1 / 29

จรรยาบรรณ วิชาชีพสาธารณสุข

จรรยาบรรณ วิชาชีพสาธารณสุข. จรรยาบรรณต่อตนเอง. การปฏิบัติตามคำสั่งกฎ ระเบียบ และหน้าที่ของตนเอง. สถานการณ์. พลเมืองดี. บทนำ.

Download Presentation

จรรยาบรรณ วิชาชีพสาธารณสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จรรยาบรรณ วิชาชีพสาธารณสุข

  2. จรรยาบรรณต่อตนเอง การปฏิบัติตามคำสั่งกฎ ระเบียบ และหน้าที่ของตนเอง

  3. สถานการณ์ พลเมืองดี

  4. บทนำ บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่  ที่จะต้องปฏิบัติ และมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ สอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรมประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้ประสิทธิผลทั้งในส่วนตนและสังคม เมื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ย่อมเกิดความภาคภูมิใจและเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม ด้วยการ   เป็นพลเมืองดีที่เคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างผาสุข

  5. สถานการณ์ สถานการณ์ตัวอย่าง จากสถานการณ์สังคมในปัจจุบัน มีการพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี ด้านการเกษตร การเมือง การศึกษา ฯลฯ ทำให้สังคมเกิดการแก่งแย่งแข่งขันกัน ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป คนในสังคมไม่มีคุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ตัวกันมากขึ้น

  6. จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมักมีข่าวการโจรกรรม ฆาตกรรมต่างๆ เป็นการกระทำที่ ให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้องของผู้อื่น ไม่เกรงกลัว ระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง เมื่อคนในสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เคารพต่อกฎหมาย ของบ้านเมือง จนเป็นเหตุทำให้สังคมวุ่นวาย ขาดการปกครอง คนในสังคมเองก็อยู่ ไม่เป็นสุข รวมทั้งสังคมก็ไม่น่าอยู่

  7. การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทในสังคมเป็นหน้าที่หลักของพลเมืองที่พึงปฏิบัติ เพื่อให้สังคมน่าอยู่ ทั้งการปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตนตามประเพณี ฯ

  8. สาเหตุของปัญหา • สังคมในปัจจุบันเปลี่ยนไป การเจริญด้านเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย การแก่งแย่ง • แข่งขันครอบงำคนในสังคม ทำให้พฤติกรรมการดำรงชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไป • รัฐบาลออกกฎหมายกฎระเบียบในการปกครองไม่เข้มงวดพอ • การให้ความรู้และการศึกษา ไม่ทั่วถึงในบางพื้นที่ • คนในสังคมไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ขาดความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ

  9. แนวทางแก้ไข • รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน • ให้การศึกษาแกสมาชิกในสังคมเพื่อเกิดความรู้และความเข้าใจในกฎ ระเบียบและ • บทบาทหน้าที่ของตน จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง • พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น • สร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบ เพื่อให้คนในสังคมปฏิบัติหน้าที่ของพลเมืองดี

  10.  การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน •  การมีจิตสาธารณะ  คือ  เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ • การเคารพกฎหมาย และระเบียบของสังคม • ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม • ความเสียสละ • ความรับผิดชอบ • ความซื่อสัตย์ • ความอดทน • ความมีระเบียบวินัย

  11. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ การรักษาความลับของผู้รับบริการ

  12. บทนำ ความลับของผู้ป่วย คือ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยทุกอย่าง โดยส่วนใหญ่จะเป็น ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพหรือการรักษาพยาบาล เช่น การตรวจวินิจฉัยโรค อาการ ของโรค ยาที่ใช้รักษาโรค และถ้าหากเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่เป็นไปตามปกติ หรือ มีผู้กระทำ เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยไปแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอายหรือ ถูกคลุกครามชีวิต เช่น ผู้ป่วยถูกข่มขืน ผู้ป่วยถูกทำร้ายร่างกาย หรือเป็นโรคที่สังคม รังเกียจ เป็นต้น

  13. กระทรวงสาธารณสุขและสภาวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ร่วมกันประกาศสิทธิของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2541 ข้อ 7 ว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย” และ ข้อ 9 ว่า “ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา-พยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น”

  14. ตัวอย่างสถานการณ์ นายชาติชาย อายุ 37 ปี สมรสแล้วมีบุตร 2 คน ตรวจเลือดไวรัสเอดส์ เป็นผลบวก CD4 = 180 ร้องขอให้แพทย์เก็บข้อมูลนี้ไว้เป็นความลับไม่บอกแม้แต่ภรรยาของเขา ท่านเป็นแพทย์ผู้ดูแลรักษา มีแนวทางปฏิบัติตนอย่างไร 1. เป็นความลับผู้ป่วย รับปากและปิดเป็นความลับ. 2. ต้องบอกภรรยาผู้ป่วย และคู่นอนของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดโรค ทุกคน. 3. โน้มน้าวให้ผู้ป่วยเป็นผู้บอกผลตรวจกับภรรยาด้วยตนเอง 4. ส่งจดหมายแนะนำให้ภรรยาและบุตรของผู้ป่วยมารับการตรวจเลือด.

  15. สถานการณ์นี้เป็นความลำบากใจของแพทย์ ในลักษณะ "Dual loyalty" คือ แพทย์มีหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วย แต่ขณะเดียวกันย่อมมีความกระอักกระอ่วนใจหากไม่สามารถปกป้องประชาชน ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบ ในระยะแรกที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการณ์โรคเอดส์ ได้ใช้แนวทางของสหรัฐอเมริกาคือแพทย์มีภาระต้อง แจ้งรายชื่อผู้ติดเชื้อใหม่ทุกรายแก่หน่วยงานราชการ แต่ใช้ปฏิบัติอยู่เพียงไม่กี่ปีก็ต้องยกเลิกไป เพราะสังคมไทยไม่สามารถรับข้อปฏิบัตินี้ได้ เนื่องจากขาดการจัดการที่ดีในเรื่องข้อมูลลับ ผู้ป่วยจำนวนมากตกเป็นผู้เสียหายและถูกประณามโดยสังคม. 

  16. ต่อมาสถานการณ์โรคเอดส์สามารถควบคุมได้ดีขึ้น ปัญหาความขัดแย้งส่วนนี้จึงลดลงไปโดยปริยาย อย่างไรก็ดี แพทยสภาได้แนะนำแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับโรคเอดส์ จากผลการประชุมครั้งที่ 2/2545 รับรองให้แพทย์มีหน้าที่รักษาความลับผู้ป่วยโดยเคร่งครัด (สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 7) และกำหนดแบบใบยินยอม (เอกสาร 1) เพื่อเป็นการบันทึกความจำนงของผู้ป่วยว่าต้องการหรือไม่ต้องการให้บอกบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้ง คู่สมรส นายจ้าง บริษัทประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานในเวชระเบียนไว้ด้วย.

  17. จะเห็นได้ว่าบทบาทในการรักษาความลับ และสิทธิผู้ป่วยของแพทย์ไทยนั้นเริ่มชัดเจนขึ้น. สำหรับหน้าที่ปกป้องสิทธิพลเมืองผู้เกี่ยวข้องนั้นยังคงไม่มีคำแนะนำที่จะช่วยลดภาระความเสี่ยงของแพทย์ได้อย่างชัดเจน คำถามที่ยังตอบไม่ได้ก็คือ หากภรรยาของผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อเอดส์ ในเวลาต่อมาตัดสินใจฟ้องร้องแพทย์ว่าร่วมมือทำร้ายร่างกายของเธอ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จะถือเป็นความผิดแพทย์หรือไม่. บทบาทของแพทย์ในขณะนี้อาจเป็นเพียงการตอบตามข้อเลือกที่ 3 และควรบันทึกในเวชระเบียนไว้ด้วยว่าได้แนะนำผู้ป่วยให้บอกภรรยาด้วยตนเองอย่างหนักแน่นแล้ว ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุดรวมถึงในแง่ศีลธรรม.

  18. สาเหตุของปัญหา • 1.การไม่มีจริยธรรม และคุณธรรมของผู้ให้บริการ • ขาดความซื่อสัตย์ • ไม่มีความรับผิดชอบ • 2.บางสถานการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอกกดดัน สร้างความลำบากใจให้แก่ผู้ให้บริการ

  19. แนวทางแก้ไข • ให้ความสำคัญ เคารพเอกสิทธิ์หรือความเป็นอิสระในความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิผู้ป่วย • ความซื่อสัตย์ยึดมั่นในพันธะสัญญา การขอให้ผู้ป่วยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวแก่ทีมสุขภาพเป็นการบ่งชี้ว่าทีมสุขภาพมี พันธะสัญญาที่จะต้องปกปิดความลับหรือใช้ข้อมูลที่ได้มานั้นอย่างเหมาะสม • ข้อยกเว้นสำหรับการปกปิดความลับการเปิดเผยความลับสามารถกระทำได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในกรณีที่ผู้ป่วย ยินยอมและกรณีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ • ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน • ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะไร้ความสามารถ

  20. เพื่อปกป้องผู้อื่นจากอันตราย หรือเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม • เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย เช่น การเปิดเผยให้บุคลากรอื่นในทีมสุขภาพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย • เมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การรายงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทารุณกรรมเด็ก โรคติดต่อ • การจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลหรือให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้รับบริการในคอมพิวเตอร์ • เจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย มีหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วย โดยมีUsername / Passwordในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละโปรแกรม

  21. Youtube • http://www.youtube.com/watch?v=7A3zg3X-Dsk

  22. เอกสารอ้างอิง หัวข้อการปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และหน้าที่ของตนเอง • http://www.kr.ac.th/ebook/savalee/b1.htm • http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-10701.html • http://www.thaigoodview.com/node/28497

  23. เอกสารอ้างอิง หัวข้อการรักษาความลับของผู้รับบริการ • http://dansaihospital.blogspot.com/2011/05/blog-post_10.html • http://www.doctor.or.th/node/7453 • http://www.migesplus.ch/fileadmin/Dokumente/Gesundheitswegweiser_Merkblaetter/Thai/42_rechte_und_pflichten.pdf

  24. เอกสารอ้างอิง หัวข้อการรักษาความลับของผู้รับบริการ (ต่อ) • http://www.tnc.or.th/law/page-5.html • http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&ved=0CDgQFjAC&url=http%3A%2F%2Fwww.women-family.go.th%2Fwofa%2Fmodules%2Fwebsite%2Fupload%2Farticle%2Fac26a07676c2e5495ae1c77d507cbf19.ppt&ei=_JpGT6mrOoq3rAeJ6o2dCw&usg=AFQjCNEiGjfNLHhEZJuqRof28hY3jpHCeQ&sig2=o2mcJkVoDu8bogwAlxQMwA

  25. สมาชิกเซลล์ 16 นาวสาวศิริมล แก้วสน 54070330 นางสาวศิริพรรณ อุปครุธ 54070457 นายสิทธิคุณ คำวงศ์ 54070458

More Related