120 likes | 314 Views
กันยายน 2 555. เศรษฐกิจไทยโดยนิด้าโมเดล: ผลของการส่งออกต่อการขยายตัวของ GDP NIDA Macro Forecast. ผศ. ดร. ยุทธนา เศรษฐ ปราโมทย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน บัณฑิตพัฒ นบริหารศาสตร์. Key Assumptions.
E N D
กันยายน 2555 เศรษฐกิจไทยโดยนิด้าโมเดล: ผลของการส่งออกต่อการขยายตัวของ GDPNIDA Macro Forecast ผศ. ดร. ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์การเงิน คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Key Assumptions • เศรษฐกิจโลกจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ ในปี 2012 และจะดีขึ้นในปี 2013 ส่งผลต่อมูลค่าการค้าโลกและราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะค่อย ๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นช้า ๆ ในปี 2012 และจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นในปี 2013 • นโยบายการขึ้นค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำจาก 215 บาทเป็น 300 บาท ไตรมาสที่ 2/2012 และคงที่จนถึงสิ้นปี 2013 • การใช้จ่ายภาครัฐในปี 2012 และ 2013 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2011 โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และโครงการที่ล่าช้าจากปี 2011
Summary of Economics Outlook: 2555 • NIDA Macro Forecast ประมาณการว่าเศรษฐกิจในปี2555 จะขยายตัวร้อยละ 5.0 ลดลงจากค่าพยากรณ์ครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนมิถุนายนและมีนาคมซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 5.8 ตามลำดับ • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) ซึ่งสาเหตุหลักมากจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง (ร้อยละ 5.3 และ 11.8 ตามลำดับ) • อย่างไรก็ตามการปรับลดประมาณการในไตรมาสนี้เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ส่งให้มูลค่าการค้ารวมของโลกชะลอตัวโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3-4
International Trade Outlook • อย่างไรก็ตามการปรับลดประมาณการในไตรมาสนี้เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ส่งให้มูลค่าการค้ารวมของโลกชะลอตัวโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 • ผลกระทบต่อการส่งออกส่งผลเร็วและแรงกว่าที่คาดการณ์ในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา (-4.5%) ในขณะที่มูลค่าการนำเข้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง (+13.7%) ดังนั้นในช่วง ม.ค.- ก.ค.2555 ที่ผ่านมาจึงมียอดสะสมการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าที่ -0.4% และ +10.5% • คาดการณ์ว่าทั้งปี 2555 มูลค่าการส่งออกคิดเป็น USD จะขยายตัวร้อยละ 6.4ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าคิดเป็น USD จะขยายตัวร้อยละ 8.8
Summary of Economics Outlook: 2556 • ปี 2556 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 5.4% จากการฟื้นตัวของการส่งออกที่คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่น่าจะดีขึ้นตามนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ • การลดการสะสมสินค้าคงคลังในประเทศพัฒนาแล้วในช่วงที่วิกฤต EURO ZONE มีความเสี่ยงสูง ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าการนำเข้าโลกในปี 2555 จะลดลง และการสะสมสินค้าคงคลังใหม่จะเกิดขึ้นในปี 2556 (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในปลายปี 2551 – 2552 • มูลค่าการส่งออก (ในรูป USD) น่าจะขยายตัวร้อยละ 19.0ในปี 2556
Inflation Pressure: 2555 - 2556 • แรงกดดันเงินเฟ้อของไทยในปี 2555 ลดลงจากช่วงต้นปีตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก • การต่ออายุการอุดหนุนด้านพลังงานมีผลต่อการลดลงของเงินเฟ้อเช่นกัน • เงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและผลต่อเนื่องจากการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ • คาดการณ์ว่าในปี 2555 นี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 และ 2.2 ตามลำดับ • ในปี 2556 แรงกดดันเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2555 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 3.1และ 1.7ตามลำดับ
Monetary Policy in 2555 - 2556 • ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะทรงตัว แต่อาจมีการปรับลงได้หากแนวโน้มการค้าโลกยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง • อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังติดลบหรือใกล้เคียงกับศูนย์มาก เป็นแรงกดดันให้การลดดอกเบี้ยยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะอาจก่อให้เกิดการขยายตัวของสินเชื่อที่สูงเกินไปและการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะฟองสบู่