1 / 20

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก. รุ้งราวรรณ กองวงศ์ หอผู้ป่วยประกันสังคม. ไข้เลือดออก. # เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง. # พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี. #ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ก็อาจพบได้ประปราย และอาการมักจะไม่รุนแรง. #มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม. สาเหต ุ.

wauna
Download Presentation

โรคไข้เลือดออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคไข้เลือดออก รุ้งราวรรณ กองวงศ์ หอผู้ป่วยประกันสังคม

  2. ไข้เลือดออก #เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง # พบมากในเด็กอายุ 2 - 10 ปี #ส่วนเด็กโตและผู้ใหญ่ก็อาจพบได้ประปราย และอาการมักจะไม่รุนแรง #มักพบระบาดในฤดูฝนในช่วงที่มียุงลายชุกชุม

  3. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ เด็งกี่(Dengue) ชิกุนคุนยา(Chigunkunya) ประมาณ 90 % ของผู้ป่วย จะมีสาเหตุจากเชื้อเด็งกี่

  4. พาหะของโรค ยุงลาย ยุงลายจะไปกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกก่อนแล้วไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียง(ในรัศมีไม่เกิน 400 เมตร) ก็จะแพร่เชื้อให้คนอื่นๆต่อไป เป็นยุงที่ออกหากิน(กัดคน)ในเวลากลางวัน เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม จานรองตู้กับข้าว ฝากะลา กระป๋อง หลุมที่มีน้ำขัง เป็นต้น

  5. อาการของไข้เลือดออก • แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะไข้สูง 2 ระยะช็อก และมีเลือดออก 3.ระยะฟื้นตัว

  6. ระยะไข้สูง

  7. ไข้สูงลอย (39 - 40 องศาเซลเซียส) ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน หน้าแดง ตาแดง ปวดศีรษะ กระหายน้ำ ผู้ป่วยจะซึม มักมีอาการเบื่ออาหารและอาเจียนร่วมด้วย ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา หรือปวดท้องทั่วๆไป อาจ มีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว ไม่ค่อยมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลหรือไอมาก แต่อาจมีอาการเจ็บคอ คอแดงเล็กน้อยหรือไอบ้างเล็กน้อย ในราววันที่ 3 ของไข้ อาจมีผื่นแดง ไม่คันขึ้นตามแขนขาและลำตัว ซึ่งจะเป็นอยู่ 2 - 3 วัน บางคนอาจมีจุดเลือดออกเป็นลักษณเป็นจุดแดงเล็กๆขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ ในช่องปาก

  8. การทดสอบทูนิเคย์ ใช้เครื่องโดยการวัดความดัน หรือ ยางรัด รัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย นาน 5 นาที ถ้าพบมีจุดเลือดออก/จุดแดงเกิดขึ้นบริเวณท้องแขนใต้ตำแหน่งที่รัดมากกว่า 10 จุดในวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว แสดงว่าผลการทดสอบเป็นบวก ส่วนใหญ่จะให้ผลบวกตั้งแต่วันที่ 2 ของไข้

  9. ระยะช็อก และ มีเลือดออก

  10. อาการจะเกิดในช่วงวันที่ 3 - 7 ของโรคซึ่งถือว่าเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้จะเริ่มลดลง แต่ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดหนัก มีอาการปวดท้องและอาเจียนบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น กระสับกระส่าย ตัวเย็น มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเบาเร็วและความดันต่ำ ซึ่งเป็นอาการของภาวะช็อก เกิดขึ้นเนื่องจากพลาสมาไหลซึมออกจากหลอดเลือดทำให้ปริมาตรของเลือดลดลงมาก ถ้าเป็นรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ก็อาจถึงตายได้ภายใน 1 - 2 วัน

  11. ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดสดๆหรือเป็นสีกาแฟ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆหรือเป็นสีน้ำมันดิบ ถ้าเลือดออกมากมักทำให้เกิดภาวะช็อกรุนแรงถึงตายได้ ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 24 - 72 ชั่วโมง ถ้าหากผู้ป่วยไม่ตาย สามารถผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3

  12. ระยะฟื้นตัว

  13. ในรายที่มีภาวะช็อกอ่อนๆ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกอย่างรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก็จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ อาการที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยดีขึ้น คือ ผู้ป่วยเริ่มอยากกินอาหาร แล้วอาการต่างๆจะกลับคืนสู่สภาพปกติ

  14. อาการแทรกซ้อน อาการแทรกซ้อนที่พบได้คือภาวะเลือดออกรุนแรง ภาวะช็อกซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

  15. การรักษา

  16. 1.ถ้าอาการไม่รุนแรง ยังไม่มีอาการเลือดออกเอง ภาวะช็อกแพทย์จะให้การรักษา ตามอาการ ดังนี้ • ให้ผู้ป่วยนอนพักมากๆ • หากมีไข้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และให้ยาลดไข้ พาราเซตามอล ห้ามให้ แอสไพรินเพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก นม น้ำหวาน • ให้ดื่มน้ำมากๆ • สังเกตอาการเลือดออกจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น มีจุดจ้ำเลือดตามตัว เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะ/อุจจาระ มีเลือดปน

  17. 2.ถ้าผู้ป่วยมีอาเจียนมากหรือมีภาวะขาดน้ำ แพทย์จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ 3.แพทย์จะทำการเจาะเลือด ตรวจดูความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะๆ ถ้าจำเป็นอาจจะให้เกล็ดเลือดทดแทน

  18. การป้องกัน

  19. 1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย1.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปิดฝาโอ่งน้ำ และล้างโอ่งทุก 10 วัน จานรองตู้กับข้าวควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใช้เกลือแกงใส่จานรองขาตู้ 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว ทำลายกระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่าหรือสิ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำ ใส่ทราย อะเบต 1%ลงในภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด ในอัตราส่วน 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร ควรเติมใหม่ทุก 2 - 3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้และดื่มกินได้อย่างปลอดภัย

  20. 2.เด็กที่นอนกลางวัน ควรกางมุ้งอย่าให้ยุงลายกัด 3.ระมัดระวังอย่าให้ยุงลายกัด

More Related