140 likes | 522 Views
Enterprise Decision Support Systems: EDSS. ความหมายของ EIS, ESS และ EDSS ประโยชน์ของ EIS คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EIS กับ DSS ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouse และ OLAP Soft Information ภายใน Enterprise Systems
E N D
ความหมายของ EIS, ESSและ EDSS ประโยชน์ของ EIS คุณลักษณะและความสามารถของ EIS ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EISกับ DSS ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouseและ OLAP SoftInformationภายใน EnterpriseSystems แนวโน้มของระบบ EISและ ESSในอนาคต เนื้อหา
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System: EIS)หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล สารสนเทศ ทั้งภายในและนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น • การกำหนดนโยบาย • การวางแผน • การจัดตั้งงบประมาณ ความหมายของ EIS, ESS และ EDSS (1/3)
ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง(Executive Support System: ESS)หมายถึง ระบบ EIS ที่มีการเพิ่มเติมความสามารถ เช่น ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาสารสนเทศได้ สามารถประชุมทางไกล หรือการมีระบบสำนักงานอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย ระบบสารสนเทศระดับองค์กร(Enterprise Information System: EIS)หมายถึง ระบบที่สนับสนุนการใช้สารสนเทศร่วมกันทั้งองค์กรตามความต้องการในแต่ละส่วนงาน สำหรับผู้ใช้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับสูง และสามารถใช้งานร่วมกับองค์กรอื่น ได้ ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ความหมายของ EIS , ESS และ EDSS (2/3)
ระบบสนับสนุนการทำงานขององค์กร (Enterprise Support Systems: ESS)หมายถึงระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระดับบุคคล กลุ่ม และ องค์กร โดยมีระบบ Enterprise Information Systemsเป็นส่วนประกอบ และมีระบบ Decision Support Systemsเพื่อช่วยในการวางแผนงานต่าง ๆ ในบางครั้งระบบ ESSจะใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลขององค์กร (Data Warehouse)อันจะทำให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และในที่สุดจึงเรียกระบบดังกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร(Enterprise Decision Support Systems: EDSS)” ความหมายของ EIS , ESS และ EDSS (3/3)
ประโยชน์ของ EIS สารสนเทศภายนอก สารสนเทศภายใน ประเมินและจำแนก สารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ ตรวจสอบสารสนเทศ วิเคราะห์เชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงปริมาณ สารสนเทศเหล่านั้นมี โอกาสในการแก้ปัญหาหรือไม่? ไม่ใช่ EIS ใช่ DSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ความสามารถในการขุดเจาะสารสนเทศ (Drill Down) ความสามารถในการสร้างความสำเร็จ (Critical Success Factor) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศที่สำคัญได้ทุกสถานะ (Status Access) ความสามารถในการวิเคราะห์ (Analysis) ความสามารถในการสร้างรายงานกรณีพิเศษ (Exception Reporting) ความสามารถในการใช้สีและแสง (Color and Audio) ความสามารถในการนำร่องสารสนเทศ (Navigation of Information) ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร (Communication) คุณลักษณะและความสามารถของ EIS
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EISกับ DSS ตารางเปรียบเทียบคุณลักษณะระหว่างระบบ DSSและ EIS
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EISกับ DSS ตารางเปรียบเทียบระบบ DSS และ EIS
ความแตกต่างและการทำงานร่วมกันของ EISกับ DSS
ปัจจุบัน EISสามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายผ่านWebBrowserทำให้มีผู้ผลิตชุดซอฟต์แวร์ EISที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เรียกว่า “WebReady” สำหรับผู้บริหาร เช่น LotusNoteเป็นต้น การสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ (Multidimensional Analysis)รวมกับเครื่องมือการประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing: OLAP)ช่วยให้ผู้บริหารสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทั้งในรูปกราฟิก และตารางคำนวณได้ ความสัมพันธ์ระหว่าง EIS, Data Access, Data Warehouseและ OLAP
Soft Informationหมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ประเมินค่า หรือ ประมวลผล แต่มีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร ในระบบบริหารขององค์กร (Enterprise Systems)หลายด้าน เช่น • ข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มของการบริหาร • ข้อมูลการวางแผน การตัดสินใจ และการประเมินผล • ข้อมูลรายงานข่าวสาร • ข้อมูลตารางการทำงานและการวางแผน • ข้อมูลข่าวลือ Soft Informationภายใน Enterprise Systems
สนับสนุนการทำงานแบบ Multimediaเช่น แผนที่ ภาพ เสียง แสดงข้อมูลในหลายมิติ (Multidimensional Data) ซอฟต์แวร์ระบบ จะมีลักษณะการทำงานบนWebมากขึ้น มีการรวบรวมระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ากับระบบวิเคราะห์ข้อมูลของ EISเช่น การพิมพ์จดหมาย การทำรายงาน และการคำนวณ เป็นต้น แนวโน้ม GlobalSupportSystems แนวโน้มของระบบ EISและ ESSในอนาคต