทะในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย EC 482
ช่องว่างของนโยบายอุตสาหกรรมของประเทศไทยช่องว่างของนโยบายอุตสาหกรรมของประเทศไทย • กรอบแนวคิดในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • พัฒนาการภาคอุตสาหกรรมไทย • โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย • ปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต • กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทยและภาพรวมของนโยบายอุตสาหกรรมในปัจจุบัน • ช่องว่างทางนโยบายอุตสาหกรรม” • ข้อเสนอแนะทางนโยบาย
2. กรอบแนวคิดในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • การทำให้เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (industrialization) และการพัฒนาอุตสาหกรรม (industrial development) • นโยบายอุตสาหกรรม (industrial policy) หมายถึง แนวทางดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาคอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งภายในประเทศ มีความเจริญเติบโต (growth) และพัฒนา (development) • การแทรกแซงของรัฐควรเกิดในกรณีที่กลไกตลาดล้มเหลว การใช้งบของรัฐต้องใช้กรณีเป็นสินค้าสาธารณะ (public goods) หรือเสริมการทำงานของตลาดกรณีเกิดความล้มเหลวของตลาดไม่ใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน บทบาทของรัฐบาลควรเป็นตัวกระตุ้นและผู้สร้างความท้าทาย (catalyst and challenger
3. พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี • ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมจากระบบทุนนิยมโดยรัฐ(state Capitalism)เป็นระบบเศรษฐกิจเสรี (Free Enterprise System) พัฒนาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import Substitution) สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยส่งเสริมการส่งออก(Export Promotion) ในช่วงปี พ.ศ.2503-12 การพัฒนาอุตสาหกรรมเน้นกลยุทธ์การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-19) จึงเน้นนโยบายส่งเสริมการส่งออก • การลงทุนจากต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เพิ่มการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น • มีการพัฒนาอุตสาหกรรมตามชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) มีการกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs มีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม • วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศไทยหันมาดำเนินนโยบายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ให้มีผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และปรับตัวกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (Export-orientedIndustry)
Electrical Machinery Computer-Parts, Accessories Seafood Telecom Equipment Apparel Tourism What’s Next??? Agri… Manuf…… Service GDP Mil Baht Clothing Electrical machinery Seafood Other Machinery Rice & Rubber 2010 1960 1970 1980 1990 2000 Rice Fruit & Vegetable Non-ferrous Metal Crude rubber Electrical machinery Rice Crude Rubber Fruit & Vegetable Non-ferrous Metal Textile Fiber Rice Crude Rubber Ores & Metal Scrap Textile Fiber Fruit & Vegetable Key Policies/Drivers: Import Substitution, Export-led growth, FDI Innovation + Knowledge 3. พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี : ทิศทางการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี • นโยบายอุตสาหกรรมของไทยมุ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลัก • ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างการผลิตและยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอย่างจริงจัง • นโยบายอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านมาไม่มียุทธศาสตร์เชิงรุกและรับที่ชัดเจน • นโยบายอุตสาหกรรมแบบไทยๆ มักไม่เจาะจงอุตสาหกรรม
4. โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย • ผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงทั้งทางด้านการผลิตและการส่งออก อัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม • การส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศยังต้องพึ่งพาสินค้าเข้าจากต่างประเทศทั้งเครื่องจักรและวัตถุดิบ • ประเภทของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการกระจายตัวค่อนข้างดี • สัดส่วนการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับจำนวนการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ในระดับต่ำ โดยเมื่อพิจารณาในส่วนของแรงงานทั้งหมดนั้น • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยมาก
4. โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย
4. โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย
5. ปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย • ภาคอุตสาหกรรมไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย มีต้นทุนการผลิตสูง แรงงานไร้ทักษะ ผู้ผลิตขาดการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง ผู้ประกอบการขาดความรู้ ความสามารถในการจัดการ การตลาดและข้อมูลการตลาด ขาดการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดย่อม ผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิตต่ำและขาดการพัฒนาวัตถุดิบและความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม • แผนแม่บทอุตสาหกรรมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2540-2544) • แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทย • แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (พ.ศ. 2551-2555) แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (พ.ศ. 2551-2555) และแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
* Political Regimes* Patron - Client Relationship Super - Structure Supply- Power Elites- Economic Advisors- Technocrats- Political Parties- Parliament Demand- Interest Group- People- Mass Media- Economists- NGOs and Social Movements Economic Policy Market Process of Economic Policy Formulation 11
Supply- Power Elites- Economic Advisors- Technocrats- Political Parties- Parliament Demand- Interest Group- People- Mass Media- Economists- NGOs and Social Movements Economic PolicyMarket World Capitalism * International Economic Order* World Governance Supra - National Organizations (SNOs) * IBRD * IMF * WTO * WIPO * HICs* MNCs* International NGOs : BINGOs 12
6. กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทย
งบยุทธศาสตร์ งบยุทธศาสตร์ 1# 1# 2# 2# 3# 3# 4# 4# 4# 4# 4# 3# 3# 3# 2# 2# 2# x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx 1# 1# 1# งบประจำ งบประจำ งบประจำ x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx x,xxx 1# 2# 3# 4# 1# ทิศทางเชิงนโยบาย การวางแผนฯ ตามพรฎ. การวางแผน งบประมาณ ระดับชาติ ระดับชาติ ผลกระทบ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ระดับชาติ แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ ผลลัพธ์ ระดับกระทรวง นโยบายรัฐมนตรี แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี เป้าหมายการให้ บริการ 4 ปี (กระทรวง) ระดับกระทรวง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีหน่วยงาน เป้าหมายการให้ บริการ 4 ปี (หน่วยงาน) งบยุทธศาสตร์ ระดับกรม ระดับกรม/หน่วยงาน ผลผลิต แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีหน่วยงาน เป้าหมายการให้ บริการ (หน่วยงาน) ประจำ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หน่วยงาน ตัวชี้วัด QQTC ผลผลิต โครงการ ตัวชี้วัด QQTC กิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง กิจกรรมสนับสนุน ติดตามประเมินผล งบรายจ่ายอื่น ๆ Variable Budget งบอุดหนุน งบเงินลงทุน งบดำเนินการ Fixed Budget งบบุคลากร งบผลผลิต งบโครงการ ความต้องการงบประมาณหน่วย อนุมติงบประมาณ เบิกจ่าย/ดำเนินการ
Budgeting Framework ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ระดับชาติ/รัฐบาล National/Government Strategy Major Key Success Factors Key Success Factors G/ FMIS เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Target) Government Strategic Direction r การกำหนดทางเลือก ในการผลิตและการใช้ทรัพยากร ( Intervention Logic) เป้าหมาย การให้บริการ (PSA/SDA) Key Performance Indicators Manager Flexibility & Accountability Output Performance (QQTC) BIS ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ (Intervention Logic) กระบวนการ จัดทำผลผลิต (Delivery Process) Ev MIS โครงสร้างระบบงบประมาณใหม่ AMIS ทรัพยากร (Resources) Evaluation ที่มา : นายสมนึก พิมลเสถียร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
6. กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทย • นโยบายในการยกระดับความสามารถในเชิงแข่งขัน (CapacityBuilding) • นโยบายในการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน (Enabling Factor) • นโยบายในการขจัด/ผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ (Relaxing Constrain) • นโยบายในการยืนหยัดอยู่ท่ามกระแสโลกาภิวัตน์ (Global Reach) • นโยบายในการใช้โอกาสในการพัฒนาสินค้าใหม่/กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างโอกาสใหม่ (New Product) โดยมีประเด็นการพัฒนา • เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy policy) เ • ศรษฐกิจบนฐานรากเกษตร (Agro-based resource policy) • การแสวงหาโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) • และการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (Cluster of city policy)
7. ช่องว่างทางนโยบายอุตสาหกรรม • นโยบายอุตสาหกรรมกับการลดความเลื่อมล้ำในสังคม • การสร้างสมรรถนะในการแข่งขันกับการผนวกเข้ากับเครือข่ายการผลิตระดับโลก • การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้กรอบความร่วมมือในระหว่างประเทศ และ • การพัฒนาอุตสาหกรรมกับความยั่งยืนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ช่องว่างที่ 1: นโยบายอุตสาหกรรมกับการลดความเลื่อมล้ำในสังคม • ความเหลื่อมล้ำในอุตสาหกรรมส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับภาคเกษตรและฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ปัญหาความขาดแคลนพื้นที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมและความขัดแย้งกับชุมชนในพื้นที่ • ความเหลื่อมล้ำในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับอุตสาหกรรม SMEsเพื่อลดความเหลื่อมล้ำต้องแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง การสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงระหว่าง SMEs กับกิจการขนาดใหญ่และ การทำงานของ สสว. • ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในแรงงานภาคอุตสาหกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมจึงต้องทำไปพร้อมๆกับการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมสำหรับลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและต้องเร่งยกระดับความรู้ความสามารถให้กับแรงงาน
ช่องว่างที่ 2: การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยกับการผนวกเข้ากับเครือข่ายการผลิตระดับโลก • ส่งเสริมความตระหนักด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและรับผิดชอบโดยตรงในการนโยบายการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการสนับสนุนเทคโนโลยี • “สถาบันอิสระที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะประเภท • เชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิตระดับดับโลก (Global Production Chain) ที่ควบคุมโดยบรรษัทข้ามชาติ (MNEs) • ความพร้อมในเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานและการสร้างศูนย์ทดสอบ
ช่องว่างที่ 3: การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้กรอบความร่วมมือในระหว่างประเทศ (1) การออกไปลงทุนในต่างประเทศควรมีการศึกษาถึงผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ พร้อมนำเสนอแนวนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากข้อตกลง (2) การนำเข้าเข้าแรงงานจากต่างประเทศควรศึกษาถึงผลกระทบ (ทั้งแง่บวกและลบ) ของการนำเข้าแรงงานต่างชาติที่มีต่อการพัฒนาอุตาหกรรมไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และมีนโยบายที่ชัดเจน
ช่องว่างที่ 4: การพัฒนาอุตสาหกรรมกับความยั่งยืนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม • กรณีพิพาทเกี่ยวกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด • การบริหารจัดการผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อม • “ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม”และ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม • การกระจายอำนาจในการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) • มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (non tariff measurements • นโยบายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน (sustainable industrial policy)
8. ข้อเสนอแนะทางนโยบาย • การขาดทิศทางหลัก (overarching policy) ในการดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม และ การเมืองแบบเปิดและรัฐบาลหลายพรรค • การบริหารนโยบายอุตสาหกรรมควรอยู่ภายใต้หน่วยงานรับผิดชอบเดียวกัน (overarching industrial policy) และรัฐบาลควรสร้างกลไกในการบริหารจัดการนโยบายอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ เช่น การผลักดันการทำงานของ “คณะกรรมการการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ” • และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ • กรอบนโยบายอุตสาหกรรมต้องมีความหนักแน่น (robust) ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยตามการแทรกแซงทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศ
วิวาทะทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม • นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย • นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาค • นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs • นโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม • นโยบายการส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต • นโยบายส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยไปต่างประเทศ • วิวาทะเรื่องการส่งเสริมการลงทุน
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. แนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาอุตสาหกรรม ความสมดุลระหว่างภาคอุตสาหกรรม สมดุลในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และสมดุลระหว่างนักธุรกิจ SMEs กับธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่ขาดความสมดุล แม้อุตสาหกรรมจะเริ่มกระจายสู่ภูมิภาค แต่ก็ยังค่อนข้างกระจุกตัวในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล นอกจากนั้นนโยบายและมาตรการการส่งเสริมอุตสาหกรรมมีความลำเอียงเข้าข้างธุรกิจขนาดใหญ่ แม้การคุ้มครองอุตสาหกรรมจะมีแนวโน้มลดลง แต่การคุ้มครองก็มักส่งผลกระทบเชิงลบต่อกิจกรรมปลายน้ำและต่อกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ผลที่เกิดขึ้น คือ ความอ่อนแอของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางทั้งในแง่ของการมีมูลค่าเพิ่มต่อคนงานต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านและความอ่อนแอที่เกิดจากการขาดพลวัตรในการเติบโตอย่างยั่งยืน ความด้อยพัฒนาของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางมิได้เกิดจากนโยบายที่บิดเบือนและลำเอียงเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากการขาดข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมดังกล่าวด้วย ปัญหาข้อมูลเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการกำหนดและการดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมให้ได้ผล
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม 2. การสร้างสมรรถนะในการแข่งขัน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืนเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย ซึ่งการดำเนินการจะต้องเน้นอาศัยกลยุทธ์และการดำเนินนโยบายระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการเพิ่มผลิตภาพเพื่อเพิ่มผลิตภาพและคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้ สามารถทำได้โดยปรับโครงสร้างการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การปฏิรูปองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบ และพัฒนาระบบมาตรฐานในด้านต่างๆ รวมทั้งการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศให้สนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนสร้างได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม 3. การแทรกแซงของรัฐควรเกิดในกรณีที่กลไกตลาดล้มเหลว เช่น เป็นสินค้าสาธารณะ มีความไม่สมบูรณ์ของตลาดสินค้าหรือตลาดทุน มีความไม่สมบูรณ์ของสารสนเทศ หรือการแทรกแซงทำให้เกิดผลได้ภายนอกทั้งจากการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร หรือจากการเกื้อกูลกันซึ่งกันและกันระหว่างหลายอุตสาหกรรม การกำหนดมาตรการแทรกแซงที่เหมาะสมก็คือ พิจารณาว่าข้อบกพร่องของระบบตลาดอยู่ที่ใด มาจากสาเหตุใดหลักจากนั้นให้แก้ไขที่สาเหตุปัจจัยซึ่งเป็นแหล่งปัญหาโดยตรงเมื่อข้อบกพร่องหมดไประบบตลาดก็จะสามารถทำงานได้ปกติ ภาคเอกชนควรเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยกเว้นกรณีการลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน และกรณีที่ตลาดไม่อาจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภาครัฐจึงเข้ามาดำเนินการ
นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย • "อุตสาหกรรมเป้าหมาย" ได้รับสิทธิพิเศษในเรื่องต่าง ๆ เช่น เงินกู้ การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีศุลกากร ฯลฯ แต่เนื่องจากการให้สิทธิพิเศษต่างๆ ล้วนเป็นการสูญเสียรายได้ของภาครัฐ • เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์และหลักการแทรกแซงของรัฐและในการกำหนด “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ที่สำคัญคือ การมีโนบายอุตสาหกรรมและให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่อุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดผลดี ก็ต่อเมื่อกลไกตลาดล้มเหลว แต่เหตุผลที่อุตสาหกรรมควรจะได้รับการส่งเสริมนั้นมิใช่เพียงแต่อุตสาหกรรมเหล่านั้นต้องการความประหยัดอันเกิดจากขนาด (scale economies) มีความไม่แน่นอน (uncertainty) และมีต้นทุนดำเนินการสูง (transaction cost) เท่านั้น แต่เป็นเพราะว่าอุตสาหกรรม เหล่านั้นก่อให้เกิดผลกระทบภายนอก (positive externality) ในทางบวก และการลดต้นทุน (cost reduction)โดยทั่วไปอีกด้วย
นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาคนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาค • นโยบายกระจายอุตสาหกรรมจะมีมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 • แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน • ประการแรก คือ ปัจจัยตลาด ซึ่งอาจจะแทนที่ได้โดยใช้ Per Capita GPP (Income) และจำนวนประชากร การศึกษาหลายชิ้นก็พิสูจน์ให้เห็นว่าปัจจัยนี้มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆประเภท • ประการที่สองคือ ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตั้งโรงงานของอุตสาหกรรมประเภท Footloose และ Market-oriented เหมือนกัน กล่าวคือ ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย Per Capita GPP จำนวนประชากร ความพร้อมของไฟฟ้า สาธารณสุข และถนน
นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาคนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาค • ประการที่สาม คือ Agglomeration Economy ซึ่งอาจจะแทนด้วย Per Capita GPP และจำนวนประชากร จากการศึกษาแบบ Regression ของนักเศรษฐศาสตร์หลายท่านก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Agglomeration Economy • ประการที่สี่ คือ อุตสาหกรรมสนับสนุน เมืองที่มีขนาดใหญ่จะเป็นแหล่งเพาะอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีขีดความสามารถจำกัดหลายด้านทำให้ส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตส่วนประกอบเองได้หมด ต้องพึ่ง Suppliers ของชิ้นส่วน และเนื่องจากเงินทุนจำกัดทำให้ไม่สามารถที่จะเป็นเจ้าของสำนักงานและโรงงานได้ ส่วนมากผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมขนาดย่อมนี้จะต้องเช่าที่ประกอบการ ทั้งเป็นสำนักงานและโรงงาน เมืองขนาดใหญ่จะเป็นแหล่งเพาะผู้ประกอบการขนาดย่อม เพราะมี Supporting Industriesต่างๆอยู่มาก • ปัจจัยที่ห้า คือ ปัจจัยแรงงานที่รวมทั้งค่าจ้างและแรงงานที่มีฝีมือ ค่าจ้างมีผลต่อการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะ Resource-based การที่ชานเมืองของเมืองใหญ่มีแรงงานที่มีฝีมืออยู่มากกว่าส่วนอื่น ทำให้อุตสาหกรรมเขตชานเมืองเติบโตเร็ว
นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาคนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาค • ปัจจัยที่หก เป็นปัจจัยที่นักเศรษฐศาสตร์เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น คือ ปัจจัยคุณภาพชีวิต และความสะดวกสบาย (Amenity) สาเหตุเนื่องจากการที่จะเลือกตั้งโรงงาน บางครั้งผู้ตัดสินใจและครอบครัวจะต้องไปอยู่ที่โรงงานหรือใกล้เคียงกับโรงงานด้วย • ระดับการพัฒนาของตลาดเงินเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีผลต่อระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับจังหวัด นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว มีปัจจัยบางอย่างที่แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาในเชิงปริมาณยืนยัน เพราะความลำบากในเรื่องของข้อมูลคือ ข่าวสารเกี่ยวกับตลาด เทคโนโลยีในการผลิต การบริหาร และการบริการของรัฐบาล
นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาคนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมภูมิภาค • บรรษัทข้ามชาติเปลี่ยนแนวคิดในการลงทุนไม่ได้มองแค่สิทธิประโยชน์ฯเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญว่าประเทศที่เข้าลงทุนนั้นๆมีจุดขายทางยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางการลงทุนหรือการผลิตแห่งเอเชียหรือไม่ มองเรื่องความพร้อมของเครือข่ายธุรกิจ (Cluster) แทนที่จะเน้นให้ความสำคัญเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆรวมทั้งให้ความสำคัญเรื่องแรงงานคุณภาพ และ สาธารณูปโภคอีกด้วย นอกจากนี้ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ spillover ของ FDI เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องความใกล้ไกลของกิจการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่จะมีผลต่อการเป็นตัวอย่าง (demonstration effect) การเคลื่อนย้ายแรงงาน ต้นทุนค่าขนส่ง การร่วมมือกันในการผลิตและการวิจัยและพัฒนา ระดับของการแข่งขัน
นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs • อุตสาหกรรมขนาดเล็กน่าจะก่อให้เกิดผลดีบางประการต่อระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน ลดการเพิ่งพาเครื่องจักรเพื่อการผลิตเป็นแหล่งสร้างสมประสบการณ์ของผู้ประกอบการหน้าใหม่ ฯลฯ ที่สำคัญในการดำเนินการนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่ผ่านมามีส่วนสร้างความเสียเปรียบแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อม และความได้เปรียบให้กับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ • ปัญหาของอุตสาหกรรมขนาดย่อมของไทย สามารถแยกออกได้เป็น 2 ระดับ คือ ปัญหาในระดับของการผลิต และปัญหาในด้านตลาดผลผลิต • ปัญหาโดยทั่วไปในด้านการผลิตได้แก่การขาดประสิทธิภาพในการผลิตที่ทำให้การผลิตมีต้นทุนสูง
ปัญหา และอุปสรรคของ SMEs การเข้าสู่ระบบตลาดของ ปท. ต้นทุนต่ำ (แย่งตลาด , FDI, OEM) สินค้าส่งออกของ SMEs มีมูลค่าเพิ่มต่ำ (Primary & Labor-intensive) GDPSMEs ภาคการค้าชะลอตัวลง จาก 31% เหลือ 29% ระดับมหภาค ความตื่นตัว/ความสามารถของ ผปก.ต่ำ / ทำธุรกิจไม่เป็นระบบ / ไม่เป็นมืออาชีพ ความสามารถทางเทคโนโลยี นวัตกรรม การสร้าง IP ต่ำ ความตื่นตัว และความสามารถด้านธรรมาภิบาล (ระบบบัญชี ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค) คุณภาพบุคลากรต่ำ มีการโยกย้ายงานสูง ขาดความรู้ ทักษะ กำลังทุนในการทำตลาด ระดับธุรกิจ
ปัญหา อุปสรรค SMEs ไทยนำไปสู่ความสามารถด้านผลิตภาพและนวัตกรรมที่ต่ำ ส/ช ไม่พอ เข้าไม่ถึง ตลาดทุน กฎระเบียบ เป็นอุปสรรค ขาดธรรมาภิบาล ขาดความรู้ ความเข้าใจ ปัจจัยเอื้อ ผปก. SMEs T&I&IP HRD ขาด กำลังทุน ในการ ทำธุรกิจ ระบบ จัดการ ภาครัฐ ขาดจิตสำนึก ความตื่นตัว ข้อมูล ต้นทุน โลจิสติกส์ สูง ขาด Facility - โอกาสตลาด ขาดความเชื่อมโยงทางธุรกิจ ผลิตภาพต่ำ T&I&IP ต่ำ ผลิต ส/ค บริการมูลค่าต่ำ ผลกระทบ ภายนอก ผลกระทบ ภายนอก SMEs บางสาขา (การค้า) หดตัว
นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs • การที่มี SMEs จำนวนมากอยู่กันอย่างกระจัดกระจายย่อมทำให้สถาบันการเงินในระบบมีต้นทุนและความเสี่ยงที่สูงมากขึ้นในการที่จะพิจารณาปล่อยเงินกู้ให้แก่อุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สนใจที่จะปล่อยเงินกู้ให้แก่ SMEs • การส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านมาในอดีตที่มุ่งแต่การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ และอื่นๆ ได้ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เฉพาะอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น โดยที่ SMEs ไม่ได้รับประโยชน์ • โรงงานขนาดเล็กที่มีขนาดการจ้างงานเกือบร้อยละ 50 ของทั้งประเทศตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เนื่องจากกรุงเทพฯเป็นตลาดใหญ่ที่มีช่องทางในการทำธุรกิจมากมาย อีกทั้งยังมีความสะดวกสบายในเรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ และอยู่ใกล้โรงงานขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะให้การสนับสนุนให้โรงงานขนาดเล็กรับช่วงจ้างเหมา การให้เครดิตการค้าหรือให้ความช่วยเหลือเรื่องเทคนิคการผลิต จึงทำให้โรงงานขนาดเล็กจำนวนมากในเขตกรุงเทพฯต้องเผชิญกับเรื่องการแข่งขันกันเองที่ค่อนข้างรุนแรงโดยทั่วไป
นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs • SMEs แข่งขันเพื่อความอยู่รอดในระยะสั้นโดยการตัดราคากันเอง ด้วยการลดคุณภาพหรือลดต้นทุนการผลิต ด้วยวิธีฝ่าฝืน กฎหมายแรงงาน การกดค่าแรง หรือการหลบเลี่ยงภาษี ทำให้ขาดการปรับปรุงแก้ไขปัญหาการผลิตโดยการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง • SMEs ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มักเป็นอุตสาหกรรมที่ท้องถิ่นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบอยู่แล้ว เช่น มีทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบ มีช่างฝีมือของท้องถิ่นนั้นอุตสาหกรรมเหล่านี้มักจะต้องพึ่งพาอาศัยตลาดท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กเป็นหลัก • วิธีการช่วยเหลือ SMEs ควรจะเป็นการช่วยเหลือในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะทักษะ ฝีมือ ความรู้และความสามารถของแรงงาน และการจัดการของ SMEs เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้บนพื้นฐานของการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
นโยบายการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs • BOI มีความถนัดในด้านช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่แต่ยังไม่ค่อยถนัดเรื่องการสนับสนุน SMEs แต่นโยบายสำหรับอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทนี้จะเป็นอิสระต่อกันไม่ได้เพราะอุตสาหกรรมทั้งสองประเภทนี้แข่งขันกันในเวทีเศรษฐกิจเดียวกันต้องแย่งเงินทุนแย่งตลาด ฯลฯ การที่ภาครัฐบาลให้แต่ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมขนาดโตนั้น มีผลเท่ากับเป็นการถ่วงความเจริญของอุตสาหกรรมขนาดย่อมไปในตัว ดังนั้นการเปิดเสรีรับนักลงทุนต่างชาติอาจจะเป็นการปิดโอกาส และ/หรือ ทำลายขบวนการพัฒนาผู้ประกอบการภายในประเทศ (Crowding out) ทั้งนี้เพราะนักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ โดยเฉพาะ MNEs มักมีขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และความพร้อมทางด้านเงินทุนมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการภายในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม
6 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมตามแผนการส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 2 (2550-2554) SMEs มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง /แข็งแกร่ง / ยั่งยืน โดยใช้ความรู้ ทักษะ ฝีมือ Dynamic & KB SMEs Productivity & Innovation 1 2 3 4 5 การเพิ่ม ผลิตภาพและขีดความสามารถนวัตกรรมของ SMEsในภาคการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบในภาคการค้า การส่งเสริมขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคบริการ การส่งเสริม SMEs ในภูมิภาคและท้องถิ่น การสร้างและพัฒนาขีดความสามารถ ผปก. การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ เศรษฐกิจพอเพียง / ธรรมาภิบาล
นโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม • ภาคเอกชนมักขาดแรงจูงใจในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะแรงงาน เพราะปัญหาสำคัญที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ความล้มเหลวของกลไกตลาด (market failure)” กล่าวคือ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาทักษะแรงงานมีลักษณะเป็นสินค้ามหาชน (public goods) ผู้ที่ลงทุนอาจไม่สามารถตักตวงผลประโยชน์กลับคืนได้คุ้มกับเงินลงทุน เพราะผู้อื่นสามารถลอกเลียนผลการวิจัยได้ • ผลการวิจัยยังก่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล ขณะที่การวิจัยเป็นงานลงทุนสูง แต่เสี่ยงที่จะไม่ค้นพบอะไรเลย และเอกชนขาดบุคลากรที่มีความสามารถด้านวิจัยและพัฒนาด้วยเหตุผลเหล่านี้เอกชนจึงขาดแรงจูงใจที่จะลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะของแรงงาน ในระดับที่สังคมปรารถนาที่รัฐจึงมีความจำเป็นต้องเข้าแทรกแซงหาหนทางสนับสนุนให้เอกชนเพิ่มการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะแรงงาน เพื่อนำมาสู่นวัตกรรมในที่สุด
นโยบายส่งเสริมการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม • ประสบการณ์พัฒนาของหลายประเทศให้บทเรียนกับเราว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่สร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้เข้มแข็งด้วยการพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก ถึงแม้ว่า FDI อาจจำเป็นสำหรับการสร้างแรงกระตุ้นในระยะแรก รัฐบาลก็จะต้องสร้างกติกาเงื่อนไขและติดตามดูแลนักลงทุนต่างชาติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า "ข้อดี" ทั้งหลายของ FDI ที่จำเป็นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (FDI Spillover) ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือการยกระดับทักษะของบุคลากรในประเทศจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง • การส่งเสริมการลงทุนพิเศษกับโครงการที่ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงโครงการที่ให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยจะให้สิทธิประโยชน์มากเป็นพิเศษ ในการขอคืนภาษี (Tax Credit )ได้ 100% หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความเหมาะสม รวมทั้งมีการส่งเสริมการปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรม โดยเสนอมาตรการจูงใจด้านภาษีอากร เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัยภายในช่วงเวลาที่กำหนด
นโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตนโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต • สำหรับกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับช่องทางการกระจายเทคโนโลยี (Channels of Technological Diffusion) นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่องทางหลัก ได้แก่ การเป็นตัวอย่างและการลอกเลียนแบบ (demonstration/imitation) การเคลื่อนย้ายแรงงาน (labor mobility), การส่งออก (export), การแข่งขัน (competition) และความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม (ทั้ง backward และ forward linkage) กับกิจการท้องถิ่น สำหรับการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความเชื่อมโยงระหว่างบรรษัทข้ามชาติกับกิจการท้องถิ่นที่มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีของกิจการท้องถิ่น • สำหรับความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-industry linkage effects) นั้นส่วนใหญ่เป็นความเชื่อมโยงระหว่างกิจการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องในแนวตั้ง (Vertically related industries) และเป็นช่องทางหนึ่งของการ spillover ซึ่งมีทั้งเป็น การเชื่อมโยงไปข้างหน้า (Forward linkage) และการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward linkage) นอกจากนี้การศึกษาในปัจจุบันก็มักจะวิเคราะห์ไปถึงความเชื่อมโยงใน International Production Network
นโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตนโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต • การเชื่อมโยงไปข้างหน้าและข้างหลังนั้นก่อให้เกิด Productivity spillover ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับ MNEs ผ่านกลไกได้แก่ • (๑) MNEs อาจจะถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนโดยตรงผ่านการอบรมหรือแม้แต่การพัฒนาสินค้าด้วยกัน • (๒) ลูกค้าที่เป็น MNEs อาจจะตั้งมาตรฐานเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าและการให้บริการ (ในแง่ของผู้ผลิตชิ้นส่วน เช่น การจัดส่งแบบ just-in-time) และยังให้แรงจูงใจกับผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิต • (๓) MNEs อาจจะตัดสัมพันธ์ที่มีอยู่กับผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นและเปลี่ยนไปใช้ระบบ Global sourcing แทน ซึ่งทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นต้องแข่งขันกับชิ้นส่วนนำเข้าและบังคับให้กิจการท้องถิ่นต้องยกระดับตัวเองโดยอาจจะต้องหาผู้ร่วมทุน ต่างชาติหรือต้องออกจากตลาดไป • (๔) บุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนอาจจะย้ายจาก MNEs ไปยังผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นหรือลูกค้าซึ่งความรู้ความชำนาญก็จะติดตัวบุคลากรเหล่านี้ไปด้วย
นโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตนโยบายส่งเสริมความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต • ความเชื่อมโยงเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง MNEs กับผู้ผลิตชิ้นส่วนท้องถิ่นในหลายรูปแบบทั้งที่เป็นสัญญาซื้อขาย การซื้อขายเทคโนโลยีหรือการเป็นหุ้นส่วนทางกลยุทธ์ ซึ่งยิ่งจำนวนธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์ยิ่งมากยิ่งซับซ้อนเท่าไหร่ความเป็นไปได้ในการที่ความรู้จะถูกแลกเปลี่ยนก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น • spillover จากกิจกรรมต่างๆนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองของทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่ที่กิจการท้องถิ่นมีความชำนาญมีเทคโนโลยีเฉพาะทางหรือมีขนาดการผลิตที่ได้เปรียบอำนาจต่อรองก็จะมาก ในทางตรงข้ามหากกิจการท้องถิ่นเป็นเพียงแค่ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ขึ้นอยู่กับค่าแรงที่ถูกเพียงอย่างเดียวก็จะมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า • กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ของบริษัทข้ามชาติกับบริษัทในประเทศในรูปแบบต่างๆไมว่าจะเป็น การจัดการห่วงโซ่มูลค่า (Value-Chain Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply-Chain Management) การเซ็นสัญญาการจัดซื้อไวลวงหนา (Contract Manufacturers) การสนับสนุนการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Promoting Technology Transfer) การสนับสนุนการฝึกอบรม (Providing Training) การให้ความสนับสนุนทางด้านการเงิน (Financial Support) และการให้ข้อมูลข่าวสารต่าง (Sharing Information) เป็นต้น
นโยบาย Value Chain สำหรับ SMEs • ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์ของโลกที่ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆที่มีนโยบายส่งเสริมการส่งออก ในขณะที่การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ทำให้การผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้ แต่เนื่องจากการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างประเทศมีการพัฒนาตลอดเวลา ผู้ผลิตในประเทศไทยจึงต้องมีความก้าวหน้าในการผลิตให้ทันกับตลาดโลก ทั้งในขบวนการ,ตัวสินค้า,หน้าที่ในการผลิต และสินค้าใหม่ (Value Chain ใหม่)
นโยบาย Value Chain สำหรับ SMEs • ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs จะสามารถคงอยู่ในตลาดโลกเช่นนี้ด้วยแนวทาง 3 ประการ คือ • การรวมตัวของ SMEs เป็นเครือข่ายในการติดต่อกับผู้ซื้อหรือผู้ขายในตลาดโลกเพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองมากขึ้น • การสร้างความสัมพันธ์ในแนวดิ่งให้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตของบริษัทข้ามชาติในลักษณะที่เป็นอิสระ • การสร้างความสัมพันธ์ในแนวดิ่งให้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตของบริษัทข้ามชาติในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนต่างประเทศ (Foreign Direct Investment)
นโยบาย Value Chain สำหรับ SMEs • อย่างไรก็ตาม การวางตำแหน่งของ SMEs ในตลาดโลกข้างต้นยังมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับตลาด การประเมินจุดอ่อนจุดแข็งและวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมของธุรกิจ และการช่วยเหลือประสานให้ SMEs มีโอกาสเปิดสู่ตลาดโลกทั้งในการขายและการเป็นผู้ผลิตโดยให้ความอุดหนุนตามสมควร • การประเมินจุดอ่อนจุดแข็งของการผลิตก็คือเนื้อหาที่ได้กล่าวถึงในบทนี้ตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสม การพัฒนาคุณภาพแรงงาน เทคโนโลยี การใช้เครื่องจักร การบริหารจัดการผลิต และข้อมูลในการทำตลาด สิ่งที่ SMEs แตกต่างจากองค์กรธุรกิจส่วนที่เหลือคือ ขีดความสามารถที่ด้อยกว่าในการพัฒนาทุกด้านของการผลิต จึงสมควรได้รับการอุดหนุนภายใต้เป้าหมายที่ต้องการให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ช่วยตัวเองได้ ไม่ใช่รัฐบาลช่วยเหลือโดยไม่จำกัด และไม่มีที่สิ้นสุด
นโยบายส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยไปต่างประเทศนโยบายส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยไปต่างประเทศ • ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการไทยจะได้รับจากการออกไปสู่ระดับสากล ในรูปแบบของความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการเข้าสู่ตลาด การเงิน เทคโนโลยี และองค์ความรู้ต่างๆ ประโยชน์ที่ได้รับจาก OFDI มีหลายประการ ได้แก่ สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ขึ้น และมีความใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากขึ้น การได้มาซึ่งความรู้และเทคโนโลยีผ่านทางการรวมตัวกันทางธุรกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจจากการเพิ่มขึ้นในขนาดประหยัดทางธุรกิจการมีกลยุทธ์ทางธุรกิจและการบริหารจัดการที่ดีขึ้น สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากต่างประเทศมาใช้กับการปรับปรุงการลงทุน การจ้างงาน และระดับการวิจัย พัฒนาสำหรับตลาดภายในประเทศได้ • ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์มูลเหตุจูงใจสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ คือ บริษัทในประเทศเหล่านี้สะสมความสามารถและทักษะการผลิตเฉพาะทาง (Firm-specific Advantage) มากจนถึงจุดที่พร้อมที่จะนำเอาความรู้ความสามารถเฉพาะไปใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ รวมถึงปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงกับประเทศ (Country-specific factors) ทั้งกับประเทศที่มีการย้ายการลงทุนไปยังต่างประเทศ (Home Country) และประเทศผู้รับการลงทุน (Host Country) เผชิญกับปัญหาค่าจ้างแรงงานและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ณ ประเทศของตน จึงมีความจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานถูกกว่า หรืออาจเกิดจากการสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศที่ไปลงทุนที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในประเทศตนเริ่มขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ
วิวาทะเรื่องการส่งเสริมการลงทุนวิวาทะเรื่องการส่งเสริมการลงทุน • ด้านหนึ่งเชื่อว่า FDI จะส่งประโยชน์ในระยะยาวแก่ประเทศผู้รับการลงทุนที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เช่น FDI ช่วยเพิ่มมาตรฐานการครองชีพ โดยสร้างโอกาสในการมีงานทำ สร้างงานใหม่และช่วยถ่ายโอนทุน เทคโนโลยีและทักษะในการบริหารจัดการ ช่วยเพิ่มผลิตภาพให้แก่ประเทศผู้รับ พนักงานในบรรษัทข้ามชาติยังได้รับค่าจ้างสูง มีโอกาสในการเรียนรู้และฝึกอบรมและได้ทำงานในบรรยากาศที่เปี่ยมด้วยความเป็นมืออาชีพ นอกจากนี้ FDI ยังช่วยเร่งกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศผู้รับ เนื่องจาก FDI ช่วยสร้างการเชื่อมโยงในหลายอุตสาหกรรมทั้งไปข้างหน้า (Forward Linkages) และไปข้างหลัง (Backward Linkages) ทั้งยังช่วยขยายขนาดของตลาดภายในประเทศให้ใหญ่ขึ้น และช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ • แต่ในอีกด้านหนึ่ง FDI ก็อาจจะส่งผลเสียต่อประเทศเจ้าบ้าน เช่น อาจจะปิดโอกาสการพัฒนาผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจาก MNEs เหล่านี้มักมีเทคโนโลยีที่สูงกว่า มีความเชี่ยวชาญในการบริหารและสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรระดับโลกได้ดีกว่า ข้อได้เปรียบเหล่านี้อาจทำให้ MNEs สามารถผลักดันกิจการท้องถิ่นออกไปจากอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้ MNEs ยังอาจแย่งชิงทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าไปจากกิจการท้องถิ่นได้ หรือการพัฒนานำมาสู่วิกฤตคุณภาพชีวิตของคนงานด้วยสาเหตุต่างๆ เป็นต้น