1 / 59

เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต ( Wired Lans : ehternet )

เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต ( Wired Lans : ehternet ). วัตถุประสงค์. 1. อธิบายรายละเอียดในโครงการ IEEE 802 ได้ 2. อธิบายหน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสารย่อย MAC และ LLC ได้ 3. บอกหน้าที่ของแต่ละฟิลด์ในเฟรมของ IEEE 802.3 ได้อย่างถูกต้อง

zalika
Download Presentation

เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต ( Wired Lans : ehternet )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เครือข่ายแลนอีเทอร์เน็ต(Wired Lans : ehternet)

  2. วัตถุประสงค์ 1. อธิบายรายละเอียดในโครงการ IEEE 802 ได้ 2. อธิบายหน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสารย่อย MAC และ LLC ได้ 3. บอกหน้าที่ของแต่ละฟิลด์ในเฟรมของ IEEE 802.3 ได้อย่างถูกต้อง 4. สามารถอธิบายวิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลางแบบ CSMA/CD ได้ 5. บอกความแตกต่างระหว่าง MAC Address และ IP Address ได้

  3. ประวัติอีเทอร์เน็ต ในปี ค.ศ. 1973 บ็อบ เม็ทคาลเฟ (Robert Metcalfe) ได้คิดค้นระบบอีเทอร์เน็ตในการรับส่ง ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์และสามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ได้ หลังจากนั้น อีเทอร์เน็ต ได้ถูกพัฒนาต่อที่ PARC (Palo Alto Research Center) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยของบริษัทซีร็อก (Xerox) จากรูปเป็นโครงสร้างของอีเทอร์เน็ตที่เม็ทคาลเฟ ออกแบบไว้ คอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายโดยทรานสซีฟเวอร์ (Transceiver) และแชร์สายสัญญาณสำหรับการส่งข้อมูล

  4. ประวัติอีเทอร์เน็ต เม็ทคาลเฟ (Robert Metcalfe) ได้เขียนอธิบายระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนาจากเครือข่าย อโลฮา (Aloha) ซึ่งได้ถูกพัฒนาที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ในทศวรรษ 1960 โดยนอร์แมน แอ็บแรมสัน (Norman Abramson) และเพื่อนร่วมงาน โดยได้พัฒนาวิทยุสื่อสารระหว่างเกาะ ต่างๆ ในช่วงแรกอีเทอร์เน็ตเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทซีร็อกซ์บรัษัทเดียว ต่อมามาตรฐานอีเทอร์เน็ต ที่ความเร็ว 10 Mbps ได้ประกาศใช้เมื่อปี 1980 โดยความร่วมมือของ 3 บริษัท คือ DEC-Intel- Xerox เรียกสั้นๆ ว่า DIX และในขณะเดียวกัน IEEE ก็ได้พัฒนามาเป็นอีเทอร์เน็ตเช่นกัน คือ มาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้พัฒนามาจากมาตรฐานอีเทอร์เน็ตของ DIX มาตรฐานของ IEEE ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1985 และต่อมา ISO ก็ยอมรับมาตรฐาน IEEE 802.3 มาใช้เป็น มาตรฐานอีเทอร์เน็ตนานาชาติ ทำให้บริษัทใดก็ได้สามารถผลิตอุปกรณ์อีเทอร์เน็ต โดยที่ไม่ต้อง เสียค่าลิขสิทธิ์ให้กับใคร ทำให้การใช้อีเทอร์เน็ตแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็น เครือข่ายเทคโนลียอดนิยมในปัจจุบัน

  5. ประวัติอีเทอร์เน็ต หลังจากที่ IEEE ได้ตีพิมพ์มาตรฐาน อีเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี 1985 และได้มี การพัฒนามาตรฐานมาเรื่อยๆ ถึง ปัจจุบัน มาตรฐานล่าสุดของอีเทอร์ เน็ตอยู่ที่ 10 Gbpsดังตาราง

  6. โครงการหมายเลข 802 ความสัมพันธ์ระหว่างโครงการหมายเลข 802 ของ IEEE และแบบจำลอง ISO จะพบว่า IEEE ได้มีการแบ่งส่วนชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ออกเป็น 2 ชั้นสื่อสารย่อยด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย 1. Logical Link Control (LLC) 2. Media Access Control (MAC)

  7. รูปแบบเฟรม IEEE 802 แบบจำลอง IEEE 802 ได้มีการแบ่งส่วนชั้นสื่อสารออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย Media Access Control (MAC) เป็นชั้นสื่อสารย่อยที่ทำงานใกล้ชิดกับชั้นสื่อสารฟิสิคัล ภายในบรรจุด้วยเฮดเดอร์ฟิสิคัลแอด เดรส รหัสการตรวจสอบและการควบคุมข้อมูล MAC ได้มีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่เรียกว่า เฟรม ซึ่งรูปแบบของเฟรมจะมีความแตกต่างกัน โดยรูปแบบของเฟรมจะประกอบไปด้วยฟิลด์ที่ ใช้สำหรับการตรวจสอบข้อผิดพลาด ตำแหน่งที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ และการควบคุมอีกหลายๆ อย่าง ดังนั้น MAC จึงเป็นชั้นสื่อสารที่มีความสำคัญในเครือข่ายท้องถิ่น

  8. รูปแบบเฟรม IEEE 802 Logical Link Control (LLC) เป็นชั้นสื่อสารย่อยที่รับผิดชอบงานด้านพื้นฐานเกี่ยวกับลอจิคัลแอดเดรส การควบคุมข้อผิด พลาด รวมถึงเป็นส่วนเชื่อมต่อกับชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์ก Preamble : 56 bits of alternating 1s and 0s. SFD : Start Frame Delimiter, Flag (10101011) 7 Bytes 1 Byte6 Bytes 6 Bytes 2 Bytes 4 Bytes Length or Type Destination Address Source Address Preamble SDF Data and Padding CRC Physical Layer Header รูปแบบเฟรมของ 802.3 MAC

  9. รูปแบบเฟรม IEEE 802 Preamble : 56 bits of alternating 1s and 0s. SFD : Start Frame Delimiter, Flag (10101011) 7 Bytes 1 Byte6 Bytes 6 Bytes 2 Bytes 4 Bytes สำหรับชั้นสื่อสารย่อย MAC จะมีรูปแบบของเฟรมดังรูป • Preambleเป็นฟิลด์แรกของเฟรม ใช้สำหรับเข้าจังหวะระหว่างสถานีส่งกับสถานีรับ โดยจะ • ถูกเพิ่มเข้าไปที่ชั้นสื่อสารฟิสิคัล • Start Frame Delimiter (SDF) มีขนาด 1 ไบต์ (10101011) เป็นแฟล็กที่ใช้บอกจุดเริ่มต้น • ของเฟรมโดยมีการรวมกันให้อยู่ในรูปแบบขนาด 8 ไบต์ วัตถุประสงค์เพื่อให้ฝั่งรับทำการล็อคไว้ • เพื่อเทียบจังหวะสัญญาณนาฬิกาของตนกับฝั่งส่งให้ตรงกัน คือการซิงโครไนซ์นั่นเอง Length or Type Destination Address Source Address Preamble SDF Data and Padding CRC Physical Layer Header

  10. รูปแบบเฟรม IEEE 802 • Destination Address (DA) เป็นฟิลด์ขนาด 6 ไบต์ ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสของสถานี • ปลายทาง • Source Address (SA) เป็นฟิลด์ขนาด 6 ไบต์ ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสของสถานีต้นทาง • Length or Type ฟิลด์นี้จะนำมาใช้เพื่อกำหนดชนิดฟิลด์หรือความยาวของฟิลด์ แต่เดิม • อีเทอร์เน็ตจะใช้ฟิลด์นี้เพื่อกำหนดชนิดฟิลด์ในการนิยามโปรโตคอลที่อยู่ชั้นเหนือกว่าที่ใช้เฟรม • MAC ในขณะที่มาตรฐาน IEEE จะใช้ฟิลด์นี้ในการกำหนดความยาวของฟิลด์ เพื่อให้ทราบถึง • จำนวนข้อมูลที่บรรจุอยู่ในเฟรม • Data and Padding ฟิลด์นี้จะบรรจุข้อมูลที่ได้รับการเอนแคปซูเลชั่นจากโปรโตคอลชั้นที่ • อยู่เหนือกว่า โดยจะมีขนาดอย่างน้อย 46 ไบต์ และสูงสุด 1500 ไบต์ • CRC (Cyclic Redundancy Check) เป็นฟิลด์ที่นำมาใช้เพื่อการตรวจจับข้อผิดพลาด • ด้วยการใช้รหัส CRC-32 บิต

  11. รูปแบบเฟรม IEEE 802 ฟิสิคัลแอดเดรสของสถานีปลายทาง (DA) และฟิสิคัลแอดเดรสของสถานีต้นทาง อาจ มีขนาด 2 ไบต์หรือ 6 ไบต์ แต่มาตรฐานการส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ที่ความเร็ว 10 Mbps จะถูก กำหนดไว้ที่ 6 ไบต์ ซึ่งฟิสิคัลแอดเดรสของสถานีต้นและสถานีปลายทาง จะเป็นชุดตัวเลขที่บรรจุ ไว้บนการ์ดเครือข่าย ซึ่งเป็นหมายเลขที่ถูกบรรจุมาจากโรงงาน โดยไม่ซ้ำกันเรียกว่า Mac Address

  12. รูปแบบเฟรม IEEE 802 สำหรับตำแหน่งบิตสูงสุด ในฟิสิคัลแอดเดรสของสถานีปลายทาง หากถูกกำหนดเป็นค่า “0” จะหมายถึงแอดเดรสของสถานีปลายทางแบบปกติทั่วไป (Ordinary Address) แต่หากถูกกำหนดเป็นค่า “1” จะหมายถึงกลุ่มสถานีปลายทางที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (Group Address) ซึ่งภายในกลุ่มจะได้รับข้อมูลชุดเดียวกันจากผู้ส่ง หรือสถานีต้นทางเพียงสถานีเดียว โดยการส่ง เฟรมไปยังกลุ่มสถานีเหล่านี้จะเรียกว่า “การส่งข้อมูลแบบหลายจุด (Multicast)” ในขณะที่ หากแอดเดรสปลายทางถูกกำหนดเป็นบิต 1 ทั้งหมด บิตดังกล่าวจะถูกสงวนไว้เพื่อ การกระจายข่าว (Broadcast) จะหมายถึงทุกสถานีบนเครือข่ายจะได้รับเฟรมที่ส่งไป และในส่วนของฟิลด์ Length or Type ซึ่งมีขนาด 2 ไบต์ จะใช้กำหนดความยาวของข้อมูลจริงที่ถูกบรรจุใน เฟรม และถัดมาก็คือชุดข้อมูล และส่วนสุดท้ายก็คือฟิลด์ CRC ใฃ้ตรวจจับข้อผิดพลาดของข้อมูล

  13. รูปแบบเฟรม IEEE 802 คำศัพท์ที่นำมาใช้เพื่อการส่งข่าวสารบนเครือข่าย ประกอบด้วย ยูนิคาสต์ (Unicast) ส่งข่าวสารไปยังโหนดใดโหนดหนึ่งบนเครือข่ายโดยเฉพาะ มัลติคาสต์ (Multicast) กระจายข่าวสารไปยังโหนดใดโหนดหนึ่งบนเครือข่ายที่เป็นสมาชิกเดียวกัน บรอดคาสต์ (Broadcast) เผยแพร่ข่าวสารไปยังทุกๆ โหนดบนเครือข่าย

  14. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลาง MAC Methods ตามมาตรฐานเครือข่ายแลน ปกติจะใช้สื่อกลางนำสัญญาณเพื่อการรับส่งข้อมูลร่วมกัน ในการเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องมีวิธีการควบคุมและติดตามเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่ายสามารถใช้สื่อกลางเพื่อการรับส่งข้อมูลได้อย่างทั่วถึง วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลางมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ CSMA/CDและ Token Passing โดยอีเทอร์เน็ตจะใช้วิธี CSMA/CD ในการเข้าถึงสื่อกลางในขณะที่ Token Bus, Token Ring และ FDDI จะใช้วิธี Token Passing ในการเข้าถึงสื่อกลาง CSMA/CD (Carrier Sense, Multiple Access/Collision Detection) เครือข่ายอีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานเครือข่ายแบบบัส ที่ใช้วิธีการส่ง ข้อมูลแบบเบสแบนด์ และด้วยการมีช่องสื่อสารเพียงช่องเดียว แต่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องบนเครือข่ายใช้สายส่งข้อมูลร่วมกันได้

  15. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลาง MAC Methods CSMA/CD (Carrier Sense, Multiple Access/Collision Detection) เทคนิควิธี CSMA/CD เป็นกลไกจัดการกับสายส่งสัญญาณให้ว่างโดย ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จะมีข้อมูลเพียงชุดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งผ่านสื่อกลางไปยังปลายทาง ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการจัดการเพื่อให้โหนดต่างๆ บนเครือข่ายสามารถส่งข้อมูลได้ ประกอบด้วย การตรวจฟังสัญญาณ (Carrier Sense) เป็นกลไกในการตรวจฟังสัญญาณภายในสาย ว่าสายถูกใช้งานหรือว่างอยู่ ซึ่งแต่ละโหนดบนเครือข่ายจะต้องตรวจฟังสัญญาณบนสื่อกลาง ก่อนที่จะมีการส่งแพ็กเก็ตออกไป การใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน (Multiple Access) เป็นกลไกที่อนุญาตให้ทุกๆ โหนดบนเครือข่าย สามารถใช้สายส่งข้อมูลได้ทันทีหากสายว่าง ถือเป็นการช่วงชิงใช้สื่อกลางเพื่อส่งข้อมูล ดังนั้นจึง มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลได้เสมอ

  16. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลาง MAC Methods CSMA/CD (Carrier Sense, Multiple Access/Collision Detection) การตรวจสอบการชนกันของกลุ่มข้อมูล (Collision Detection) เป็นกลไกการตรวจสอบการชนกันของกลุ่มข้อมูล หากเกิดการชนกันภายในสายส่งแต่ละโหนดจะหยุดดำเนินการส่งข้อมูลทันที และมีการรอชั่วครู่ เพื่อให้แต่ละโหนดสุ่มเวลาให้แตกต่างกันในการส่ง ข้อมูลรอบใหม่ เพื่อประกันว่าจะไม่เกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลชุดเดิมอีก

  17. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลาง MAC Methods CSMA/CD (Carrier Sense, Multiple Access/Collision Detection)

  18. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลาง MAC Methods เครือข่ายอีเทอร์เน็ตทำให้สิ้นเปลืองแบนด์วิดธ์เป็นจำนวนมากกับการชนของกลุ่มข้อมูล ถึงแม้ว่าจะเพิ่มความเร็วให้สูงขึ้น ทำให้ดูเหมือนว่ามีการชนกันของกลุ่มข้อมูลลดน้อยลง แต่ในความเป็นจริง การชนกันของข้อมูลเป็นเรื่องปกติของการทำงานบนเครือข่ายที่ใช้กลไกการส่งข้อมูลแบบ CSMA/CD ซึ่งไม่รับประกันการส่งข้อมูล ในขณะที่กลไกการส่งข้อมูลแบบ Token Passingบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้น สามารถกำหนดทางเลือกด้วยการกำหนดสิทธิ์ในการครอบครองสัญญาณโทเค็นเพื่อส่งข้อมูลได้ ซึ่งจะทำให้ทุกโหนดบนเครือข่ายมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการส่งข้อมูลและจะไม่มีการชนกันของกลุ่มข้อมูลภายในเครือข่าย

  19. การ์ดเครือข่ายและแมคแอดเดรสการ์ดเครือข่ายและแมคแอดเดรส การ์ดเครือข่ายจะมีหมายเลขแมคแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงตำแหน่งที่อยู่เพื่อรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย โดยชุดหมายเลขแมคแอดเดรสนี้จะถูกบรรจุไว้ในหน่วยความจำรอมบนการ์ดเครือข่าย ที่ถูกบรรจุพร้อมเสร็จจากโรงงาน เมื่อเริ่มต้นทำงานชุดหมายเลขแมคแอดเดรสนี้จะถูกคัดลอกไว้ในหน่วยความจำหลัก (RAM) เพื่อนำไปใช้อ้างอิงต่อไป

  20. การ์ดเครือข่ายและแมคแอดเดรสการ์ดเครือข่ายและแมคแอดเดรส โรงงานผู้ผลิตได้มีการบรรจุชุดหมายเลขที่ประกอบด้วยเลขฐานสองขนาด 48 บิต ที่เรียกว่า MAC Address มาให้พร้อม ซึ่งชุดหมายเลขดังกล่าวจะถูกบรรจุไว้บนรอมของการ์ดเครือข่ายทุกชิ้น และเลขจะไม่มีทางซ้ำกัน และด้วยขนาดของชุดตัวเลขแมคแอดเดรสมีขนาดถึง 48 บิตทำให้เครือข่ายอีเทอร์เน็ตสามารถมีมากกว่า 281 ล้านล้านเครื่อง การจะนำค่าแมคแอดเดรสมานำเสนอในรูปแบบของเลขฐานสองคงไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้การอ้างอิงชุดตัวเลขได้ยาก จึงมักนำเสนอให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบหก และจำนวนบิตที่มีมากถึง 48 บิต สามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบของเลขฐานสิบหก ดังตัวอย่างเช่น 00 E0 98 01 09 0E - Mac Address เป็นหมายเลขประจำตัวบนการ์ดเครือขาย (Physical Address) - IP Address เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Logical Address) ที่ใช้สำหรับการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดย Mac Address จะทำงานอยู่บนชั้น สื่อสารดาต้าลิงก์ ในขณะที่ IP Address ทำงานอยู่บนชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กบนแบบจำลอง OSI

  21. การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์ (Baseband) ทาง IEEE ได้มีการแบ่งการส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ออกเป็นประเภทต่างๆ ตามมาตรฐาน คือ 10Base5, 10Base2, 10Base-T เป็นต้น โดยตัวเลขข้างหน้าคืออัตราความเร็วในการส่งข้อมูล ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเมกะบิตต่อวินาที (Mbps) และส่วนที่กำกับท้าย เช่น 5,2,1 หรือ T คือความยาวสูงสุดของสายเคเบิลหรือชนิดของสายเคเบิล การส่งข้อมูลในระบบเบสแบนด์นั้น จะมีช่องทางสื่อสารเพียงช่องทางเดียว ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคในการจัดการข้อมูล เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล ซึ่งเทคนิคที่นิยมใช้กันคือเทคนิค CSMA / CD ( Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection ) โดยอุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลนั้นจะคอยตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์อื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ถ้ามีก็จะคอยก่อนถ้าไม่มีหรือว่าง ก็จะทำการส่งข้อมูลทันที ซึ่งระบบเครือข่าย LAN จะใช้วิธีการส่งข้อมูลแบบชนิดนี้ 

  22. การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์ (Broadband) จะตรงข้ามกับ Baseband นั่นคือ เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น

  23. การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์และบรอดแบนด์ Basebandเป็นการส่งข้อมูลแบบช่องสัญญาณเดียว เป็นสัญญาณ Digital Broadbandเป็นการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ เป็น สัญญาณ Analog

  24. การเชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต

  25. การเชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต

  26. วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลางแบบ Token Passing Token Passingเป็นเครือข่ายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของโทโพโลยีแบบวงแหวน และถูกพัฒนาจากบริษัท IBM วิธีนี้จะมี token ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งจะวิ่งวนในเครือข่าย ในกรณีที่ token วิ่งมาถึงเครื่องใด เครื่องนั้นก็จะตรวจสอบว่ามีข้อมูลส่งมาถึงหรือเปล่าถ้าไม่มีก็ส่งไปยังเครื่องถัดไป และในกรณีที่ต้องการจะส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า token ว่างหรือไม่ ถ้าว่างก็จะบรรจุข้อมูลและระบุที่อยู่ของเครื่องที่จะรับลงใน token แล้วส่งไปยังเครื่องถัดไปตัวอย่างระบบเครือข่ายที่ใช้ เช่น Token-Ring

  27. FDDI (Fiber Distributed Data Interface) FDDI (Fiber Distributed-Data Interface) เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งข้อมูลบนสาายไฟเบอร์ ออฟติค ที่สามารถขยายช่องได้ถึง 200 กิโลเมตร โปรโตคอล FDDI มีพื้นฐานจากโปรโตคอล token ring นอกจากจะใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว FDDI ในเครือข่าย สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็น พันคน         เครือข่าย FDDI มี 2 token ring โดยตัวหนึ่งเป็นตัวสำรองกรณีที่ primary ring ไม่ทำงานโดย primary ring มีความสามารถส่งข้อมูลได้ 100 Mbps ถ้าไม่ใช้ secondary ring ในการสำรอง แล้วการส่งข้อมูลจะขยายเป็น 200 Mbps การใช้ชุดเดียวสามารถขยายได้เต็มระยะทาง แต่ถ้าใช้ ชุดคู่การทำงานจะเป็น 100 กิโลเมตร FDDI เป็นผลิตภัณฑ์ของ America National Standards Committee X33-T9 และทำตามOpen system interconnect (OSI) model ของเลเยอร์ฟังก์ชัน ทำให้ใช้ในการเชื่อมต่อภายในของ LAN ที่ใช้โปรโตคอลอื่นได้ FDDI-II เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ FDDI ที่เพิ่มความสามารถด้วยการเพิ่มสวิทซ์วงจรให้กับเครือข่าย ซึ่งทำให้ดูแลสัญญาณเสียงได้ และกำลังพัฒนาระบบเครือข่ายFDDI ให้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายแบบ Synchronous Optical Network

  28. สรุป โครงการ IEEE 802 มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหน้าที่และรายละเอียดของชั้นสื่อสารฟิสิคัล ดาต้าลิงก์ และมีส่วนขยายเพิ่มเติมภายในชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ ที่นำมาใช้งานเพื่อการเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นเป็นหลัก ชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ ได้มีการแบ่งชั้นสื่อสารย่อยอีก 2 ชั้นด้วยกัน ประกอบด้วย 1. Logical Link Control (LLC) 2. Media Access Control (MAC) ยูนิคาสต์ คือการส่งข่าวสารไปยังโหนดโดโหนดหนึ่งบนเครือข่ายโดยเฉพาะ มัลติคาสต์ คือ การกระจายข่าวสารไปยังกลุ่มโหนดบนเครือข่ายที่เป็นสมาชิกเดียวกัน บรอดคาสต์ คือ การเผยแพร่ข่าวสารไปยังทุกๆ โหนดบนเครือข่าย วิธีควบคุมเพื่อเข้าถึงสื่อกลางแบบ CSMA/CD จะใช้กลไกในการตรวจฟังสัญญาณ หากสัญญาณในสาย ส่งว่าง ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลได้

  29. สรุป กลไกของ CSMA/CD หากโหนดใดๆ ก็ตาม เมื่อฟังสัญญาณภายในสายส่งแล้วว่าง ก็มีสิทธิ์ในการส่ง ข้อมูลได้ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ทำให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลได้เสมอ กล่าวคือ แต่ละโหนดที่ต้องการส่ง ข้อมูลจะต้องช่วงชิงเพื่อควบคุมสื่อกลางนั่นเอง ตามกลไกของ CSMA/CD นั้น หากเกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่ชนกันจะไม่สามารถนำไปใช้ งานได้อีก ดังนั้นจึงต้องมีการส่งข้อมูลรอบใหม่ โดยโหนดที่ส่งข้อมูลชนกันนั้น จะสุ่มเวลารอบใหม่เพื่อการส่ง ข้อมูลครั้งใหม่ การ์ดเครือข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงโหนดต่างๆ ภายในเครือข่าย และเป็นส่วนสำคัญ ในการสร้างเฟรมข้อมูลเพื่อรับส่งกันภายในเครือข่าย ภายในการ์ดเครือข่ายจะมีการบรรจุที่อยู่เอาไว้ ที่ เรียกว่า “MAC Address” ซึ่งมีขนาด 48 บิต โดยหมายเลขดังกล่าวจะถูกบรรจุมาจากโรงงานและไม่รซ้ำกัน MAC Addressเป็นหมายเลขประจำตัวบนการ์ดเครือข่ายทำหน้าที่ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารดาต้าลิงก์ ในขณะที่ IP Address เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานอยู่ในชั้นสื่อสารเน็ตเวิร์กบน OSI Model

  30. เครือข่ายแลนไร้สาย(wireless Lans)

  31. วัตถุประสงค์ 1. เข้าใจรายละเอียดพื้นฐานของเครือข่ายไร้สาย 2. อธิบายวิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายแลนไร้สายได้อย่างถูกต้อง 3. บอกวิธีการจัดการความปลอดภัยบนเครือข่ายแลนไร้สายได้อย่างถูกต้อง 4. บอกวัตถุประสงค์ของ Wi-Fi ที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครือข่ายแลนไร้สายได้ 5. อธิบายมาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สาย 802.11a, 802.11b, 802.11g และ 802.11n ได้อย่าง ถูกต้อง 6. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์เพื่อการออกแบบเครือข่ายไร้สายได้

  32. พื้นฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE ได้นิยามข้อกำหนดเพื่อนำมาใช้กับเครือข่ายแลนไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวเรียกว่า IEEE 802.11 ซึ่งครอบคลุมชั้นสื่อสารฟิสิคัลและดาต้าลิงค์ บนแบบจำลอง OSI โดยเครือข่ายแลนไร้สายจัดเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจอย่างมากใน ขณะนี้ เนื่องจากสามารถสื่อสารโดยไม่ต้องใช้สายเคเบิลเพื่อการเชื่อมต่อ โดยข้อเด่นของเครือข่ายไร้สาย คือ การสร้างทางเลือกที่สะดวกในการเชื่อมต่อเครือข่ายของผู้ใช้ โดยไม่ต้องใช้สาย และไม่จำเป็นต้องจำกัดพื้นที่อยู่บนโต๊ะทำงานเท่านั้น สามารถนำไปใช้งาน ตามบริเวณต่างๆ ที่อยู่ภายในขอบเขตของคลื่น

  33. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครือข่ายไร้สาย ฮาร์ดแวร์ของเครือข่ายไร้สาย เช่น การ์ดเครือข่ายไร้สายมีหน้าที่ในการส่งเฟรมข้อมูลผ่าน สื่อกลางเครือข่ายไร้สายแตกต่างกับเครือข่ายแลนแบบมีสายตรงที่เครือข่ายแลน แบบมีสายจะใช้สายเคเบิลเป็นสื่อกลางการส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือแสง ส่วนเครือข่ายไร้สายจะ ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปทั่วไป สามารถ เชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายได้ด้วยการ์ดเครือข่ายไร้สาย ซึ่งใช้เสียบเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ภายในเคสคอมพิวเตอร์ หรือ การ์ดที่อยู่ในรูปแบบของ USB NIC ที่สามารถเสียบเข้ากับพอร์ต USB ได้ทันทีส่วนโน๊ตบุครุ่นใหม่ในปัจจุบัน จะมีการ์ดเครือข่ายไร้สายมาให้เรียบร้อยแล้ว

  34. อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครือข่ายไร้สาย นอกจากการ์ดเครือข่ายไร้สายแล้วยังมีอุปกรณ์แอกเซสพอยด์ (Access Point : AP) ซึ่งเป็น อุปกรณ์ที่นำมาใช้เป็นจุดรับส่งสัญญาณ

  35. ซอฟต์แวร์เครือข่ายไร้สาย การ์ดเครือข่ายไร้สายจำเป็นต้องใช้งานร่วมกันกับซอฟต์แวร์เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ โดยจะมีซอฟต์แวร์สำคัญๆ อยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ และไดรเวอร์ของ อุปกรณ์ ปัจจุบันการติดตั้งไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ทั่วไป ไม่ใช่เป็นสิ่งยาก แต่อย่างใด เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่สนับสนุนการทำงานแบบ Plug and Play

  36. การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายสามารถเชื่อมต่อได้ 2 วิธี คือ 1. Ad-Hoc Mode เป็นการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer โดยที่แต่ละโหนดบนเครือข่ายจะ เชื่อมต่อกันโดยตรง ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐานประหยัดโดยมีเพียงการ์ดเครือข่ายไร้สาย และคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง ก็สามารถ เชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ การเชื่อมต่อด้วยวิธีนี้ เหมาะกับเครือข่ายขนาดเล็ก หรือมีโหนดการเชื่อมต่อไม่มาก (ไม่ควรเกิน 10 เครื่อง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกันเป็นหลัก และไม่มุ่งเน้นด้าน ระบบความปลอดภัยมากนัก การสร้างการเชื่อมต่อแบบ Ad Hoc windows XP การสร้างการเชื่อมต่อแบบ Ad Hoc windows 7 อ้างอิง : http://www.cs.washington.edu/research/edtech/presenter/doc/adhoc.html http://www.amno.moph.go.th/technology/Lesson-20/le20-05.html

  37. การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย 2. Infrastructure Mode การเชื่อมต่อด้วยวิธีนี้ นอกจากต้องมีการ์ดเครือข่ายไร้สาย แล้ว ยังจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แอกเซสพอยด์เป็นจุดรับส่งสัญญาณ ซึ่งบนเครือข่าย สามารถมีแอกเซสพอยด์มากกว่า 1 เครื่องที่ติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ รวมถึงยังสามารถเชื่อมต่อ แอกเซสพอยด์เข้ากับเครือข่ายแบบมีสายเพื่อใช้งานร่วมกันได้วิธีการเชื่อมต่อแบบ Infrastructure เหมาะกับองค์กรที่ต้องการติดตั้งเครือข่ายไร้สาย เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับพีซี จำนวนมาก หรือต้องการควบคุมระบบเครือข่ายได้จากศูนย์กลางผ่านเครือข่ายไร้สาย รวมถึงมี ระบบการจัดการความปลอดภัยที่ดีพอ

  38. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย ปัญหาใหญ่ของเครือข่ายไร้สาย คือ เรื่องระบบความปลอดภัยเนื่องจากสัญญา ไร้สายแพร่ไปตามอากาศ ทำให้การตรวจจับว่ามีใครเข้าใช้งานนั้นเป็นไปได้ยากอีกทั้งสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งไปยังถูกดักจับสัญญาณได้ง่าย ซึ่งถือเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามา แฮกระบบได้ แนวทางในการจัดการกับระบบความปลอดภัย ประกอบด้วย 1. ชื่อเครือข่าย (Service Set Identification : SSID) จะมีขนาด 32 บิต ที่จะถูกนำไปบรรจุในเฮดเดอร์ของแต่ละแพ็กเก็ตที่ถูกโพรเซสโดยแอกเซสพอยด์ เครื่องลูกข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อจะต้องกำหนดชื่อ SSID ให้ตรงกันจึงสามารถเข้าถึง เครือข่ายไร้สายได้ ปกติชื่อเครือข่ายจะถูกกำหนดเป็นค่า default ที่ติดตั้งมาจากโรงงาน ดังนั้น เพื่อไม่ให้ผู้อื่นคาดเดาได้ง่าย จึงควรเปลี่ยนชื่อใหม่ และควรเปลี่ยนชื่อล็อกอินและรหัสผ่านใหม่ทั้งหมด

  39. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย 2. การกลั่นกรองหมายเลขแมคแอดเดรส (MAC Address Filtering) อุปกรณ์ แอกเซสพอยด์ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันนี้ เพื่อทำการจำกัดบุคคลที่เข้าถึงเครือข่าย โดยหมายเลข แมคแอดเดรสที่บันทึกเข้าไป คือ แอดเดรสที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงเครือข่ายได้การใช้หมายเลข แมคแอดเดรสในการกลั่นกรองนั้น เป็นงานค่อนข้างเสียเวลาและหากเครื่องคอมพิวเตอร์มีการ เปลี่ยนการ์ดเครือข่าย จำเป็นต้องทำการบันทึกเข้าไปใหม่ รวมถึงหากมีการรีเซตอุปกรณ์แอก เซสพอยด์ จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดที่บันทึกไว้ ถูกลบทิ้งไปทั้งหมด วิธีการนี้สามารถเพิ่มระดับ ความปลอดภัยให้กับเครือข่าย แต่ก็ยังถือว่าเป็นความปลอดภัยระดับต่ำ เนื่องจากแฮกเกอร์ยัง สามารถลักลอบเพื่อค้นหาแมคแอดเดรสที่ได้รับสิทธิในการเข้าถึง และปลอมตัวเข้ามายัง เครือข่ายได้ ดังรูป

  40. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย การกลั่นกรองหมายเลขแมคแอดเดรส

  41. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย 3. การเข้ารหัสลับ (Encryption) หรือการเข้ารหัสแพ็กเก็ตข้อมูล โดยฝั่งส่งจะนำแพ็กเก็ต ข้อมูลมาผ่านการเข้ารหัสด้วยคีย์ก่อนที่จะส่งผ่านไปยังเครือข่ายไร้สาย ฝั่งรับก็จะมีคีย์ที่ใช้ ถอดรหัสลับ เพื่อที่จะได้นำแพ็กเก็ตข้อมูลไปใช้งานต่อไป การเข้ารหัสลับถือเป็นวิธีที่มีความ ปลอดภัยสูง เนื่องจากหากแฮกเกอร์ไม่สามารถหาคีย์ที่ใช้เข้ารหัส ก็ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ การเข้ารหัสลับมี 2 วิธี คือ 1. Wire Equivalency Privacy (WEP) 2. Wi-Fi Protected Access (WPA)

  42. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย 1. Wire Equivalency Privacy (WEP) มาตรฐานการเข้ารหัสลับตามวิธี WEP จะใช้อัลกอริทึมในการเข้ารหัสลับขนาด 64 บิต และปัจจุบันเพิ่มเป็น 128 บิต การเข้ารหัสวิธีนี้ ถูกนำมาใช้งานบนอุปกรณ์มาตรฐาน 802.11 ในยุคแรกๆ แต่วิธีของ WEP ไม่สามารถเข้ารหัส ให้กับแพ็กเก็ตข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจาก WEP นั้นทำงานอยู่บน 2 ชั้นสื่อสาร (ฟิสิคัล และดาต้าลิงค์) บนแบบจำลอง OSI รวมถึงเป็นวิธีการเข้ารหัสแบบสเตติก (Static Encryption) และใช้คีย์รหัสลับเดียวกันทุกๆ โหนดบนเครือข่ายดังนั้นหากกุญแจที่นำมาใช้เป็นคีย์รหัสลับถูก เปิดเผยให้กับผู้ไม่หวังดี จะทำให้สามารถถอดรหัสข้อความไปใช้งานได้ทันที

  43. ระบบความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย 2. Wi-Fi Protected Access (WPA) เนื่องจากการเข้ารหัสด้วยวิธี WEP นั้นยังมีช่องโหว่ และไม่ปลอดภัย จึงได้มีการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสแบบ WPA ขึ้นมาและได้รับการยอมรับและ นำมาเป็นมาตรฐานของ IEEE การเข้ารหัสลับตามวิธี WPA จะเป็นวิธีแบบไดนามิก (Dynamic Encryption) ซึ่งกุญแจหรือคีย์รหัสลับจะออกให้ต่อคนและต่อเซสชั่น (per-user and per- session) ทำให้ถอดรหัสได้ยากขึ้น

  44. ความเร็วของเครือข่ายไร้สาย ความเร็วบนเครือข่ายไร้สาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเครือข่าย ที่นำมาใช้งานบนเครือข่ายไร้สาย เช่น มาตรฐาน 802.11b จะมีความเร็วที่ 11 Mbps ส่วนมาตรฐาน 802.11g จะมีความเร็วที่ 54 Mbps นอกจากนี้ปัจจัยด้านระยะทางก็ส่งผลต่อ ความเร็ว หากระยะทางของโหนดที่ต่อกับอุปกรณ์แอกเซสพอยด์อยู่ห่างเกินรัศมีของสัญญาณ ดังนั้นบริเวณนอกรัศมีอาจทำการติดต่อสื่อสารได้ แต่ความเร็วจะลดลงอาจเหลือเพียง 1 Mbps เท่านั้น หรือหากขอบเขตไกลออกไป ก็อาจติดต่อไม่ได้เลยปัจจัยสุดท้ายคือ การแทรกแซงของ สัญญาณรบกวน เช่น บริเวณใกล้เคียงเสารับส่งวิทยุ ทำให้มีคลื่นวิทยุแทรกเข้ามาหรือใกล้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น

  45. ขอบเขตรัศมีของเครือข่ายไร้สาย ขอบเขตรัศมีของอาณาเขตที่คลื่นสัญญาณไร้สายสามารถครอบคลุมไปถึงนั้น ไม่สามารถกำหนดได้ชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย เช่น ถ้าเป็นบริเวณที่ไร้ สิ่งกีดขวางรัศมีสัญญาณจะครอบคลุมได้ระยะไกล แต่หากบริเวณนั้นมีตึกอาคาร เป็นคอนกรีต ก็จะมีรัศมีของสัญญาณครอบคลุมระยะทางไม่ไกลนักในการขยายระยะทางให้มีรัศมีไกลยิ่งขึ้น สามารถใช้อุปกรณ์เช่น บริดจ์มาเชื่อมโยงเครือข่ายไร้สาย 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งรัศมีของสัญญาณจะกินขอบเขตโดยประมาณอย่างต่ำที่ 50 เมตรจนถึง ประมาณ 400 เมตรสำหรับระยะทางที่ไกลที่สุด

  46. Wi-Fi (Wireless Fidelity) Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายเทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11 อุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้น สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตรฐานจะสังเกตุได้จากเครื่องหมาย ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไป โดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก

  47. Wi-Fi (Wireless Fidelity) ฮอตสปอต (Hot Spots) เป็นบริการ อินเตอร์เน็ตสาธารณะไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยี ของ Wireless Lan หรือที่เรียกกันติดปากว่า Wi-Fi  ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยตามแหล่ง ชุมชน ต่างๆ เช่น สนามบิน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ก็คือ สถานที่ที่บริการ อินเตอร์เน็ตสาธาณะที่เรียกกันว่า Hot Spot นี้มักจะบริการ ด้วย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แบบเปิดเว็บปุ๊ปมาปั๊ป ค่อนข้างทันใจ และเราสามารถ ยก office ไปนั้งทำงานตามร้านกาแฟได้อย่างสบายๆ Hot Spot มีทั้งฟรีและเสียค่าบริการเชื่อมต่อ

  48. มาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สายมาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สาย มาตรฐาน IEEE 802.11 ถือเป็นมาตรฐานของเครือข่ายไร้สายที่กระจายสเปกตรัมด้วย คลื่นวิทยุในการสื่อสารที่หลายย่านความถี่ โดยรากฐานของเทคโนโลยี 802.11 จะใช้คลื่นวิทยุ ในการแพร่สัญญาณบนย่านความถี่ 2.5 GHz ยกเว้นมาตรฐาน 802.11a ที่ใช้ย่านความถี่ 5GHz เทคโนโลยีตามมาตรฐาน 802.11 สามารถบรอดคาสต์เพื่อกระจายสเปกตรัมได้ 2 วิธี คือ 1. DSSS (Direct-Sequence Spread-Spectrum) จะส่งข้อมูลออกไปบนความถี่ที่ แตกต่างกันในเวลาเดียวกัน (มอดูเลตทางขนาด) 2. FHSS (Frequency-Hopping Spread-Spectrum) จะส่งข้อมูลบนความถี่เดียวในเวลา หนึ่งอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลทั้ง 2 วิธีนี้ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้และ DSSS จะใช้ แบนด์วิดธ์ มากกว่าแบบ FHSS ทำให้ DSSS มีอัตราการรับส่งข้อมูลบนทรูพุตที่ดีกว่า แต่ DSSS ถูก แทรกแซงจากสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าแบบ FHSS

  49. มาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สายมาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สาย

  50. มาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สายมาตรฐานเครือข่ายแลนไร้สาย มาตรฐาน 802.11 - เป็นมาตรฐานดั้งเดิม ที่ปัจจุบันหายากแล้ว - ใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz - อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้งานบนมาตรฐานนี้จะมีความเร็วสูงสุดเพียง 2 Mbps - จำกัดระยะทางประมาณ 150 ฟุต - ระบบความปลอดภัยมีทั้งการเข้ารหัสลับด้วยวิธี WEP และ WPA

More Related