600 likes | 831 Views
BitTorrent & Wikipedia. Outline. Torrent คืออะไร การทำงานแบบ Peer2Peer (P2P) การทำงานแบบ Server ลักษณะของ Bit Torrent Torrent มีอะไรให้ดาวน์โหลดบ้าง. Torrent คืออะไร.
E N D
Outline • Torrent คืออะไร • การทำงานแบบ Peer2Peer (P2P) • การทำงานแบบ Server • ลักษณะของ Bit Torrent • Torrent มีอะไรให้ดาวน์โหลดบ้าง
Torrent คืออะไร - Torrent ไฟล์ที่เก็บค่าข้อมูลตัวไฟล์จริงๆ ในความหมายนั้นคือ ไฟล์ขนาด 100MB พอสร้างเป็นไฟล์ *.torrent จะเหลือเพียงไม่กี่สิบ kb เท่านั้น ฉะนั้นแล้ว *.torrent มีหน้าที่แค่เพียงเก็บข้อมูลต่างๆเท่านั้นเอง เช่น เก็บรายชื่อไฟล์ตัวจริง, เก็บข้อมูลชิ้นส่วนขนาดไฟล์, ชื่อผู้สร้างไฟล์ทอเร้นท์ขึ้นมาสรุป : ไฟล์ *.torrent มีหน้าที่เพียงเก็บค่าต่างๆเท่านั้นเอง เป็นเสมือนตัวไว้เชื่อมต่อไฟล์ตัวจริงที่เก็บไว้ในเครื่อง
Torrent เป็นการทำงานแบบ Peer 2 Peer- การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน Torrent มีการทำงานแตกต่างจากโปรแกรมประเภท Peer 2 Peer แบบอื่นๆ- Torrent จะมีการทำงานเสมือนใยแมงมุม กล่าวคือ ในการใช้งาน torrent clients ระหว่างที่เราดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องเรา เราสามารถที่จะอัพโหลดแจกจ่ายชิ้นส่วนไฟล์ให้กับคนอื่นที่ต้องจะดาวน์โหลดไฟล์เหมือนกันกับเราได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้เราดาวน์โหลดเสร็จก่อนถึงจะปล่อยได้
Peer2Peer (P2P) Peer2Peerหรือ People to People หรือ Point to Point คือ - ระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างกันหรือใช้ทรัพยากรร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย- ระบบการสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยตรง
เปรียบเทียบระบบ P2P กับ Server
เปรียบเทียบระบบ P2P กับ Server
Bit Torrent Bit torrent คือ Protocal ประเภทหนึ่ง ซึ่งการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันหรือการ Share File ภายในกลุ่ม Network ในลักษณะคล้ายๆกับใยแมงมุม Tracker จะทำหน้าที่เป็นตัวจัดระบบการสื่อสารระหว่างผู้ใช้เหล่านั้น(peers) ตัว Tracker จะทำหน้าที่จัดการเท่านั้น จะไม่มีข้อมูลของไฟล์ที่รับส่ง
ลักษณะของ Bit Torrent Seederคือผู้ที่แจก file เป็นคนแรก เพื่อส่งต่อให้คนอื่นๆ โดยทำเป็น torrent Leecherคือผู้โหลดข้อมูล ถ้าโหลดครบ 100% แล้วยังไม่ปิด ก็จะเลื่อนฐานะ กลายเป็น Seeder คนต่อไปทันที Torrentคือ file ตัวเล็กๆ ซึ่งบรรจุข้อมูล hash ของ file ที่จะแชร์ Peer คือจำนวนผู้ที่มีการติดต่อกันในขณะนั้น Swamp คือจำนวน peer ทั้งหมด ที่โหลด torrent อยู่ในขณะนั้น Trackerคือตัวกลาง ที่ทำหน้าที่บอกว่า file อยู่ตรงไหน ใครโหลดไปเท่าไหร่ ใครส่งออกเท่าไหร่ ทำหน้าที่เหมือนoperator คอยต่อโทรศัพท์ Ratio คือค่าอัตราส่วนการปล่อยและการโหลด
Bit Torrent ลักษณะการปล่อยและโหลดของ BitTorrent คือจะแบ่ง Seed ออกเป็นส่วนๆ แจกไปแต่ละคน คนที่รับมา ก็จะรับมาเป็นส่วนๆ ไม่ต่อกัน ดังนั้น “จึงยังเปิดดูไม่ได้” ถ้าโหลดยังไม่เสร็จ 100% เมื่อคนโหลด โหลดมาจนครบ มันก็จะมาประกอบกันเป็น file สำเร็จรูปเองซึ่งจะดีกว่าตอนที่ file อยู่ที่ server ซึ่งคนโหลดจะต้องโหลดจาก 1.... ไปจน 100 แต่ BitTorrent จะเริ่มจากส่วนไหนก่อนก็ได้ โหลดจากคนนั้นนิด คนนี้หน่อย แล้วมาประกอบกัน ยิ่งมี peer มาก ยิ่งเสร็จเร็วมาก เพราะไม่ต้องรอ server แจกตั้งแต่ 1 ทุกๆคนที่ใช้ Bit Torrentย้ำกันอยู่เสมอว่า ใครที่โหลดเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งปิด เพื่อช่วยเหลือคนอื่นๆ ให้มาเอาส่วนที่ตนเองยังขาดอยู่ ** BitTorrent จึงเป็นสังคมแห่งการแบ่งปันกัน **
Torrent มีความแม่นยำในการดาวน์โหลดสูง- กล่าวคือ เมื่อเราดาวน์โหลดไฟล์ประเภทเพลง หรือ หนัง ฯลฯ โอกาสที่ไฟล์จะเสียนั้นน้อยมากๆ - แทบไม่มีเลย เพราะ ไฟล์ torrent เป็นตัวเก็บชิ้นส่วนขนาดไฟล์ตัวจริงไว้ แยกซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้ส่งถ่ายได้แม่นยำ
Torrent มีอะไรให้ดาวน์โหลดบ้าง?- มันขึ้นอยู่กับผู้แชร์ว่าจะอัพโหลดอะไรขึ้นไปบ้างเพื่อแบ่งปันกับคนอื่น แต่ที่พบพานมาก็มีทุกๆประเภท ไม่ว่าจะเป็นเพลง, ละคร, ภาพยนตร์, การ์ตูน, โปรแกรม, อีบุ๊ค, หนังสารคดีชีวิต ฯลฯเล่นเนต High Speed ควรเล่นทอเร้นท์เป็นอย่างยิ่ง!!- เพราะจะได้คุ้มค่าเงินที่คุณเหมาจ่ายไปยังไง
อัตราการดาวน์โหลดไฟล์โดยเฉลี่ยคิดดังนี้ๆ- 256/128KBPS (สภาวะดาวน์โหลด/อัพโหลด) คิดความเร็วให้ทำการหารด้วย 8 จะได้ราวๆ 32KB/16KB ต่อ วินาที- 512/256KBPS (สภาวะดาวน์โหลด/อัพโหลด) คิดความเร็วให้ทำการหารด้วย 8 จะได้ราวๆ 64KB/32KB ต่อ วินาที- 1024/512KBPS (สภาวะดาวน์โหลด/อัพโหลด) คิดความเร็วให้ทำการหารด้วย 8 จะได้ราวๆ 128KB/64KB ต่อ วินาที- 2048/512KBPS (สภาวะดาวน์โหลด/อัพโหลด) คิดความเร็วให้ทำการหารด้วย 8 จะได้ราวๆ 256KB/64KB ต่อ วินาที* ความเร็วอาจจะได้มากหรือน้อยกว่านี้ก็เป็นได้ ไม่แน่นอน...
ศัพท์น่าเรียนรู้สำหรับการใช้งานเว็บแทรคเกอร์ (เว็บผู้ให้บริการดาวน์โหลดทอเร้นท์)Seeders = ผู้ปล่อยไฟล์ (จะมีสภาวะอัพโหลดอย่างเดียวกับไฟล์ที่แชร์ไว้)Leechers = ผู้ดูดไฟล์ (จะมีทั้งสภาวะดาวน์โหลดและอัพโหลดในเวลาเดียวกันได้)Snatch = จำนวนคนที่ดาวน์โหลดไฟล์เสร็จ (พร้อมที่จะเป็น Seeders ได้)Passkey = เป็นตัวเก็บค่าอัตราก็ดาวน์โหลดและอัพโหลด รวมถึงการสร้างไฟล์ทอเร้นท์ พาสคีย์จะแตกต่างกันตามแต่ละเว็บทอเร้นท์นั้นกำหนดมาRatio = อัตราส่วนระหว่างดาวน์โหลดและอัพโหลด หลายๆเวบที่ใช้ระบบสมัคร จะกำหนด Ratio ไว้ด้วย ถ้า Ratio ต่ำๆ อาจจะดาวน์โหลดไฟล์ไม่ได้หรือต้องรอเวลาโหลด วิธีเพิ่ม Ratio ให้สูงๆคือ ควรจะขยันหาไฟล์มาลงแบ่งปันเพื่อนๆให้ดูดไปใช้งานกัน หรือ เมื่อท่าน
ดาวน์โหลดไฟล์ของท่านอื่นมาเสร็จก็ช่วยปล่อยทิ้งไว้ แชร์ให้คนอื่นได้ดาวน์โหลดกันต่อๆไป การโหลดให้ได้เต็มสปีด- เลือกโหลดแบบมี Seeders จำนวนหลายคน เราจะดูดไฟล์จากคนปล่อยลงเครื่องเราได้ไว- เลือกแบบ Seeders 1 คน แต่มี Leechers หลายๆคน ทำให้เราสามารถดูดไฟล์กับคนที่ กำลังดูดอยู่ได้เลย
เริ่มต้นกันเลยดีกว่า !!! จำเป็นต้องมีโปรแกรมไว้สำหรับใช้งานดาวน์โหลดทอเร้นท์ ที่นิยมและใช้งานได้ง่ายสุดๆคือ BitCometสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม Bit Comet 0.60 (เวอร์ชั่นที่ดีที่สุด) ได้ที่http://download.bitcomet.com/achive/BitComet_0.60_setup.exe* ดาวน์โหลดโปรแกรม Bit Comet เสร็จ ก็ให้คุณทำการติดตั้งได้เลยนะ เลือก BitComet_1.26_setup.exe แนะนำเวบดาวน์โหลดไฟล์ทอเร้นท์ของเมืองนอก (ไม่ต้องสมัครสมาชิก)http://www.mininova.orghttp://www.torrentbox.comhttp://www.bytenova.com
ตัวอย่างการโหลดไฟล์แบบ bit torrent • http://prius.goldensoft.co.th/board/viewthread.php?tid=2672
Program Installation • มีอะไรดีดีที่ http://www.thaiware.com/ • ซอฟต์แวร์ • การดาวโหลดและติดตั้งโปรแกรม • Songkran Festival: Splash Hour (เกม สาดน้ำสงกรานต์ ได้รับรางวัล ชนะเลิศ NSC2011) [For Mac OS] 1.0 • โปรแกรมป้องกันไวรัส • การฝากไฟล์
วิกิพีเดีย (Wikipedia) ประวัติ วิกิพีเดียเริ่มต้นเมื่อ 15 มกราคมพ.ศ. 2544 โดยเริ่มต้นโครงการจากชื่อสารานุกรมนูพีเดียที่เขียนโดย ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขาบริหารโดยโบมิส ซึ่งมี จิมมี เวลส์ เป็นผู้บริหารขณะนั้นโดยในช่วงแรกได้ใช้ลิขสิทธิ์เสรีเฉพาะของนูพีเดียเอง และภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูภายหลังจากการผลักดันของริชาร์ด สตอลล์แมน
Outline • ประวัติวิกิพีเดีย (Wikipedia) • ลักษณะสารานุกรม • การตรวจสอบเนื้อหาในวิกิพีเดีย • เนื้อหาเสรี และการอนุญาตให้ใช้แบบเสรี
ลักษณะสารานุกรม สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม อย่างไรก็ตามการนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังคงเป็นข้อถกเถียงเนื่องจากการเปิดโอกาสให้ทุกคนแก้ไข ซึ่งง่ายต่อการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกเมื่อ ผู้ประสงค์ร้ายที่มือบอนเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ ในวิกิพีเดีย ยังเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ก่อการร้ายเหล่านั้นจะถูกจับได้ และมีการเข้าไปแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่ถูกต้องเหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้วิกิพีเดียที่ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล่าสุด
การตรวจสอบเนื้อหาในวิกิพีเดีย ใช้วิธีอ้างอิงจากงานที่ได้รับการตีพิมพ์ (peer-reviewed publications) แทนที่จะเป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญ วิกิพีเดียไม่เรียกร้องให้ผู้ร่วมสมทบงานให้ชื่อสกุลจริงหรือข้อมูลอื่นใดเพื่อสร้างตัวตนในวิกิพีเดีย และแม้ว่าผู้สมทบงานบางรายจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตน วิกิพีเดียก็ยังต้องการให้งานสมทบของเขาสนับสนุนโดยแหล่งอ้างอิงที่ตีพิมพ์แล้วและตรวจสอบได้
ความน่าเชื่อถือของวิกิพีเดียได้ถูกทำการทดสอบ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีทีมนักวิจัยทดสอบความถูกต้องของวิกิพีเดียฉบับภาษาอังกฤษ เปรียบเทียบกับสารานุกรมบริเตนนิกา สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนำเรื่องราวเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ไปทดสอบ ผลลัพธ์ที่ออกมาสรุปว่าความถูกต้องใกล้เคียงกัน โดยมีการผิดพลาดทางข้อมูลและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน[5]
วิกิพีเดียถูกกล่าวหาว่านำเสนอเนื้อหาที่มีความลำเอียงอย่างเป็นระบบ (systemic bias) และมีความไม่สอดคล้องกัน[6] นักวิจารณ์ให้เหตุผลว่า ธรรมชาติที่เปิดของวิกิพีเดียและการไม่มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงในเนื้อหาจำนวนมาก ทำให้มันไม่น่าเชื่อถือ[7] นักวิจารณ์อีกกลุ่มแนะว่า โดยปกติแล้ววิกิพีเดียนั้นเชื่อถือได้ แต่มันไม่แน่ชัดเท่าไรนักว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน[8]มหาวิทยาลัยและอาจารย์จำนวนมากไม่สนับสนุนให้นักเรียนอ้างอิงสารานุกรมใด ๆ ในงานวิชาการ และชอบที่จะให้ใช้งานจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่า[9] บางรายระบุเป็นการเฉพาะว่าห้ามอ้างอิงวิกิพีเดีย[10] ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย จิมมี่ เวลส์ เน้นว่าสารานุกรมชนิดใด ๆ นั้นโดยปกติแล้วไม่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และไม่ควรไว้วางใจมันว่าเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้
เนื้อหาเสรี และการอนุญาตให้ใช้แบบเสรี • เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี งานสมทบที่ส่งมายังวิกิพีเดียทุกชิ้นถูกคุ้มครองโดย สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ ดัดแปลงต่อยอด และนำไปใช้งานได้อย่างเสรี ทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย สัญญาอนุญาตตัวนี้ อนุญาตให้ผู้ร่วมเขียนวิกิพีเดียแต่ละคนยังคงมีสิทธิ์ในงานที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปต่อยอดและแจกจ่ายงานต่อยอดนั้นต่อได้ เพียงมีเงื่อนไขว่าจะต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานดั้งเดิม และงานต่อยอดนั้นจะต้องใช้สัญญาอนุญาต GFDL เช่นเดียวกัน ด้วยสัญญาอนุญาตตัวนี้ ทำให้รับประกันได้ว่าวิกิพีเดียจะถูกแก้ไขได้อย่างเสรีและอย่างเท่าเทียมกัน การสมทบงานของผู้เขียนแต่ละคน จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลตราบนานเท่านาน แลร์รี แซงเจอร์ เคยกล่าวถึงการใช้ GFDL ไว้ว่า “การรับประกันเสรีภาพ เป็นแรงจูงใจสำคัญในการทำงานสารานุกรมเสรี
วิกิพีเดียนั้นยังประกอบด้วยภาพและสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างสรรค์โดยผู้ร่วมแก้ไข โดยสื่อเหล่านั้นอาจจะเป็นสาธารณสมบัติ หรือใช้สัญญาอนุญาตแบบ copyleft อื่น หรือสัญญาอนุญาตที่เข้ากันได้กับ GFDL เช่นสัญญาอนุญาตประเภท ครีเอทีฟคอมมอนส์ อย่างไรก็ตามยังคงมีชิ้นงานอื่น ๆ เช่น ตราประจำบริษัท ตัวอย่างเพลง ภาพข่าวที่มีลิขสิทธิ์ ฯลฯ ที่นำออกแสดงในวิกิพีเดีย ด้วยการอ้างสิทธิ์การใช้งานโดยชอบธรรม ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา (เครื่องแม่ข่ายที่เก็บเนื้อหาของวิกิพีเดียนั้น โดยส่วนใหญ่รวมถึงวิกิพีเดียภาษาไทย ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา)
ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิที่เป็นซอฟต์แวร์ในลักษณะโอเพนซอร์ซทำงานผ่านการบริหารเว็บไซต์ที่เรียกว่าวิกิ ตัวซอฟต์แวร์เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพีที่ทำงานร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ในช่วงเริ่มต้น ในระยะที่หนึ่งวิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อยูสม็อดวิกิที่เขียนขึ้นในภาษาเพิร์ล จนกระทั่งเดือนมกราคม 2545 วิกิพีเดียเริ่มโครงการระยะที่ 2 ได้เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ชื่อพีเอชพีวิกิร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล และต่อมาในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน วิกิพีเดียได้มาใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเป็นโครงการระยะที่ 3 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
วิกิพีเดียทำงานและเก็บข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เนื้อหาทั้งหมดจัดเก็บไว้ที่รัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และอีก 2 เซิร์ฟเวอร์ย่อยที่อัมสเตอร์ดัมในเนเธอร์แลนด์ และโซลในเกาหลีใต้ สำหรับจัดการบริหารและดูแลรักษาข้อมูล[13] ในช่วงระยะแรกวิกิพีเดียเก็บข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดี่ยวจนกระทั่งได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และเมื่อ เดือนมกราคม 2548 โครงการทั้งหมดได้ทำงานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 39 เครื่องที่ตั้งในรัฐฟลอริดา และต่อมาในเดือนกันยายนปีเดียวกันจนกระทั่งปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเซิร์ฟเวอร์กว่า 100 เครื่อง โดยตั้งอยู่ที่เมืองแทมปาในรัฐฟลอริดา อัมเสตอร์ดัม และโซล
วิกิพีเดียมีการเรียกใช้งานประมาณ 10,000 ถึง 35,000 หน้าต่อวินาที ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละวัน[14] โดยทางระบบจะส่งข้อมูลเก่าที่เป็นแคชจากเซิร์ฟเวอร์สควิดแคชเลเยอร์ชั้นบนสุดไปให้ผู้เข้าชมเว็บ ซึ่งถ้าข้อมูลนั้นไม่มีในแคชข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หลักจะถูกส่งมาแทนที่เพื่อลดการทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลัก อย่างไรก็ตามข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์แคชจะถูกล้างเป็นระยะเพื่อพัฒนาข้อมูลใหม่ ในทางตรงข้ามผู้ร่วมเขียนบทความจะได้ข้อมูลตรงจากทางเซิร์ฟเวอร์หลักแทนที่สควิดแคชเสมอ
รุ่นภาษา ปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมด 253 ภาษา โดยมีวิกิพีเดีย 15 ภาษาที่มีเนื้อหามากกว่า 100,000 เรื่อง ซึ่งวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นรุ่นที่มีเนื้อหามากที่สุด รองลงมาด้วย เยอรมันฝรั่งเศสโปแลนด์ และญี่ปุ่น เนื่องจากผู้ใช้วิกิพีเดียสามารถร่วมสร้างจากทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ทำให้ ทำให้เกิดมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจากผู้เขียนที่ใช้ภาษาถิ่นแตกต่างกัน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยปรากฏในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ภาษาถิ่นสำเนียง อังกฤษบริติช และอังกฤษอเมริกันส่งผลให้มีการสะกดหลายแบบ (ตัวอย่างเช่น colour และ color) รวมไปถึงเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นจากมุมมองที่ต่างกัน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าวิกิพีเดียในแต่ละภาษาได้มีการบริหารแยกจากกันต่างหาก ทางมูลนิธิได้มีการตั้งเว็บไซต์เมต้าวิกิใช้เป็นศูนย์กลางในการประสานงานของวิกิพีเดียแต่ละภาษา เช่นการให้บริการข้อมูลด้านสถิติ แสดงรายชื่อบทความพื้นฐานที่แต่ละวิกิพีเดียควรมี รวมถึงการเชื่อมโยงบทความในแต่ละภาษาเข้าด้วยกันผ่านทางลิงก์ที่เรียกว่า "อินเตอร์วิกิ" • วิกิพีเดียยังมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่ออื่นนอกเหนือจากทางเว็บไซต์ วิกิพีเดียในหลายภาษาได้มีการนำข้อมูลบรรจุลงในแผ่นดีวีดี เช่นในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพีเดียภาษาโปแลนด์[15] และวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน[16] นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาข้อมูลวิกิพีเดียเพื่อนำไปใช้ในเครื่องไอพ็อด
Search engine • ส่วนมากที่เราใช้ค้นหา ก็มักจะเป็น Google เสียเป็นส่วนมาก • เราลองมารู้จักเทคนิคพิเศษในการค้นหากันสักเล็กน้อย ตามตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งคงจะช่วยให้ท่านค้นหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นต้องการค้นหา
ตัวอย่างการค้นหา • ค้นหาความหมายของคำว่า social network ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น
2. ค้นหาความหมายของคำว่า ontology ในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น
3. ค้นหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับภาพยนต์ เท่งโหน่ง จีวรบิน
4. ใครเป็นคนพูดประโยคอมตะที่ว่า government of the people, by the people, for the people
5. 11.5 AUD Dollar คิดเป็นเงินไทยเท่าไร
6. หาไฟล์ powerpoint ที่เกี่ยวกับ fine art
7. หาว่าอากาศในจังหวัดปทุมธานี เป็นอย่างไรบ้าง
8. หาภาพ หาดราไวย์ ภูเก็ต
9. ตารางเที่ยวบินไปเชียงใหม่ โดยสารการบิน การบินไทย
10. หากระทู้ที่พูดถึงน้องแพนเค็กกับเป้ในเว็บ pantip
11. หาร้านหรือเว็บที่ขาย iphone 4
12. หาหนังสือทุกเล่มที่แต่งโดยนามปากกา โบตั๋น
13. หารายชื่อตำบลทั้งหมดใน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบฯ ในประเทศไทย