931 likes | 2.68k Views
สมัย รัตนโกสินทร์ ยุค ปฏิรูปบ้านเมืองตาม ตะวันตก - ก่อนเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง 2475 ( ร.4-ร.7 ). เหตุการณ์อิทธิพลของชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 1 . การ ปฏิวัติอุตสาหกรรม
E N D
สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปฏิรูปบ้านเมืองตามตะวันตก - ก่อนเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง 2475( ร.4-ร.7 )
เหตุการณ์อิทธิพลของชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เกิดนโยบายระดับชาติในยุโรป ที่เห็นความจำเป็นของการยึดครองดินแดนนอกทวีปยุโรปที่มีระดับความเจริญทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมต่ำกว่า เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดการค้า หรือเป็นฐานทัพในเขตยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการเมือง และขยายเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีให้แก่ประเทศของตน
เหตุการณ์อิทธิพลของชาติตะวันตกที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครอง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. ความต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และความสำนึกในด้านมนุษยธรรมของชนผิวขาว ความเจริญ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของชาวตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองของตนว่าเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง และชาติอื่น ๆ ทั่วโลกจะได้รับประโยชน์ ถ้าปฏิบัติตาม พวกเขาเชื่อว่าในฐานะที่ชาติตะวันตกเป็นชาติที่มีความเจริญ มีความสามารถ มีความดีที่สูงกว่าชาติอื่น ๆ จึงมีหน้าที่ต้องนำความเจริญ ความดีงามต่าง ๆ มาสู่ชนชาติอื่น ๆ ที่ด้อยกว่าพวกตนด้วย
ปัจจัยที่ทำให้เกิดไทยการปรับปรุงบ้านเมืองปัจจัยที่ทำให้เกิดไทยการปรับปรุงบ้านเมือง 1. ลัทธิจักรวรรดินิยม อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย มีเป้าหมายสำคัญ คือ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การแผ่อิทธิพลทางการเมือง และการเผยแพร่อารยธรรมตะวันตก ชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยเห็นว่าประเทศไทยเป็นชาติป่าเมืองเถื่อน ทูตตะวันตกคนหนึ่งที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทยในต้นรัชกาลที่ 4 บันทึกไว้ในสมุดประจำวันของเขาว่า “คนไทยเป็นคนหลอกลวง สามานย์ ขี้ขลาดตาขาว โกหกพกลม เป็นชาติที่เต็มไปด้วยขี้ข้า ”ทำให้ผู้นำไทยเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประเทศไปสู่ความเป็นอารยะแบบตะวันตก
2. การขาดประสิทธิภาพของระบบบริหารราชการต่าง ๆ ภายในประเทศ ระบบการปกครองที่ใช้อยู่ขณะนั้น เป็นระบบที่ใช้มายาวนานกว่า 300 ปี (ตั้งแต่สมัยพระบรมไตรโลกนาถปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ.1997(ค.ศ. 1454)) หน่วยงานที่มีอยู่ขาดประสิทธิภาพ มีภาระหน้าที่และบทบาทซ้ำซ้อน ก้าวก่าย ปะปนกัน
3. กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียนรู้วิทยาการตะวันตก กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้เริ่มก่อตัวขึ้นในรัชกาลที่ 3 เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับไทยเพิ่มมากขึ้น ผู้สนใจศึกษาหาความรู้และวิทยาการใหม่ ๆ จากมิชชันนารี บาทหลวง พ่อค้า และนักเดินทางตะวันตก เป็นพวกแรก ๆ คือ กลุ่มชนชั้นผู้นำกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้านาย ขุนนาง และลูกหลานเสนาบดีผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในตระกูลบุนนาค ชนชั้นผู้นำในกลุ่มนี้หลายคนสนใจวิทยาการตะวันตกเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตน
สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ช่วง บุนนาคสมเด็จจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
การดำเนินนโยบายต่างประเทศการดำเนินนโยบายต่างประเทศ 1. นโยบายถ่วงดุลระหว่างมหาอำนาจ 2. นโยบายแสวงหาพันธมิตร 3. นโยบายลู่ตามลม หรือ นโยบาย “สนลู่ลม”
การปรับปรุงบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักดีว่า พระองค์จะต้องทรงทำการปรับปรุงกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และองค์กรต่างๆของรัฐโดยการตราออกมาเป็นกฎหมาย และทำการปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวความคิดของทางตะวันตก เพื่อกันมิให้ประเทศต่างๆเหล่านั้นยกเอาปัญหาเหล่านี้ขึ้นมาอ้างเพื่อแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย
1. การวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ พระราชกรณียกิจทางการบริหารภายในประเทศชิ้นแรกที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศคือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษีนายอากร หลังจากนั้นอีก 3ปีก็มีการทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้ากับอังกฤษ ( สนธิสัญญาเบาว์ริง พ. ศ. 2398 ) หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบทางเศรษฐกิจของไทยก็เริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ ไปร่วมวงเศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
1. การวางพื้นฐานทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ - การปรับปรุงรูปแบบและการผลิตเงินตรา การขยายตัวทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศมีไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้น และสั่งซื้อเครื่องจักรสำหรับผลิตเงิน - การวางพื้นฐานการหารายได้เข้ารัฐ และการปรับปรุงภาษีที่ดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมข้าวให้เป็นสินค้าออก ไม่เพียงแต่เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นการวางพื้นฐานสำหรับการหารายได้เข้ารัฐ
2. การวางพื้นฐานการปฏิรูปทางสังคม • ทรงลดหย่อนการเกณฑ์แรงงานภาคบังคับลง เพื่อให้ไพร่มีเวลาประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอนุญาตให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงานได้ แล้วโปรดฯให้จ้างกรรมกรซึ่งส่วนมากเป็นคนจีนทำงานก่อสร้างที่ต้องใช้เวลา และแรงงานเป็นคนจำนวนมาก • ออกประกาศห้ามบิดามารดาหรือสามีขายบุตร ภรรยา ลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ • ทรงเริ่มยกฐานะสตรี ประกาศห้ามสามีขายภรรยาลงเป็นทาสโดยเจ้าตัวไม่สมัครใจ ทรงให้เสรีภาพแก่สตรีที่มีอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว ให้มีสิทธิเลือกสามีได้
3. การวางพื้นฐานการปรับปรุงทางด้านการปกครอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์จะให้ราษฎรดำรงชีพอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุข จึงทรงปรับปรุงการปกครองให้เป็นระเบียบขึ้นด้วยหลักแห่งกฎหมาย ในรูปของหมายประกาศต่างๆซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้านการศาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีกาต่อพระองค์ได้ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ซึ่งเสด็จออกเดือนละ 4 ครั้ง เมื่อทรงรับฎีกาและจะโปรดเกล้าฯ ให้มีตุลาการชำระความให้เสร็จโดยเร็ว
3. การวางพื้นฐานการปรับปรุงทางด้านการปกครอง ปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับประเทศตะวันตกจึงได้ทรงติดต่อให้ชาวยุโรปและอเมริกาเข้ามารับราชการในกรมกองต่างๆของไทยในฐานะที่ปรึกษาทำหน้าที่แนะนำความคิดใหม่ๆให้กับข้าราชการไทย นอกจากนั้นยังทรงจ้างชาวต่างประเทศให้รับราชการเป็นกงสุลไทยประจำต่างประเทศด้วย ทั้งนี้เนื่องจากระยะนั้นเป็นระยะเริ่มเปิดประเทศยังไม่มีข้าราชการคนใดมีความรู้ความสามารถในกิจการต่างประเทศดีพอที่จะส่งไปเป็นกงสุลไทยประจำต่างประเทศได้
4.การวางพื้นฐานทางด้านการศึกษาแบบตะวันตก4.การวางพื้นฐานทางด้านการศึกษาแบบตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นของการศึกษาแบบตะวันตกในการพัฒนาประเทศ โปรดเกล้าฯ ให้สตรีมิชชันนารีอันประกอบด้วยภรรยาหมอ บรัดเลย์(Mrs.Bradley) ภรรยาหมอแมตตูน (Mrs.Mattoon) ภรรยาหมอโจนส์(Mrs.Jones) มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและความรู้ทั่วไปแก่สตรีในวัง ระหว่างปี พ.ศ. 2394 – 2397 โดยพลัดเปลี่ยนกันเข้าไปสอนในวังสัปดาห์ละ 2 วัน ต่อมาเมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดาเจริญพระชันษาแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ติดต่อว่าจ้างนางแอนนา เลียวโนเวนส์(Mrs. Anna Leonowens) สตรีหม้ายชาวอังกฤษจากสิงคโปร์เข้ามาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และวรรณคดีอังกฤษให้พระโอรสพระธิดา(รวมทั้ง ร.5 ด้วย)
นางแอนนา เลียวโนเวนส์(Mrs. Anna Leonowens)
5.การวางรากฐานการคมนานคมสมัยใหม่5.การวางรากฐานการคมนานคมสมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางรากฐานการคมนาคมสมัยใหม่ไว้ให้ชาวไทย กล่าวคือ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนแบบฝรั่งขึ้นเพื่อใช้ในการคมนาคม และเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง ได้แก่ ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนสีลม 6.การวางพื้นฐานการปรับปรุงทางด้านการทหาร พระองค์ทรงจ้างนายร้อยเอกทหารอังกฤษชื่อ อิมเป(Impey) เป็นครูฝึกทหารบก โปรดเกล้าฯให้เกณฑ์คนกรมอาสาลาวและเขมรมาฝึกหัดเป็นทหาร เรียกว่า “ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป”
การปรับปรุงบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 1.การปฏิรูปการเมืองการปกครอง ทรงปฏิรูปการปกครองด้วยการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2417 ดังนี้ 1. สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินแด่กษัตริย์ นอกจากนี้ยังทำหน้ามี่ด้านตุลาการอีกด้วย 2. สภาที่ปรึกษา ส่วนพระองค์(Privy Council) มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในพระองค์
2. การปฏิรูปการปกครองในส่วนกลาง : การจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม จัดตั้งกระทรวงแบบใหม่แทนจตุสดมภ์แบบเก่ารวม 12 กระทรวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงธรรมการ กระทรวงนครบาล กระทรวงมุรธาธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงวัง
3. การปฏิรูปการปกครองในส่วนภูมิภาค : การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล หลังจากการปฏิรูปการบริหารงานส่วนกลางแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะดึงอำนาจการปกครองในส่วนภูมิภาคมาขึ้นอยู่กับการปกครองในส่วนกลาง จึงโปรดให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อปกครองหัวเมืองต่าง ๆ การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นการปกครองโดยข้าราชการ ซึ่งทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ออกไปดำเนินการปกครองในส่วนภูมิภาค เพื่อแบ่งเบาภาระจากรัฐบาลกลางในเรื่องการปกครอง โดยแบ่งการปกครองในส่วนภูมิภาคออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านตามลำดับ
พระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าอุตรการโกศล
4. การปฏิรูปการปกครองในส่วนท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้มีการจัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาลขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2442 (ร.ศ.118) และต่อมาได้มีการจัดตั้ง “การสุขาภิบาลท่าฉลอม”ที่ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร เมื่อ พ.ศ.2448 เพื่อทดลองให้ราษฎรรู้จักการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่นของตน และต่อมาจึงได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127”เป็นทางการในพ.ศ.2451
5. การปฏิรูปสังคม • การเลิกทาส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า คนควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ควรปล่อยให้คนที่มีบานะมั่งคั่งกดขี่ราษฎรที่ยากจน นอกจากนี้การมีทาสอยู่ในบ้านเมือง ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เจริญ เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ซึ่งทำให้เป็นที่ดูถูกของชาวต่างชาติ จึงมีพระราชดำริที่จะเลิกทาส
การเลิกไพร่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์อำนาจของพระองค์ก็ไม่มั่นคงนัก พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะยกเลิกระบบไพร่ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นประกอบคือ - สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า โดยเฉพาะหลังสนธิสัญญาเบาริง - อิทธิพลของตะวันตกทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงระบบไพร่ กล่าวคือ ชาติตะวันตกตั้งข้อรังเกียจระบบไพร่ในเมืองไทย เพราะเห็นว่าเป็นการเอารัดเอาเปรียบราษฎร - การนำไพร่ไปใช้ในสงครามลดน้อยลง เพราะชาติที่เคยทำสงครามกับไทยก็ตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติหมดแล้ว
ด้านการศาลและกฎหมาย ก่อนการปฏิรูปทางด้านการศาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลอยู่ปะปนกับองค์กรบริหารต่าง ๆ เช่น ศาลกรมวัง ศาลกรมนา ศาลเหล่านี้มีอำนาจทั้งด้านบริหารและตุลาการปะปนกัน กฎหมายที่ใช้ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434ที่สำคัญพระองค์โปรดให้ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาลที่ทารุณ ป่าเถื่อนแบบสมัยก่อน ๆ นั้นเสีย และให้นำประมวลกฎหมายใหม่มาใช้แทน ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปทางด้านการศาล และกฎหมายในสมัยนี้ คือ “กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์”
การปฏิรูปการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนกุลบุตรกุลธิดาเริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังการเสวยราชย์ได้เพียง 4 ปี โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมหมาราชวังเป็นครั้งแรก โดยออกประกาศชักชวนให้ราชวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้าศึกษาเล่าเรียน ต่อมาทรงจัดตั้งโรงเรียนเพิ่มเติมอีก คือ โรงเรียนนายทารมหาดเล็กที่พระตำหักสวนกุหลาบ โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนของพระเจ้าลูกเธอ โรงเรียนพระปริยัติธรรม จัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกสำหรับราษฎร คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม จัดตั้งโรงเรียนสตรีแห่งแรกคือ โรงเรียนบำรุงวิชาสตรี มีการจัดสอบไล่เพื่อพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง เพื่อไปศึกษาต่อในทวีปยุโรปและอเมริกา
การปรับปรุงบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 6 การปกครองในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453 - 2468) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพยายามปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองตามที่รัชกาลที่ 5ทรงริเริ่มและดำเนินการไปแล้วต่อไป กวาดล้างจับกุมบุคคลใน “คณะพรรค ร.ศ.130” ซึ่งเป็นคณะนายทหารบกกลุ่มหนึ่งได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2454 (ร.ศ.130) แต่ต้องประสบความล้มเหลวเนื่องจากรัฐบาลจับกุมได้เสียก่อน ริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้งเมืองจำลอง“ดุสิตธานี”
การปรับปรุงบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 7 1. แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยมีสมาชิกซึ่งประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ 5 พระองค์ 2. จัดตั้ง “สภากรรมการองคมนตรี” มีลักษณะเป็นสภาที่ปรึกษาในพระองค์ 3. จัดตั้งเสนาบดีสภา เพื่อเตรียมฝึกให้เสนาบดีมีการรับผิดชอบร่วมกันทั้งคณะ 4. การจัดวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลและวางโครงการปรับปรุงแก้ไขสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาลแต่ไม่ทันได้ตั้ง เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ขึ้นเสียก่อน
5. เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยการโปรดเกล้าฯให้พระยากัลยาไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี แซร์) ร่างรัฐธรรมนูญให้พระองค์ทอดพระเนตร และโปรดเกล้าฯให้นายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจาร่างรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งให้พระองค์ทอดพระเนตร สำหรับพระยาศรีวิสารวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ นั้น ภายหลังที่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วได้ทำบันทึกความเห็นของตน แสดงเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลาสมควรที่จะมีการประกาศให้รัฐธรรมนูญจนกว่าประชาชนจะมีการศึกษาและมีประสบการณ์ในการปกครองตนเองอย่างเพียงพอเสียก่อน การปรับปรุงการเมืองการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อสู่ความเป็นประชาธิปไตยยังมิทันจะได้บรรลุพระราชปณิธานของพระองค์ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฏรเสียก่อน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญ
เมืองไทยภายหลังการปรับปรุงบ้านเมืองตามตะวันตกเมืองไทยภายหลังการปรับปรุงบ้านเมืองตามตะวันตก การปรับปรุงบ้านเมืองตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลที่ 7 เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากต่อประเทศไทย เพราะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางในสังคมไทย โดยเฉพาะทางการเมืองการปกครองและสังคม เป็นการวางรากฐานความเจริญสำหรับรองรับการพัฒนาประเทศเข้าสู่สมัยใหม่ต่อไป การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายประการ
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง - รัฐชาติที่มีกษัตริย์เป็นผู้นำ - ระบบราชการแบบตะวันตก - การเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยในหมู่ชนชั้นกลาง
2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม - การเคลื่อนที่ของคนในสังคม - การรับวัฒนธรรมตะวันตก 3. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนจากระบบการผลิตเพื่อพอเพียงแก่การยังชีพเป็นระบบการผลิตเพื่อการส่งออก