1 / 20

กฎหมายเกี่ยวกับ Internet

กฎหมายเกี่ยวกับ Internet. กฎหมาย คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ   กติกาของสังคมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้.

walt
Download Presentation

กฎหมายเกี่ยวกับ Internet

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายเกี่ยวกับ Internet

  2. กฎหมาย คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ   กติกาของสังคมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ อินเทอร์เน็ต (Internet)คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง ( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต

  3. กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet)   ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่

  4. กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet)  • กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ • กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78

  5. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเชื่อถือได้ Home

  6. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆรวมตลอดทั้ง การลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Home

  7. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหายจากการนำความรู้ทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด ตัวอย่างเช่น ขโมยข้อมูลมาเปลี่ยนแปลง ทำลายข้อมูลทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย Home

  8. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น Home

  9. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ Home

  10. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม Home

  11. เมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับ “กฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต” สิ่งที่จะต้องศึกษาควบคู่กันไปคือ “กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ใช้ในการ เข้าสู่ระบบการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด จึงควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ถูกต้อง

  12. กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันระบบและเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจการขององค์กรธุรกิจต่างๆรวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ และได้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความเดือดร้อน ซึ่งเป็นการรบกวน และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นมามากมายในหลายระดับ ตั้งแต่สร้างความรำคาญเล็กๆน้อยๆไปจนถึงก่อให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล

  13. การพัฒนาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้นเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2541 โดยในระหว่างขั้นตอนการร่าวงกฎหมาย ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด • การบังคับใช้กฎหมายให้สัมฤทธิ์ผล จำเป็นต้องกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญที่สามารถสืบไปถึงตัวผู้กระทำความผิดได้ • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 ก.ค. 2550 เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้

  14. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกอบด้วยมาตราต่างๆรวมทั้งสิ้น 30 มาตรา มาตรา 1 ฐานความผิด มาตรา 2 วันบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 3 คำนิยาม มาตรา 4 ผู้รักษาการ

  15. หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ มาตรา 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 9 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 11 การสแปมเมล์ มาตรา 12 การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่งคงของประเทศ

  16. มาตรา 13 การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด มาตรา 14 การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม มาตรา 15 การรับผิดของผู้ให้บริการ มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพจาการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกหมิ่นหรืออับ อาย มาตรา 17 การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษราชอาณาจักร

  17. หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 18 อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 19 การตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 20 การใช้อำนาจในการบล็อก(Block) เว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบความมั่นคงหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย มาตรา 21 การห้ามเผยแพร่หรือจำหน่ายชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ มาตรา 22 ห้ามไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลที่ได้ตามมาตรา 18 มาตรา 23 พนักงานเจ้าหน้าที่ประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรู้ข้อมูล

  18. มาตรา 24 ความรับผิดของผู้ล่วงรู้ข้อมูลของผู้ให้บริการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้มาตามมาตรา 18 และนำไปเผยแพร่ มาตรา 25 ห้ามมิให้พยานรับฟังหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ มาตรา 26–27 หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์และความรับผิด หากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ มาตรา 28 การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 29 การรับร้องทุกข์กล่าวโทษ จับ ควบคุม ค้น และกำหนดระเบียบ แนว ทางปฏิบัติ มาตรา 30 การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  19. จบ การนำเสนอ

  20. กลุ่มที่ 5 กฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต 1. นางสาว ชยาภรณ์ ราชรี 50011313284 PA 2. นางสาว นภาพรรณ ไชยบัตร 50011316050 PA 3. นางสาว ประภัสสร รักสุทธี 50011313297 PA 4. นางสาว กัลยาณี จันทร์บุญเรือง 50011315031 PA 5. นางสาว กษมา แสงสว่าง 50011315027 LW 6. นายสุทธี ศาลางาม 50011214069 IS 7. นายอรรถพงษ์ มะโนราช 50011315952 LW

More Related